อายตนะ นิพพาน คือตัวผู้รู้ตัวที่ 2 ใช่หรือไม่

อายตนะ นิพพาน คือตัวผู้รู้ตัวที่ 2 ใช่หรือไม่

นิยามคำว่า ตัวผู้รู้ นั้นเป็นภาษาที่เรียกในหมู่นักปฏิบัติ ซึ่งหมายถึง จิต

ซึ่งใน พระอภิธรรม จิต คือ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์

ถ้าเราเอาคนคนหนึ่งมาแยกออกจะได้ส่วนประกอก สี่ อย่างคือ

จิต เจตสิก รูป นิพพาน

แน่นอน จิตก็คือตัวผู้รู้ตัวแรก ซึ่งมี เจตสิก เป็นตัวปรุงแต่ง ได้หลายรูปแบบ เช่น

จิตโกรธมี 2 ดวง(รูปแบบ) จิต โลภะ ได้ 8 ดวง จิตเป็นโมหะ ได้ 2 ดวง เป็นต้น

รูปก็คือส่วนที่เป็นรูปธรรม ก็คือส่วนที่เป็นร่างกาย

ผมเชื่อว่า นิพพาน เป็นธาตุ เป็นนามธาตุ

เป็นอสังขตะธาตุ ที่ปรุงแต่งไม่ได้

การเข้าใจอย่างผมจึงมีคนค้านอย่างมากมาย

เรื่องนิพพาน มีหลายคนเข้าใจไม่เหมือนกัน

บางคนกล่าวว่า นิพพาน เป็นสภาวะของจิต เป็นแค่สภาวะ หาได้เป็นธาตุไม่

บางคนกล่าวว่า เป็นแกนกลางของจิต เขาบอกว่า จิตมีเป็นชั้นๆ โดยมีกิเลสห่อหุ้มอยู่

ก็คงเหมือน กระหล่ำ ปลี ถ้าแกะ กาบออกไปเรื่อยๆจนเหลือแกนกลาง ก็คือจิตเดิมแท้ เป็นสิ่งที่เรียกว่านิพพาน ส่วนกาบที่แกะออก ก็คือกิเลส เข้าใจกันอย่างนั้น

บางคนกล่าวว่า นิพพานเป็นธาตุ ที่จะปรากฏขึ้นเมื่อผู้ที่บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ แต่ก็ไม่บอกว่า นิพพานธาตุนั้น

มาจากใหน เป็นเรื่องที่พิลึกมาก

มีบางคนกล่าวว่า การที่เห็นว่า นิพพานเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ แบ่งกลุ่มได้สามกลุ่ม

คนที่มีความเห็นสุดโต่ง ด้านหนึ่งกล่าวว่า นิพพานเป็นตน อีกด้าน ว่า สูญ ตรงกลาง ก็เป็นอีกแบบ

ถ้าเราศึกษาธรรมะแบบวิทยาศาสตร์ ตัดความลำเอียง ตัดอคติ ตัดทิฏฐิ ออกให้หมด ไม่ต้องมีไบแอส

เรามาศึกษาว่า ในตัวเรามันประกอบด้วยอะไรแน่

ถ้าในตัวเรามี จิต เป็นตัวผู้รู้ตัวเดียว

ก็หมายความว่า ในตัวพระอรหันต์ก็มีเพียงจิตเป็นตัวผู้รู้ เช่นกัน คงไม่มีตัวผู้รู้เพิ่มเข้ามาอีก

เมื่อพระอรหันต์ดับขันธ์เสียชีวิต จิตดวงสุดท้ายดับ ก็หมายถึงท่านก็หมดตัวผู้รู้

ก็แสดงว่าพระอรหันต์ตายแล้วสิ้นสภาพตัวผู้รู้

บางคนกล่าวว่า สิ่งที่เหลือคือพระธาตุ ผมว่า คงไม่ใช่อย่างนั้นแน่นอน

พระพุทธเจ้าคงไม่สอนให้เราไฝ่หา นิพพานคือสิ่งที่ดับหมดกลายไปเป็นแค่ หินก้อนหนึ่ง

เรามาดูพระสูตรกันว่าพระพุทธองค์ตรัสใว้อย่างไร

๑. นิพพานสูตรที่ ๑

[๑๕๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของ

ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาค

ทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วย

ธรรมีกถาอันปฏิสังยุตต์ด้วยนิพพาน ก็ภิกษุเหล่านั้นกระทำให้มั่น มนสิการแล้ว

น้อมนึกธรรมีกถาด้วยจิตทั้งปวงแล้ว เงี่ยโสตลงฟังธรรม ลำดับนั้นแล พระผู้-

*มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า ดูกรภิกษุ

ทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ

วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า

พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการ

จุติ เป็นการอุปบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้

นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ

นั้นคือ เมื่อพระอรหันต์ตายแล้ว ก็ยังมี อายตนะนิพพาน มีการรับรู้สิ่งต่างๆอยู่

แล้วขณะที่เรายังมีชีวิต อยู่ เราก็มีนิพพานธาตุ เพราะเหตุได ก็เพราะ พระอภิธรรม กล่าวว่า ส่วนประกอบเมื่อแยกแล้ว ก็จะได้ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน

แล้วนิพพานธาตุในตัวเรา มีการรับรู้ไดๆหรือไม่ แน่นอน ขณะที่พระอรหันต์เสียชีวิต ท่านยังมีอายาตนะ ขณะมีชีวิตก็ต้องมีอายตนะ เช่นกัน การรับรู้นี้จะต่างจากการรับรู้ของจิต เพราะเป็น อสังขตะธาตุ

ผมจะเรียกนิพพานธาตุว่าเป็น ตัวผู้รู้ตัวที่สอง ส่วนตัวผู้รู้ตัวที่หนึ่งก็คือ จิต

มาถึงตอนนี้ หลายๆท่านต้อง แย้งผมว่า ผมกำลังจะบอกว่า นิพพานเป็นอัตตา

ก็ในเมื่อพระพุทธองค์ตรัสว่า สัพสิ่งล้วนเป็นอนัตตา ผมก็ ว่าตามนั้น

ถ้าจิต สามารถรับรู้สิ่งต่างๆ ได้เราว่าเป็นอนัตตา ทุกคนก็เชื่อตามนั้น

ถ้านิพพานธาตุ สามารถรับรู้สิ่งต่างๆได้ อาจจะไม่เหมือนจิต แต่ก็เป็นตัวผุ้รู้เช่นกัน แล้วผมกล่าวว่า เป็นอนัตตา ก็ต้องได้

แล้วอะไรเล่าที่บอกว่า นิพพานเป็นอัตตา

นิพพาน เที่ยง จิตไม่เที่ยง หรือที่ว่า สิ่งไดเที่ยงสิ่งนั้นเป็นอัตตา ไม่น่าใช่

เพราะฉะนั้น อย่ามาหาว่าผมเป็นกลุ่มบุคคลที่กล่าวว่านิพพานเป็นอัตตาละครับท่าน

ตัวผู้รู้ตัวที่หนึ่ง มีการรับรู้ที่เป็นสังขตะธาตุ มีการปรุงแต่ง มีการนึกคิด ได้ ต่างจากตัวผู้รู้ตัวที่สอง ที่รับรู้สิ่งต่างๆ แล้วไม่สามารถปรุงแต่งได้เพราะ เป็นอสัขตะธรรมนั้นเอง

การทำสติปัฏฐานสี่นั้น มีหลักการว่า เมื่อมีสติ แล้ว ต้องมีสัมปชัญญะ

สติ คืออะไร สติก็คือ เจตสิกของจิต เมื่อจิต ระลึกได้ถึงสิ่งนั้นว่าเคยสัมผัสมา และจำได้ เมื่อเกิดผัสสะนั้นจิตก็ระลึกได้ เรียกว่ามีสติ

สัมปชัญญะละคืออะไร สัมปชัญญะ ก็คือการรู้สึกตัว ซึ่งเป็นการรับรู้ของตัวผู้รู้ตัวที่สองนั้นเอง

บางท่านแย้งผมว่า สัมปชัญญะก็คือเจตสิก เป็นส่วนของปัญญาเจตสิก ถ้าเป็นเจตสิก ก็เป็นส่วนประกอบของจิต ซึ่งไม่น่าจะใช่เพราะ เมื่อจิต มีสติ แล้วจิต จะมีสัมปชัญญะด้วย ถ้าแปลก็คือ จิตระลึกได้ ตามด้วยจิตรู้สึกตัว เป็นไปไม่ได้แน่นอน

ถ้าท่านเป็นนักปฏิบัติ และเป็นนักทดลอง ท่านลองทำอย่างผมว่า ขณะที่ท่านมีสติ ท่านจะตามด้วยความรู้สึกตัว เช่น การทำอานาปานสติ หายใจเข้า มีสติรับรู้ ตามด้วย สัมปชัญญะ รู้สึกตัวว่า หายใจเข้าสั้นก็รู้ หายใจเข้ายาวก็รู้

ท่านลองคิดดูสิครับ ทำไมในหมวดอานาปานสติ ต้อง ให้รุ้สึกตัว ตามหลังสติ มีรู้สั้น รู้ยาว รู้สึกตัวทั่วพร้อม รู้กองลมทั้งปวง ถ้าใครเอาจิตไปรู้ ไปปรุงแต่ง แสดงว่า ทำไม่ถูกแน่นอน

ถ้าให้ถูก ต้องแยก ตัวผู้รู้ที่หนึ่งสร้างสติ จากลมกระทบปลายจมูก ตัวผู้รู้ตัวที่สอง ก็มารู้สั้น รู้ยาว ก็ลองศึกษาตามพระสูตร

การบรรลุธรรมละเกิดขึ้นได้อย่างไร

ผมจะยกพระสูตรมาก่อนดังนี้

“ [๖๙๖] ย่อมตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณในขณะแห่งโลกุตรมรรค

อย่างไร ฯ

ในขณะโลกุตรมรรค จิตเป็นใหญ่ในการให้เกิดขึ้น และเป็นเหตุ

เป็นปัจจัยแห่งญาณ จิตอันสัมปยุตด้วยญาณนั้น มีนิโรธเป็นโคจร ญาณเป็นใหญ่

ในการเห็น และเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งจิต ญาณอันสัมปยุตด้วยจิตนั้น มีนิโรธ

เป็นโคจร ย่อมตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและด้วยญาณ ในขณะแห่งโลกุตรมรรค

อย่างนี้ ฯ”

(http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=31&A=10321&w=%CB%D2%E4%B4%E9%E4%C1%E8)

การตรัสรู้ ต้องประกอบด้วยจิต และญาณ

จิตคือตัวผุ้รู้ตัวที่หนึ่ง ญาณคือตัวผู้รู้ตัวที่สอง

บางคนแย้งผมว่า ญาณ ก็คือ ปัญญาเจตสิก ไม่ใช่ ธาตุ เป็นแค่ส่วนประกอบของจิต แต่ท่านลองอ่านในพระสูตร ในนั้นกล่าวว่า ต้องตรัสรู้ ด้วยจิตและญาณ ลำพังมีแต่จิต หรือมีแต่ญาณก็ไม่สามารถเกิดตรัสรู้ธรรมได้

จิตเป็นใหญ่ในการเกิด ญาณเป็นใหญ่ในการเห็น ก็หมายถึงตัวจิตเป็นตัวป้อนข้อมูล ให้ญาณเป็นตัวรับรู้

เช่นการเจริญ อนัตตสัญญา ก็เป็นการป้อนข้อมูลให้ญาณเห็นว่า จิตเป็นอนัตตา จิตไม่ใช่ตน

จิตที่เกิดสติอย่างต่อเนื่องก็จะกลายเป็น สมาธิ ทำให้เกิดพลัง ที่จะบังคับหรือป้อนข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ

สัมปชัญญะที่เกิดอย่างต่อเนื่อง ก็จะกลายไปเป็นญาณ

ปรกติ เวลาเราทำอานาปานสติ ตัวสัมปชัญญะ ก็คือตัวผู้รู้ตัวที่สอง จะไม่ค่อยเด่นชัด เมื่อฝึกจนเด่นขึ้นมา มีเปอร์เซ็นต์ การรับรู้มากขึ้นเพียงพอแก่การป้อนข้อมูลนั้นแหละจึงจะถึงจุดที่เรียกว่า ญาณ

ลองมาดูพระสูตรอีกบทหนึ่ง

“ ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน

ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัด

ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้

อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้

จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว

ก็มีญาณว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว

กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี”

(http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=9&A=4829&w=%C1%D5%C7%D4%B5%A1)

เมื่อจิตเป็นสมาธิ ก็มีการป้อนข้อมูลให้ตัวญาณ รู้ว่า อริยสัจจ์ เรียกว่า เกิดวิปัสสนาญาณ “เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้” ก็หมายถึงรู้ด้วยญาณนั้นเอง

หลังจากเกิดญาณ จิตย่อมหลุดพ้น แล้วญาณก็จึงรู้อีกว่า จิตหลุดพ้นแล้ว

ท่านลองคิดดูว่า จิต เป็นสังขตะธาตุ จิตมีกิเลส ตัวสังโยชน์ก็คือจิตเป็นตัวสร้าง จิตมีกิเลสสังโยชน์ รัดเอาตัว ตัวผู้รู้ตัวที่สองอยู่

ท่านกล่าวว่ามี สังโยชน์สิบนั้นแหละ

ดังคำที่ว่า หมู่สัตว์โลกผู้ท่องไปในวัฏฏะสงสาร มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบ

เมื่อ ตัวผู้รู้ตัวที่สอง รู้ความจริง ว่า จิตไม่ใช่ตน ก็ละสักกายะทิฏฐิได้ โดยที่ตัวผู้รู้ตัวที่สองรับรู้ หลังจากนั้น ตัวผู้รู้ตัวที่หนึ่ง ก็ตัดสังโยชน์ที่เป็นสักกายะทิฏฐิได้

สลับซับซ้อน เข้าใจยุ้งนิดหนึ่ง ตัวสองรู้ ตัวหนึ่งปล่อย

แปลกใหมละ เพราะตัวสอง เป็นตัวถูกกอด ด้วยตัวหนึ่งเพราะตัวจิต มีการปรุงแต่งได้
ส่วนตัวที่สอง ปรุงแต่งไม่ได้

ถ้าท่าน เข้าใจว่า ตัวเรามีตัวผู้รู้เพียงหนึ่งตัว คือจิต ท่านจะอธิบายว่า เมื่อพระอรหันตุตายแล้ว สูญอย่างนั้นหรือ

มันต้องมีสองตัวผู้รู้ คือจิต และนิพพานธาตุ เมื่อพระอรหันต์ตายแล้ว ก็ยังเหลือนิพพานธาตุ ล่องลอยไปในจักรวาล รับรู้สิ่งต่างๆได้

ถ้าท่านเชื่อว่า มีตัวรู้เพียงตัวเดียว ท่านจะทำอานาปานสติไม่ถูก เพราะ ท่านเข้าใจว่า รู้ลมสั้น รู้ลมยาว เป็นเรื่องของจิต

ถ้าท่านเชื่อว่า มีตัวผู้รู้เพียงตัวเดียวคือจิต ไม่มีทางที่ท่านจะภาวนาแล้ว เกิดญาณ ถึงเกิด ท่านก็จะเข้าใจผิดคิดว่าเป็นจิตของท่าน

สรูป สัมมาทิฏฐิ คือข้อแรกของมรรคมีองค์แปด การเข้าใจถูกต้องก็จำเป็น
ถ้าผมกล่าวผิดตรงใหนก็ช่วยแย้งด้วย ขอบคุณครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่