ณัฐพงษ์ ติดตามน้ำท่วมสงขลา พบปชช.ไม่ทราบเส้นทาง-จุดอพยพ ขาดแคลนอุปกรณ์ กำลังคนช่วยเหลือ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4927519
ณัฐพงษ์ ติดตามน้ำท่วม สงขลา พบปัญหาปชช.ไม่ทราบเส้นทาง-จุดอพยพ ขาดแคลนอุปกรณ์-กำลังคนช่วยเหลือ
เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน นาย
ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคประชาชน โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กโดยระบุว่า
ได้เดินทางมาที่อำเภอจะนะ-หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อสำรวจความเสียหายจากพื้นที่น้ำท่วม ได้เห็นการทำงานอย่างแข็งขันของเจ้าหน้าที่และอาสาสมัคร และได้รับฟังปัญหาจากหน่วยงานราชการและประชาชนในพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การสนับสนุนการทำงานของราชการ ท้องถิ่น และประชาชนต่อไป ซึ่งผมต้องขอเป็นกำลังใจให้เจ้าหน้าที่ อาสาสมัครหน้างานทุกท่านที่กำลังทำงานอย่างหนักเพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชน
ในวันนี้ปริมาณฝนยังคงตกลงมาอย่างต่อเนื่องและในหลายพื้นที่น้ำยังคงท่วมสูง สำหรับสถานการณ์ล่าสุดน้ำท่วมในพื้นที่ 7 จังหวัด 50 อำเภอ 321 ตำบล 1,884 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 136,219 ครัวเรือน เป็นอย่างน้อย และเนื่องจากภาวะอุทกภัยครั้งนี้ มีความรุนแรงและส่งผลกระทบในวงกว้าง ทำให้ในพื้นที่ประสบภัยขาดแคลนทั้งอุปกรณ์ที่จำเป็นในการช่วยเหลือประชาชน เช่น เรือ เสื้อชูชีพ และขาดแคลนกำลังคนด้วย และยังมีพี่น้องประชาชนบางส่วนยังไม่ทราบจุดอพยพ และไม่ทราบเส้นทางการอพยพ รวมถึงพาหนะในการอพยพที่ปลอดภัย
นอกจากนี้ การคาดการณ์ฝนและน้ำท่าล่าสุดจากสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำพบว่า ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างยังอาจมีฝนตกหนักต่อเนื่องอีก 2-3 วัน ผมจึงขอให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำหรือระดับน้ำอย่างใกล้ชิด และสำหรับพี่น้องประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ผมขอแนะนำให้เร่งย้ายไปอยู่ที่ปลอดภัยหรือที่ศูนย์อพยพแต่ละอำเภอที่หน่วยงานรัฐและเอกชนจัดเตรียมให้ เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อชีวิตของพี่น้องประชาชน
ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ถือเป็นพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากพื้นที่หนึ่งในประเทศไทยในระยะยาวต้องมีการที่จะต้องมีการศึกษาและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ เช่น
– การพัฒนาแบบจำลองคาดการณ์น้ำท่วม เพื่อสามารถระบุพื้นที่และระยะเวลาน้ำท่วมให้มีความชัดเจน ทำให้สามารถแจ้งเตือนที่เร็วและแม่นยำมากขึ้น
– การเตรียมพร้อมให้พื้นที่มีอุปกรณ์ที่เพียงพอในการอพยพประชาชนออกจากพื้นที่ไปศูนย์อพยพ รวมถึงเตรียมพื้นที่อพยพให้เหมาะสมต่อการรองรับผู้ป่วยติดเตียง ผู้หญิง และเด็กให้มากขึ้น
– ในระหว่างน้ำท่วม จำเป็นต้องพัฒนาระบบการประเมินสถานการณ์ที่แม่นยำ และการเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำ
– เมื่อน้ำลดลง แต่ปัญหาของพี่น้องของประชาชนไม่ได้ลดลงตามไปด้วย โดยเฉพาะปัญหาในการประกอบอาชีพ การซ่อมแซมบ้านเรือน และปัญหาภาระทางการเงิน เพราะฉะนั้น ต้องมีกระบวนการฟื้นฟูเยียวยาให้กลับมาสู่สภาพปกติให้เร็วที่สุด
ในส่วนของพรรคประชาชน คณะทำงานพรรคประชาชน จังหวัดนครศรีธรรมราช พังงา และสงขลา (หาดใหญ่) ได้เปิดพื้นที่ศูนย์ประสานงาน เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่พี่น้องประชาชน สำหรับกรณีให้ผู้ประสบภัยพักพิงชั่วคราว, ให้อาสาสมัครกู้ภัย แวะพักผ่อนระหว่างการเดินทางครับ
ท้ายนี้ต้องขออภัยพี่น้องประชาชนที่ไม่สามารถเดินทางไปพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ด้วยตนเอง เนื่องจากเกิดน้ำท่วมสูงทำให้เส้นทางสัญจรไม่สามารถเดินทางได้ครับ อย่างไรก็ดี คณะทำงานจังหวัดพรรคประชาชนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่เพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนต่อไปอย่างแข็งขันครับ
https://www.facebook.com/natthaphong.ruengpanyawut/posts/pfbid0pwjqskZbQwkVNDVmGQSAxetEuUKx55a1gE3bSM3J8VgBgdoHNVXMGHrtCkvE2Db2l
พริษฐ์ตอบโต้ หลังนิกรโทษว่าทำให้รัฐธรรมนูญใหม่ล่าช้า ย้อนรัฐบาลเสียเวลา 3 เดือนตั้งคณะกรรมการศึกษาฯ แต่ไม่เร่งทำประชามติ
https://thestandard.co/parit-nikorn-constitution-delay/
ช่วงค่ำวานนี้ (28 พฤศจิกายน)
พริษฐ์ วัชรสินธุ สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน โพสต์ข้อความชี้แจงกรณี นิกร จำนง ผู้อำนวยการพรรคชาติไทยพัฒนา ที่ให้สัมภาษณ์ในรายการ เจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand ระบุว่า ต้องโทษพริษฐ์ที่ทำให้การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไม่ทันปี 2570 เพราะเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 มาพร้อมกับฉบับของพรรคเพื่อไทย เพื่อลดจำนวนการจัดทำประชามติให้เหลือ 2 ครั้ง ทำให้ต้องรอ 4 เดือน ก่อนจะลงเอยว่าไม่สามารถทำได้
โดย
พริษฐ์ชี้แจงว่า ตนเองแทบไม่เชื่อว่า
นิกร ในฐานะคนที่ให้ความเคารพและหารืออยู่อย่างต่อเนื่อง เลือกจะให้ความเห็นในลักษณะที่เป็นการกล่าวหาตนเองด้วยข้อมูลที่คลาดเคลื่อนและไม่ครบถ้วน ซึ่งขออนุญาตชี้แจงเบื้องต้นแค่ 2 ประเด็นหลัก
“
ท่านบอกว่าให้โทษตนเองที่มีส่วนทำให้การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ล่าช้าและมีแนวโน้มไม่ทันปี 2570 ต้องทบทวนความทรงจำว่าอะไรเกิดขึ้นบ้างตั้งแต่รัฐบาลที่คุณนิกรทำงานให้เข้ามารับตำแหน่งเมื่อเดือนสิงหาคม 2566 และต้องขออนุญาตถามกลับไปดังๆ ว่า ตนเองไปทำอะไรส่วนไหนที่ทำให้กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ล่าช้ามาถึงวันนี้”
พริษฐ์ชี้ว่า รัฐบาลใช้เวลา 3 เดือนแรกหรือช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2566 ไปกับการตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ที่นิกรเป็นโฆษก แทนที่จะเดินหน้าจัดประชามติตามที่เคยประกาศไว้ ซึ่งส่วนตัวมองว่าเป็นการศึกษาที่ไม่ได้มีอะไรใหม่แถมยังเป็นขั้นตอนที่ไม่มีความจำเป็น การที่พรรคก้าวไกล ณ เวลานั้นไม่ได้เข้าร่วมเป็นกรรมการ โดยใช้วิธีให้ความเห็นและข้อเสนอแนะไปแทน ก็ไม่ได้ทำให้คณะกรรมการชุดนี้ทำงานช้าลงแต่อย่างใด
“
ถ้าคุณนิกรอยากประหยัดเวลาจริง วันนั้นท่านควรจะเสนอแนะรัฐบาลให้ไม่ต้องตั้งคณะกรรมการชุดนี้ขึ้นมา เพื่อประหยัดเวลาไป 3 เดือน”
พริษฐ์ระบุ
สำหรับระยะเวลา 4 เดือนถัดมาหรือช่วงเดือนมกราคม-เมษายน 2567 ที่นิกรอ้างว่าตนเองทำให้เสียเวลาไปในกระบวนการที่รัฐสภามีมติส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเพื่อให้เกิดความชัดเจนเรื่องจำนวนประชามติ ซึ่งท้ายสุดศาลรัฐธรรมนูญไม่รับวินิจฉัยในประเด็นนี้ นิกรคงลืมไปว่าข้อเสนอดังกล่าวในการส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นข้อเสนอของพรรคเพื่อไทย ไม่ใช่ข้อเสนอของตนเองและพรรคก้าวไกล แม้ตนเองและพรรคก้าวไกลไม่ได้ขัดขวางความพยายามดังกล่าวและโหวตงดออกเสียงต่อญัตติในที่ประชุมรัฐสภา
“
ถ้าคุณนิกรอยากประหยัดเวลาจริง วันนั้นท่านควรจะเสนอให้พรรคเพื่อไทยดำเนินการขั้นตอนนี้ในห้วงเวลาคู่ขนานกับการทำงานของคณะกรรมการในข้อ 1 ตั้งแต่ตอนปลายปี 2566 แทนที่จะรอให้คณะกรรมการทำงานทุกอย่างเสร็จก่อนถึงค่อยเริ่มดำเนินการขั้นตอนนี้ตอนต้นปี 2567”
พริษฐ์ระบุต่อไปว่า หากนิกรจะโทษว่าญัตติของพรรคเพื่อไทยทำให้การแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติ หรือการจัดทำประชามติล่าช้า จะว่าไม่เป็นธรรมกับพรรคเพื่อไทย เพราะพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกลต่างยื่นร่างแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติ ของตนเองมาที่สภาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งสภาสามารถพิจารณาคู่ขนานกับกระบวนการในข้อ 2 ได้ แต่ ณ วันที่กระบวนการของรัฐสภาเสร็จสิ้นลงด้วยการที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับวินิจฉัย ทาง ครม. ที่นิกรทำงานให้กลับยังไม่ได้เสนอร่างแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติ ของตนเองเข้ามาอยู่ดี จนทำให้ทุกพรรคต้องรอถึงเดือนมิถุนายน 2567 กว่า ครม. จะเสนอร่างของตนเองเข้ามา
“
สภาพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประชามติ ทุกฉบับพร้อมกันในวาระที่ 1 ซึ่งก็ยังไม่เสร็จสิ้นกันจนถึงวันนี้ ซึ่งถ้าคุณนิกรอยากประหยัดเวลาจริง วันนั้นท่านควรจะช่วยให้ ครม. เสนอร่าง พ.ร.บ.ประชามติ ให้เร็วกว่านี้ แทนที่จะให้พรรคการเมืองต่างๆ ต้องรอร่างของ ครม. เป็นเดือนๆ”
ความพยายามลดประชามติเหลือ 2 ครั้ง มีแต่ได้หรือเท่าทุน
พริษฐ์ยังกล่าวถึงประเด็นที่นิกรระบุว่า การโน้มน้าวให้ทุกฝ่ายลดจำนวนการทำประชามติให้เหลือ 2 ครั้งเป็นเรื่องเสียเวลาว่า ขอบคุณในความเป็นห่วงและเข้าใจดีว่าไม่มีอะไรรับประกันว่าจะสำเร็จ แต่วันนี้มีโอกาสเป็นไปได้มากขึ้นหลังมีการนำเสนอคำวินิจฉัยรายบุคคลของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 9 คน และผลการหารืออย่างไม่เป็นทางการกับประธานศาลรัฐธรรมนูญเมื่อสัปดาห์ที่แล้วต่อประธานรัฐสภา
“
ในอีกมุมหนึ่งผมต้องย้ำข้อเท็จจริงที่ว่า ไม่ว่าความพยายามของผมจะสำเร็จหรือไม่ ความพยายามตรงนี้ไม่มีส่วนไหนที่จะทำให้การจัดทำรัฐธรรมนูญล่าช้าไปกว่าเดิม หากผมหยุดความพยายามของผมทั้งหมดและให้รัฐบาลเดินตามแผนเดิมในการทำประชามติ 3 ครั้ง สิ่งที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นคือ พ.ร.บ.ประชามติ จะถูกชะลอไป 6 เดือนจากความเห็นที่แตกต่างกันระหว่างสภาผู้แทนราษฎรกับวุฒิสภา ซึ่งจะทำให้ประชามติครั้งแรกจาก 3 ครั้งไม่สามารถเกิดขึ้นได้ก่อนปลายปี 2568”
พริษฐ์ระบุว่า แต่หากเราร่วมกันเดินหน้าต่อในห้วงเวลา 3-6 เดือนข้างหน้า เพื่อพยายามลดจำนวนประชามติจาก 3 ครั้งเหลือ 2 ครั้ง หากเราประสบความสำเร็จจะสามารถทำให้การพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่อง สสร. เกิดขึ้นทันทีและคู่ขนานกับห้วงเวลาที่ พ.ร.บ.ประชามติ ถูกชะลอไป 6 เดือนได้ ซึ่งจะทำให้ประชามติครั้งแรกจากเพียง 2 ครั้งเกิดขึ้นได้ปลายปี 2568 ซึ่งจะประหยัดเวลาทั้งหมดได้ประมาณ 1 ปี แต่หากเราไม่ประสบความสำเร็จและต้องกลับมาเดินตามแผนเดิมที่มีการทำประชามติ 3 ครั้ง เราก็ไม่ได้เสียเวลาอะไรไปมากกว่าเดิม เพราะประชามติครั้งแรกจาก 3 ครั้งก็จะยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้ก่อนปลายปี 2568 อยู่ดี
“
สรุปสั้นๆ คือความพยายามของเราจะมีแต่ได้หรือเท่าทุน และแน่นอนว่าทุกท่านย่อมมีสิทธิที่จะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับความพยายามของผม แต่ผมอยากให้ข้อเสนอแนะและข้อวิจารณ์ทั้งหมดอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง”
พริษฐ์ทิ้งท้าย
https://www.facebook.com/paritw/posts/pfbid022xHHQNGAZ726eM7WizB7HeqcfuzACsv52ZWNfVU6N3Cy2xqi6h1XXvDUcauWdxVtl
ผวาน้ำท่วมใต้ ยกเลิกจองห้องพัก โรงแรมถูกเลื่อนจัดอีเวนต์ นทท.มาเลย์ระงับมาไทยชั่วคราว
https://www.matichon.co.th/economy/news_4927692
ผวาน้ำท่วม โรงแรมถูกเลื่อนจัดอีเวนต์-นักเที่ยวมาเลย์ระงับมาไทยชั่วคราว
เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน นาย
เทียนประสิทธิ์ ไชยภัทรานันท์ นายกสมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ) เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำท่วมในภาคใต้ตอนนี้ท่วมอยู่รอบนอกของหาดใหญ่ ยังไม่เข้าในพื้นที่เศรษฐกิจ แต่คงต้องดูสถานการณ์กันเป็นรายชั่วโมง และทางการระดมป้องกันไม่ให้เข้ามาในหาดใหญ่ชั้นในกันอยู่ ส่วนผลกระทบต่อธุรกิจโรงแรมตอนนี้ได้รับผลกระทบระยะสั้น
“
ตอนนี้การจัดงานที่เตรียมไว้ต้องเลื่อนออกไปก่อน บางส่วนขอลดจำนวนแขก ส่วนจำนวนห้องพักมีการยกเลิกการจองห้องพัก ทั้งที่เป็นกรุ๊ปและเดินทางส่วนตัว โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวมาเลเซีย แต่คาดว่าเป็นการเลื่อนระยะสั้นเท่านั้น หลังคลี่คลายจะกลับมาเที่ยวเหมือนเดิม” นาย
เทียนประสิทธิ์กล่าว
JJNY : 5in1 ณัฐพงษ์ติดตามน้ำท่วม│พริษฐ์โต้นิกร│ผวาน้ำท่วมใต้│IMF แนะไทย ลดดอกเบี้ยเพิ่ม│“ปูติน” ขู่ใช้ขีปนาวุธถล่มเคียฟ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4927519
ณัฐพงษ์ ติดตามน้ำท่วม สงขลา พบปัญหาปชช.ไม่ทราบเส้นทาง-จุดอพยพ ขาดแคลนอุปกรณ์-กำลังคนช่วยเหลือ
เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคประชาชน โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กโดยระบุว่า
ได้เดินทางมาที่อำเภอจะนะ-หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อสำรวจความเสียหายจากพื้นที่น้ำท่วม ได้เห็นการทำงานอย่างแข็งขันของเจ้าหน้าที่และอาสาสมัคร และได้รับฟังปัญหาจากหน่วยงานราชการและประชาชนในพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การสนับสนุนการทำงานของราชการ ท้องถิ่น และประชาชนต่อไป ซึ่งผมต้องขอเป็นกำลังใจให้เจ้าหน้าที่ อาสาสมัครหน้างานทุกท่านที่กำลังทำงานอย่างหนักเพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชน
ในวันนี้ปริมาณฝนยังคงตกลงมาอย่างต่อเนื่องและในหลายพื้นที่น้ำยังคงท่วมสูง สำหรับสถานการณ์ล่าสุดน้ำท่วมในพื้นที่ 7 จังหวัด 50 อำเภอ 321 ตำบล 1,884 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 136,219 ครัวเรือน เป็นอย่างน้อย และเนื่องจากภาวะอุทกภัยครั้งนี้ มีความรุนแรงและส่งผลกระทบในวงกว้าง ทำให้ในพื้นที่ประสบภัยขาดแคลนทั้งอุปกรณ์ที่จำเป็นในการช่วยเหลือประชาชน เช่น เรือ เสื้อชูชีพ และขาดแคลนกำลังคนด้วย และยังมีพี่น้องประชาชนบางส่วนยังไม่ทราบจุดอพยพ และไม่ทราบเส้นทางการอพยพ รวมถึงพาหนะในการอพยพที่ปลอดภัย
นอกจากนี้ การคาดการณ์ฝนและน้ำท่าล่าสุดจากสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำพบว่า ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างยังอาจมีฝนตกหนักต่อเนื่องอีก 2-3 วัน ผมจึงขอให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำหรือระดับน้ำอย่างใกล้ชิด และสำหรับพี่น้องประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ผมขอแนะนำให้เร่งย้ายไปอยู่ที่ปลอดภัยหรือที่ศูนย์อพยพแต่ละอำเภอที่หน่วยงานรัฐและเอกชนจัดเตรียมให้ เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อชีวิตของพี่น้องประชาชน
ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ถือเป็นพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากพื้นที่หนึ่งในประเทศไทยในระยะยาวต้องมีการที่จะต้องมีการศึกษาและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ เช่น
– การพัฒนาแบบจำลองคาดการณ์น้ำท่วม เพื่อสามารถระบุพื้นที่และระยะเวลาน้ำท่วมให้มีความชัดเจน ทำให้สามารถแจ้งเตือนที่เร็วและแม่นยำมากขึ้น
– การเตรียมพร้อมให้พื้นที่มีอุปกรณ์ที่เพียงพอในการอพยพประชาชนออกจากพื้นที่ไปศูนย์อพยพ รวมถึงเตรียมพื้นที่อพยพให้เหมาะสมต่อการรองรับผู้ป่วยติดเตียง ผู้หญิง และเด็กให้มากขึ้น
– ในระหว่างน้ำท่วม จำเป็นต้องพัฒนาระบบการประเมินสถานการณ์ที่แม่นยำ และการเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำ
– เมื่อน้ำลดลง แต่ปัญหาของพี่น้องของประชาชนไม่ได้ลดลงตามไปด้วย โดยเฉพาะปัญหาในการประกอบอาชีพ การซ่อมแซมบ้านเรือน และปัญหาภาระทางการเงิน เพราะฉะนั้น ต้องมีกระบวนการฟื้นฟูเยียวยาให้กลับมาสู่สภาพปกติให้เร็วที่สุด
ในส่วนของพรรคประชาชน คณะทำงานพรรคประชาชน จังหวัดนครศรีธรรมราช พังงา และสงขลา (หาดใหญ่) ได้เปิดพื้นที่ศูนย์ประสานงาน เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่พี่น้องประชาชน สำหรับกรณีให้ผู้ประสบภัยพักพิงชั่วคราว, ให้อาสาสมัครกู้ภัย แวะพักผ่อนระหว่างการเดินทางครับ
ท้ายนี้ต้องขออภัยพี่น้องประชาชนที่ไม่สามารถเดินทางไปพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ด้วยตนเอง เนื่องจากเกิดน้ำท่วมสูงทำให้เส้นทางสัญจรไม่สามารถเดินทางได้ครับ อย่างไรก็ดี คณะทำงานจังหวัดพรรคประชาชนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่เพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนต่อไปอย่างแข็งขันครับ
https://www.facebook.com/natthaphong.ruengpanyawut/posts/pfbid0pwjqskZbQwkVNDVmGQSAxetEuUKx55a1gE3bSM3J8VgBgdoHNVXMGHrtCkvE2Db2l
พริษฐ์ตอบโต้ หลังนิกรโทษว่าทำให้รัฐธรรมนูญใหม่ล่าช้า ย้อนรัฐบาลเสียเวลา 3 เดือนตั้งคณะกรรมการศึกษาฯ แต่ไม่เร่งทำประชามติ
https://thestandard.co/parit-nikorn-constitution-delay/
ช่วงค่ำวานนี้ (28 พฤศจิกายน) พริษฐ์ วัชรสินธุ สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน โพสต์ข้อความชี้แจงกรณี นิกร จำนง ผู้อำนวยการพรรคชาติไทยพัฒนา ที่ให้สัมภาษณ์ในรายการ เจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand ระบุว่า ต้องโทษพริษฐ์ที่ทำให้การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไม่ทันปี 2570 เพราะเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 มาพร้อมกับฉบับของพรรคเพื่อไทย เพื่อลดจำนวนการจัดทำประชามติให้เหลือ 2 ครั้ง ทำให้ต้องรอ 4 เดือน ก่อนจะลงเอยว่าไม่สามารถทำได้
โดยพริษฐ์ชี้แจงว่า ตนเองแทบไม่เชื่อว่านิกร ในฐานะคนที่ให้ความเคารพและหารืออยู่อย่างต่อเนื่อง เลือกจะให้ความเห็นในลักษณะที่เป็นการกล่าวหาตนเองด้วยข้อมูลที่คลาดเคลื่อนและไม่ครบถ้วน ซึ่งขออนุญาตชี้แจงเบื้องต้นแค่ 2 ประเด็นหลัก
“ท่านบอกว่าให้โทษตนเองที่มีส่วนทำให้การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ล่าช้าและมีแนวโน้มไม่ทันปี 2570 ต้องทบทวนความทรงจำว่าอะไรเกิดขึ้นบ้างตั้งแต่รัฐบาลที่คุณนิกรทำงานให้เข้ามารับตำแหน่งเมื่อเดือนสิงหาคม 2566 และต้องขออนุญาตถามกลับไปดังๆ ว่า ตนเองไปทำอะไรส่วนไหนที่ทำให้กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ล่าช้ามาถึงวันนี้”
พริษฐ์ชี้ว่า รัฐบาลใช้เวลา 3 เดือนแรกหรือช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2566 ไปกับการตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ที่นิกรเป็นโฆษก แทนที่จะเดินหน้าจัดประชามติตามที่เคยประกาศไว้ ซึ่งส่วนตัวมองว่าเป็นการศึกษาที่ไม่ได้มีอะไรใหม่แถมยังเป็นขั้นตอนที่ไม่มีความจำเป็น การที่พรรคก้าวไกล ณ เวลานั้นไม่ได้เข้าร่วมเป็นกรรมการ โดยใช้วิธีให้ความเห็นและข้อเสนอแนะไปแทน ก็ไม่ได้ทำให้คณะกรรมการชุดนี้ทำงานช้าลงแต่อย่างใด
“ถ้าคุณนิกรอยากประหยัดเวลาจริง วันนั้นท่านควรจะเสนอแนะรัฐบาลให้ไม่ต้องตั้งคณะกรรมการชุดนี้ขึ้นมา เพื่อประหยัดเวลาไป 3 เดือน” พริษฐ์ระบุ
สำหรับระยะเวลา 4 เดือนถัดมาหรือช่วงเดือนมกราคม-เมษายน 2567 ที่นิกรอ้างว่าตนเองทำให้เสียเวลาไปในกระบวนการที่รัฐสภามีมติส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเพื่อให้เกิดความชัดเจนเรื่องจำนวนประชามติ ซึ่งท้ายสุดศาลรัฐธรรมนูญไม่รับวินิจฉัยในประเด็นนี้ นิกรคงลืมไปว่าข้อเสนอดังกล่าวในการส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นข้อเสนอของพรรคเพื่อไทย ไม่ใช่ข้อเสนอของตนเองและพรรคก้าวไกล แม้ตนเองและพรรคก้าวไกลไม่ได้ขัดขวางความพยายามดังกล่าวและโหวตงดออกเสียงต่อญัตติในที่ประชุมรัฐสภา
“ถ้าคุณนิกรอยากประหยัดเวลาจริง วันนั้นท่านควรจะเสนอให้พรรคเพื่อไทยดำเนินการขั้นตอนนี้ในห้วงเวลาคู่ขนานกับการทำงานของคณะกรรมการในข้อ 1 ตั้งแต่ตอนปลายปี 2566 แทนที่จะรอให้คณะกรรมการทำงานทุกอย่างเสร็จก่อนถึงค่อยเริ่มดำเนินการขั้นตอนนี้ตอนต้นปี 2567”
พริษฐ์ระบุต่อไปว่า หากนิกรจะโทษว่าญัตติของพรรคเพื่อไทยทำให้การแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติ หรือการจัดทำประชามติล่าช้า จะว่าไม่เป็นธรรมกับพรรคเพื่อไทย เพราะพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกลต่างยื่นร่างแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติ ของตนเองมาที่สภาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งสภาสามารถพิจารณาคู่ขนานกับกระบวนการในข้อ 2 ได้ แต่ ณ วันที่กระบวนการของรัฐสภาเสร็จสิ้นลงด้วยการที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับวินิจฉัย ทาง ครม. ที่นิกรทำงานให้กลับยังไม่ได้เสนอร่างแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติ ของตนเองเข้ามาอยู่ดี จนทำให้ทุกพรรคต้องรอถึงเดือนมิถุนายน 2567 กว่า ครม. จะเสนอร่างของตนเองเข้ามา
“สภาพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประชามติ ทุกฉบับพร้อมกันในวาระที่ 1 ซึ่งก็ยังไม่เสร็จสิ้นกันจนถึงวันนี้ ซึ่งถ้าคุณนิกรอยากประหยัดเวลาจริง วันนั้นท่านควรจะช่วยให้ ครม. เสนอร่าง พ.ร.บ.ประชามติ ให้เร็วกว่านี้ แทนที่จะให้พรรคการเมืองต่างๆ ต้องรอร่างของ ครม. เป็นเดือนๆ”
ความพยายามลดประชามติเหลือ 2 ครั้ง มีแต่ได้หรือเท่าทุน
พริษฐ์ยังกล่าวถึงประเด็นที่นิกรระบุว่า การโน้มน้าวให้ทุกฝ่ายลดจำนวนการทำประชามติให้เหลือ 2 ครั้งเป็นเรื่องเสียเวลาว่า ขอบคุณในความเป็นห่วงและเข้าใจดีว่าไม่มีอะไรรับประกันว่าจะสำเร็จ แต่วันนี้มีโอกาสเป็นไปได้มากขึ้นหลังมีการนำเสนอคำวินิจฉัยรายบุคคลของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 9 คน และผลการหารืออย่างไม่เป็นทางการกับประธานศาลรัฐธรรมนูญเมื่อสัปดาห์ที่แล้วต่อประธานรัฐสภา
“ในอีกมุมหนึ่งผมต้องย้ำข้อเท็จจริงที่ว่า ไม่ว่าความพยายามของผมจะสำเร็จหรือไม่ ความพยายามตรงนี้ไม่มีส่วนไหนที่จะทำให้การจัดทำรัฐธรรมนูญล่าช้าไปกว่าเดิม หากผมหยุดความพยายามของผมทั้งหมดและให้รัฐบาลเดินตามแผนเดิมในการทำประชามติ 3 ครั้ง สิ่งที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นคือ พ.ร.บ.ประชามติ จะถูกชะลอไป 6 เดือนจากความเห็นที่แตกต่างกันระหว่างสภาผู้แทนราษฎรกับวุฒิสภา ซึ่งจะทำให้ประชามติครั้งแรกจาก 3 ครั้งไม่สามารถเกิดขึ้นได้ก่อนปลายปี 2568”
พริษฐ์ระบุว่า แต่หากเราร่วมกันเดินหน้าต่อในห้วงเวลา 3-6 เดือนข้างหน้า เพื่อพยายามลดจำนวนประชามติจาก 3 ครั้งเหลือ 2 ครั้ง หากเราประสบความสำเร็จจะสามารถทำให้การพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่อง สสร. เกิดขึ้นทันทีและคู่ขนานกับห้วงเวลาที่ พ.ร.บ.ประชามติ ถูกชะลอไป 6 เดือนได้ ซึ่งจะทำให้ประชามติครั้งแรกจากเพียง 2 ครั้งเกิดขึ้นได้ปลายปี 2568 ซึ่งจะประหยัดเวลาทั้งหมดได้ประมาณ 1 ปี แต่หากเราไม่ประสบความสำเร็จและต้องกลับมาเดินตามแผนเดิมที่มีการทำประชามติ 3 ครั้ง เราก็ไม่ได้เสียเวลาอะไรไปมากกว่าเดิม เพราะประชามติครั้งแรกจาก 3 ครั้งก็จะยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้ก่อนปลายปี 2568 อยู่ดี
“สรุปสั้นๆ คือความพยายามของเราจะมีแต่ได้หรือเท่าทุน และแน่นอนว่าทุกท่านย่อมมีสิทธิที่จะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับความพยายามของผม แต่ผมอยากให้ข้อเสนอแนะและข้อวิจารณ์ทั้งหมดอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง” พริษฐ์ทิ้งท้าย
https://www.facebook.com/paritw/posts/pfbid022xHHQNGAZ726eM7WizB7HeqcfuzACsv52ZWNfVU6N3Cy2xqi6h1XXvDUcauWdxVtl
ผวาน้ำท่วมใต้ ยกเลิกจองห้องพัก โรงแรมถูกเลื่อนจัดอีเวนต์ นทท.มาเลย์ระงับมาไทยชั่วคราว
https://www.matichon.co.th/economy/news_4927692
ผวาน้ำท่วม โรงแรมถูกเลื่อนจัดอีเวนต์-นักเที่ยวมาเลย์ระงับมาไทยชั่วคราว
เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน นายเทียนประสิทธิ์ ไชยภัทรานันท์ นายกสมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ) เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำท่วมในภาคใต้ตอนนี้ท่วมอยู่รอบนอกของหาดใหญ่ ยังไม่เข้าในพื้นที่เศรษฐกิจ แต่คงต้องดูสถานการณ์กันเป็นรายชั่วโมง และทางการระดมป้องกันไม่ให้เข้ามาในหาดใหญ่ชั้นในกันอยู่ ส่วนผลกระทบต่อธุรกิจโรงแรมตอนนี้ได้รับผลกระทบระยะสั้น
“ตอนนี้การจัดงานที่เตรียมไว้ต้องเลื่อนออกไปก่อน บางส่วนขอลดจำนวนแขก ส่วนจำนวนห้องพักมีการยกเลิกการจองห้องพัก ทั้งที่เป็นกรุ๊ปและเดินทางส่วนตัว โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวมาเลเซีย แต่คาดว่าเป็นการเลื่อนระยะสั้นเท่านั้น หลังคลี่คลายจะกลับมาเที่ยวเหมือนเดิม” นายเทียนประสิทธิ์กล่าว