ไอติม พบวันนอร์ ยื่น 2 ข้อมูลใหม่ คำวินิจฉัยส่วนตัวศาล ย้ำทำประชามติ 2 ครั้งเพียงพอ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4923847
‘ไอติม’ พบ ‘วันนอร์’ ตื้อยื่นแก้รธน. พร้อม 2 ข้อมูลใหม่ดันร่างแก้ม.256 ทวงสัญญารัฐบาลมีรธน.ใหม่ก่อนเลือกตั้ง แจงไทม์ไลน์ประชามติ 2 ครั้ง
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 ที่รัฐสภา นาย
พริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน (ปชน.) ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร เข้าพบ นาย
วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา เพื่อหารือถึงการผลักดันการบรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 ให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) มายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภาอีกครั้ง หลังจากก่อนหน้าที่ประธานรัฐสภาไม่บรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 ของพรรคก้าวไกล โดยอ้างคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญให้ทำประชามติสอบถามความเห็นประชาชนก่อนแก้รัฐธรรมนูญ
ภายหลังการเข้าพบ นาย
พริษฐ์ กล่าวว่า สิ่งที่เป็นข้อถกเถียงขณะนี้คือ การทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญจะ
เป็น 2 หรือ 3 ครั้ง หากย้อนไปต้นปี 2567 พรรคเพื่อไทย และพรรคก้าวไกล เคยริเริ่มแก้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เข้าสู่สภาฯ โดยให้ทำประชามติ 2 ครั้ง มีส.ส.ร.มาจัดทำร่างรัฐธรรมนูญใหม่ แต่ปรากฏว่า คณะกรรมการประสานงานและเสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยของประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่มีเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธาน ให้ความเห็นต่อประธานรัฐสภา ไม่ให้บรรจุร่างแก้ไขดังกล่าว โดยอ้างคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญต้องทำประชามติ 3 ครั้ง เป็นเหตุให้ประธานรัฐสภา ไม่บรรจุวาระดังกล่าว กลายเป็นความเห็นต่างการตีความ
นายพริษฐ์ กล่าวต่อว่า ดังนั้น การเข้าพบประธานรัฐสภาในครั้งนี้ ได้นำข้อมูลเพิ่มเติม 2 อย่างมายื่นต่อประธานรัฐสภาคือ 1.คำวินิจฉัยส่วนตัวตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทั้ง 9 คน ที่มีการระบุชัดเจนว่า ทำประชามติ 2 ครั้งก็เพียงพอ 2.ข้อมูลที่กมธ.พัฒนาการเมืองฯ เข้าพบประธานศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เพื่อเป็นข้อมูลใหม่ในการพิจารณาบรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 โดยตั้งส.ส.ร. เข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภาอีกครั้ง โดยให้คณะกรรมการประสานงานฯ และเสนอความเห็น เพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยของประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร ไปวินิจฉัยอีกครั้งว่า จะต้องทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ 3 ครั้งหรือ 2 ครั้ง หวังว่า ข้อมูลใหม่ทั้ง 2 อย่างจะเพียงพอให้คณะกรรมการประสานงานฯ วินิจฉัยว่าทำประชามติแค่ 2 ครั้งก็เพียงพอ
เมื่อถามว่า การเลือกตั้งครั้งหน้าจะได้ใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ นาย
พริษฐ์ กล่าวว่า รัฐบาลเคยสัญญากับประชาชนจะจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ให้ทันก่อนการเลือกตั้งครั้งถัดไป หรือตอนที่พรรคเพื่อไทยฉีกเอ็มโอยูพรรคก้าวไกลช่วงจัดตั้งรัฐบาล ก็ระบุว่า จะจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ให้เสร็จก่อนเลือกตั้ง แล้วจะยุบสภาฯ คืนอำนาจให้ประชาชน ฉะนั้นเห็นชัดว่า รัฐบาลได้สัญญาจะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก่อนเลือกตั้งครั้งถัดไป
แต่หากรัฐบาลยังเดินตามแผนเดิมให้ทำประชามติ 3 ครั้ง โอกาสที่จะมีรัฐธรรมนูญก่อนเลือกตั้งครั้งหน้า จะเป็นจริงน้อยมาก หนทางเดียวที่จะทำให้เป้าหมายดังกล่าวเป็นจริงได้คือ ลดการทำประชามติจาก 3 ครั้งเหลือ 2 ครั้ง หากเดินตามแผนเดิม โอกาสเสร็จทันก็น้อย สิ่งที่อยากเห็นคือ ความมุ่งมั่นของรัฐบาลที่จะรักษาสัญญากับประชาชน เป็นเป้าหมายที่รัฐบาลและพรรคประชาชนเห็นพ้องกัน จึงอยากเห็นรัฐบาลมาร่วมมือ และมุ่งมั่นทำเรื่องนี้ด้วยกัน
เมื่อถามว่า จะคุยกับแกนนำพรรคเพื่อไทยหรือไม่ นายพริษฐ์ กล่าวว่า ตอนออกหนังสือขอเข้าพบนั้น ออกพร้อมกัน 3ฉบับคือประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานสภาฯ และนายกรัฐมนตรี แต่ตอนนี้ยังไม่ได้เข้าพบนายกรัฐมนตรี เป็นเจตนารมณ์ของเราอยู่แล้วที่อยากเข้าพบฝ่ายบริหาร ซึ่งเหลือเพียงคำตอบของฝ่ายบริหารว่าจะให้เราเข้าพบเมื่อไหร่
เมื่อถามว่า หากทำประชามติ 2 ครั้ง ประเมินว่าจะได้เห็น ส.ส.ร.ใหม่ทันปี 2568 หรือไม่ นาย
พริษฐ์ กล่าวว่า หากมีการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ตั้งส.ส.ร. และคณะกรรมการประสานงานฯ ตัดสินใจบรรจุวาระในรอบนี้ ก็จะเข้าสู่การพิจารณาวาระ 1 ได้ทันที ในการเปิดสมัยประชุมสภาเดือนธันวาค ก็มีความเป็นไปได้ว่า อาจจะผ่าน 3 วาระ ภายใน 3-6 เดือน หากเป็นเช่นนั้น ประชามติรอบแรกจะเกิดขึ้นหลังผ่านวาระ 3 อาจเป็นช่วงหลังปี 2568 เมื่อประชามติผ่านแล้วจะต้องมีกระบวนการเลือกตั้งส.ส.ร. หากทำทุกอย่างเสร็จได้ภายในปี2568 ส.ส.ร.จะมีเวลาปี 2569 จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และทำให้สามารถนำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไปทำประชามติรอบ 2 ได้ช่วงต้นปี 2570 ก็จะเสร็จทันก่อนการเลือกตั้งครั้งต่อไป วันนี้อยากให้มีการทบทวนการตัดสินใจเรื่องการบรรจุวาระแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 256 ใหม่ จึงจำเป็นต้องยื่นร่างเดิมเข้าไปอีกครั้ง ให้คณะกรรมการประสานงานฯ มีข้อมูลใหม่ประกอบการพิจารณา
ด้าน ว่าที่ร.ต.ต.
อาพัทธ์ สุขะนันท์ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ในฐานะประธานกรรมการประสานงานและเสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยของประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อได้ข้อมูลใหม่ที่กมธ.พัฒนาการเมืองฯยื่นต่อประธานรัฐสภาแล้ว จะนำไปประกอบคำวินิจฉัย เพื่อพิจารณาว่า คณะกรรมการประสานงานฯจะกลับมติที่เคยให้ความเห็นไม่บรรจุวาระการแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 256 โดยการตั้งสสร.มายกร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ ตามที่พรรคก้าวไกลในขณะนั้นยื่นร่างเข้ามา คณะกรรมการประสานงานฯอาจเรียกนายพริษฐ์ ชในฐานะประธานกมธ.พัฒนาการเมืองฯ มาให้ข้อมูลเพื่อพิจารณาทบทวนความเห็น แม้คำวินิจฉัยที่เป็นความเห็นของตุลาการรัฐธรรมนูญรายบุคคล จะไม่มีผลทางกฎหมายเหมือนคำวินิจฉัยกลางศาลรัฐธรรมนูญ แต่อาจนำมาใช้พิจารณาประกอบแนวทางคำวินิจฉัยกลางศาลรัฐธรรมนูญว่า จะต้องทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ 2 หรือ 3 ครั้ง ก็มีโอกาสที่คณะกรรมการประสานงานฯจะกลับมติก่อนหน้านี้ได้ ถ้าข้อมูลใหม่ช่วยให้คำวินิจฉัยกลางมีความกระจ่างมากขึ้น เพราะเรายึดคำวินิจฉัยกลางเป็นหลัก และใช้คำวินิจฉัยส่วนบุคคลมาประกอบ.
'กัณวีร์' ชี้ ชายแดนไทย-พม่า ยังร้อน 'ว้าแดง' รุกอธิปไตยไทย แถบเชียงใหม่ – แม่ฮ่องสอน
https://prachatai.com/journal/2024/11/111509
กัณวีร์ ชี้ ปัญหาชายแดนไทยรอบด้าน ชายแดนไทย-เมียนมา ยังคงร้อน ว้าแดงรุกล้ำเข้ามาในอธิปไตยไทย ทั้ง 9 จุด แถบเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน ถามนโยบายความมั่นคงที่มาจาก สมช. ใช้ได้จริงแค่ไหน ฝั่งชายแดนเมียนมาเป็นเรื่องต้องใช้การวางนโยบายและยุทธศาสตร์มากกว่าการทหาร นอกจากนี้เมื่อวันที่ 24 พ.ย. ที่ผ่านมา ทางการไทยยังส่งตัวผู้ลี้ภัยชาวกัมพูชาที่ได้สถานะผู้ลี้ภัยจาก UNHCR กลับประเทศ
27 พ.ย. 2567
กัณวีร์ สืบแสง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “
กัณวีร์ สืบแสง Kannavee Suebsang” ระบุ เรื่องที่ชายแดนไทย-เมียนมา ยังคงร้อน ช่วงนี้ปัญหาชายแดนไทยรอบด้านมีทั้งปัญหาความมั่นคง สิทธิมนุษยชน และมนุษยธรรมนะครับ ยุทธศาสตร์ความมั่นคงชายแดนของไทยและนโยบายความมั่นคงกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นอย่างไร ต้องมีการปรับปรุงหรือไม่ และควรปรับปรุงอย่างไร เท่าที่ตนเองจำได้ตอนที่ได้รับผิดชอบการจัดทำติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์ความมั่นคงชายแดนไทยรอบด้าน และได้ทำงานเรื่องนโยบายความมั่นคงกับประเทศเพื่อนบ้านนั้น ยุทธศาสตร์ความมั่นคงชายแดนถูกแยกจากนโยบายความมั่นคงกับประเทศเพื่อนบ้าน และแทบจะขาดความเชื่อมโยงระหว่างกัน
กัณวีร์ระบุว่า “
นโยบายความมั่นคง” ที่มาจากส่วนกลาง หรือ สมช. นั้น หน่วยปฏิบัติในพื้นที่ได้นำนโยบายไปปรับใช้มากน้อยเพียงใด
ขณะนี้ฝั่งชายแดนติดเมียนมาเรื่องร้อนจากปัญหาเรื่องว้าแดงที่รุกล้ำเข้ามาในอธิปไตยไทยทั้ง 9 จุดทั้งในเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่คำถามคือแผนยุทธการการทหารที่ทำมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้นมันสอดคล้องกับนโยบายส่วนกลางมากน้อยแค่ไหน หรือส่วนกลางไม่มีนโยบายใดๆ เลยในเรื่องนี้ เพราะปล่อยให้เป็นแค่เรื่องการทหาร ต้องวิเคราะห์ให้ออกกันว่าฝั่งเมียนมานั้นต้องใช้การวางนโยบายและยุทธศาสตร์มากกว่าการทหาร เพราะรวมกับการต่างประเทศ การถ่วงดุลอำนาจระหว่างหลายกลุ่มในเมียนมา และแต่ละรัฐชายแดนในเมียนมาที่ติดกับไทยก็มีความแตกต่างกันไปในรายละเอียด ดังนั้นแนวนโยบายของไทยจึงต้องอ่อนตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่แท้จริงในฝั่งเมียนมา
รัฐฉานนั้นสลับซับซ้อน เพราะมีทั้งตอนเหนือ ตอนกลางและตอนใต้ของรัฐฉาน ซึ่งตัวละครแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในแต่ละพื้นที่ ทางตอนใต้ถึงแม้ไทยจะมีความสัมพันธ์ที่ดีกับสภากอบกู้รัฐฉานทางตอนใต้ (RCSS) แต่กรณีว้าแดงก็แสดงให้เห็นถึงพื้นที่ที่ RCSS/SSA ยังต้องเผชิญสถานการณ์ภายในเมียนมาด้านทหารระหว่างกัน และมากระทบกับไทยในการรุกล้ำดินแดนของว้าแดงในไทยที่เห็นอยู่
กัณวีร์ตั้งคำถามว่าไทยจะทำอย่างไร จะเข้าไปรบหรือใช้ยุทธวิธีอย่างไรที่ข้ามเขตแดนและกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ไทยมีความสัมพันธ์ที่ดีกับทหารเมียนมา RCSS/SSA ของเจ้ายอดศึก แล้วทำไมว้าแดงไทยทำอะไรไม่ได้ และว้าแดงที่อยู่ตอนใต้ที่มีปัญหาเรื่องยาเสพติดกระทบต่อไทยโดยตรงและทั้งภูมิภาคนั้น มีใครมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่
นอกนี้จากนี้มาทางฝั่งชายแดนที่ติดกับกัมพูชาทางการไทยยังมีประเด็นส่งตัวผู้ลี้ภัยชาวกัมพูชากลับประเทศ เมื่อวันที่ 24 พ.ย. ที่ผ่านมา โดยผู้ถูกเนรเทศออกนอกประเทศทั้ง 7 คน เป็นผู้ลี้ภัยที่ได้รับสถานะผู้ลี้ภัยจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ UNHCR ไปทั้งหมดแล้ว 1 ใน 7 คนนี้ เป็นเด็กชายอายุ 5 ขวบ และ 5 ใน 7 คนนี้ เป็นสมาชิกพรรคฝ่ายค้าน CNRP ของกัมพูชา ซึ่งสามารถคาดเดาอนาคตของผู้ที่ถูกเนรเทศนี้ได้ว่าจะต้องเผชิญชะตากรรมที่หนักอยู่
เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องผู้หลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมายเท่านั้นที่จะใช้แค่ พรบ.ตรวจคนเข้าเมืองมาบังคับใช้และดำเนินการเนรเทศออกไปอย่างกรณีธรรมดา
กัณวีร์ย้ำว่านี่คือประเด็นผู้ลี้ภัย ไทยไม่สามารถผลักดันคนกลับไปตายได้ตามหลักกฎหมายจารีตประเพณีปฏิบัติระหว่างประเทศ (International Customary Law) ในเรื่องหลักการไม่ส่งกลับ (non-refoulement) และเรื่องนี้เข้าข่ายที่เรียกว่าการกดปราบข้ามชาติ (Transnational Repression—TNR) คือความร่วมมือของรัฐในการประหัตประหารประชาชนผู้บริสุทธิ์ หรือผู้ลี้ภัยเพื่อมีการผลักดันให้กลับไปถูกประหัตประหารในประเทศต้นทางที่เขาหนีและลี้ภัยออกมา
ยื่นหนังสือตัวแทนเจรจาไทย-EU จัดทำ FTA รัฐบาลต้องลงนาม ILO 87-98 ยกระดับสิทธิรวมตัวต่อรอง
https://prachatai.com/journal/2024/11/111504
• พรรคประชาชน และเครือข่ายแรงงาน ยื่นหนังสือถึงผู้แทนไทย-EU ให้หยิบยกประเด็นการลงนามในอนุสัญญา ILO 87-98 ว่าด้วยเรื่องคุ้มครองสิทธิการรวมตัว-เจรจาต่อรองของแรงงาน มาคุยในการประชุมเจรจาเขตการค้าเสรี FTA ชี้นอกจากบรรลุผลประโยชน์ทางการค้าอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว และเป็นธรรมต่อสังคมและเศรษฐกิจโดยรวม
• ‘เซีย’ ชี้ไม่จำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายก่อน แล้วค่อยลงนามอนุสัญญาฯ แต่สามารถลงนามในอนุสัญญาก่อนได้เลย ไรเดอร์หวังว่าการรับรองฯ ช่วยเพิ่มสิทธิการรวมตัว-เจรจาต่อรองบริษัทแพลตฟอร์ม
27 พ.ย. 2567 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งวันนี้ (27 พ.ย.) ที่โรงแรมดิ แอทธินี โฮเทล แบงค็อก ถนนวิทยุ กรุงเทพฯ พรรคประชาชน และเครือข่ายขับเคลื่อน ILO 87-98 ซึ่งเป็นภาคประชาสังคม ร่วมยื่นหนังสือถึงผู้แทนเจรจาเขตเสรีการค้าระหว่างประเทศไทย-สหภาพยุโรป (EU) เพื่อเรียกร้องให้ตัวแทนเจรจาทั้ง 2 ฝ่าย หยิบยกประเด็น การลงนามของประเทศไทยในอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 ระหว่างการประชุมการทำข้อตกลง FTA รอบที่ 4
บรรยากาศการยื่นหนังสือ (ถ่ายโดย ธรรศกร เพาะปลูก)
JJNY : ไอติมพบวันนอร์│'กัณวีร์' ชี้ ชายแดนไทย-พม่า ยังร้อน│ยื่นหนังสือตัวแทนเจรจาไทย-EU│ปธ.หอค้าห่วงหนี้ครัวเรือนพุ่ง
https://www.matichon.co.th/politics/news_4923847
‘ไอติม’ พบ ‘วันนอร์’ ตื้อยื่นแก้รธน. พร้อม 2 ข้อมูลใหม่ดันร่างแก้ม.256 ทวงสัญญารัฐบาลมีรธน.ใหม่ก่อนเลือกตั้ง แจงไทม์ไลน์ประชามติ 2 ครั้ง
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 ที่รัฐสภา นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน (ปชน.) ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร เข้าพบ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา เพื่อหารือถึงการผลักดันการบรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 ให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) มายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภาอีกครั้ง หลังจากก่อนหน้าที่ประธานรัฐสภาไม่บรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 ของพรรคก้าวไกล โดยอ้างคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญให้ทำประชามติสอบถามความเห็นประชาชนก่อนแก้รัฐธรรมนูญ
ภายหลังการเข้าพบ นายพริษฐ์ กล่าวว่า สิ่งที่เป็นข้อถกเถียงขณะนี้คือ การทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญจะ
เป็น 2 หรือ 3 ครั้ง หากย้อนไปต้นปี 2567 พรรคเพื่อไทย และพรรคก้าวไกล เคยริเริ่มแก้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เข้าสู่สภาฯ โดยให้ทำประชามติ 2 ครั้ง มีส.ส.ร.มาจัดทำร่างรัฐธรรมนูญใหม่ แต่ปรากฏว่า คณะกรรมการประสานงานและเสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยของประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่มีเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธาน ให้ความเห็นต่อประธานรัฐสภา ไม่ให้บรรจุร่างแก้ไขดังกล่าว โดยอ้างคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญต้องทำประชามติ 3 ครั้ง เป็นเหตุให้ประธานรัฐสภา ไม่บรรจุวาระดังกล่าว กลายเป็นความเห็นต่างการตีความ
นายพริษฐ์ กล่าวต่อว่า ดังนั้น การเข้าพบประธานรัฐสภาในครั้งนี้ ได้นำข้อมูลเพิ่มเติม 2 อย่างมายื่นต่อประธานรัฐสภาคือ 1.คำวินิจฉัยส่วนตัวตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทั้ง 9 คน ที่มีการระบุชัดเจนว่า ทำประชามติ 2 ครั้งก็เพียงพอ 2.ข้อมูลที่กมธ.พัฒนาการเมืองฯ เข้าพบประธานศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เพื่อเป็นข้อมูลใหม่ในการพิจารณาบรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 โดยตั้งส.ส.ร. เข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภาอีกครั้ง โดยให้คณะกรรมการประสานงานฯ และเสนอความเห็น เพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยของประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร ไปวินิจฉัยอีกครั้งว่า จะต้องทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ 3 ครั้งหรือ 2 ครั้ง หวังว่า ข้อมูลใหม่ทั้ง 2 อย่างจะเพียงพอให้คณะกรรมการประสานงานฯ วินิจฉัยว่าทำประชามติแค่ 2 ครั้งก็เพียงพอ
เมื่อถามว่า การเลือกตั้งครั้งหน้าจะได้ใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ นายพริษฐ์ กล่าวว่า รัฐบาลเคยสัญญากับประชาชนจะจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ให้ทันก่อนการเลือกตั้งครั้งถัดไป หรือตอนที่พรรคเพื่อไทยฉีกเอ็มโอยูพรรคก้าวไกลช่วงจัดตั้งรัฐบาล ก็ระบุว่า จะจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ให้เสร็จก่อนเลือกตั้ง แล้วจะยุบสภาฯ คืนอำนาจให้ประชาชน ฉะนั้นเห็นชัดว่า รัฐบาลได้สัญญาจะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก่อนเลือกตั้งครั้งถัดไป
แต่หากรัฐบาลยังเดินตามแผนเดิมให้ทำประชามติ 3 ครั้ง โอกาสที่จะมีรัฐธรรมนูญก่อนเลือกตั้งครั้งหน้า จะเป็นจริงน้อยมาก หนทางเดียวที่จะทำให้เป้าหมายดังกล่าวเป็นจริงได้คือ ลดการทำประชามติจาก 3 ครั้งเหลือ 2 ครั้ง หากเดินตามแผนเดิม โอกาสเสร็จทันก็น้อย สิ่งที่อยากเห็นคือ ความมุ่งมั่นของรัฐบาลที่จะรักษาสัญญากับประชาชน เป็นเป้าหมายที่รัฐบาลและพรรคประชาชนเห็นพ้องกัน จึงอยากเห็นรัฐบาลมาร่วมมือ และมุ่งมั่นทำเรื่องนี้ด้วยกัน
เมื่อถามว่า จะคุยกับแกนนำพรรคเพื่อไทยหรือไม่ นายพริษฐ์ กล่าวว่า ตอนออกหนังสือขอเข้าพบนั้น ออกพร้อมกัน 3ฉบับคือประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานสภาฯ และนายกรัฐมนตรี แต่ตอนนี้ยังไม่ได้เข้าพบนายกรัฐมนตรี เป็นเจตนารมณ์ของเราอยู่แล้วที่อยากเข้าพบฝ่ายบริหาร ซึ่งเหลือเพียงคำตอบของฝ่ายบริหารว่าจะให้เราเข้าพบเมื่อไหร่
เมื่อถามว่า หากทำประชามติ 2 ครั้ง ประเมินว่าจะได้เห็น ส.ส.ร.ใหม่ทันปี 2568 หรือไม่ นายพริษฐ์ กล่าวว่า หากมีการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ตั้งส.ส.ร. และคณะกรรมการประสานงานฯ ตัดสินใจบรรจุวาระในรอบนี้ ก็จะเข้าสู่การพิจารณาวาระ 1 ได้ทันที ในการเปิดสมัยประชุมสภาเดือนธันวาค ก็มีความเป็นไปได้ว่า อาจจะผ่าน 3 วาระ ภายใน 3-6 เดือน หากเป็นเช่นนั้น ประชามติรอบแรกจะเกิดขึ้นหลังผ่านวาระ 3 อาจเป็นช่วงหลังปี 2568 เมื่อประชามติผ่านแล้วจะต้องมีกระบวนการเลือกตั้งส.ส.ร. หากทำทุกอย่างเสร็จได้ภายในปี2568 ส.ส.ร.จะมีเวลาปี 2569 จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และทำให้สามารถนำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไปทำประชามติรอบ 2 ได้ช่วงต้นปี 2570 ก็จะเสร็จทันก่อนการเลือกตั้งครั้งต่อไป วันนี้อยากให้มีการทบทวนการตัดสินใจเรื่องการบรรจุวาระแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 256 ใหม่ จึงจำเป็นต้องยื่นร่างเดิมเข้าไปอีกครั้ง ให้คณะกรรมการประสานงานฯ มีข้อมูลใหม่ประกอบการพิจารณา
ด้าน ว่าที่ร.ต.ต.อาพัทธ์ สุขะนันท์ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ในฐานะประธานกรรมการประสานงานและเสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยของประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อได้ข้อมูลใหม่ที่กมธ.พัฒนาการเมืองฯยื่นต่อประธานรัฐสภาแล้ว จะนำไปประกอบคำวินิจฉัย เพื่อพิจารณาว่า คณะกรรมการประสานงานฯจะกลับมติที่เคยให้ความเห็นไม่บรรจุวาระการแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 256 โดยการตั้งสสร.มายกร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ ตามที่พรรคก้าวไกลในขณะนั้นยื่นร่างเข้ามา คณะกรรมการประสานงานฯอาจเรียกนายพริษฐ์ ชในฐานะประธานกมธ.พัฒนาการเมืองฯ มาให้ข้อมูลเพื่อพิจารณาทบทวนความเห็น แม้คำวินิจฉัยที่เป็นความเห็นของตุลาการรัฐธรรมนูญรายบุคคล จะไม่มีผลทางกฎหมายเหมือนคำวินิจฉัยกลางศาลรัฐธรรมนูญ แต่อาจนำมาใช้พิจารณาประกอบแนวทางคำวินิจฉัยกลางศาลรัฐธรรมนูญว่า จะต้องทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ 2 หรือ 3 ครั้ง ก็มีโอกาสที่คณะกรรมการประสานงานฯจะกลับมติก่อนหน้านี้ได้ ถ้าข้อมูลใหม่ช่วยให้คำวินิจฉัยกลางมีความกระจ่างมากขึ้น เพราะเรายึดคำวินิจฉัยกลางเป็นหลัก และใช้คำวินิจฉัยส่วนบุคคลมาประกอบ.
'กัณวีร์' ชี้ ชายแดนไทย-พม่า ยังร้อน 'ว้าแดง' รุกอธิปไตยไทย แถบเชียงใหม่ – แม่ฮ่องสอน
https://prachatai.com/journal/2024/11/111509
กัณวีร์ ชี้ ปัญหาชายแดนไทยรอบด้าน ชายแดนไทย-เมียนมา ยังคงร้อน ว้าแดงรุกล้ำเข้ามาในอธิปไตยไทย ทั้ง 9 จุด แถบเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน ถามนโยบายความมั่นคงที่มาจาก สมช. ใช้ได้จริงแค่ไหน ฝั่งชายแดนเมียนมาเป็นเรื่องต้องใช้การวางนโยบายและยุทธศาสตร์มากกว่าการทหาร นอกจากนี้เมื่อวันที่ 24 พ.ย. ที่ผ่านมา ทางการไทยยังส่งตัวผู้ลี้ภัยชาวกัมพูชาที่ได้สถานะผู้ลี้ภัยจาก UNHCR กลับประเทศ
27 พ.ย. 2567 กัณวีร์ สืบแสง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “กัณวีร์ สืบแสง Kannavee Suebsang” ระบุ เรื่องที่ชายแดนไทย-เมียนมา ยังคงร้อน ช่วงนี้ปัญหาชายแดนไทยรอบด้านมีทั้งปัญหาความมั่นคง สิทธิมนุษยชน และมนุษยธรรมนะครับ ยุทธศาสตร์ความมั่นคงชายแดนของไทยและนโยบายความมั่นคงกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นอย่างไร ต้องมีการปรับปรุงหรือไม่ และควรปรับปรุงอย่างไร เท่าที่ตนเองจำได้ตอนที่ได้รับผิดชอบการจัดทำติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์ความมั่นคงชายแดนไทยรอบด้าน และได้ทำงานเรื่องนโยบายความมั่นคงกับประเทศเพื่อนบ้านนั้น ยุทธศาสตร์ความมั่นคงชายแดนถูกแยกจากนโยบายความมั่นคงกับประเทศเพื่อนบ้าน และแทบจะขาดความเชื่อมโยงระหว่างกัน
กัณวีร์ระบุว่า “นโยบายความมั่นคง” ที่มาจากส่วนกลาง หรือ สมช. นั้น หน่วยปฏิบัติในพื้นที่ได้นำนโยบายไปปรับใช้มากน้อยเพียงใด
ขณะนี้ฝั่งชายแดนติดเมียนมาเรื่องร้อนจากปัญหาเรื่องว้าแดงที่รุกล้ำเข้ามาในอธิปไตยไทยทั้ง 9 จุดทั้งในเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่คำถามคือแผนยุทธการการทหารที่ทำมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้นมันสอดคล้องกับนโยบายส่วนกลางมากน้อยแค่ไหน หรือส่วนกลางไม่มีนโยบายใดๆ เลยในเรื่องนี้ เพราะปล่อยให้เป็นแค่เรื่องการทหาร ต้องวิเคราะห์ให้ออกกันว่าฝั่งเมียนมานั้นต้องใช้การวางนโยบายและยุทธศาสตร์มากกว่าการทหาร เพราะรวมกับการต่างประเทศ การถ่วงดุลอำนาจระหว่างหลายกลุ่มในเมียนมา และแต่ละรัฐชายแดนในเมียนมาที่ติดกับไทยก็มีความแตกต่างกันไปในรายละเอียด ดังนั้นแนวนโยบายของไทยจึงต้องอ่อนตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่แท้จริงในฝั่งเมียนมา
รัฐฉานนั้นสลับซับซ้อน เพราะมีทั้งตอนเหนือ ตอนกลางและตอนใต้ของรัฐฉาน ซึ่งตัวละครแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในแต่ละพื้นที่ ทางตอนใต้ถึงแม้ไทยจะมีความสัมพันธ์ที่ดีกับสภากอบกู้รัฐฉานทางตอนใต้ (RCSS) แต่กรณีว้าแดงก็แสดงให้เห็นถึงพื้นที่ที่ RCSS/SSA ยังต้องเผชิญสถานการณ์ภายในเมียนมาด้านทหารระหว่างกัน และมากระทบกับไทยในการรุกล้ำดินแดนของว้าแดงในไทยที่เห็นอยู่
กัณวีร์ตั้งคำถามว่าไทยจะทำอย่างไร จะเข้าไปรบหรือใช้ยุทธวิธีอย่างไรที่ข้ามเขตแดนและกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ไทยมีความสัมพันธ์ที่ดีกับทหารเมียนมา RCSS/SSA ของเจ้ายอดศึก แล้วทำไมว้าแดงไทยทำอะไรไม่ได้ และว้าแดงที่อยู่ตอนใต้ที่มีปัญหาเรื่องยาเสพติดกระทบต่อไทยโดยตรงและทั้งภูมิภาคนั้น มีใครมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่
นอกนี้จากนี้มาทางฝั่งชายแดนที่ติดกับกัมพูชาทางการไทยยังมีประเด็นส่งตัวผู้ลี้ภัยชาวกัมพูชากลับประเทศ เมื่อวันที่ 24 พ.ย. ที่ผ่านมา โดยผู้ถูกเนรเทศออกนอกประเทศทั้ง 7 คน เป็นผู้ลี้ภัยที่ได้รับสถานะผู้ลี้ภัยจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ UNHCR ไปทั้งหมดแล้ว 1 ใน 7 คนนี้ เป็นเด็กชายอายุ 5 ขวบ และ 5 ใน 7 คนนี้ เป็นสมาชิกพรรคฝ่ายค้าน CNRP ของกัมพูชา ซึ่งสามารถคาดเดาอนาคตของผู้ที่ถูกเนรเทศนี้ได้ว่าจะต้องเผชิญชะตากรรมที่หนักอยู่
เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องผู้หลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมายเท่านั้นที่จะใช้แค่ พรบ.ตรวจคนเข้าเมืองมาบังคับใช้และดำเนินการเนรเทศออกไปอย่างกรณีธรรมดา กัณวีร์ย้ำว่านี่คือประเด็นผู้ลี้ภัย ไทยไม่สามารถผลักดันคนกลับไปตายได้ตามหลักกฎหมายจารีตประเพณีปฏิบัติระหว่างประเทศ (International Customary Law) ในเรื่องหลักการไม่ส่งกลับ (non-refoulement) และเรื่องนี้เข้าข่ายที่เรียกว่าการกดปราบข้ามชาติ (Transnational Repression—TNR) คือความร่วมมือของรัฐในการประหัตประหารประชาชนผู้บริสุทธิ์ หรือผู้ลี้ภัยเพื่อมีการผลักดันให้กลับไปถูกประหัตประหารในประเทศต้นทางที่เขาหนีและลี้ภัยออกมา
ยื่นหนังสือตัวแทนเจรจาไทย-EU จัดทำ FTA รัฐบาลต้องลงนาม ILO 87-98 ยกระดับสิทธิรวมตัวต่อรอง
https://prachatai.com/journal/2024/11/111504
• พรรคประชาชน และเครือข่ายแรงงาน ยื่นหนังสือถึงผู้แทนไทย-EU ให้หยิบยกประเด็นการลงนามในอนุสัญญา ILO 87-98 ว่าด้วยเรื่องคุ้มครองสิทธิการรวมตัว-เจรจาต่อรองของแรงงาน มาคุยในการประชุมเจรจาเขตการค้าเสรี FTA ชี้นอกจากบรรลุผลประโยชน์ทางการค้าอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว และเป็นธรรมต่อสังคมและเศรษฐกิจโดยรวม
• ‘เซีย’ ชี้ไม่จำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายก่อน แล้วค่อยลงนามอนุสัญญาฯ แต่สามารถลงนามในอนุสัญญาก่อนได้เลย ไรเดอร์หวังว่าการรับรองฯ ช่วยเพิ่มสิทธิการรวมตัว-เจรจาต่อรองบริษัทแพลตฟอร์ม
27 พ.ย. 2567 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งวันนี้ (27 พ.ย.) ที่โรงแรมดิ แอทธินี โฮเทล แบงค็อก ถนนวิทยุ กรุงเทพฯ พรรคประชาชน และเครือข่ายขับเคลื่อน ILO 87-98 ซึ่งเป็นภาคประชาสังคม ร่วมยื่นหนังสือถึงผู้แทนเจรจาเขตเสรีการค้าระหว่างประเทศไทย-สหภาพยุโรป (EU) เพื่อเรียกร้องให้ตัวแทนเจรจาทั้ง 2 ฝ่าย หยิบยกประเด็น การลงนามของประเทศไทยในอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 ระหว่างการประชุมการทำข้อตกลง FTA รอบที่ 4
บรรยากาศการยื่นหนังสือ (ถ่ายโดย ธรรศกร เพาะปลูก)