'เพื่อไทย' ตีป้อม ผนึก 'สตรีมเมอร์เกม' สับคนออกกฎคุมเกมไม่เข้าใจวิถี
https://voicetv.co.th/read/KfWWq4lMp
'เพื่อไทย' เปิดพื้นที่ ดึงผู้ผลิตและสตรีมเมอร์เกม ร่วมพูดคุย ระบุคนออกกฎหมายควบคุม ขาดความเข้าใจวิถีสตรีมเมอร์ ด้านผู้ผลิตชี้ กฏหมายทำกระทบโอกาส-ศักยภาพผลิตเกมขายทั่วโลก
พรรคเพื่อไทยเชิญเกมเมอร์ ร่วมพูดคุยถึงกฎหมายควบคุมเกม (e-sport) ภายในงานเสวนา “ตีป้อม เปิดแมป ปล่อยของ: วิถีแห่งเกมและสุขภาวะของเยาวชนไทย” มีคุณหญิง
สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธศาสตร์พรรค เป็นผู้รับฟัง ซึ่งคุณหญิง กล่าวถึงการหารือวันนี้ว่า จะทำอย่างไรให้การออกกฎหมายควบคุมเกมไม่ขัดขวางกับอุตสาหกรรมของเกมมิ่ง และส่วนหนึ่งในช่วงหลังวิกฤติโควิด-19 จำเป็นต้องหารายได้ใหม่ ซึ่งมองว่า อีสปอร์ต สามารถเป็นฐานรายได้ใหม่ให้กับประเทศและทุกคนได้ สำหรับ ร่างกฎหมายฉบับนี้ เบื้องต้น มีการกำหนดให้มีการสตรีมเมอร์ เพียงแค่ 2 ช.ม.กำหนดอายุในการเล่น ห้ามแข่งเกมในสถานศึกษา หรือบางเกมยังต้องขอแพลตฟร์อมของรัฐ
ขณะที่ตัวแทนของนักสตรีม หรือ '
สตรีมเมอร์' กล่าวว่า สตรีมเมอร์จะคิดรายได้จากยอดคนดูและระยะเวลา ซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจและเป็นห่วงสุขภาพ แต่ในช่วงเวลาที่สตรีม นักสตรีมไม่ได้นั่งเล่นเกมอยู่ตลอดเวลา แต่จะมีทำกิจวัตรอื่นๆ ไปด้วย จึงสงสัยว่า คนที่ออกกฎหมายเข้าใจหรือไม่ ว่าวิถีชีวิตของเกมเมอร์หรือคนสตรีมเกม เป็นอย่างไร หากกฎหมายออกมาจริงๆ ตนนึกภาพไม่ออกว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร หากเด็กจะเล่น จะบังคับใช้กฎหมายกับเด็กอย่างไร คนที่ร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นคนที่ไม่ได้รู้ทุกมุม และจะเกิดผลกระทบกับทุกส่วน และเรื่องการหารายได้ก็ยากยิ่งขึ้น
ส่วนของการจัดการแข่งขันก็ยากขึ้น และมองว่าเกมไม่ได้สร้างโทษให้แก่เด็ก แต่สร้างประโยชน์ให้กับเด็กมากมาย เช่นการฝึกภาษา นักเกมเมอร์หลายคนเก่งภาษาได้ด้วยการเล่นเกม ส่วนการมองว่าจะเป็นเด็กติดเกม นั่นต้องขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของแต่ละครอบครัวด้วยซึ่งรวมถึงการเลียนแบบเกม จนทำให้เกิดภาวะเสียสุขภาพจิต แต่มองว่าหากมีการปิดกั้นอาจทำให้เกิดการเสียสุขภาพจิตมากกว่า
ขณะที่ ตัวแทนผู้ผลิตเกม กล่าวว่า ในส่วนของคนทำเกม ตลาดเกมไม่ใช่ขายแค่ในประเทศ แต่ต้องการส่งไปยังทั่วโลก กฎหมายที่จะออกมา หากพูดถึงผลกระทบกับผลผลิตจะได้ผลกระทบในส่วนน้อย แต่จะกระทบศักยภาพและโอกาสในการพัฒนาบุคคลากรในประเทศ ให้มีความสามารถพอที่จะผลิตเกมที่จะส่งออกไปทั่วโลก
ส.ส.บัญชีรายชื่อ 'พรรคก้าวไกล' แจง ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ไม่เท่ากับ 'สมรสเท่าเทียม'
https://www.matichon.co.th/politics/news_2259154
เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม นาย
ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ และ นาย
ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล สัดส่วนผู้มีความหลากหลายทางเพศ แถลงการณ์ทำความเข้าใจเกี่ยวกับกรณีที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ผ่านร่าง พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คู่ชีวิต พ.ศ. … ในวันนี้ โดยนาย
ธัญญ์วาริน กล่าวว่า
ขอให้พี่น้องประชาชนอย่าสับสน เพราะ ร่างพ.ร.บ. คู่ชีวิต พ.ศ. … เป็นคนละฉบับกับร่างพ.ร.บ. แก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งเเละพาณิชย์ มาตรา 1448 (สมรสเท่าเทียม) เพื่อการสมรสเท่าเทียม ที่พรรคก้าวไกลเป็นผู้เสนอ ที่มีสาระสำคัญ คือ คู่ชีวิตไม่เท่ากับสมรสเท่าเทียม คือ การที่แก้ไขสมรสเท่าเทียม คำว่าคู่สมรสนั้น ถูกบัญญัติอยู่แล้วในกฎหมายทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นสวัสดิการของราชการ สวัสดิการเอกชน ที่จะให้สิทธิ์กับคำว่าคู่สมรสและการสมรสเท่าเทียมจะปกป้องเเละดูเเลคู่สมรสให้ได้รับสิทธิอย่างเท่าเทียม เป็นการยืนอยู่อย่างเสมอภาคต่อหน้ากฎหมายของประเทศ ทั้งนี้คำว่า คู่ชีวิต ไม่ได้ถูกบัญญัติมีอยู่ในกฎหมายอื่นๆ เป็นคำใหม่ จึงทำให้พ.ร.บ. คู่ชีวิต ไม่สามารถทำให้คู่ชีวิตได้รับการปกป้องดูแลและรับสิทธิ์เหมือนคู่สมรส
“
การสมรสเท่าเทียม คือ การสร้างความเท่าเทียม สร้างคนให้เท่ากันในสังคม ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์” นาย
ธัญวัจน์ กล่าว
ขณะที่นาย
ธัญญ์วาริน ระบุว่า หากร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต ผ่านและใช้เป็นกฎหมาย จะทำให้ผู้มีความหลากหลายทางเพศแปลกและแตกต่าง ตอกย้ำอคติทางเพศในสังคมไทย เพราะ เมื่อเราต้องการจดทะเบียนสมรสและได้สิทธิตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมทุกคน แล้วทำไมถึงต้องใช้กฎหมายคนละตัว ซึ่งถ้าใช้สมรสเท่าเทียมจะทำให้คนไทยทุกคน ได้รับสิทธิเท่าเทียมกันในสังคม ทั้งนี้แม้ร่างพ.ร.บ. คู่ชีวิต พ.ศ. … ผ่านคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้วก็จริง แต่จะต้องผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ในสภาผู้แทนราษฎรเสียก่อน
ทั้งนี้โดยขอเชิญชวนประชาชนร่วมแสดงฟังความเห็น ต่อร่าง พ.ร.บ. แก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งเเละพาณิชย์ มาตรา 1448 “
สมรสเท่าเทียม” ที่พรรคก้าวไกลเป็นผู้เสนอ ในเว็บไซต์ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ตั้งเเต่วันนี้ จนถึงวันที่ 17 สิงหาคม เพราะเสียงของประชาชนที่จะเข้าสู่ในสภาผู้แทนราษฎรมีความสำคัญต่อเรา ในฐานะผู้แทนราษฎรอยากเชิญชวนประชาชนมีส่วนร่วมและมีบทบาทในการแก้ไข ก่อนที่ร่างกฎหมายดังกล่าว จะบรรจุเข้าวาระในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เเละผลักดันใช้เป็นกฎหมาย เพื่อความเท่าเทียมลดความเหลื่อมล้ำในสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์
นาย
ธัญวัจน์ กล่าวอีกว่า
กฎหมายของไทยห้ามแบ่งเเยกดินเเดน เหตุใดจึงมีกฎหมายแบ่งแยกความเป็นมนุษย์
JJNY : 4in1 พท.ตีป้อม สับคนออกกฎคุมเกม/ก้าวไกลแจงร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต/ส.ส.ทำสภาล่ม พปชร.เพียบ/ศก.ไทยส่อแย่สุดในเอเชีย
https://voicetv.co.th/read/KfWWq4lMp
พรรคเพื่อไทยเชิญเกมเมอร์ ร่วมพูดคุยถึงกฎหมายควบคุมเกม (e-sport) ภายในงานเสวนา “ตีป้อม เปิดแมป ปล่อยของ: วิถีแห่งเกมและสุขภาวะของเยาวชนไทย” มีคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธศาสตร์พรรค เป็นผู้รับฟัง ซึ่งคุณหญิง กล่าวถึงการหารือวันนี้ว่า จะทำอย่างไรให้การออกกฎหมายควบคุมเกมไม่ขัดขวางกับอุตสาหกรรมของเกมมิ่ง และส่วนหนึ่งในช่วงหลังวิกฤติโควิด-19 จำเป็นต้องหารายได้ใหม่ ซึ่งมองว่า อีสปอร์ต สามารถเป็นฐานรายได้ใหม่ให้กับประเทศและทุกคนได้ สำหรับ ร่างกฎหมายฉบับนี้ เบื้องต้น มีการกำหนดให้มีการสตรีมเมอร์ เพียงแค่ 2 ช.ม.กำหนดอายุในการเล่น ห้ามแข่งเกมในสถานศึกษา หรือบางเกมยังต้องขอแพลตฟร์อมของรัฐ
ขณะที่ตัวแทนของนักสตรีม หรือ 'สตรีมเมอร์' กล่าวว่า สตรีมเมอร์จะคิดรายได้จากยอดคนดูและระยะเวลา ซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจและเป็นห่วงสุขภาพ แต่ในช่วงเวลาที่สตรีม นักสตรีมไม่ได้นั่งเล่นเกมอยู่ตลอดเวลา แต่จะมีทำกิจวัตรอื่นๆ ไปด้วย จึงสงสัยว่า คนที่ออกกฎหมายเข้าใจหรือไม่ ว่าวิถีชีวิตของเกมเมอร์หรือคนสตรีมเกม เป็นอย่างไร หากกฎหมายออกมาจริงๆ ตนนึกภาพไม่ออกว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร หากเด็กจะเล่น จะบังคับใช้กฎหมายกับเด็กอย่างไร คนที่ร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นคนที่ไม่ได้รู้ทุกมุม และจะเกิดผลกระทบกับทุกส่วน และเรื่องการหารายได้ก็ยากยิ่งขึ้น
ส่วนของการจัดการแข่งขันก็ยากขึ้น และมองว่าเกมไม่ได้สร้างโทษให้แก่เด็ก แต่สร้างประโยชน์ให้กับเด็กมากมาย เช่นการฝึกภาษา นักเกมเมอร์หลายคนเก่งภาษาได้ด้วยการเล่นเกม ส่วนการมองว่าจะเป็นเด็กติดเกม นั่นต้องขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของแต่ละครอบครัวด้วยซึ่งรวมถึงการเลียนแบบเกม จนทำให้เกิดภาวะเสียสุขภาพจิต แต่มองว่าหากมีการปิดกั้นอาจทำให้เกิดการเสียสุขภาพจิตมากกว่า
ขณะที่ ตัวแทนผู้ผลิตเกม กล่าวว่า ในส่วนของคนทำเกม ตลาดเกมไม่ใช่ขายแค่ในประเทศ แต่ต้องการส่งไปยังทั่วโลก กฎหมายที่จะออกมา หากพูดถึงผลกระทบกับผลผลิตจะได้ผลกระทบในส่วนน้อย แต่จะกระทบศักยภาพและโอกาสในการพัฒนาบุคคลากรในประเทศ ให้มีความสามารถพอที่จะผลิตเกมที่จะส่งออกไปทั่วโลก
ส.ส.บัญชีรายชื่อ 'พรรคก้าวไกล' แจง ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ไม่เท่ากับ 'สมรสเท่าเทียม'
https://www.matichon.co.th/politics/news_2259154
เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม นายธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ และ นายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล สัดส่วนผู้มีความหลากหลายทางเพศ แถลงการณ์ทำความเข้าใจเกี่ยวกับกรณีที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ผ่านร่าง พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คู่ชีวิต พ.ศ. … ในวันนี้ โดยนายธัญญ์วาริน กล่าวว่า
ขอให้พี่น้องประชาชนอย่าสับสน เพราะ ร่างพ.ร.บ. คู่ชีวิต พ.ศ. … เป็นคนละฉบับกับร่างพ.ร.บ. แก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งเเละพาณิชย์ มาตรา 1448 (สมรสเท่าเทียม) เพื่อการสมรสเท่าเทียม ที่พรรคก้าวไกลเป็นผู้เสนอ ที่มีสาระสำคัญ คือ คู่ชีวิตไม่เท่ากับสมรสเท่าเทียม คือ การที่แก้ไขสมรสเท่าเทียม คำว่าคู่สมรสนั้น ถูกบัญญัติอยู่แล้วในกฎหมายทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นสวัสดิการของราชการ สวัสดิการเอกชน ที่จะให้สิทธิ์กับคำว่าคู่สมรสและการสมรสเท่าเทียมจะปกป้องเเละดูเเลคู่สมรสให้ได้รับสิทธิอย่างเท่าเทียม เป็นการยืนอยู่อย่างเสมอภาคต่อหน้ากฎหมายของประเทศ ทั้งนี้คำว่า คู่ชีวิต ไม่ได้ถูกบัญญัติมีอยู่ในกฎหมายอื่นๆ เป็นคำใหม่ จึงทำให้พ.ร.บ. คู่ชีวิต ไม่สามารถทำให้คู่ชีวิตได้รับการปกป้องดูแลและรับสิทธิ์เหมือนคู่สมรส
“การสมรสเท่าเทียม คือ การสร้างความเท่าเทียม สร้างคนให้เท่ากันในสังคม ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์” นายธัญวัจน์ กล่าว
ขณะที่นายธัญญ์วาริน ระบุว่า หากร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต ผ่านและใช้เป็นกฎหมาย จะทำให้ผู้มีความหลากหลายทางเพศแปลกและแตกต่าง ตอกย้ำอคติทางเพศในสังคมไทย เพราะ เมื่อเราต้องการจดทะเบียนสมรสและได้สิทธิตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมทุกคน แล้วทำไมถึงต้องใช้กฎหมายคนละตัว ซึ่งถ้าใช้สมรสเท่าเทียมจะทำให้คนไทยทุกคน ได้รับสิทธิเท่าเทียมกันในสังคม ทั้งนี้แม้ร่างพ.ร.บ. คู่ชีวิต พ.ศ. … ผ่านคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้วก็จริง แต่จะต้องผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ในสภาผู้แทนราษฎรเสียก่อน
ทั้งนี้โดยขอเชิญชวนประชาชนร่วมแสดงฟังความเห็น ต่อร่าง พ.ร.บ. แก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งเเละพาณิชย์ มาตรา 1448 “สมรสเท่าเทียม” ที่พรรคก้าวไกลเป็นผู้เสนอ ในเว็บไซต์ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ตั้งเเต่วันนี้ จนถึงวันที่ 17 สิงหาคม เพราะเสียงของประชาชนที่จะเข้าสู่ในสภาผู้แทนราษฎรมีความสำคัญต่อเรา ในฐานะผู้แทนราษฎรอยากเชิญชวนประชาชนมีส่วนร่วมและมีบทบาทในการแก้ไข ก่อนที่ร่างกฎหมายดังกล่าว จะบรรจุเข้าวาระในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เเละผลักดันใช้เป็นกฎหมาย เพื่อความเท่าเทียมลดความเหลื่อมล้ำในสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์
นายธัญวัจน์ กล่าวอีกว่า กฎหมายของไทยห้ามแบ่งเเยกดินเเดน เหตุใดจึงมีกฎหมายแบ่งแยกความเป็นมนุษย์