'ทักษิณ'ย้อนรอยซื้อ'เรือใบสีฟ้า' แค่23ล้านปอนด์
https://www.dailynews.co.th/sports/831477
"โทนี่-ทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายกรัฐมนตรี ย้อนรอยซื้อ แมนฯ ซิตี ผ่านคลับเฮาส์ เผย จ่ายแค่ 23 ล้านปอนด์ ต้องการไปสร้างชื่อเสียงเรื่องกีฬา เลี่ยงการเมือง
"โทนี่" ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ร่วมพูดคุยผ่านทาง Clubhouse ซึ่งจัดโดยกลุ่ม CARE ตอนหนึ่ง มีผู้ถามถึงการเข้าเทคโอเวอร์ "
เรือใบสีฟ้า" แมนเชสเตอร์ ซิตี เมื่อ 14 ปีที่แล้ว โดย นาย
ทักษิณ กล่าวว่า ตอนมาลี้ภัยที่ลอนดอน เช้าวันแรกมีทูตสิงคโปร์ประจำลอนดอน บอกว่าฝากคำห่วงใยของ
ลีกวนยู อดีตนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ บอกว่า ให้นิ่งไว้ ก็เลยคิดว่า อย่าไปยุ่งการเมืองแล้วกัน แต่ก็จำเป็นต้องให้ชื่อยังอยู่ เลยคิดว่า จะซื้อทีมฟุตบอล เพราะคิดจะทำมานานแล้ว แล้วขณะนั้นทีมในพรีเมียร์ลีกประกาศขายกันหลายทีม ตนก็ได้คุยกับหลายทีม
"
สุดท้ายก็ไปเจอทีมแมนฯ ซิตี ซึ่งตอนนั้นเป็นทีมที่เตรียมตกชั้นทุกปี แต่ราคาไม่แพง รวมถึงมีสนามเพิ่งสร้างใหม่ สวยงาม มีอายุสัญญาเช่า 200 กว่าปี ผมจึงคิดว่าน่าจะเป็นหลักทรัพย์ที่ดี เลยตัดสินใจไปเจรจาซื้อด้วยราคา 23 ล้านปอนด์ แล้วก็ค่อยๆ สร้างทีม"
อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวต่อไปว่า ตอนนั้นในแมนเชสเตอร์มีแฟนบอลของแมนฯ ซิตี มากกว่า แมนฯ ยูฯ แต่ถ้าทั้งโลกมีแฟนบอลของแมนฯ ยูฯ มากกว่า ส่วนตอนนี้ไม่รู้แล้ว เพราะแมนฯ ซิตี ก็กลายเป็นทีมดังไปแล้ว
"
วิธีการของผมคือไปดูกับหลายเจ้า ไปดูฐานะแฟนพันธุ์แท้ทีมต่างๆ ซึ่งแมนฯ ซิตี มีสนามฟุตบอลที่ดีอยู่แล้ว เราแค่ไปหาซื้อนักเตะ หาโค้ชที่ดี เลยตัดสินใจซื้อทีมนี้ เพื่อทำให้เรามีชื่อเสียงด้านกีฬา ไม่ไปยุ่งเรื่องการเมือง และถือเป็นการทำตามที่ลีกวนยูแนะนำด้วย"
ทักษิณ ชินวัตร รับตำแหน่งเป็นเจ้าของทีมแมนเชสเตอร์ ซิตี ในช่วงปี 2007-2008 ก่อนจะขายกิจการให้ Abu Dhabi United Group ในปี 2008
ซีอีโอ TMB ชี้เศรษฐกิจไทยสิ้นสุดทางเลื่อน แนะฉีดวัคซีนปิดจุดอ่อน
https://www.prachachat.net/finance/news-631350
ซีอีโอ “ทีเอ็มบี” ชี้เศรษฐกิจไทยสิ้นสุดทางเลื่อน แนะฉีดวัคซีนปิดจุดอ่อน 6 ด้าน สร้างภูมิคุ้มกัน
นาย
ปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย (ทีเอ็มบี) กล่าวบรรยายพิเศษในหัวข้อ “
วัคซีนเศรษฐกิจ วัคซีนประเทศไทย” ว่า มองว่าวิกฤตครั้งนี้สุดสิ้นทางเลื่อน เพราะหลังวิกฤตประเทศไทยจะต้องปรับตัว ตื่นตัว เพราะจะสามารถทำให้เติบโตได้ตามศักยภาพ จากที่ผ่านมาโตต่ำกว่าศักยภาพ แต่พูดสวยหรูว่า เรามีศักยภาพสูงกว่านั้น
ฉีดวัคซีนแก้จุดอ่อนเศรษฐกิจไทย
นาย
ปิติ กล่าวว่า หากย้อนมาดู เปรียบเทียบกับประเทศที่แข็งแรงกว่า พบว่า จุดอ่อนของประเทศไทย มี 6 ด้าน ซึ่งต้องฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ได้แก่
1.โครงสร้างเศรษฐกิจไทยพึ่งพาการจ้างงานจากภาคธุรกิจเอสเอ็มอี (SMEs) ค่อนข้างมาก ซึ่งเป็นธุรกิจที่ค่อนข้างเปราะบางเหลือเกิน
2. ไทยมีโครงสร้างที่เหมือนเดิมไม่เคยเปลี่ยนแปลงมาเกือบ 20 ปี
3. โครงสร้างรายได้ การจัดเก็บภาษีของรัฐบาลค่อนข้างกระจุกตัวมาก ไม่ว่าจะเป็นภาษีนิติบุคคล ภาษีบุคคลธุรรมดา และภาษีมูลค่าเพิ่ม 4.เศรษฐกิจไทยกระจุกตัวไม่กี่จังหวัด
5. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของไทยก็ยังไม่ใช่สำหรับอนาคตของประเทศ
และ 6. ความสะดวกในการทำธุรกิจไทยยังมีปัญหาอยู่มาก ซึ่งทั้งหมดล้วนต้องการวัคซีนป้องกัน
ต้องเพิ่ม “รายได้ต่อหัว” มากกว่าปั๊มจีดีพี
นาย
ปิติ กล่าวว่า ไทยมีมูลค่าเศรษฐกิจต่อประชากร (GDP Per Capita) อยู่ที่ 70-80% หายใจรดต้นคอประเทศ “กาบอง” นับว่าแปลกมาก เพราะในขณะที่ดัชนีหลายตัวติดอันดับที่ดี แต่ขนาดเศรษฐกิจต่อประชากรกลับน้อยมาก
ทั้งนี้ หากพิจารณาการจ้างงาน 38 ล้านคน พบว่าบริษัทขนาดใหญ่ประมาณ 0.2% มีการจ้างงาน 13% อีก 46% เป็นผู้ใช้แรงงานในกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี และอยู่ในภาคเกษตร 32% ส่วนที่เหลือ 9% อยู่ในภาครัฐ
ส่วนการลงทุนภาคเอกชนมูลค่า 6 ล้านล้านบาท บริษัทใหญ่ยังเป็นหัวรถจักรเหล็กในการขับเคลื่อนการลงทุนของประเทศสัดส่วนกว่า 80% อาทิ ปตท., ปูนซิเมนต์ไทย เป็นต้น
ส่วนอีก 20% อยู่ในธุรกิจเอสเอ็มอี โดยการเติบโตของตัวเลขเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ประมาณ 15.7 ล้านล้านบาท จะเห็นว่าสัดส่วนการจ้างงานของบริษัทขนาดใหญ่ 13% สร้างรายได้ต่อการเติบโตของเศรษฐกิจประมาณ 43% ของจีดีพี ขณะที่ธุรกิจเอสเอ็มอีสร้างรายได้ใกล้เคียงกันที่ 42.4%
“
แต่ผมไม่อยากให้เราสนใจคำว่าจีดีพีมาก จีดีพีเหมือนรายได้ เราอยากมีรายได้เยอะ ๆ แต่มีกำไรน้อย ๆ ไหม ตอนนี้เราส่งออกรถยนต์ ดีใจได้จีดีพี แต่ถามว่ามันตกอยู่ในมือคนไทยเท่าไหร่ ถ้าเทียบกับธุรกิจโรงแรมที่มีรายได้ตกไปอยู่ในมือคนไทยแทบทั้งหมด
ดังนั้น ถ้าคนจำนวนมากได้เงินจำนวนน้อย เพราะว่าผลิตจีดีพีเท่ากับบริษัทใหญ่ ซึ่งรายได้ถูกส่งไปยังผู้ถือหุ้น ถูกส่งไปยังพนักงานบางส่วน จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้จีดีพีต่อประชากร (GDP per Capita) ของคนไทยยังต่ำ ซึ่งเป็นสิ่งแรกที่เรามีความอ่อนแอ และต้องการวัคซีน” นาย
ปิติกล่าว
รัฐสภา เสียงแตกวุ่น หาทางออกโหวตวาระสาม “เดินหน้า-ล้ม-ชะลอ-ยื่นศาล” อีกรอบ
https://www.matichon.co.th/politics/news_2627688
เปิดประชุมร่วมรัฐสภา ถกปมแก้รธน. หาทางออกโหวตวาระ3 “สมชาย” เสนอญัตติห้ามลงมติ ขณะที่ “จุรินทร์ ชงส่งศาลรธน.ตีความอีกครั้ง ป้องกันเกิดปัญหาภายหลัง ด้านฝ่ายค้าน ขอสู้ให้เดินหน้าต่อ เชื่อเป็นทางออกที่ดีที่สุด วอนหยุดปิดกั้นอำนาจปชช.
เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 17 มีนาคม ที่รัฐสภา ในการประชุมร่วมรัฐสภา สมัยวิสามัญ ที่มี นาย
ชวน หลีกภัย ประธารัฐสภา เป็นประธานการประชุม เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่..) พ.ศ….(แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 256 และเพิ่มหมวด 15/1) เป็นการพิจารณาเพื่อลงมติในวาระ 3 โดยที่ประชุมรับทราบคำวินนิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา ในการจัดทำรัฐธรรมนูญที่ต้องทำประชามติก่อน ทั้งนี้ ก่อนการพิจารณา นาย
ชวน แจ้งต่อที่ประชุมถึงคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 4/2564 ตามที่รัฐสภายื่นคำร้องให้วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภาต่อการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ที่ระบุว่า รัฐสภามีหน้าที่และอำนาจจัดทำใหม่ได้ โดยให้ประชาชนผู้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญลงประชามติก่อนว่าประสงค์ให้มีรัฐธรรมนูญใหม่หรือไม่ และเมื่อทำรัฐธรรมนูญใหม่ต้องให้ประชาชนลงมติเห็นชอบหรือไม่กับร่างรัฐธรรมนูญใหม่หรือไม่
จากนั้น เปิดให้สมาชิกรัฐสภาแสดงความเห็น โดย นาย
ไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ อภิปรายในฐานะผู้เสนอญัตติให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเรื่องอำนาจหน้าที่ของรัฐสภาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อคำวินิจฉัยออกมาแล้ว แม้รัฐสภามีอำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หากจะแก้ไขหรือจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใม่ ต้องทำประชามติ ถามประชาชนก่อน ซึ่งร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เสนอนั้น ศาลวินิจฉัยว่านอกจากเป็นการร่างใหม่แล้วยังเป็นการยกเลิก รัฐธรรมนูญ 60 ด้วย ชัดเจนว่าการโหวตวาระ 3 เป็นการกระทำที่ขัดรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 5 กระทำไม่ได้ ซึ่งฝ่ายกฎหมายของสภาฯก็มีความเห็นทำนองเดียวกัน ดังนั้น เมื่อรัฐสภาไม่สามารถลงมติวาระ 3 ได้ จะเก็บไว้ก็ไม่ได้ เพราะขัดรัฐธรรมนูญ แต่ถ้าจะจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ตนเห็นว่าต้องเริ่มต้นโดยรัฐสภาเสนอญัตติ ขอจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ เมื่อรัฐสภาเห็นชอบ จึงส่งให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อออกเสียงประชามติ หากมีการดำเนินการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ ถ้าประชาชนออกเสียงให้จัดทำ รัฐสภาเท่านั้นมีอำนาจทำได้ โดยตั้งคณะกรรมาธิการ ขึ้นมาพิจารณา แต่ไม่สามารถตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) มา ดำเนินการได้
ด้าน นาย
สมชาย แสวงการ ส.ว.ในฐานะผู้ยื่นญัตติ ขอเสนอแก้ไขปัญหาดังกล่าว อภิปรายว่า ความเห็นของฝ่ายกฎหมายของส.ส. ส.ว. และคณะกรรมการประสานงานด้านกฎหมายของประธานรัฐสภา มีความเห็นสอดคล้องกันทั้ง 3 ส่วนว่าไม่สามารถกระทำการลงมติ วาระ 3 ได้ เนื่องจากการดำเนินการในกระบวนการและเนื้อหาสำคัญนั้นขัดต่อคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ดังนั้น จึงขอเสนอญัตติตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา เพื่อขอให้พิจารณาเป็นเรื่องด่วนให้ที่ประชุมรัฐสภาพิจารณาว่าการลงมติของรัฐสภา วาระ 3 ไม่อาจกระทำได้ เนื่องจากตามมาตรา 211 วรรคสี่ของรัฐธรรมนูญ บัญญัติว่าคำวินิจฉัยศาลรั้ฐธรรมนูญให้ถือเป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันทุกองค์กร เมื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่เป็นไปตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ กรณีที่สภามอบอำนาจเด็ดขาดให้ ส.ส.ร.ไปจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และยังไม่มีการทำประชามติก่อนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสียก่อน ร่างรัฐธรรมนูญจึงต้องตกไปโดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
ส่วน นาย
สมคิด เชื้อคง ส.ส.อุบลราชธานี พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า ไม่มีข้อความใดในคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญระบุไม่ให้ลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ3 สิ่งที่อ้างมาว่าลงมติวาระ 3 ไม่ได้ เป็นแค่ความเห็นของฝ่ายกฎหมายส.ส.และส.ว. ถ้าไม่อยากแก้ก็บอกมาตรงๆว่า ไม่อยากแก้ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ได้ล้มเลิกรัฐธรรมนูญปี2560 เป็นการแก้ไขเพิ่มเติม ถึงจะตั้งส.ส.ร.ขึ้นมาก็ไม่ได้หมายความว่า จะแก้ไขทั้งฉบับ เพราะไม่ได้แตะต้องหมวด1และ2 ไม่มีเหตุผลที่จะไม่ลงวาระ 3 ถ้าเป็นเช่นนี้ รัฐสภาทำอะไรไม่ได้เลย ยืนยันรัฐสภาลงมติวาระ3ได้ ต้องเดินหน้าต่อ รัฐสภาจะขายหน้าไปถึงไหน อย่าใช้หลักกฎหมายข้างๆคูๆ คนที่เสนอให้แก้ ทำไมไม่อายบ้าง ขอให้ฝึกอายบ้าง
ด้าน นาย
ธีรัจชัย พันธุมาศ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายว่า เหตุใดการแก้ไขรัฐธรรมนูญทำได้ยาก แต่การฉีกรัฐธรรมนูญโดยการรัฐประหารไม่มีใครคัดค้าน มีผู้ได้ประโยชน์จากการรัฐประหารปี2557 นั่งอยู่ในที่นี้หลายร้อยคน และในวันนี้ยังมาขัดขวางแก้รัฐธรรมนูญอีก รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ปราบโกง แต่ขี้โกง เอาเปรียบ ต้องการสืบทอดอำนาจ ควรโหวตวาระ3ให้เสร็จ ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไรก็ไม่เป็นไร ขอให้โหวต อย่าใช้เสียงข้างมากลากไป ตีความแบบศรีธนญชัย
จากนั้น นาย
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า เห็นควรให้รัฐสภามีมติให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอีกครั้งในประเด็นต่างๆ เหตุผลทั้งหมดนี้ไม่ได้ประสงค์เตะถ่วงหรือประวิงเวลาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะจุดยืนของตนและพรรคประชาธิปัตย์ ต้องการเห็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นำประเทศไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยที่เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้นและเกิดขึ้นได้จริง การที่ต้องขอความเห็นชอบเพื่อส่งศาลรัฐธรรมนูญนั้น เพื่อให้กระบวนการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นไปด้วยความรอบคอบ ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและสอดคล้องคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ปราศจากข้อสงสัย ไม่มีปัญหาตามมาภายหลังและเพื่อให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญสามารถนำไปสู่การแก้ไขเพิ่มเติมและได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้นในอนาคตอย่างแท้จริง
JJNY : 'ทักษิณ'ย้อนรอยซื้อเรือใบสีฟ้า│ซีอีโอTMBแนะฉีดวัคซีนปิดจุดอ่อน│รัฐสภา เสียงแตกวุ่น│สุทินถามบรรทัดไหนบอกโหวตไม่ได้
https://www.dailynews.co.th/sports/831477
"โทนี่-ทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายกรัฐมนตรี ย้อนรอยซื้อ แมนฯ ซิตี ผ่านคลับเฮาส์ เผย จ่ายแค่ 23 ล้านปอนด์ ต้องการไปสร้างชื่อเสียงเรื่องกีฬา เลี่ยงการเมือง
"สุดท้ายก็ไปเจอทีมแมนฯ ซิตี ซึ่งตอนนั้นเป็นทีมที่เตรียมตกชั้นทุกปี แต่ราคาไม่แพง รวมถึงมีสนามเพิ่งสร้างใหม่ สวยงาม มีอายุสัญญาเช่า 200 กว่าปี ผมจึงคิดว่าน่าจะเป็นหลักทรัพย์ที่ดี เลยตัดสินใจไปเจรจาซื้อด้วยราคา 23 ล้านปอนด์ แล้วก็ค่อยๆ สร้างทีม"
อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวต่อไปว่า ตอนนั้นในแมนเชสเตอร์มีแฟนบอลของแมนฯ ซิตี มากกว่า แมนฯ ยูฯ แต่ถ้าทั้งโลกมีแฟนบอลของแมนฯ ยูฯ มากกว่า ส่วนตอนนี้ไม่รู้แล้ว เพราะแมนฯ ซิตี ก็กลายเป็นทีมดังไปแล้ว
"วิธีการของผมคือไปดูกับหลายเจ้า ไปดูฐานะแฟนพันธุ์แท้ทีมต่างๆ ซึ่งแมนฯ ซิตี มีสนามฟุตบอลที่ดีอยู่แล้ว เราแค่ไปหาซื้อนักเตะ หาโค้ชที่ดี เลยตัดสินใจซื้อทีมนี้ เพื่อทำให้เรามีชื่อเสียงด้านกีฬา ไม่ไปยุ่งเรื่องการเมือง และถือเป็นการทำตามที่ลีกวนยูแนะนำด้วย"
ทักษิณ ชินวัตร รับตำแหน่งเป็นเจ้าของทีมแมนเชสเตอร์ ซิตี ในช่วงปี 2007-2008 ก่อนจะขายกิจการให้ Abu Dhabi United Group ในปี 2008
ซีอีโอ TMB ชี้เศรษฐกิจไทยสิ้นสุดทางเลื่อน แนะฉีดวัคซีนปิดจุดอ่อน
https://www.prachachat.net/finance/news-631350
ซีอีโอ “ทีเอ็มบี” ชี้เศรษฐกิจไทยสิ้นสุดทางเลื่อน แนะฉีดวัคซีนปิดจุดอ่อน 6 ด้าน สร้างภูมิคุ้มกัน
นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย (ทีเอ็มบี) กล่าวบรรยายพิเศษในหัวข้อ “วัคซีนเศรษฐกิจ วัคซีนประเทศไทย” ว่า มองว่าวิกฤตครั้งนี้สุดสิ้นทางเลื่อน เพราะหลังวิกฤตประเทศไทยจะต้องปรับตัว ตื่นตัว เพราะจะสามารถทำให้เติบโตได้ตามศักยภาพ จากที่ผ่านมาโตต่ำกว่าศักยภาพ แต่พูดสวยหรูว่า เรามีศักยภาพสูงกว่านั้น
ฉีดวัคซีนแก้จุดอ่อนเศรษฐกิจไทย
นายปิติ กล่าวว่า หากย้อนมาดู เปรียบเทียบกับประเทศที่แข็งแรงกว่า พบว่า จุดอ่อนของประเทศไทย มี 6 ด้าน ซึ่งต้องฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ได้แก่
1.โครงสร้างเศรษฐกิจไทยพึ่งพาการจ้างงานจากภาคธุรกิจเอสเอ็มอี (SMEs) ค่อนข้างมาก ซึ่งเป็นธุรกิจที่ค่อนข้างเปราะบางเหลือเกิน
2. ไทยมีโครงสร้างที่เหมือนเดิมไม่เคยเปลี่ยนแปลงมาเกือบ 20 ปี
3. โครงสร้างรายได้ การจัดเก็บภาษีของรัฐบาลค่อนข้างกระจุกตัวมาก ไม่ว่าจะเป็นภาษีนิติบุคคล ภาษีบุคคลธุรรมดา และภาษีมูลค่าเพิ่ม 4.เศรษฐกิจไทยกระจุกตัวไม่กี่จังหวัด
5. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของไทยก็ยังไม่ใช่สำหรับอนาคตของประเทศ
และ 6. ความสะดวกในการทำธุรกิจไทยยังมีปัญหาอยู่มาก ซึ่งทั้งหมดล้วนต้องการวัคซีนป้องกัน
ต้องเพิ่ม “รายได้ต่อหัว” มากกว่าปั๊มจีดีพี
นายปิติ กล่าวว่า ไทยมีมูลค่าเศรษฐกิจต่อประชากร (GDP Per Capita) อยู่ที่ 70-80% หายใจรดต้นคอประเทศ “กาบอง” นับว่าแปลกมาก เพราะในขณะที่ดัชนีหลายตัวติดอันดับที่ดี แต่ขนาดเศรษฐกิจต่อประชากรกลับน้อยมาก
ทั้งนี้ หากพิจารณาการจ้างงาน 38 ล้านคน พบว่าบริษัทขนาดใหญ่ประมาณ 0.2% มีการจ้างงาน 13% อีก 46% เป็นผู้ใช้แรงงานในกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี และอยู่ในภาคเกษตร 32% ส่วนที่เหลือ 9% อยู่ในภาครัฐ
ส่วนการลงทุนภาคเอกชนมูลค่า 6 ล้านล้านบาท บริษัทใหญ่ยังเป็นหัวรถจักรเหล็กในการขับเคลื่อนการลงทุนของประเทศสัดส่วนกว่า 80% อาทิ ปตท., ปูนซิเมนต์ไทย เป็นต้น
ส่วนอีก 20% อยู่ในธุรกิจเอสเอ็มอี โดยการเติบโตของตัวเลขเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ประมาณ 15.7 ล้านล้านบาท จะเห็นว่าสัดส่วนการจ้างงานของบริษัทขนาดใหญ่ 13% สร้างรายได้ต่อการเติบโตของเศรษฐกิจประมาณ 43% ของจีดีพี ขณะที่ธุรกิจเอสเอ็มอีสร้างรายได้ใกล้เคียงกันที่ 42.4%
“แต่ผมไม่อยากให้เราสนใจคำว่าจีดีพีมาก จีดีพีเหมือนรายได้ เราอยากมีรายได้เยอะ ๆ แต่มีกำไรน้อย ๆ ไหม ตอนนี้เราส่งออกรถยนต์ ดีใจได้จีดีพี แต่ถามว่ามันตกอยู่ในมือคนไทยเท่าไหร่ ถ้าเทียบกับธุรกิจโรงแรมที่มีรายได้ตกไปอยู่ในมือคนไทยแทบทั้งหมด
ดังนั้น ถ้าคนจำนวนมากได้เงินจำนวนน้อย เพราะว่าผลิตจีดีพีเท่ากับบริษัทใหญ่ ซึ่งรายได้ถูกส่งไปยังผู้ถือหุ้น ถูกส่งไปยังพนักงานบางส่วน จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้จีดีพีต่อประชากร (GDP per Capita) ของคนไทยยังต่ำ ซึ่งเป็นสิ่งแรกที่เรามีความอ่อนแอ และต้องการวัคซีน” นายปิติกล่าว
รัฐสภา เสียงแตกวุ่น หาทางออกโหวตวาระสาม “เดินหน้า-ล้ม-ชะลอ-ยื่นศาล” อีกรอบ
https://www.matichon.co.th/politics/news_2627688
เปิดประชุมร่วมรัฐสภา ถกปมแก้รธน. หาทางออกโหวตวาระ3 “สมชาย” เสนอญัตติห้ามลงมติ ขณะที่ “จุรินทร์ ชงส่งศาลรธน.ตีความอีกครั้ง ป้องกันเกิดปัญหาภายหลัง ด้านฝ่ายค้าน ขอสู้ให้เดินหน้าต่อ เชื่อเป็นทางออกที่ดีที่สุด วอนหยุดปิดกั้นอำนาจปชช.
เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 17 มีนาคม ที่รัฐสภา ในการประชุมร่วมรัฐสภา สมัยวิสามัญ ที่มี นายชวน หลีกภัย ประธารัฐสภา เป็นประธานการประชุม เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่..) พ.ศ….(แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 256 และเพิ่มหมวด 15/1) เป็นการพิจารณาเพื่อลงมติในวาระ 3 โดยที่ประชุมรับทราบคำวินนิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา ในการจัดทำรัฐธรรมนูญที่ต้องทำประชามติก่อน ทั้งนี้ ก่อนการพิจารณา นายชวน แจ้งต่อที่ประชุมถึงคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 4/2564 ตามที่รัฐสภายื่นคำร้องให้วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภาต่อการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ที่ระบุว่า รัฐสภามีหน้าที่และอำนาจจัดทำใหม่ได้ โดยให้ประชาชนผู้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญลงประชามติก่อนว่าประสงค์ให้มีรัฐธรรมนูญใหม่หรือไม่ และเมื่อทำรัฐธรรมนูญใหม่ต้องให้ประชาชนลงมติเห็นชอบหรือไม่กับร่างรัฐธรรมนูญใหม่หรือไม่
จากนั้น เปิดให้สมาชิกรัฐสภาแสดงความเห็น โดย นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ อภิปรายในฐานะผู้เสนอญัตติให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเรื่องอำนาจหน้าที่ของรัฐสภาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อคำวินิจฉัยออกมาแล้ว แม้รัฐสภามีอำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หากจะแก้ไขหรือจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใม่ ต้องทำประชามติ ถามประชาชนก่อน ซึ่งร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เสนอนั้น ศาลวินิจฉัยว่านอกจากเป็นการร่างใหม่แล้วยังเป็นการยกเลิก รัฐธรรมนูญ 60 ด้วย ชัดเจนว่าการโหวตวาระ 3 เป็นการกระทำที่ขัดรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 5 กระทำไม่ได้ ซึ่งฝ่ายกฎหมายของสภาฯก็มีความเห็นทำนองเดียวกัน ดังนั้น เมื่อรัฐสภาไม่สามารถลงมติวาระ 3 ได้ จะเก็บไว้ก็ไม่ได้ เพราะขัดรัฐธรรมนูญ แต่ถ้าจะจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ตนเห็นว่าต้องเริ่มต้นโดยรัฐสภาเสนอญัตติ ขอจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ เมื่อรัฐสภาเห็นชอบ จึงส่งให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อออกเสียงประชามติ หากมีการดำเนินการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ ถ้าประชาชนออกเสียงให้จัดทำ รัฐสภาเท่านั้นมีอำนาจทำได้ โดยตั้งคณะกรรมาธิการ ขึ้นมาพิจารณา แต่ไม่สามารถตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) มา ดำเนินการได้
ด้าน นายสมชาย แสวงการ ส.ว.ในฐานะผู้ยื่นญัตติ ขอเสนอแก้ไขปัญหาดังกล่าว อภิปรายว่า ความเห็นของฝ่ายกฎหมายของส.ส. ส.ว. และคณะกรรมการประสานงานด้านกฎหมายของประธานรัฐสภา มีความเห็นสอดคล้องกันทั้ง 3 ส่วนว่าไม่สามารถกระทำการลงมติ วาระ 3 ได้ เนื่องจากการดำเนินการในกระบวนการและเนื้อหาสำคัญนั้นขัดต่อคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ดังนั้น จึงขอเสนอญัตติตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา เพื่อขอให้พิจารณาเป็นเรื่องด่วนให้ที่ประชุมรัฐสภาพิจารณาว่าการลงมติของรัฐสภา วาระ 3 ไม่อาจกระทำได้ เนื่องจากตามมาตรา 211 วรรคสี่ของรัฐธรรมนูญ บัญญัติว่าคำวินิจฉัยศาลรั้ฐธรรมนูญให้ถือเป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันทุกองค์กร เมื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่เป็นไปตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ กรณีที่สภามอบอำนาจเด็ดขาดให้ ส.ส.ร.ไปจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และยังไม่มีการทำประชามติก่อนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสียก่อน ร่างรัฐธรรมนูญจึงต้องตกไปโดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
ส่วน นายสมคิด เชื้อคง ส.ส.อุบลราชธานี พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า ไม่มีข้อความใดในคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญระบุไม่ให้ลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ3 สิ่งที่อ้างมาว่าลงมติวาระ 3 ไม่ได้ เป็นแค่ความเห็นของฝ่ายกฎหมายส.ส.และส.ว. ถ้าไม่อยากแก้ก็บอกมาตรงๆว่า ไม่อยากแก้ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ได้ล้มเลิกรัฐธรรมนูญปี2560 เป็นการแก้ไขเพิ่มเติม ถึงจะตั้งส.ส.ร.ขึ้นมาก็ไม่ได้หมายความว่า จะแก้ไขทั้งฉบับ เพราะไม่ได้แตะต้องหมวด1และ2 ไม่มีเหตุผลที่จะไม่ลงวาระ 3 ถ้าเป็นเช่นนี้ รัฐสภาทำอะไรไม่ได้เลย ยืนยันรัฐสภาลงมติวาระ3ได้ ต้องเดินหน้าต่อ รัฐสภาจะขายหน้าไปถึงไหน อย่าใช้หลักกฎหมายข้างๆคูๆ คนที่เสนอให้แก้ ทำไมไม่อายบ้าง ขอให้ฝึกอายบ้าง
ด้าน นายธีรัจชัย พันธุมาศ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายว่า เหตุใดการแก้ไขรัฐธรรมนูญทำได้ยาก แต่การฉีกรัฐธรรมนูญโดยการรัฐประหารไม่มีใครคัดค้าน มีผู้ได้ประโยชน์จากการรัฐประหารปี2557 นั่งอยู่ในที่นี้หลายร้อยคน และในวันนี้ยังมาขัดขวางแก้รัฐธรรมนูญอีก รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ปราบโกง แต่ขี้โกง เอาเปรียบ ต้องการสืบทอดอำนาจ ควรโหวตวาระ3ให้เสร็จ ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไรก็ไม่เป็นไร ขอให้โหวต อย่าใช้เสียงข้างมากลากไป ตีความแบบศรีธนญชัย
จากนั้น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า เห็นควรให้รัฐสภามีมติให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอีกครั้งในประเด็นต่างๆ เหตุผลทั้งหมดนี้ไม่ได้ประสงค์เตะถ่วงหรือประวิงเวลาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะจุดยืนของตนและพรรคประชาธิปัตย์ ต้องการเห็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นำประเทศไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยที่เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้นและเกิดขึ้นได้จริง การที่ต้องขอความเห็นชอบเพื่อส่งศาลรัฐธรรมนูญนั้น เพื่อให้กระบวนการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นไปด้วยความรอบคอบ ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและสอดคล้องคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ปราศจากข้อสงสัย ไม่มีปัญหาตามมาภายหลังและเพื่อให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญสามารถนำไปสู่การแก้ไขเพิ่มเติมและได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้นในอนาคตอย่างแท้จริง