JJNY : 5in1 โดดเดี่ยวก้าวไกล ?│“ทหารมีไว้ทำไม?”ไฟลามทุ่ง│'กก.'เห็นด้วย'พท.'│“วิโรจน์”หวดลิ่วล้อ│เครื่องบินทหารเมียนมาไถล

โดดเดี่ยวก้าวไกล ? กองทัพ – นายทุน ปึ้กผนึกแน่น รัฐบาลอยู่ยาว สกัดสีส้ม แต่ไม่ง่าย
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_4389711

 
รายการThe Politics X อ.ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ แสดงความสงสัยรัฐบาลปัจจุบัน โดยพรรคเพื่อไทยมีการเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับแทบทุกพรรคการเมือง รวมถึงนายทุนทางธุรกิจและแกนนำในกองทัพ เพื่อกระชับอำนาจของรัฐบาล “เศรษฐา ทวีสิน” และมีแนวทางชัดเจนในการกำจัดพรรคก้าวไกลให้พ้นเส้นทางทางการเมือง ติดตามรายละเอียดจากคลิปด้านล่างนี้

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ


“ทหารมีไว้ทำไม?”เป็นไฟลามทุ่งไปสู่บ้านนายพลสะท้อนภาพความเหลื่อมล้ำในค่ายทหาร
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_4389698

รายการThe Politics X อ.ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ สนทนากรณี วิวาทะ “ทหารมีไว้ทำไม ? เหมือนจะเป็นไฟลามทุ่ง จากกรณี “Pigkaploy” ทำคลิปของทหาร นำไปสู่ บ้านนายพลในค่ายทหาร มอง “เพื่อไทย” ปะทะ “ก้าวไกล” ปกป้องกองทัพ ห้ามแตะต้อง ประยุทธ์ สะท้อนภาพความเหลื่อมล้ำในค่ายทหาร ติดตามรายละเอียดจากคลิปด้านล่างนี้

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ


ก้าวไกล เห็นด้วย เพื่อไทย แก้รธน.ทำประชามติ 2 ครั้ง ชี้ต้องโน้มน้าว ส.ว.ให้เห็นชอบ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4389567

‘ก้าวไกล‘ เห็นพ้อง ’เพื่อไทย‘ เดินหน้าทำประชามติสองครั้ง เชื่อไม่ขัดคำวินิจฉัยศาลรธน. ย้ำ ต้องร่วมมือโน้มน้าว ส.ว. ให้เห็นชอบ
 
เมื่อเวลา 10.50 น. วันที่ 23 มกราคม ที่รัฐสภา นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) กล่าวถึงกรณีที่ ส.ส.ของพรรคเพื่อไทย (พท.) กว่า 120 คน ได้ร่วมกันยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ว่า ที่ผ่านมา สิ่งที่ทุกฝ่ายเห็นตรงกันคือ การทำประชามติครั้งที่ 2 และ 3 ถูกบังคับโดยรัฐธรรมนูญมาตรา 256 และคำวินิจฉัย 4/2564 ของศาลรัฐธรรมนูญ อยู่แล้ว ข้อถกเถียงหลัก จึงอยู่ที่การทำประชามติครั้งแรกจำเป็นหรือไม่ เนื่องจากมีการตีความคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่แตกต่างกัน บางฝ่ายมองว่าคำวินิจฉัยกำหนดให้ทำประชามติก่อน ส.ส.ร. จะมีการยกร่างรัฐธรรมนูญ ขณะบางฝ่ายโดยเฉพาะ ส.ว. มองว่าต้องทำประชามติก่อนที่จะมีการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญใดๆ เข้าสู่สภา
 
นายพริษฐ์กล่าวว่า จุดยืนของพรรค ก.ก. เห็นด้วยกับที่ นายชูศักดิ์ ศิรินิล ส.ส.บัญชีรายขื่อ และรองหัวหน้าพรรค พท. เสนอว่า ตามหลักกฎหมายการทำประชามติ 2 ครั้ง ก็เพียงพอแล้ว ส่วนที่หลายฝ่ายยึดว่าต้องทำประชามติครั้งแรก อาจมีความเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทางการเมือง เพราะถ้าเริ่มด้วยคำถามประชามติครั้งที่ 2 เริ่มต้นด้วยการยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 และการตั้ง ส.ส.ร.ไปเลย อาจมี ส.ว.บางส่วนไม่ยกมือให้ โดยอ้างว่าต้องทำประชามติครั้งแรกก่อน
 
อย่างไรก็ตาม พรรค ก.ก.ไม่ติดใจกับข้อเสนอของพรรค พท. และพร้อมให้ความร่วมมือ ต่อไปนี้จะมีโจทย์สำคัญคือ ทั้งสองพรรคต้องร่วมมือกันหาแนวทางโน้มน้าวให้สมาชิกรัฐสภาทุกส่วน โดยเฉพาะ ส.ว. เห็นชอบ กับการทำประชามติ 2 ครั้ง อีกโจทย์คือในเชิงรายละเอียด ทั้งรูปแบบและที่มาของอำนาจ  ส.ส.ร. โดยพรรค ก.ก.ได้เตรียมร่างแก้ไขที่จะยื่นประกบกับร่างของพรรค พท. ซึ่งมีทั้งส่วนที่เหมือนกันและแตกต่างกัน
 
นายพริษฐ์กล่าวว่า ในส่วนที่เราเห็นด้วยกับพรรค พท. คือ ส.ส.ร.ต้องมาจากการเลือกตั้ง 100 เปอร์เซ็นต์ และกำหนดอายุขั้นต่ำของผู้ที่ลงรับสมัครเลือกตั้ง ส.ส.ร. อยู่ที่ 18 ปี แต่จุดที่เห็นต่างกับพรรค พท. คือระบบเลือกตั้ง ความเชื่อมโยงระหว่าง ส.ส.ร.กับรัฐสภา และอำนาจของ ส.ส.ร. ในการแก้ไขหมวด 1 และหมวด 2 ซึ่งจะใช้กลไกของรัฐสภา ในการหาข้อยุติความเห็นต่างเหล่านี้
 
นายพริษฐ์กล่าวว่า ยอมรับว่ามีความเสี่ยงที่ศาลรัฐธรรมนูญอาจวินิจฉัยจำนวนครั้งที่จะต้องทำประชามติมา จึงมั่นใจว่า ทั้งพรรค ก.ก.และพรรค พท. ยังยืนยันในหลักการว่าการทำประชามติ 2 ครั้งเพียงพอแล้ว และหวังให้รัฐสภาหาทางออกกันเอง แต่ยังมีช่องให้คนที่เห็นแย้งยื่นเรื่องไปที่ศาลรัฐธรรมนูญได้อยู่
 
สำหรับความเสี่ยงเรื่องเสียงข้างมาก 2 ชั้น ต่อพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประชามติ นายพริษฐ์กล่าวว่า ยังมีอยู่ แต่ในแนวทางการทำประชามติ 2 ครั้ง อาจจะมีแนวทางที่แตกต่างออกไป อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าเป็นห่วงกว่า คือแนวทางคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ที่ตั้งคำถามการทำประชามติครั้งแรก ที่สอดไส้เงื่อนไขหมวด 1 และหมวด 2 อาจส่งผลให้การลงคะแนนของประชาชนไม่เป็นเอกภาพ และโอกาสที่การทำประชามติครั้งแรกผ่านลดน้อยลง
 
ในส่วนการเสนอร่างแก้ไขมาตรา 256 ไปพร้อมกับการเสนอตั้ง ส.ส.ร.นั้น ทางพรรค พท.และพรรค ก.ก. ยืนยันตรงกันว่าไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพราะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ห้ามให้ทำเช่นนี้ แต่เรื่องนี้ก็เป็นข้อถกเถียงที่เคยทำให้กระบวนการนี้สะดุดไปในปี 2564
 
พรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกลต้องจับมือกันให้แน่น เพื่อพยายามช่วยโน้มน้าวให้ ส.ว. รวมถึง ส.ส.จากบางพรรคที่ร่วมรัฐบาลอยู่ หันมาเห็นชอบและพร้อมยกมือสนับสนุนการแก้ไขมาตรา 256 และ ส.ส.ร. โดยไม่ต้องทำประชามติก่อน” นายพริษฐ์กล่าวทิ้งท้าย
 


“วิโรจน์” หวด ลิ่วล้อ เป็น สส.ไม่ป้องภาษีประชาชน ปม ขอถ่ายบ้านพัก "บิ๊กตู่"
https://www.thairath.co.th/news/politic/2757285

“วิโรจน์” ป้อง "จิรัฏฐ์" หวด ลิ่วล้อ “บิ๊กตู่” เป็น สส.แต่ไม่ปกป้องภาษีประชาชน ต่างหากที่เรียกว่า ไร้กาลเทศะมากกว่า ชี้ ตั้งคำถามคลิป "ทหารมีไว้ทำไม" กับ ขอเข้าไปถ่ายบ้านพัก พล.อ.ประยุทธ์ ทำได้ เหตุปกป้องภาษีประชาชน   
 
เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 23 ม.ค. ที่รัฐสภา นายวิโรจน์ ลักขณาอดิสร สส.บัญชีรายชื่อ พรรค ก.ก. ในฐานะประธานคณะกมธ.การทหาร ให้สัมภาษณ์กรณีลิ่วล้อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา องคมนตรี ดาหน้า ฉะ นายจิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ โฆษกคณะกมธ.การทหาร สภาฯ ไม่รู้กาลเทศะอะไรควรไม่ควร ขอเข้าไปถ่ายสำรวจบ้านพัก พล.อ.ประยุทธ์ องคมนตรี บ้าง หลังจากกองทัพอำนายความสะดวก “พลอยไพลิน” ยูทูบเบอร์ อย่างดี ระหว่างถ่ายทำคลิป “ทหารมีไว้ทำไม” ว่า นายจิรัฏฐ์ ในฐานะสส.คนหนึ่ง ตั้งคำถามได้ เพราะบ้านพัก พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ได้เป็นเงิน พล.อ.ประยุทธ์ แต่เป็นเงินภาษีประชาชน ไม่ใช่หรือ สส.มีหน้าที่ตรวจสอบ ปกป้อง เงินภาษี ตนไม่ได้มองว่า สส.ที่ปกป้องเงินภาษีประชาชน แบบนายจิรัฏฐ์เรียกว่า พฤติกรรมที่ไร้กาลเทศะตรงไหน แต่คนที่เป็น สส.แต่ไม่ยอมปกป้องเงินภาษีประชาชนต่างหาก ไร้กาลเทศะมากกว่า
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่