ไอลอว์ กางกม.ชี้โหวตนายกฯกี่รอบก็ได้ เสนอชื่อ ‘คนนอก’ เท่านั้นที่เป็นญัตติเสนอซ้ำไม่ได้
https://www.matichon.co.th/politics/news_4087229
ไอลอว์ กางกม. ชี้โหวตนายกฯ กี่รอบก็ได้ เสนอชื่อ ‘คนนอก’ เท่านั้นที่เป็นญัตติซ้ำไม่ได้
เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคมที่ผ่านมา ไอลอว์ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) ได้เปิดข้อกฎหมายเกี่ยวกับการเสนอญัตติเสนอนายกฯ ต่อข้อสงสัยในสังคมว่า “
โหวตซ้ำนายกฯได้กี่รอบ” ไว้ว่า
“
เลือกนายกฯ ไม่เหมือนญัตติทั่วไป โหวตซ้ำกี่รอบก็ได้”
มีแต่การเสนอญัตติเสนอนายกฯ คนนอก เท่านั้นที่ถือว่าเป็นญัตติที่จะเสนอซ้ำไม่ได้ แต่การเสนอชื่อนายกฯ โดยวิธีการปกติจะเสนอชื่อเดิมซ้ำโหวตกี่ครั้งก็ได้จนกว่าจะได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่
พร้อมอธิบายไว้ดังนี้
การเลือกนายกฯ วันที่ 13 ก.ค.66 นับเป็นครั้งแรกที่เลือกนายกฯ ไม่ประสบความสำเร็จ แม้จะมีผู้ถูกเสนอชื่อคนเดียว คือ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกฯ จากพรรคก้าวไกล เนื่องจากติดเงื่อนไขได้รับเสียงไม่เกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา ทั้งที่ได้เสียงเห็นชอบเกินกว่ากึ่งหนึ่งของ ส.ส. แล้ว
การเลือกพิธาเป็นนายกฯ ครั้งที่ 2 วันที่ 19 ก.ค.66 ของ 8 พรรคเสียงข้างมาก กลับต้องเจอโจทย์ใหม่ที่อาจทำให้การโหวตพิธาเป็นนายกฯ ไม่อาจเกิดขึ้นได้ เมื่อ ส.ว.และฝ่ายพรรคเสียงข้างน้อยส่วนหนึ่งเห็นว่า การเสนอชื่อพิธาเป็นนายกฯ เป็นการเสนอญัตติซ้ำ ซึ่งขัดกับข้อบังคับการประชุมรัฐสภา
ปัญหาเสนอชื่อนายกซ้ำได้หรือไม่ ปรากฏอยู่ใน ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ว่า
“ข้อ 41 ญัตติใดตกไปแล้ว ห้ามนำญัตติซึ่งมีหลักการเช่นเดียวกันขึ้นเสนออีกในสมัยประชุมเดียวกัน เว้นแต่ญัตติที่ยังมิได้มีการลงมติหรือญัตติที่ประธานรัฐสภาอนุญาต ในเมื่อพิจารณาเห็นว่าเหตุการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป”
จากข้อบังคับนี้ สมชาย แสวงการ ส.ว.แต่งตั้ง เห็นว่าการเสนอชื่อพิธาซ้ำไม่สามารถทำได้ เนื่องจาก “ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อที่ 41 กำหนดชัดเจนว่า ญัตติเสนอซ้ำไม่ได้ เว้นแต่เสนอสมัยประชุมหน้า”
เมื่อเปิดดู ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ตั้งแต่ข้อ 29-41 พบว่า การระบุ ถึงญัตติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับส่วนนี้ประกอบด้วย
• ข้อ 29 ญัตติทั้งหลายที่ต้องเสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือต่อประธานรัฐสภา และต้องมีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่า 10 คน
• ข้อ 30 ญัตติขอให้ประชุมลับ / ญัตติร่าง พ.ร.บ.ประกอบ รธน / ญัตติเปิดอภิปรายทั่วไปของผู้นำฝ่ายค้าน / ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติม รธน / ญัตติขอให้รัฐสภาเสนอชื่อนายกคนนอก / ญัตติที่ครม.เป็นผู้เสนอ
• ข้อ 31 ญัตติขอให้ปรึกษาหรือพิจารณาเป็นเรื่องด่วน / ขอให้เปลี่ยนระเบียบวาระการประชุมรัฐสภา เป็นต้น
• ข้อ 32 ญัตติขอให้รัฐสภามีมติกรณีมีปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภา
จากญัตติที่ถูกกำหนดในข้อบังคับการประชุมจะเห็นว่า ไม่มีการระบุถึงญัตติที่เกี่ยวกับการเลือกนายกฯ จากบัญชีรายชื่อพรรคการเมือง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 159 และมาตรา 272 วรรคหนึ่งเลย ยกเว้นการเลือกนายกฯ จากบุคคลนอกบัญชีรายชื่อพรรคการเมืองหรือนายกฯ คนนอกเท่านั้นที่ต้องเสนอเป็นญัตติ
เมื่อเปิดดูข้อบังคับการประชุมรัฐสภาในหมวดที่ 8 การพิจารณาให้ความเห็นชอบนายกรัฐมนตรีก็ไม่มีส่วนใดที่ระบุว่าต้องเสนอเป็นญัตติเช่นเดียวกับญัตติอื่นๆ ที่ระบุในข้อบังคับหมวดที่ 2 ส่วนที่ 2 เรื่องการเสนอญัตติ เลย
กรณีเสนอชื่อบุคคลนอกบัญชีรายชื่อพรรคการเมืองเป็นนายกฯ ทั้ง รธน และข้อบังคับการประชุม ข้อ 30 และ 138 ระบุชัดเจนว่า สมาชิกรัฐสภาไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกที่มีอยู่เข้าชื่อเสนอญัตติต่อประธานรัฐสภาเพื่อขอให้รัฐสภามีมติยกเว้นไม่ต้องเสนอชื่อนายกฯ จากบัญชีรายชื่อพรรคการเมืองได้
ในกรณีนี้ถ้ารัฐสภามีมติไม่เห็นชอบนายกฯ คนนอกก็จะทำให้ ในสมัยประชุมดังกล่าวไม่สามารถเสนอญัตติเพื่อเสนอนายกฯ คนนอกได้อีก เพราะเป็นญัตติซ้ำตามข้อบังคับประชุมรัฐสภา ข้อ 41
ดังนั้นจึงมีแต่การเสนอญัตติเสนอนายกฯ คนนอกเท่านั้นที่ถือว่าเป็นญัตติที่จะเสนอซ้ำไม่ได้ แต่การเสนอชื่อนายกฯ โดยวิธีการปกติจะเสนอชื่อเดิมซ้ำโหวตกี่ครั้งก็ได้จนกว่าจะได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่
อ.กฎหมาย ยืนยันชัด รธน. มีศักดิ์สูงกว่าข้อบังคับประชุมรัฐสภา ที่ รทสช.อ้างนั้นไม่ถูก
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7773004
อาจารย์กฎหมาย ยืนยันชัด รัฐธรรมนูญมีศักดิ์ทาง กม.สูงกว่าข้อบังคับการประชุมของรัฐสภาอย่างแน่นอน ที่ พรรครวมไทยสร้างชาติ อ้างนั้นไม่ถูก
หลัง นาย
สุทิน คลังแสง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เสนอชื่อ นาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เป็นนายกฯ โดยมีผู้รับรองด้วยการยกมือโดยไม่ตรงตามข้อบังคับ ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญ เป็นครั้งที่ 2
ทำให้ นาย
อัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ส.ส.ราชบุรี พรรครวมไทยสร้างชาติ ลุกขึ้นประท้วง ว่าการที่สมาชิกรัฐสภาเสนอนาย
พิธา เป็นนายกฯ นั้นรัฐสภากำลังทำผิดข้อบังคับข้อที่ 41 ที่บัญญัตติว่าญัตติใดที่ตกไปแล้ว ห้ามนำเสนอซึ่งมีหลักการเช่นเดียวกัน ขึ้นมาเสนออีกในสมัยประชุมเดียวกัน เว้นแต่ญัตติที่ยังไม่ได้ลงมติ
ซึ่งเมื่อวันที่ 13 ก.ค.ได้มีการลงมตินี้ไปแล้ว โดยนาย
พิธาได้เสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่งของรัฐสภา และข้อบังคับของรัฐสภามีสถานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ดังนั้นสมาชิกรัฐสภาจะต้องยึดถือปฏิบัติ
ต่อเรื่องดังกล่าว วันที่ 19 ก.ค.2566 ศาสตราจารย์พิเศษ
ธงทอง จันทรางศุ อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์รวมถึงกฎหมาย แสดงความคิดเห็นระบุว่า รัฐธรรมนูญมีศักดิ์ทางกฎหมายสูงกว่าข้อบังคับการประชุมของรัฐสภาอย่างแน่นอน
การเสนอชื่อบุคคลเพื่อให้รัฐสภามีมติให้ความเห็นชอบเพื่อดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นการดำเนินการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 159 ประกอบมาตรา 272 นอกจากนั้นข้อบังคับการประชุมรัฐสภาพ.ศ. 2563 เอง ในหมวดเก้าว่าด้วยเรื่องการพิจารณาให้ความเห็นชอบนายกรัฐมนตรี ได้แยกเรื่องนี้ออกไว้เป็นการเฉพาะ และกำหนดไว้เป็นการพิเศษว่าการเสนอชื่อดังกล่าวต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรับรองไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งถ้าคำนวณจากจำนวนเต็ม 500 ก็จะพบว่าการเสนอชื่อนี้ต้องมีผู้รับรองถึง 50 คน
โปรดสังเกตว่าบทบัญญัติมาตรา 157 และมาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญก็ดี บทบัญญัติของข้อบังคับการประชุมรัฐสภาหมวด 9 ก็ดี ไม่ปรากฏคำว่า “ญัตติ” อยู่ในที่ใด
ในขณะที่การเสนอญัตติทั่วไปตามข้อ 29 แห่งข้อบังคับการประชุมรัฐสภาพ.ศ. 2563 กำหนดว่า ต้องมีสมาชิกรัฐสภารับรองไม่น้อยกว่าสิบคน จึงเห็นการแยกแยะความแตกต่าง และความสำคัญของสองเรื่องนี้ออกจากกันโดยชัดเจน
ดังนี้จึงเห็นได้ว่า การเสนอชื่อบุคคลเพื่อให้รัฐสภามีมติให้ความเห็นชอบเพื่อดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นการดำเนินการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ประกอบกับข้อบังคับการประชุมรัฐสภาหมวดเก้า ซึ่งกำหนดวิธีการขั้นตอนไว้โดยเฉพาะ ไม่มีเหตุผลทางกฎหมายใดที่จะนำบทบัญญัติ จากข้อบังคับการประชุมรัฐสภากรณีการเสนอญัตติทั่วไปมาปรับใช้แก่กรณี
ด้าน ผศ.ดร.
พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แสดงความคิดเห็น ท่านไปศึกษามาจากไหนเหรอครับว่าข้อบังคับการประชุมรัฐสภาเป็นกฎหมาย แล้วต่อให้คุณอัครเดช จาก รทสช. อ้างว่าข้อบังคับการประชุมเทียบเท่า พ.ร.บ. ซึ่งไม่ถูก แต่คำถามคือ รธน. กับ พ.ร.บ. อะไรใหญ่กว่ากัน กรุณาตอบ 100 คะแนนครับ
นักวิเคราะห์ชี้ โหวตเลือกนายกฯยืด หวั่นกระทบตลาดการเงิน-ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ
https://www.matichon.co.th/economy/news_4087265
นักวิเคราะห์ชี้ โหวตเลือกนายกฯยืด หวั่นกระทบตลาดการเงิน-ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ
เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม นาย
พูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ที่ระดับ 34.05 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นจากระดับปิดวันก่อนหน้า โดยในช่วงคืนก่อนหน้ามองกรอบเงินบาทวันนี้คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.85-34.15 บาทต่อดอลลาร์
ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง (แกว่งตัวในช่วง 33.96-34.23 บาทต่อดอลลาร์) หนุนโดยการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำ ซึ่งได้รับอานิสงส์จากการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ หลังรายงานยอดค้าปลีก (Retail Sales) และยอดผลผลิตอุตสาหกรรม (Industrial Production) ล่าสุดออกมาแย่กว่าคาด ทำให้ตลาดยิ่งคาดหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะใกล้ยุติการขึ้นดอกเบี้ย นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ยังถูกกดดันจากภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาด หลังสถาบันการเงินใหญ่สหรัฐต่างรายงานผลประกอบการที่ดีกว่าคาด
สำหรับแนวโน้มของค่าเงินบาทมีโมเมนตัมการแข็งค่าที่ชัดเจน (มากกว่าที่คาดไว้มาก) ทำให้เงินบาทสามารถแข็งค่าหลุดทุกโซนแนวรับที่ประเมินไว้ อย่างไรก็ดี เริ่มเห็นแรงซื้อของบรรดาผู้เล่นในตลาด โดยเฉพาะผู้นำเข้ากลับเข้ามาบ้าง โดยเฉพาะในช่วงโซน 33.90-34.00 บาทต่อดอลลาร์ ทำให้ช่วงดังกล่าวอาจยังพอเป็นแนวรับได้บ้าง แต่หากเงินบาทยังคงแข็งค่าขึ้นหลุดโซนดังกล่าว แนวรับถัดไปก็ไม่น่าจะต่ำกว่าระดับ 33.80 บาทต่อดอลลาร์
อย่างไรก็ดี ควรระวังความผันผวนในช่วงตลาดทยอยรับรู้รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ของอังกฤษ (ช่วง 13.00 น.) ซึ่งอาจส่งผลให้ค่าเงินปอนด์ และค่าเงินดอลลาร์ผันผวนได้พอสมควร หากอัตราเงินเฟ้อที่ออกมาไม่ได้เป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ เช่น อัตราเงินเฟ้อชะลอลงมากกว่าคาดก็อาจทำให้เงินปอนด์อ่อนค่าลงได้บ้าง ซึ่งก็พอจะช่วยหนุนให้เงินดอลลาร์รีบาวด์แข็งค่าขึ้นได้เช่นกัน
และที่สำคัญ ควรติดตามผลการโหวตนายกฯรอบที่ 2 ซึ่งอาจทำให้ค่าเงินบาทเผชิญความผันผวนในช่วงตลาดทยอยรับรู้ผลการโหวตได้
“
ช่วงตลาดการเงินยังมีความผันผวนสูงจากทั้งปัจจัยการเมืองไทยและบรรยากาศในตลาดการเงินที่อาจพลิกไปมาในช่วงรับรู้รายงานผลประกอบการ ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน” นาย
พูนกล่าว
นาย
พูนกล่าวว่า ด้านตลาดค่าเงินดอลลาร์เคลื่อนไหวผันผวน โดยรวมแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก โดยล่าสุดดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) เคลื่อนไหวใกล้ระดับ 99.9 จุด (กรอบการเคลื่อนไหว 99.7-100.1 จุด ในช่วงคืนที่ผ่านมา) ซึ่งการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์อาจมาจากการปิดสถานะ Short USD ของผู้เล่นบางส่วนในตลาด เพื่อขายทำกำไรได้ ทั้งนี้ แม้เงินดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็มีจังหวะอ่อนค่าลงในช่วงที่ตลาดรับรู้รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่ออกมาแย่กว่าคาด
สำหรับวันนี้ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานอัตราเงินเฟ้อจากฝั่งยุโรป (ยูโรโซนและอังกฤษ) เพื่อประเมินโอกาสธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยเรามองว่ามีโอกาสที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) อาจเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อ 0.50% ในรอบการประชุมเดือนสิงหาคม หากอัตราเงินเฟ้อ CPI และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core CPI เดือนมิถุนายน ชะลอลงไม่มากนัก สู่ระดับ 8.2% และ 7.1% ตามลำดับ
“
นอกจากนี้ ไฮไลต์สำคัญที่ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามคือการโหวตเลือกนายกฯรอบที่ 2 ของไทย ซึ่งผลการโหวตอาจยังคงสะท้อนภาพสถานการณ์การเมืองไทยที่ยังมีความไม่แน่นอน และชี้ว่าการโหวตเลือกนายกฯ อาจมีความยืดเยื้อ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อบรรยากาศในตลาดการเงินและฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติได้” นาย
พูนกล่าว
JJNY : โหวตนายกฯกี่รอบก็ได้│รธน.มีศักดิ์สูงกว่าข้อบังคับประชุมรัฐสภา│นักวิเคราะห์ชี้โหวตเลือกนายกฯยืด│ยูเอ็นเตือนชาวโลก
https://www.matichon.co.th/politics/news_4087229
ไอลอว์ กางกม. ชี้โหวตนายกฯ กี่รอบก็ได้ เสนอชื่อ ‘คนนอก’ เท่านั้นที่เป็นญัตติซ้ำไม่ได้
เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคมที่ผ่านมา ไอลอว์ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) ได้เปิดข้อกฎหมายเกี่ยวกับการเสนอญัตติเสนอนายกฯ ต่อข้อสงสัยในสังคมว่า “โหวตซ้ำนายกฯได้กี่รอบ” ไว้ว่า
“เลือกนายกฯ ไม่เหมือนญัตติทั่วไป โหวตซ้ำกี่รอบก็ได้”
มีแต่การเสนอญัตติเสนอนายกฯ คนนอก เท่านั้นที่ถือว่าเป็นญัตติที่จะเสนอซ้ำไม่ได้ แต่การเสนอชื่อนายกฯ โดยวิธีการปกติจะเสนอชื่อเดิมซ้ำโหวตกี่ครั้งก็ได้จนกว่าจะได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่
พร้อมอธิบายไว้ดังนี้
การเลือกนายกฯ วันที่ 13 ก.ค.66 นับเป็นครั้งแรกที่เลือกนายกฯ ไม่ประสบความสำเร็จ แม้จะมีผู้ถูกเสนอชื่อคนเดียว คือ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกฯ จากพรรคก้าวไกล เนื่องจากติดเงื่อนไขได้รับเสียงไม่เกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา ทั้งที่ได้เสียงเห็นชอบเกินกว่ากึ่งหนึ่งของ ส.ส. แล้ว
การเลือกพิธาเป็นนายกฯ ครั้งที่ 2 วันที่ 19 ก.ค.66 ของ 8 พรรคเสียงข้างมาก กลับต้องเจอโจทย์ใหม่ที่อาจทำให้การโหวตพิธาเป็นนายกฯ ไม่อาจเกิดขึ้นได้ เมื่อ ส.ว.และฝ่ายพรรคเสียงข้างน้อยส่วนหนึ่งเห็นว่า การเสนอชื่อพิธาเป็นนายกฯ เป็นการเสนอญัตติซ้ำ ซึ่งขัดกับข้อบังคับการประชุมรัฐสภา
ปัญหาเสนอชื่อนายกซ้ำได้หรือไม่ ปรากฏอยู่ใน ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ว่า
“ข้อ 41 ญัตติใดตกไปแล้ว ห้ามนำญัตติซึ่งมีหลักการเช่นเดียวกันขึ้นเสนออีกในสมัยประชุมเดียวกัน เว้นแต่ญัตติที่ยังมิได้มีการลงมติหรือญัตติที่ประธานรัฐสภาอนุญาต ในเมื่อพิจารณาเห็นว่าเหตุการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป”
จากข้อบังคับนี้ สมชาย แสวงการ ส.ว.แต่งตั้ง เห็นว่าการเสนอชื่อพิธาซ้ำไม่สามารถทำได้ เนื่องจาก “ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อที่ 41 กำหนดชัดเจนว่า ญัตติเสนอซ้ำไม่ได้ เว้นแต่เสนอสมัยประชุมหน้า”
เมื่อเปิดดู ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ตั้งแต่ข้อ 29-41 พบว่า การระบุ ถึงญัตติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับส่วนนี้ประกอบด้วย
• ข้อ 29 ญัตติทั้งหลายที่ต้องเสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือต่อประธานรัฐสภา และต้องมีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่า 10 คน
• ข้อ 30 ญัตติขอให้ประชุมลับ / ญัตติร่าง พ.ร.บ.ประกอบ รธน / ญัตติเปิดอภิปรายทั่วไปของผู้นำฝ่ายค้าน / ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติม รธน / ญัตติขอให้รัฐสภาเสนอชื่อนายกคนนอก / ญัตติที่ครม.เป็นผู้เสนอ
• ข้อ 31 ญัตติขอให้ปรึกษาหรือพิจารณาเป็นเรื่องด่วน / ขอให้เปลี่ยนระเบียบวาระการประชุมรัฐสภา เป็นต้น
• ข้อ 32 ญัตติขอให้รัฐสภามีมติกรณีมีปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภา
จากญัตติที่ถูกกำหนดในข้อบังคับการประชุมจะเห็นว่า ไม่มีการระบุถึงญัตติที่เกี่ยวกับการเลือกนายกฯ จากบัญชีรายชื่อพรรคการเมือง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 159 และมาตรา 272 วรรคหนึ่งเลย ยกเว้นการเลือกนายกฯ จากบุคคลนอกบัญชีรายชื่อพรรคการเมืองหรือนายกฯ คนนอกเท่านั้นที่ต้องเสนอเป็นญัตติ
เมื่อเปิดดูข้อบังคับการประชุมรัฐสภาในหมวดที่ 8 การพิจารณาให้ความเห็นชอบนายกรัฐมนตรีก็ไม่มีส่วนใดที่ระบุว่าต้องเสนอเป็นญัตติเช่นเดียวกับญัตติอื่นๆ ที่ระบุในข้อบังคับหมวดที่ 2 ส่วนที่ 2 เรื่องการเสนอญัตติ เลย
กรณีเสนอชื่อบุคคลนอกบัญชีรายชื่อพรรคการเมืองเป็นนายกฯ ทั้ง รธน และข้อบังคับการประชุม ข้อ 30 และ 138 ระบุชัดเจนว่า สมาชิกรัฐสภาไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกที่มีอยู่เข้าชื่อเสนอญัตติต่อประธานรัฐสภาเพื่อขอให้รัฐสภามีมติยกเว้นไม่ต้องเสนอชื่อนายกฯ จากบัญชีรายชื่อพรรคการเมืองได้
ในกรณีนี้ถ้ารัฐสภามีมติไม่เห็นชอบนายกฯ คนนอกก็จะทำให้ ในสมัยประชุมดังกล่าวไม่สามารถเสนอญัตติเพื่อเสนอนายกฯ คนนอกได้อีก เพราะเป็นญัตติซ้ำตามข้อบังคับประชุมรัฐสภา ข้อ 41
ดังนั้นจึงมีแต่การเสนอญัตติเสนอนายกฯ คนนอกเท่านั้นที่ถือว่าเป็นญัตติที่จะเสนอซ้ำไม่ได้ แต่การเสนอชื่อนายกฯ โดยวิธีการปกติจะเสนอชื่อเดิมซ้ำโหวตกี่ครั้งก็ได้จนกว่าจะได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่
อ.กฎหมาย ยืนยันชัด รธน. มีศักดิ์สูงกว่าข้อบังคับประชุมรัฐสภา ที่ รทสช.อ้างนั้นไม่ถูก
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7773004
อาจารย์กฎหมาย ยืนยันชัด รัฐธรรมนูญมีศักดิ์ทาง กม.สูงกว่าข้อบังคับการประชุมของรัฐสภาอย่างแน่นอน ที่ พรรครวมไทยสร้างชาติ อ้างนั้นไม่ถูก
หลัง นายสุทิน คลังแสง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เสนอชื่อ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เป็นนายกฯ โดยมีผู้รับรองด้วยการยกมือโดยไม่ตรงตามข้อบังคับ ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญ เป็นครั้งที่ 2
ทำให้ นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ส.ส.ราชบุรี พรรครวมไทยสร้างชาติ ลุกขึ้นประท้วง ว่าการที่สมาชิกรัฐสภาเสนอนายพิธา เป็นนายกฯ นั้นรัฐสภากำลังทำผิดข้อบังคับข้อที่ 41 ที่บัญญัตติว่าญัตติใดที่ตกไปแล้ว ห้ามนำเสนอซึ่งมีหลักการเช่นเดียวกัน ขึ้นมาเสนออีกในสมัยประชุมเดียวกัน เว้นแต่ญัตติที่ยังไม่ได้ลงมติ
ซึ่งเมื่อวันที่ 13 ก.ค.ได้มีการลงมตินี้ไปแล้ว โดยนายพิธาได้เสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่งของรัฐสภา และข้อบังคับของรัฐสภามีสถานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ดังนั้นสมาชิกรัฐสภาจะต้องยึดถือปฏิบัติ
ต่อเรื่องดังกล่าว วันที่ 19 ก.ค.2566 ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์รวมถึงกฎหมาย แสดงความคิดเห็นระบุว่า รัฐธรรมนูญมีศักดิ์ทางกฎหมายสูงกว่าข้อบังคับการประชุมของรัฐสภาอย่างแน่นอน
การเสนอชื่อบุคคลเพื่อให้รัฐสภามีมติให้ความเห็นชอบเพื่อดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นการดำเนินการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 159 ประกอบมาตรา 272 นอกจากนั้นข้อบังคับการประชุมรัฐสภาพ.ศ. 2563 เอง ในหมวดเก้าว่าด้วยเรื่องการพิจารณาให้ความเห็นชอบนายกรัฐมนตรี ได้แยกเรื่องนี้ออกไว้เป็นการเฉพาะ และกำหนดไว้เป็นการพิเศษว่าการเสนอชื่อดังกล่าวต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรับรองไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งถ้าคำนวณจากจำนวนเต็ม 500 ก็จะพบว่าการเสนอชื่อนี้ต้องมีผู้รับรองถึง 50 คน
โปรดสังเกตว่าบทบัญญัติมาตรา 157 และมาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญก็ดี บทบัญญัติของข้อบังคับการประชุมรัฐสภาหมวด 9 ก็ดี ไม่ปรากฏคำว่า “ญัตติ” อยู่ในที่ใด
ในขณะที่การเสนอญัตติทั่วไปตามข้อ 29 แห่งข้อบังคับการประชุมรัฐสภาพ.ศ. 2563 กำหนดว่า ต้องมีสมาชิกรัฐสภารับรองไม่น้อยกว่าสิบคน จึงเห็นการแยกแยะความแตกต่าง และความสำคัญของสองเรื่องนี้ออกจากกันโดยชัดเจน
ดังนี้จึงเห็นได้ว่า การเสนอชื่อบุคคลเพื่อให้รัฐสภามีมติให้ความเห็นชอบเพื่อดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นการดำเนินการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ประกอบกับข้อบังคับการประชุมรัฐสภาหมวดเก้า ซึ่งกำหนดวิธีการขั้นตอนไว้โดยเฉพาะ ไม่มีเหตุผลทางกฎหมายใดที่จะนำบทบัญญัติ จากข้อบังคับการประชุมรัฐสภากรณีการเสนอญัตติทั่วไปมาปรับใช้แก่กรณี
ด้าน ผศ.ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แสดงความคิดเห็น ท่านไปศึกษามาจากไหนเหรอครับว่าข้อบังคับการประชุมรัฐสภาเป็นกฎหมาย แล้วต่อให้คุณอัครเดช จาก รทสช. อ้างว่าข้อบังคับการประชุมเทียบเท่า พ.ร.บ. ซึ่งไม่ถูก แต่คำถามคือ รธน. กับ พ.ร.บ. อะไรใหญ่กว่ากัน กรุณาตอบ 100 คะแนนครับ
นักวิเคราะห์ชี้ โหวตเลือกนายกฯยืด หวั่นกระทบตลาดการเงิน-ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ
https://www.matichon.co.th/economy/news_4087265
นักวิเคราะห์ชี้ โหวตเลือกนายกฯยืด หวั่นกระทบตลาดการเงิน-ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ
เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ที่ระดับ 34.05 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นจากระดับปิดวันก่อนหน้า โดยในช่วงคืนก่อนหน้ามองกรอบเงินบาทวันนี้คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.85-34.15 บาทต่อดอลลาร์
ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง (แกว่งตัวในช่วง 33.96-34.23 บาทต่อดอลลาร์) หนุนโดยการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำ ซึ่งได้รับอานิสงส์จากการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ หลังรายงานยอดค้าปลีก (Retail Sales) และยอดผลผลิตอุตสาหกรรม (Industrial Production) ล่าสุดออกมาแย่กว่าคาด ทำให้ตลาดยิ่งคาดหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะใกล้ยุติการขึ้นดอกเบี้ย นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ยังถูกกดดันจากภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาด หลังสถาบันการเงินใหญ่สหรัฐต่างรายงานผลประกอบการที่ดีกว่าคาด
สำหรับแนวโน้มของค่าเงินบาทมีโมเมนตัมการแข็งค่าที่ชัดเจน (มากกว่าที่คาดไว้มาก) ทำให้เงินบาทสามารถแข็งค่าหลุดทุกโซนแนวรับที่ประเมินไว้ อย่างไรก็ดี เริ่มเห็นแรงซื้อของบรรดาผู้เล่นในตลาด โดยเฉพาะผู้นำเข้ากลับเข้ามาบ้าง โดยเฉพาะในช่วงโซน 33.90-34.00 บาทต่อดอลลาร์ ทำให้ช่วงดังกล่าวอาจยังพอเป็นแนวรับได้บ้าง แต่หากเงินบาทยังคงแข็งค่าขึ้นหลุดโซนดังกล่าว แนวรับถัดไปก็ไม่น่าจะต่ำกว่าระดับ 33.80 บาทต่อดอลลาร์
อย่างไรก็ดี ควรระวังความผันผวนในช่วงตลาดทยอยรับรู้รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ของอังกฤษ (ช่วง 13.00 น.) ซึ่งอาจส่งผลให้ค่าเงินปอนด์ และค่าเงินดอลลาร์ผันผวนได้พอสมควร หากอัตราเงินเฟ้อที่ออกมาไม่ได้เป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ เช่น อัตราเงินเฟ้อชะลอลงมากกว่าคาดก็อาจทำให้เงินปอนด์อ่อนค่าลงได้บ้าง ซึ่งก็พอจะช่วยหนุนให้เงินดอลลาร์รีบาวด์แข็งค่าขึ้นได้เช่นกัน
และที่สำคัญ ควรติดตามผลการโหวตนายกฯรอบที่ 2 ซึ่งอาจทำให้ค่าเงินบาทเผชิญความผันผวนในช่วงตลาดทยอยรับรู้ผลการโหวตได้
“ช่วงตลาดการเงินยังมีความผันผวนสูงจากทั้งปัจจัยการเมืองไทยและบรรยากาศในตลาดการเงินที่อาจพลิกไปมาในช่วงรับรู้รายงานผลประกอบการ ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน” นายพูนกล่าว
นายพูนกล่าวว่า ด้านตลาดค่าเงินดอลลาร์เคลื่อนไหวผันผวน โดยรวมแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก โดยล่าสุดดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) เคลื่อนไหวใกล้ระดับ 99.9 จุด (กรอบการเคลื่อนไหว 99.7-100.1 จุด ในช่วงคืนที่ผ่านมา) ซึ่งการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์อาจมาจากการปิดสถานะ Short USD ของผู้เล่นบางส่วนในตลาด เพื่อขายทำกำไรได้ ทั้งนี้ แม้เงินดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็มีจังหวะอ่อนค่าลงในช่วงที่ตลาดรับรู้รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่ออกมาแย่กว่าคาด
สำหรับวันนี้ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานอัตราเงินเฟ้อจากฝั่งยุโรป (ยูโรโซนและอังกฤษ) เพื่อประเมินโอกาสธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยเรามองว่ามีโอกาสที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) อาจเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อ 0.50% ในรอบการประชุมเดือนสิงหาคม หากอัตราเงินเฟ้อ CPI และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core CPI เดือนมิถุนายน ชะลอลงไม่มากนัก สู่ระดับ 8.2% และ 7.1% ตามลำดับ
“นอกจากนี้ ไฮไลต์สำคัญที่ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามคือการโหวตเลือกนายกฯรอบที่ 2 ของไทย ซึ่งผลการโหวตอาจยังคงสะท้อนภาพสถานการณ์การเมืองไทยที่ยังมีความไม่แน่นอน และชี้ว่าการโหวตเลือกนายกฯ อาจมีความยืดเยื้อ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อบรรยากาศในตลาดการเงินและฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติได้” นายพูนกล่าว