‘ประยุทธ์’ ต้องออกก่อน! - ฝ่ายค้านเมิน กก.สมานฉันท์ บี้หยุดคุกคาม นศ.
https://voicetv.co.th/read/GwTfFqUKO
ฝ่ายค้านเห็นร่วมกันชี้ ‘ประยุทธ์’ ต้องถอดสลักก่อนด้วยการลาออก ข้องใจเหตุผลตั้งกรรมการสมานฉันท์ ย้ำหยุดคุกคามนักศึกษาก่อน
ที่พรรคเพื่อไทย ภายหลังการประชุมพรรคร่วมฝ่ายค้านถึงการจัดตั้งคณะกรรรมการสมานฉันท์เพื่อหาทางออกให้กับการชุมนุม โดย
ชูศักดิ์ ศิรินิล รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการตั้งคณะกรรมการดังกล่าวขึ้นมาว่า ปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน คือพล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ดังนั้นนี่คือเงื่อนไขสำคัญที่ต้องถอดสลักตรงนี้ออกไปเสียก่อน ว่า พล.อ.
ประยุทธ์คือปัญหาและเป็นศูนย์การปัญหาของประเทศ ดังนั้น
ประยุทธ์ต้องลาออกก่อน ที่ผ่านมา มีบทเรียนเกี่ยวกับการตั้งกรรมการขึ้นมาไม่มีอำนาจในตัวเองในการทำงาน ที่ผ่านมาจะมีเพียงแค่การนำเสนอว่าควรทำอย่างไร จึงอยากเห็นว่ากรรมการเหล่านี้มีอำนาจมากน้อยแค่ไหน
นอกจากนี้ การที่จัดตั้งกรรมาการ ชุดนี้ขึ้นมา สิ่งสำคัญคือต้องตีโจทย์ให้แตกว่าปัญหาในประเทศขณะนี้คืออะไร จึงจะนำมาสู่การมีแนวทางแก้ไขปัญหา ดังนั้นพรรคร่วมฝ่ายค้านจึงอยากตรวจสอบว่าท้ายที่สุดในการตั้งกรรมการชุดนี้ให้เหตุผลและตั้งโจทย์อะไรไว้
ทั้งนี้ สถานการณ์ของประเทศในขณะนี้ถ้าอยากคลี่คลายและให้ปัญหาหมดไป สิ่งที่ทำได้ คือหยุดคุกคามประชาชนนักเรียนนักศึกษา เพื่อให้มีกรรมการในการแก้ไขปัญหาได้ ตราบใดที่ยังมีการคุกคามอยู่โอกาสที่จะคลี่คลายปัญหาไม่น่าจะมีประโยชน์และเป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตามหากนายกฯ ลาออกแล้วฝ่ายค้านจะปรึกษาอีกครั้งว่าจะเข้าร่วมกรรมการหรือไม่
ถ้านายกฯ ใช้วิธีการยุบสภาจะถือเป็นทางออกหรือไม่
ชูศักดิ์ กล่าวว่า ไม่เห็นด้วย เพราะการยุบสภาะทำให้เกิดการเลือกตั้ง ซึ่งจะเป็นการเลือกตั้งในระบบเดิม เพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้รับการแก้ไข ส.ว. 250 คนก็ยังอยู่เหมือนเดิม โหวตเลือกนายกฯ ก็ยังเหมือนเดิม หากใช้วิธีนี้ คงมองเป็นอื่นไม่ได้ นอกจากท่านเห็นแก่ตัว
ขณะที่
สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ รองเลขาธิการพรรคก้าวไกล มีความเห็นตรงกันในเรื่องของปัญหาของประเทศคือพล.อ.
ประยุทธ์ ถ้าออกไป บรรยากาศทางการเมืองจะคลี่คลายและผ่อนคลายขึ้นได้เยอะ ส่วนข้อเสนอการตั้งกรรมการอย่างน้อยต้องมีจุดประสงค์3ข้อ คือเป็นที่ปลอดภัยให้กับผู้ชุมนุมได้นำเสนอข้อเรียกร้อง ส่งเสริมให้มีการถกเถียงด้วยเหตุผล ให้เกิดข้อเรียกร้องอย่างสันติ เพื่อหาแนวทางการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆอย่างเป็นรูปธรรม
"กรุงไทย" เร่งแก้ไข หลังคนแสกนใบหน้า "คนละครึ่ง" ไม่ผ่าน
https://www.prachachat.net/finance/news-548611
ธนาคารกรุงไทย เร่งแก้ไข กรณีคนแสกนใบหน้า โครงการ “คนละครึ่ง” ไม่ผ่าน แห่ยืนยันตัวตนล้นสาขา
วันที่ 2 พฤศจิกายน 2563 นาย
ผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ได้มีการลงพื้นที่สำรวจการดำเนินโครงการคนละครึ่งในจังหวัดภูเก็ตพบว่า มีประชาชนจำนวนหนึ่งที่ไม่สามารถยืนยันตัวตนเข้าร่วมโครงการได้สำเร็จหรือมีการใช้งานแอปพลิเคชัน “
เป๋าตัง” ไม่ได้ เนื่องจากจำรหัสเข้าใช้งานไม่ได้ หรือสแกนหน้าไม่สำเร็จ จึงทำให้ประชาชนกลุ่มดังกล่าวมารอเข้าคิวยืนยันตัวตนที่สาขาเป็นจำนวนมาก
ทั้งนี้ ระบบของธนาคารได้ตรวจสอบพบว่า มีการรอคิวจำนวนมากของประชาชนในบางพื้นที่ เช่น สาขาในจังหวัดขอนแก่น ชัยนาท นครราชสีมา อีกด้วย
ดังนั้น ธนาคารกรุงไทย จึงได้เร่งดำเนินการเพิ่มเครื่องยืนยันตัวตนกว่า 1,000 เครื่องใน 200 สาขาทั่วประเทศ โดยเฉพาะสาขาที่ระบบตรวจพบว่า มีการรอคิวของประชาชนเป็นจำนวนมาก ตลอดจนเพิ่มจำนวนพนักงานอีกร้อยละ 20 ในแต่ละสาขา เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้ประชาชนสามารถยืนยันตัวตนเข้าร่วมโครงการคนละครึ่งได้ทันท่วงที ป้องกันการถูกตัดสิทธิ ตลอดจนแนะนำการใช้งานแอปพลิเคชัน “
เป๋าตัง” อีกด้วย
พท.แย้งรัฐแก้จนไม่ได้จริง-ปชช.รายได้ลดลง
https://www.innnews.co.th/politics/news_810589/
เพื่อไทย ค้านรัฐแก้จนไม่ได้จริง พบประชาชน มีรายได้ลดลงเกือบแตะระดับเส้นความยากจนเพิ่มมากขึ้น ถึง 5.4 ล้านคน
นางสาว
อรุณี กาสยานนท์ โฆษกพรรรคเพื่อไทยกล่าวถึงรายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำของสภาพัฒน์ ปี 2562 ว่า
ความยากจนของคนไทยในปี 2562 ลดลงกว่า 2 ล้านคน จากเดิมในปี 2561 อยู่ที่ 6.7 ล้านคน เหลือ 4.3 ล้านคนในปี 2562 จากมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยที่รัฐบาลกล่าวอ้างนั้น ว่า เป็น
“ภาพลวงตา” เพราะมาตรการที่รัฐดำเนินการ คือการแจกเงินด้วยบัตรสวัสดิการทุกเดือน ไม่ได้ก่อให้เกิดการจ้างงาน หรือการสร้างรายได้ของครัวเรือนอย่างยั่งยืน และหากคนจนลดลงจริง เหตุใดตัวเลขคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจ จึงระบุว่าจีดีพีประเทศไทยในปีนี้จะติดลบ -6.5% ต่ำที่สุด
นอกจากนี้ ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 62 ยังเปิดเผยด้วยว่า ระยะหลังการจ้างงานแบบรายเดือนไม่เพิ่มขึ้น แต่มีการจ้างงานแบบลูกจ้างรายวันเพิ่มขึ้น ซึ่งหมายความว่า ธุรกิจไม่มีรายได้เพียงพอที่จะจ้างงานรายเดือนที่มาพร้อมกับภาระด้านสวัสดิการ ขณะที่รัฐบาบกลับไม่มีมาตรการที่ชัดเจนในเรื่องนี้ ในมุมมองของลูกจ้าง คือ มีงานก็จริง แต่การเป็นลูกจ้างรายวัน วันรุ่งขึ้น ถ้าธุรกิจเป็นอะไรไป เขาก็ไม่มีงานแล้ว ไม่มีความมั่นคงในงานและอาชีพ นี้คือสิ่งเหล่านี้สะท้อนว่า ประชาชนยังไม่ได้หลุดพ้นความยากจนจากมาตรการของรัฐดังที่กล่าวอ้าง รายได้ที่เพิ่มขึ้นของครัวเรือนที่ยากจนในปี 2562 ที่รัฐบาลกล่าวอ้าง สวนทางกับข้อมูลข้อธนาคารโลกประจำประเทศไทยและสภาพัฒน์ ฯ
ทั้งนี้ สิ่งที่น่ากังวลในขณะนี้คือ จำนวนของประชาชนที่มีรายได้ลดลงเกือบแตะระดับเส้นความยากจนเพิ่มมากขึ้น ถึง 5.4 ล้านคน แสดงให้เห็นว่า คนไทยกำลังจนลงอีกกว่า 5 ล้านคน ปัจจัยสำคัญมาจากหลายด้าน ทั้งการระบาดของโควิด19 แต่การบริหารประเทศของรัฐที่ล้มเหลวมาก่อนเกิดโรคระบาดคือสาเหตุหลักที่ทำให้ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำกว่าที่ควรจะเป็น จนทำให้นักลงทุนในประเทศขาดความเชื่อมั่น ส่งผลให้แรงงานในภาคอุตสาหกรรมตกงานเป็นจำนวนมาก ซึ่งรัฐบาลยังไม่มีมาตรการรองรับเช่นกัน
พร้อมกันนี้ นางสาว
อรุณี กล่าวถึงการเลือกตั้งท้องถิ่น ในระดับองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)ว่า พรรคเพื่อไทยมีแนวคิดสนับสนุนให้มีการเลือกตั้งท้องถิ่นตามวิถีประชาธิปไตย และในเบื้องต้นพรรคเพื่อไทยมีความพร้อมที่จะส่งผู้สมัครลงชิงตำแหน่งนายก อบจ. ทั้งสิ้น 29 จังหวัด
JJNY : เมินกก.สมานฉันท์ บี้หยุดคุกคามนศ./กรุงไทยเร่งแก้"คนละครึ่ง"/พท.แย้งแก้จนไม่ได้จริง/ปารีณาโดน4ข้อหา ทวีโดนแจ้งด้วย
https://voicetv.co.th/read/GwTfFqUKO
ที่พรรคเพื่อไทย ภายหลังการประชุมพรรคร่วมฝ่ายค้านถึงการจัดตั้งคณะกรรรมการสมานฉันท์เพื่อหาทางออกให้กับการชุมนุม โดย ชูศักดิ์ ศิรินิล รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการตั้งคณะกรรมการดังกล่าวขึ้นมาว่า ปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน คือพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ดังนั้นนี่คือเงื่อนไขสำคัญที่ต้องถอดสลักตรงนี้ออกไปเสียก่อน ว่า พล.อ.ประยุทธ์คือปัญหาและเป็นศูนย์การปัญหาของประเทศ ดังนั้นประยุทธ์ต้องลาออกก่อน ที่ผ่านมา มีบทเรียนเกี่ยวกับการตั้งกรรมการขึ้นมาไม่มีอำนาจในตัวเองในการทำงาน ที่ผ่านมาจะมีเพียงแค่การนำเสนอว่าควรทำอย่างไร จึงอยากเห็นว่ากรรมการเหล่านี้มีอำนาจมากน้อยแค่ไหน
นอกจากนี้ การที่จัดตั้งกรรมาการ ชุดนี้ขึ้นมา สิ่งสำคัญคือต้องตีโจทย์ให้แตกว่าปัญหาในประเทศขณะนี้คืออะไร จึงจะนำมาสู่การมีแนวทางแก้ไขปัญหา ดังนั้นพรรคร่วมฝ่ายค้านจึงอยากตรวจสอบว่าท้ายที่สุดในการตั้งกรรมการชุดนี้ให้เหตุผลและตั้งโจทย์อะไรไว้
ทั้งนี้ สถานการณ์ของประเทศในขณะนี้ถ้าอยากคลี่คลายและให้ปัญหาหมดไป สิ่งที่ทำได้ คือหยุดคุกคามประชาชนนักเรียนนักศึกษา เพื่อให้มีกรรมการในการแก้ไขปัญหาได้ ตราบใดที่ยังมีการคุกคามอยู่โอกาสที่จะคลี่คลายปัญหาไม่น่าจะมีประโยชน์และเป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตามหากนายกฯ ลาออกแล้วฝ่ายค้านจะปรึกษาอีกครั้งว่าจะเข้าร่วมกรรมการหรือไม่
ถ้านายกฯ ใช้วิธีการยุบสภาจะถือเป็นทางออกหรือไม่ ชูศักดิ์ กล่าวว่า ไม่เห็นด้วย เพราะการยุบสภาะทำให้เกิดการเลือกตั้ง ซึ่งจะเป็นการเลือกตั้งในระบบเดิม เพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้รับการแก้ไข ส.ว. 250 คนก็ยังอยู่เหมือนเดิม โหวตเลือกนายกฯ ก็ยังเหมือนเดิม หากใช้วิธีนี้ คงมองเป็นอื่นไม่ได้ นอกจากท่านเห็นแก่ตัว
ขณะที่ สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ รองเลขาธิการพรรคก้าวไกล มีความเห็นตรงกันในเรื่องของปัญหาของประเทศคือพล.อ.ประยุทธ์ ถ้าออกไป บรรยากาศทางการเมืองจะคลี่คลายและผ่อนคลายขึ้นได้เยอะ ส่วนข้อเสนอการตั้งกรรมการอย่างน้อยต้องมีจุดประสงค์3ข้อ คือเป็นที่ปลอดภัยให้กับผู้ชุมนุมได้นำเสนอข้อเรียกร้อง ส่งเสริมให้มีการถกเถียงด้วยเหตุผล ให้เกิดข้อเรียกร้องอย่างสันติ เพื่อหาแนวทางการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆอย่างเป็นรูปธรรม
"กรุงไทย" เร่งแก้ไข หลังคนแสกนใบหน้า "คนละครึ่ง" ไม่ผ่าน
https://www.prachachat.net/finance/news-548611
ธนาคารกรุงไทย เร่งแก้ไข กรณีคนแสกนใบหน้า โครงการ “คนละครึ่ง” ไม่ผ่าน แห่ยืนยันตัวตนล้นสาขา
วันที่ 2 พฤศจิกายน 2563 นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ได้มีการลงพื้นที่สำรวจการดำเนินโครงการคนละครึ่งในจังหวัดภูเก็ตพบว่า มีประชาชนจำนวนหนึ่งที่ไม่สามารถยืนยันตัวตนเข้าร่วมโครงการได้สำเร็จหรือมีการใช้งานแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ไม่ได้ เนื่องจากจำรหัสเข้าใช้งานไม่ได้ หรือสแกนหน้าไม่สำเร็จ จึงทำให้ประชาชนกลุ่มดังกล่าวมารอเข้าคิวยืนยันตัวตนที่สาขาเป็นจำนวนมาก
ทั้งนี้ ระบบของธนาคารได้ตรวจสอบพบว่า มีการรอคิวจำนวนมากของประชาชนในบางพื้นที่ เช่น สาขาในจังหวัดขอนแก่น ชัยนาท นครราชสีมา อีกด้วย
ดังนั้น ธนาคารกรุงไทย จึงได้เร่งดำเนินการเพิ่มเครื่องยืนยันตัวตนกว่า 1,000 เครื่องใน 200 สาขาทั่วประเทศ โดยเฉพาะสาขาที่ระบบตรวจพบว่า มีการรอคิวของประชาชนเป็นจำนวนมาก ตลอดจนเพิ่มจำนวนพนักงานอีกร้อยละ 20 ในแต่ละสาขา เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้ประชาชนสามารถยืนยันตัวตนเข้าร่วมโครงการคนละครึ่งได้ทันท่วงที ป้องกันการถูกตัดสิทธิ ตลอดจนแนะนำการใช้งานแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” อีกด้วย
พท.แย้งรัฐแก้จนไม่ได้จริง-ปชช.รายได้ลดลง
https://www.innnews.co.th/politics/news_810589/
เพื่อไทย ค้านรัฐแก้จนไม่ได้จริง พบประชาชน มีรายได้ลดลงเกือบแตะระดับเส้นความยากจนเพิ่มมากขึ้น ถึง 5.4 ล้านคน
นางสาวอรุณี กาสยานนท์ โฆษกพรรรคเพื่อไทยกล่าวถึงรายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำของสภาพัฒน์ ปี 2562 ว่า
ความยากจนของคนไทยในปี 2562 ลดลงกว่า 2 ล้านคน จากเดิมในปี 2561 อยู่ที่ 6.7 ล้านคน เหลือ 4.3 ล้านคนในปี 2562 จากมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยที่รัฐบาลกล่าวอ้างนั้น ว่า เป็น “ภาพลวงตา” เพราะมาตรการที่รัฐดำเนินการ คือการแจกเงินด้วยบัตรสวัสดิการทุกเดือน ไม่ได้ก่อให้เกิดการจ้างงาน หรือการสร้างรายได้ของครัวเรือนอย่างยั่งยืน และหากคนจนลดลงจริง เหตุใดตัวเลขคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจ จึงระบุว่าจีดีพีประเทศไทยในปีนี้จะติดลบ -6.5% ต่ำที่สุด
นอกจากนี้ ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 62 ยังเปิดเผยด้วยว่า ระยะหลังการจ้างงานแบบรายเดือนไม่เพิ่มขึ้น แต่มีการจ้างงานแบบลูกจ้างรายวันเพิ่มขึ้น ซึ่งหมายความว่า ธุรกิจไม่มีรายได้เพียงพอที่จะจ้างงานรายเดือนที่มาพร้อมกับภาระด้านสวัสดิการ ขณะที่รัฐบาบกลับไม่มีมาตรการที่ชัดเจนในเรื่องนี้ ในมุมมองของลูกจ้าง คือ มีงานก็จริง แต่การเป็นลูกจ้างรายวัน วันรุ่งขึ้น ถ้าธุรกิจเป็นอะไรไป เขาก็ไม่มีงานแล้ว ไม่มีความมั่นคงในงานและอาชีพ นี้คือสิ่งเหล่านี้สะท้อนว่า ประชาชนยังไม่ได้หลุดพ้นความยากจนจากมาตรการของรัฐดังที่กล่าวอ้าง รายได้ที่เพิ่มขึ้นของครัวเรือนที่ยากจนในปี 2562 ที่รัฐบาลกล่าวอ้าง สวนทางกับข้อมูลข้อธนาคารโลกประจำประเทศไทยและสภาพัฒน์ ฯ
ทั้งนี้ สิ่งที่น่ากังวลในขณะนี้คือ จำนวนของประชาชนที่มีรายได้ลดลงเกือบแตะระดับเส้นความยากจนเพิ่มมากขึ้น ถึง 5.4 ล้านคน แสดงให้เห็นว่า คนไทยกำลังจนลงอีกกว่า 5 ล้านคน ปัจจัยสำคัญมาจากหลายด้าน ทั้งการระบาดของโควิด19 แต่การบริหารประเทศของรัฐที่ล้มเหลวมาก่อนเกิดโรคระบาดคือสาเหตุหลักที่ทำให้ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำกว่าที่ควรจะเป็น จนทำให้นักลงทุนในประเทศขาดความเชื่อมั่น ส่งผลให้แรงงานในภาคอุตสาหกรรมตกงานเป็นจำนวนมาก ซึ่งรัฐบาลยังไม่มีมาตรการรองรับเช่นกัน
พร้อมกันนี้ นางสาวอรุณี กล่าวถึงการเลือกตั้งท้องถิ่น ในระดับองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)ว่า พรรคเพื่อไทยมีแนวคิดสนับสนุนให้มีการเลือกตั้งท้องถิ่นตามวิถีประชาธิปไตย และในเบื้องต้นพรรคเพื่อไทยมีความพร้อมที่จะส่งผู้สมัครลงชิงตำแหน่งนายก อบจ. ทั้งสิ้น 29 จังหวัด