‘พริษฐ์’ แจงปมโซเชียล แห่ติดแฮชแท็ก ‘พรรคประชาชนพม่า’ ชี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่จำเป็นต้องพูด
https://www.matichon.co.th/politics/news_4797690
‘พริษฐ์’ แจงปมโซเชียล แห่ติดแฮชแท็ก ‘พรรคประชาชนพม่า’ ชี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่จำเป็นต้องพูด จี้รัฐแก้ปัญหาตรงจุด นำแรงงานเมียนมาใต้ดินเข้าสู่ระบบ
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 18 กันยายน ที่รัฐสภา นาย
พริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน (ปชน.) ให้สัมภาษณ์กรณีที่สื่อโซเชียลวิพากษ์วิจารณ์ว่า พรรคประชาชนพม่า สืบเนื่องมาจาก สส.พรรคประชาชนได้อภิปรายการให้สิทธิแรงงานเมียนมา ซึ่งผู้ที่วิจารณ์ก็เป็นคนที่สนับสนุนพรรคประชาชน ว่า ทางพรรคประชาชนยินดีชี้แจง เพราะเป็นประเด็นละเอียดอ่อนอาจจะกระทบต่อความรู้สึกของพี่น้องประชาชนจำนวนไม่น้อย ยืนยันว่าแนวทางของพรรคประชาชนมองว่าอะไรก็ตามที่เป็นปัญหาต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน จะต้องหยิบขึ้นมาพูดคุยกันตรงไปตรงมา ไม่ว่าจะมีความละเอียดอ่อนแค่ไหน
นายพริษฐ์ กล่าวว่า ปัจจุบันไทยมีแรงงานเมียนมาอยู่ประมาณ 6 ล้านกว่าคน แต่เกินครึ่งไม่ได้อยู่ในระบบที่ถูกต้องตามกระบวนการกฎหมาย ซึ่งเกิดจากการสมรู้ร่วมคิดจากเจ้าหน้าที่รัฐด้วย ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นคือความท้าทายในการบริหารจัดการปัญหาที่จะตามมา เมื่อเข้ามาไม่ถูกตามกฎหมายก็จะเกิดปัญหาทุจริตคอรัปชั่น และภาครัฐไม่มีฐานข้อมูลในการบริหารจัดการ ซึ่งอาจจะเกิดความท้าทายเรื่องปัญหาสังคมที่รัฐกำกับดูแลยากขึ้น รัฐไม่มีฐานข้อมูลว่าแรงงานเมียนมาเข้ามาประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมใดบ้าง
นาย
พริษฐ์ กล่าวต่อว่า ถ้าต้องการบริหารจัดการปัญหานี้อย่างตรงจุด เพื่อป้องกันปัญหาทุจริตคอรัปชั่น และปัญหาอาชญากรรมที่ตามมา รวมถึงการจัดหาแรงงานเมียนมาให้สอดคล้องกับผู้ประกอบการไทยอย่างเป็นระบบ สิ่งสำคัญคือต้องดึงแรงงานเมียนมานอกระบบเข้ามาอยู่ในระบบ เพื่อให้มีฐานข้อมูลจัดระเบียบทำให้ปัญหาต่าง ๆ ถูกแก้ไขและเป็นประโยชน์กับประชาชนคนไทย
เมื่อถามถึงข้อกังวลที่คนเมียนมาจะเข้ามาใช้สิทธิเทียบเท่ากับคนไทยนั้น นาย
พริษฐ์ กล่าวว่า ถ้ารัฐจะเข้ามาบริหารจัดการเรื่องนี้ รัฐจะต้องรู้ก่อนว่า ปัจจุบันแรงงานเมียนมาประกอบอาชีพด้านใดบ้าง แต่ละรัฐไม่มีฐานข้อมูลเหล่านี้ และย้ำว่ารัฐจะต้องนำแรงงานเมียนมาเข้ามาอยู่ในระบบเพื่อคลี่คลายข้อกังวลของคนไทย ซึ่งรายได้ของแรงงานเมียนมาจะเข้าสู่ระบบภาษี ส่งผลให้รัฐจัดการปัญหาให้เป็นระบบมากขึ้น
เมื่อถามว่า นอกจากการอภิปรายของสส. จะมีรูปธรรมอย่างอื่นที่จะนำเสนอ เช่น กฎหมายที่เตรียมเสนอหรือไม่ นาย
พริษฐ์ กล่าวว่า ตอนนี้ยังเป็นขั้นตอนการเสนอแนะนโยบายต่อรัฐบาล เพราะหลายมาตราการเป็นมาตราของฝ่ายบริหาร อาจจะมีการคาบเกี่ยวหลายกระทรวง ดังนั้น จึงมีสส.อภิปรายเรื่องดังกล่าวในการแถลงนโยบายเป็นหลัก.
พรรคประชาชน แจงเหตุยื่นแก้รธน. 2 ประเด็น เผยเข้าวาระ 25 ก.ย.นี้ พร้อมถกเดือด.
https://www.matichon.co.th/politics/news_4797672
‘พริษฐ์’ ห่วง รธน.ฉบับใหม่ คลอดไม่ทันก่อนเลือกตั้งครั้งหน้า เผย ปชน.ยื่นร่างแก้ รธน. ทบทวนเงื่อนไขยุบพรรค-นิยามมาตรฐานทางจริยธรรม เลิกให้ศาล รธน.ผูกขาดการตีความ เปลี่ยนเป็นระบบแสดงความรับผิดชอบ
เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 18 กันยายน ที่รัฐสภา นาย
พริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน (ปชน.) ให้สัมภาษณ์ถึงการยื่นร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 60 ของพรรค ปชน.ว่า เป็นการเดินคู่ขนานเร่งรัดกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ให้มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตยโดยเร็ว ด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา ในประเด็นที่มีความสำคัญจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งพรรค ปชน.ยื่นร่างแก้ไข ประเด็นการลบล้างผลพวงจากรัฐประหาร ยกเลิกยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยกเลิกมาตรามาตรา 279 ที่เกี่ยวกับประกาศและคำสั่ง คสช. รวมถึงเพิ่มหมวดการป้องกันรัฐประหารไปแล้ว คาดว่าจะพิจารณาในวันที่ 25 กันยายนนี้
นาย
พริษฐ์กล่าวต่อว่า ส่วนร่างแก้ไขเพิ่มเติมที่กำลังดำเนินการ คือการแก้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ โดยมี 2 ประเด็น ได้แก่
1. ทบทวนแก้ไขอำนาจการยุบพรรค ซึ่งจะต้องมีการยื่นร่างแก้ไข พ.ร.ป.พรรคการเมือง เพื่อให้สถาบันการเมืองยึดโยงกับประชาชน รวมถึงเงื่อนไขการยุบพรรค ซึ่งคาดว่าจะมีร่างฉบับกลางที่เซ็นร่วมกันในกรรมาธิการ (กมธ.) พัฒนาการเมืองฯ และอาจจะมีร่างของพรรคการเมืองอื่นยื่นประกบ
2. ทบทวนอำนาจเกี่ยวกับมาตรฐานทางจริยธรรม ที่ถูกเพิ่มเช้ามาในรัฐธรรมนูญ 60 ซึ่งไม่ใช่ว่าเราไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องจริยธรรม แต่ต้องการให้ผู้ดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ สามารถปฏิบัติงานด้วยมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างสุจริต อย่างไรก็ตาม การที่รัฐธรรมนูญ 60 นำมาตราฐานทางจริยธรรมมาบรรจุในกฎหมาย อาจเกิดปัญหาได้ เพราะเป็นเรื่องที่มีความเป็นนามธรรมสูง แต่ละคนนิยามไม่เหมือนกัน แต่กลับให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ผูกขาดนิยามมาตรฐานทางจริยธรรม และบังคับใช้กับทุกองค์กร ดังนั้นเมื่อมีการยื่นเรื่องให้วินิจฉัย องค์กรที่วินิจฉัยไต่สวนคือศาลรัฐธรรมนูญ เรามองว่าเรื่องนี้เป็นปัญหา จึงเสนอให้เปลี่ยนเป็นความรับผิดชอบทางการเมือง เช่น หากเกิดกรณีการแต่งตั้งบุคคลมาเป็นรัฐมนตรี จะต้องแสดงความรับผิดชอบต่อกระแสข้อวิจารณ์ทางสังคม ซึ่งท้ายที่สุดจะส่งผลไปถึงคูหาเลือกตั้ง
“
สิ่งที่เรามองว่าเป็นปัญหาคือการนำเรื่องที่เป็นนามธรรมในจริยธรรมกำหนดไว้ในตัวบทกฎหมาย และให้อำนาจกับองค์กรกลุ่มเดียวในการนิยาม มีบทบาทหลักในการตีความวินิจฉัย สิ่งที่ต้องการเห็นคือการปรับปรุงกำกับจริยธรรม อย่างแรกมองว่าเรื่องจริยธรรมสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองสิ่งสำคัญคือความรับผิดรับผิดชอบทางการเมือง” นาย
พริษฐ์กล่าว
นาย
พริษฐ์กล่าวว่า ส่วนร่างแก้ไขเพิ่มเติมในประเด็นเดียวกันของพรรคอื่น ต้องดูเนื้อหารายละเอียด แต่มองว่าหลายพรรคเห็นปัญหาคล้ายกัน แต่แนวทางการแก้ไขอาจแตกต่าง อย่างไรก็ตาม ทุกพรรคการเมืองที่ยื่นร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ จะไปจบที่การพิจารณาร่วมกันในที่ประชุมรัฐสภา หากภาพรวมเห็นปัญหาตรงกัน แต่แตกต่างกันในรายละเอียด มองว่าเป็นโอกาสดีที่จะรับประกัน และถกเถียงเพิ่มเติมในชั้น กมธ.
ผู้สื่อข่าวถามว่า มองอย่างไรที่ นาย
ชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุว่า รัฐบาลชุดนี้ยังมีจุดยืนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เหมือนเดิม คือไม่แก้หมวด 1 และหมวด 2 นาย
พริษฐ์กล่าวว่า จุดยืนของพรรคประชาชนยังคงเหมือนเดิม ซึ่งเห็นต่างกับทางรัฐบาล ทั้งนี้ การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ผ่านมา ยังไม่เคยเห็นการยกเว้นปรับปรุงเนื้อหาหมวด 1 เพียงแต่วางกรอบไว้ว่า การแก้ไขจะไม่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองหรือรูปแบบรัฐ อีกทั้งที่ผ่านมา ในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก็มีการปรับปรุงหมวด 1 และหมวด 2 ซึ่งไม่ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองแต่อย่างใด
นาย
พริษฐ์กล่าวต่อว่า ส่วนคำถามประชามติ พรรคประชาชนให้ความสำคัญ แม้รัฐบาลจะมีจุดยืนไม่ต้องการแก้ไขเนื้อหาในหมวด 1 และหมวด 2 แต่คำถามประชามติควรถามในลักษณะที่เปิดกว้าง และไม่นำเงื่อนไขดังกล่าวมากำหนดไว้ในคำถาม หากรัฐบาล น.ส.
แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ยังคงยืนยันประเด็นคำถามเดิม ซึ่งเป็นการถามสองเรื่องในคำถามเดียวกัน กังวลว่าจะเกิดความไม่ชัดเจนกับประชาชนที่เห็นด้วยในบางส่วนของคำถาม ทำให้ส่งผลไปถึงการลงประชามติ ซึ่งพรรคประชาชนประเมินว่า โอกาสที่จะทำให้ประชามติผ่านความเห็นชอบลดน้อยลง
เมื่อถามว่า ต้องเจรจากับฝั่งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) หรือไม่ เพราะต้องพึ่งเสียงเห็นชอบ 1 ใน 3 นาย
พริษฐ์กล่าวว่า หลังจากนี้คงต้องมีการพูดคุยกันทุกฝ่าย และมองว่าในวันที่ 25 กันยายนนี้ จะเป็นครั้งแรกที่จะได้เห็นสภาชุดใหม่เข้ามามีส่วนการพิจารณารัฐธรรมนูญ ต้องดูท่าทีการอภิปรายและการแสดงความเห็น รวมถึงการลงมติ ว่ามีจุดยืนอย่างไร ทั้งนี้ ยังไม่มีการพูดคุยกันกับ ส.ว. แต่คาดหวังว่าร่างแก้ไขเพิ่มเติมที่บรรจุระเบียบวาระไว้แล้ว ซึ่งมีเรื่องลบล้างผลพวงจากการทำรัฐประหาร ป้องกันการทำรัฐประหารในอนาคต รวมถึงลบล้างผลพวงคำสั่ง คสช. ทุกฝ่ายทางการเมืองจะมีจุดร่วมกัน เพื่อรักษาไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตย และไม่ต้องการให้เกิดรัฐประหารขึ้นอีกในอนาคต แม้จะเห็นต่างกันเชิงนโยบาย
เมื่อถามว่า ประเมินกรอบเวลาการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในช่วงเวลา 3 ปีที่เหลืออยู่ของรัฐบาลอย่างไร นาย
พริษฐ์กล่าวว่า กระบวนการทำฉบับใหม่อาศัยเวลา หากเดินตามรถแบบของรัฐบาล ที่ต้องทำประชามติ 3 ครั้ง และ 1 ปีที่ผ่านมายังไม่ได้เริ่มดำเนินการ ทำให้เวลาถูกบีบ และตัวแปรเยอะเกินกว่าจะฟันธงได้
“
ยอมรับกังวลใจมีความเสี่ยงหากรัฐบาลไม่วางแผนอย่างรอบคอบ อาจจะไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่บังคับใช้ก่อนการเลือกตั้งครั้งต่อไป อย่างที่รัฐบาลเคยสัญญาไว้ ฝ่ายค้านไม่ได้นิ่งนอนใจ รอชมอย่างเดียวและพยายาม ยื่นข้อเสนอ และเร่งรัด กระบวนการตรงนี้ให้รัฐบาลดำเนินการโดยเร็วที่สุด” นาย
พริษฐ์กล่าว
เชื่อมั่นอุตฯดิ่ง น้ำท่วมซ้ำเติม ค้านค่าแรง 400 จี้รัฐทำตามมติอนุกรรมการรายจังหวัด
https://www.matichon.co.th/economy/news_4797796
เชื่อมั่นอุตฯดิ่ง น้ำท่วมซ้ำเติม ค้านค่าแรง 400 จี้รัฐทำตามมติอนุกรรมการรายจังหวัด
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคม 2567 ว่า ดัชนีอยู่ที่ระดับ 87.7 ปรับตัวลดลง จาก 89.3 ในเดือนกรกฎาคม 2567 ปัจจัยด้านลบจากอุปสงค์ในประเทศชะลอตัวลง
โดยเฉพาะสินค้าคงทนประเภทรถยนต์ สะท้อนจากยอดขายรถยนต์ในประเทศ 7 เดือน (มกราคม-กรกฎาคม 2567) อยู่ที่ 354,421 คัน หดตัว 23.71% โดยเฉพาะรถกระบะและรถบรรทุก เนื่องจากความเข้มงวดในการให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน ขณะที่กำลังซื้อยังเปราะบางจากความกังวลเรื่องปัญหาหนี้ครัวเรือนที่สูงถึง 90.8% ต่อจีดีพีในไตรมาสที่ 2/2567 กดดันการบริโภคในประเทศ ซึ่งผู้ประกอบการยังเผชิญปัญหาต้นทุนการผลิตสูง ทั้งค่าไฟฟ้า ราคาวัตถุดิบ ต้นทุนทางการเงิน รวมถึงปัญหาการทุ่มตลาดของสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศ ทำให้สินค้าไทยแข่งขันไม่ได้ เนื่องจากมีต้นทุนที่สูงกว่า ส่งผลให้ยอดขายสินค้าลดลง
นอกจากนี้ยังเจอปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลางสร้างความเสียหายแก่ภาคเกษตรและอุตสาหกรรม ส่งผลให้ภาคก่อสร้างชะลอตัวลง นอกจากนี้ด้านการส่งออกยังเจอปัญหาอัตราค่าระวางเรือสูง โดยเฉพาะเส้นทางสหรัฐฯ และยุโรป จากการเร่งส่งออกของจีนและสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลางรุนแรง รวมทั้งผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งค่ารวดเร็วจากระดับ 36.46 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐเดือนกรกฎาคม 2567 เป็น 34.92 บาท
ต่อดอลลาร์สหรัฐเดือนสิงหาคม 2567 ส่งผลให้สินค้าไทยแพงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งและส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันลดลง
อย่างไรก็ตามเดือนสิงหาคม ยังมีปัจจัยบวกจากสถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลาย นักลงทุนและผู้ประกอบการเชื่อมั่นมากขึ้น คาดหวังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่ รวมทั้งการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเดือนสิงหาคม เบิกจ่ายแล้ว 81.6% ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวได้แรงสนับสนุนจากมาตรการดึงดูดนักท่องเที่ยวของภาครัฐ สะท้อนจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 8 เดือน (มกราคม – สิงหาคม 2567) แตะ 23,567,850 คน ขยายตัว 31% สร้างรายได้เข้าประเทศมูลค่า 1,107,985 ล้านบาท คาดว่าทั้งปีนี้นักท่องเที่ยวต่างชาติจะถึงเป้าหมาย 35-36 ล้านคน
JJNY : ‘พริษฐ์’ แจงปมแห่ติดแฮชแท็ก│ปชช.แจงเหตุยื่นแก้รธน.│เชื่อมั่นอุตฯดิ่ง น้ำท่วมซ้ำเติม│น้ำท่วมยุโรปขยายไปถึงฮังการี
https://www.matichon.co.th/politics/news_4797690
‘พริษฐ์’ แจงปมโซเชียล แห่ติดแฮชแท็ก ‘พรรคประชาชนพม่า’ ชี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่จำเป็นต้องพูด จี้รัฐแก้ปัญหาตรงจุด นำแรงงานเมียนมาใต้ดินเข้าสู่ระบบ
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 18 กันยายน ที่รัฐสภา นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน (ปชน.) ให้สัมภาษณ์กรณีที่สื่อโซเชียลวิพากษ์วิจารณ์ว่า พรรคประชาชนพม่า สืบเนื่องมาจาก สส.พรรคประชาชนได้อภิปรายการให้สิทธิแรงงานเมียนมา ซึ่งผู้ที่วิจารณ์ก็เป็นคนที่สนับสนุนพรรคประชาชน ว่า ทางพรรคประชาชนยินดีชี้แจง เพราะเป็นประเด็นละเอียดอ่อนอาจจะกระทบต่อความรู้สึกของพี่น้องประชาชนจำนวนไม่น้อย ยืนยันว่าแนวทางของพรรคประชาชนมองว่าอะไรก็ตามที่เป็นปัญหาต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน จะต้องหยิบขึ้นมาพูดคุยกันตรงไปตรงมา ไม่ว่าจะมีความละเอียดอ่อนแค่ไหน
นายพริษฐ์ กล่าวว่า ปัจจุบันไทยมีแรงงานเมียนมาอยู่ประมาณ 6 ล้านกว่าคน แต่เกินครึ่งไม่ได้อยู่ในระบบที่ถูกต้องตามกระบวนการกฎหมาย ซึ่งเกิดจากการสมรู้ร่วมคิดจากเจ้าหน้าที่รัฐด้วย ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นคือความท้าทายในการบริหารจัดการปัญหาที่จะตามมา เมื่อเข้ามาไม่ถูกตามกฎหมายก็จะเกิดปัญหาทุจริตคอรัปชั่น และภาครัฐไม่มีฐานข้อมูลในการบริหารจัดการ ซึ่งอาจจะเกิดความท้าทายเรื่องปัญหาสังคมที่รัฐกำกับดูแลยากขึ้น รัฐไม่มีฐานข้อมูลว่าแรงงานเมียนมาเข้ามาประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมใดบ้าง
นายพริษฐ์ กล่าวต่อว่า ถ้าต้องการบริหารจัดการปัญหานี้อย่างตรงจุด เพื่อป้องกันปัญหาทุจริตคอรัปชั่น และปัญหาอาชญากรรมที่ตามมา รวมถึงการจัดหาแรงงานเมียนมาให้สอดคล้องกับผู้ประกอบการไทยอย่างเป็นระบบ สิ่งสำคัญคือต้องดึงแรงงานเมียนมานอกระบบเข้ามาอยู่ในระบบ เพื่อให้มีฐานข้อมูลจัดระเบียบทำให้ปัญหาต่าง ๆ ถูกแก้ไขและเป็นประโยชน์กับประชาชนคนไทย
เมื่อถามถึงข้อกังวลที่คนเมียนมาจะเข้ามาใช้สิทธิเทียบเท่ากับคนไทยนั้น นายพริษฐ์ กล่าวว่า ถ้ารัฐจะเข้ามาบริหารจัดการเรื่องนี้ รัฐจะต้องรู้ก่อนว่า ปัจจุบันแรงงานเมียนมาประกอบอาชีพด้านใดบ้าง แต่ละรัฐไม่มีฐานข้อมูลเหล่านี้ และย้ำว่ารัฐจะต้องนำแรงงานเมียนมาเข้ามาอยู่ในระบบเพื่อคลี่คลายข้อกังวลของคนไทย ซึ่งรายได้ของแรงงานเมียนมาจะเข้าสู่ระบบภาษี ส่งผลให้รัฐจัดการปัญหาให้เป็นระบบมากขึ้น
เมื่อถามว่า นอกจากการอภิปรายของสส. จะมีรูปธรรมอย่างอื่นที่จะนำเสนอ เช่น กฎหมายที่เตรียมเสนอหรือไม่ นายพริษฐ์ กล่าวว่า ตอนนี้ยังเป็นขั้นตอนการเสนอแนะนโยบายต่อรัฐบาล เพราะหลายมาตราการเป็นมาตราของฝ่ายบริหาร อาจจะมีการคาบเกี่ยวหลายกระทรวง ดังนั้น จึงมีสส.อภิปรายเรื่องดังกล่าวในการแถลงนโยบายเป็นหลัก.
พรรคประชาชน แจงเหตุยื่นแก้รธน. 2 ประเด็น เผยเข้าวาระ 25 ก.ย.นี้ พร้อมถกเดือด.
https://www.matichon.co.th/politics/news_4797672
‘พริษฐ์’ ห่วง รธน.ฉบับใหม่ คลอดไม่ทันก่อนเลือกตั้งครั้งหน้า เผย ปชน.ยื่นร่างแก้ รธน. ทบทวนเงื่อนไขยุบพรรค-นิยามมาตรฐานทางจริยธรรม เลิกให้ศาล รธน.ผูกขาดการตีความ เปลี่ยนเป็นระบบแสดงความรับผิดชอบ
เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 18 กันยายน ที่รัฐสภา นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน (ปชน.) ให้สัมภาษณ์ถึงการยื่นร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 60 ของพรรค ปชน.ว่า เป็นการเดินคู่ขนานเร่งรัดกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ให้มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตยโดยเร็ว ด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา ในประเด็นที่มีความสำคัญจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งพรรค ปชน.ยื่นร่างแก้ไข ประเด็นการลบล้างผลพวงจากรัฐประหาร ยกเลิกยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยกเลิกมาตรามาตรา 279 ที่เกี่ยวกับประกาศและคำสั่ง คสช. รวมถึงเพิ่มหมวดการป้องกันรัฐประหารไปแล้ว คาดว่าจะพิจารณาในวันที่ 25 กันยายนนี้
นายพริษฐ์กล่าวต่อว่า ส่วนร่างแก้ไขเพิ่มเติมที่กำลังดำเนินการ คือการแก้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ โดยมี 2 ประเด็น ได้แก่
1. ทบทวนแก้ไขอำนาจการยุบพรรค ซึ่งจะต้องมีการยื่นร่างแก้ไข พ.ร.ป.พรรคการเมือง เพื่อให้สถาบันการเมืองยึดโยงกับประชาชน รวมถึงเงื่อนไขการยุบพรรค ซึ่งคาดว่าจะมีร่างฉบับกลางที่เซ็นร่วมกันในกรรมาธิการ (กมธ.) พัฒนาการเมืองฯ และอาจจะมีร่างของพรรคการเมืองอื่นยื่นประกบ
2. ทบทวนอำนาจเกี่ยวกับมาตรฐานทางจริยธรรม ที่ถูกเพิ่มเช้ามาในรัฐธรรมนูญ 60 ซึ่งไม่ใช่ว่าเราไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องจริยธรรม แต่ต้องการให้ผู้ดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ สามารถปฏิบัติงานด้วยมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างสุจริต อย่างไรก็ตาม การที่รัฐธรรมนูญ 60 นำมาตราฐานทางจริยธรรมมาบรรจุในกฎหมาย อาจเกิดปัญหาได้ เพราะเป็นเรื่องที่มีความเป็นนามธรรมสูง แต่ละคนนิยามไม่เหมือนกัน แต่กลับให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ผูกขาดนิยามมาตรฐานทางจริยธรรม และบังคับใช้กับทุกองค์กร ดังนั้นเมื่อมีการยื่นเรื่องให้วินิจฉัย องค์กรที่วินิจฉัยไต่สวนคือศาลรัฐธรรมนูญ เรามองว่าเรื่องนี้เป็นปัญหา จึงเสนอให้เปลี่ยนเป็นความรับผิดชอบทางการเมือง เช่น หากเกิดกรณีการแต่งตั้งบุคคลมาเป็นรัฐมนตรี จะต้องแสดงความรับผิดชอบต่อกระแสข้อวิจารณ์ทางสังคม ซึ่งท้ายที่สุดจะส่งผลไปถึงคูหาเลือกตั้ง
“สิ่งที่เรามองว่าเป็นปัญหาคือการนำเรื่องที่เป็นนามธรรมในจริยธรรมกำหนดไว้ในตัวบทกฎหมาย และให้อำนาจกับองค์กรกลุ่มเดียวในการนิยาม มีบทบาทหลักในการตีความวินิจฉัย สิ่งที่ต้องการเห็นคือการปรับปรุงกำกับจริยธรรม อย่างแรกมองว่าเรื่องจริยธรรมสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองสิ่งสำคัญคือความรับผิดรับผิดชอบทางการเมือง” นายพริษฐ์กล่าว
นายพริษฐ์กล่าวว่า ส่วนร่างแก้ไขเพิ่มเติมในประเด็นเดียวกันของพรรคอื่น ต้องดูเนื้อหารายละเอียด แต่มองว่าหลายพรรคเห็นปัญหาคล้ายกัน แต่แนวทางการแก้ไขอาจแตกต่าง อย่างไรก็ตาม ทุกพรรคการเมืองที่ยื่นร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ จะไปจบที่การพิจารณาร่วมกันในที่ประชุมรัฐสภา หากภาพรวมเห็นปัญหาตรงกัน แต่แตกต่างกันในรายละเอียด มองว่าเป็นโอกาสดีที่จะรับประกัน และถกเถียงเพิ่มเติมในชั้น กมธ.
ผู้สื่อข่าวถามว่า มองอย่างไรที่ นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุว่า รัฐบาลชุดนี้ยังมีจุดยืนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เหมือนเดิม คือไม่แก้หมวด 1 และหมวด 2 นายพริษฐ์กล่าวว่า จุดยืนของพรรคประชาชนยังคงเหมือนเดิม ซึ่งเห็นต่างกับทางรัฐบาล ทั้งนี้ การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ผ่านมา ยังไม่เคยเห็นการยกเว้นปรับปรุงเนื้อหาหมวด 1 เพียงแต่วางกรอบไว้ว่า การแก้ไขจะไม่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองหรือรูปแบบรัฐ อีกทั้งที่ผ่านมา ในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก็มีการปรับปรุงหมวด 1 และหมวด 2 ซึ่งไม่ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองแต่อย่างใด
นายพริษฐ์กล่าวต่อว่า ส่วนคำถามประชามติ พรรคประชาชนให้ความสำคัญ แม้รัฐบาลจะมีจุดยืนไม่ต้องการแก้ไขเนื้อหาในหมวด 1 และหมวด 2 แต่คำถามประชามติควรถามในลักษณะที่เปิดกว้าง และไม่นำเงื่อนไขดังกล่าวมากำหนดไว้ในคำถาม หากรัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ยังคงยืนยันประเด็นคำถามเดิม ซึ่งเป็นการถามสองเรื่องในคำถามเดียวกัน กังวลว่าจะเกิดความไม่ชัดเจนกับประชาชนที่เห็นด้วยในบางส่วนของคำถาม ทำให้ส่งผลไปถึงการลงประชามติ ซึ่งพรรคประชาชนประเมินว่า โอกาสที่จะทำให้ประชามติผ่านความเห็นชอบลดน้อยลง
เมื่อถามว่า ต้องเจรจากับฝั่งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) หรือไม่ เพราะต้องพึ่งเสียงเห็นชอบ 1 ใน 3 นายพริษฐ์กล่าวว่า หลังจากนี้คงต้องมีการพูดคุยกันทุกฝ่าย และมองว่าในวันที่ 25 กันยายนนี้ จะเป็นครั้งแรกที่จะได้เห็นสภาชุดใหม่เข้ามามีส่วนการพิจารณารัฐธรรมนูญ ต้องดูท่าทีการอภิปรายและการแสดงความเห็น รวมถึงการลงมติ ว่ามีจุดยืนอย่างไร ทั้งนี้ ยังไม่มีการพูดคุยกันกับ ส.ว. แต่คาดหวังว่าร่างแก้ไขเพิ่มเติมที่บรรจุระเบียบวาระไว้แล้ว ซึ่งมีเรื่องลบล้างผลพวงจากการทำรัฐประหาร ป้องกันการทำรัฐประหารในอนาคต รวมถึงลบล้างผลพวงคำสั่ง คสช. ทุกฝ่ายทางการเมืองจะมีจุดร่วมกัน เพื่อรักษาไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตย และไม่ต้องการให้เกิดรัฐประหารขึ้นอีกในอนาคต แม้จะเห็นต่างกันเชิงนโยบาย
เมื่อถามว่า ประเมินกรอบเวลาการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในช่วงเวลา 3 ปีที่เหลืออยู่ของรัฐบาลอย่างไร นายพริษฐ์กล่าวว่า กระบวนการทำฉบับใหม่อาศัยเวลา หากเดินตามรถแบบของรัฐบาล ที่ต้องทำประชามติ 3 ครั้ง และ 1 ปีที่ผ่านมายังไม่ได้เริ่มดำเนินการ ทำให้เวลาถูกบีบ และตัวแปรเยอะเกินกว่าจะฟันธงได้
“ยอมรับกังวลใจมีความเสี่ยงหากรัฐบาลไม่วางแผนอย่างรอบคอบ อาจจะไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่บังคับใช้ก่อนการเลือกตั้งครั้งต่อไป อย่างที่รัฐบาลเคยสัญญาไว้ ฝ่ายค้านไม่ได้นิ่งนอนใจ รอชมอย่างเดียวและพยายาม ยื่นข้อเสนอ และเร่งรัด กระบวนการตรงนี้ให้รัฐบาลดำเนินการโดยเร็วที่สุด” นายพริษฐ์กล่าว
เชื่อมั่นอุตฯดิ่ง น้ำท่วมซ้ำเติม ค้านค่าแรง 400 จี้รัฐทำตามมติอนุกรรมการรายจังหวัด
https://www.matichon.co.th/economy/news_4797796
เชื่อมั่นอุตฯดิ่ง น้ำท่วมซ้ำเติม ค้านค่าแรง 400 จี้รัฐทำตามมติอนุกรรมการรายจังหวัด
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคม 2567 ว่า ดัชนีอยู่ที่ระดับ 87.7 ปรับตัวลดลง จาก 89.3 ในเดือนกรกฎาคม 2567 ปัจจัยด้านลบจากอุปสงค์ในประเทศชะลอตัวลง
โดยเฉพาะสินค้าคงทนประเภทรถยนต์ สะท้อนจากยอดขายรถยนต์ในประเทศ 7 เดือน (มกราคม-กรกฎาคม 2567) อยู่ที่ 354,421 คัน หดตัว 23.71% โดยเฉพาะรถกระบะและรถบรรทุก เนื่องจากความเข้มงวดในการให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน ขณะที่กำลังซื้อยังเปราะบางจากความกังวลเรื่องปัญหาหนี้ครัวเรือนที่สูงถึง 90.8% ต่อจีดีพีในไตรมาสที่ 2/2567 กดดันการบริโภคในประเทศ ซึ่งผู้ประกอบการยังเผชิญปัญหาต้นทุนการผลิตสูง ทั้งค่าไฟฟ้า ราคาวัตถุดิบ ต้นทุนทางการเงิน รวมถึงปัญหาการทุ่มตลาดของสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศ ทำให้สินค้าไทยแข่งขันไม่ได้ เนื่องจากมีต้นทุนที่สูงกว่า ส่งผลให้ยอดขายสินค้าลดลง
นอกจากนี้ยังเจอปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลางสร้างความเสียหายแก่ภาคเกษตรและอุตสาหกรรม ส่งผลให้ภาคก่อสร้างชะลอตัวลง นอกจากนี้ด้านการส่งออกยังเจอปัญหาอัตราค่าระวางเรือสูง โดยเฉพาะเส้นทางสหรัฐฯ และยุโรป จากการเร่งส่งออกของจีนและสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลางรุนแรง รวมทั้งผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งค่ารวดเร็วจากระดับ 36.46 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐเดือนกรกฎาคม 2567 เป็น 34.92 บาท
ต่อดอลลาร์สหรัฐเดือนสิงหาคม 2567 ส่งผลให้สินค้าไทยแพงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งและส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันลดลง
อย่างไรก็ตามเดือนสิงหาคม ยังมีปัจจัยบวกจากสถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลาย นักลงทุนและผู้ประกอบการเชื่อมั่นมากขึ้น คาดหวังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่ รวมทั้งการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเดือนสิงหาคม เบิกจ่ายแล้ว 81.6% ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวได้แรงสนับสนุนจากมาตรการดึงดูดนักท่องเที่ยวของภาครัฐ สะท้อนจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 8 เดือน (มกราคม – สิงหาคม 2567) แตะ 23,567,850 คน ขยายตัว 31% สร้างรายได้เข้าประเทศมูลค่า 1,107,985 ล้านบาท คาดว่าทั้งปีนี้นักท่องเที่ยวต่างชาติจะถึงเป้าหมาย 35-36 ล้านคน