คำว่า มีตน กับไม่มีตน ในพระสูตร กล่าวใว้อย่างไร

คำว่า มีตน กับไม่มีตน ในพระสูตร กล่าวใว้อย่างไร

คำว่า ตน ถือว่า มีความสำคัญสำหรับนักภาวนามาก เพราะการบรรลุธรรมครั้งแรก ต้องละสักกายะทิฏฐิ

การละสักกายะทิฏฐิ หมายถึง ความเห็นผิดว่ากายใจหรือรูปนามหรือขันธ์ 5 เป็นตัวเราของเรา

ดังนั้น คำว่า เรา คำว่า ตน ก็ยังเป็นสิ่งที่จะต้องอธิบายว่า ตนคืออะไร ตัวเรา คืออะไร

ถ้าไม่เข้าใจแล้วจะละสักกายทิฏฐิได้อย่างไร

ถ้าเอาคน คนหนึ่งมาแก้ผ้าให้หมด สิ่งที่เหลือ ก็คือ จิต เจตสิค รูป นิพพาน ไม่มาก ไม่น้อยไปกว่านี้แน่นอน

จิต เจตสิก รูป ก็คือ ขันธ์ 5 นั้นเอง

แล้วตน , ตัวเราละคืออะไร ก็คือนิพพานธาตุ นั้นเอง

การละสักกายะทิฏฐิ ก็คือ เรา (ตน) เห็นว่า จิต เจตสิค รูป ไม่ใช่ ตน ไม่ใช่เรา นั้นเอง

บางท่านอาจว่า เป็นทิฏฐิ ส่วนผมเห็นว่า ถ้าความจริงก็คือความจริง ไม่ใช่ว่าผมทิฏฐิแล้วจะลบล้างความจริงได้

เช่น ในกล่องนี้มี ลูกแก้วอยู่ ถ้าผมมีความเห็นว่าไม่มี พอเปิดมาแล้วจะไม่มีลูกแก้ว ผมก็เป็นผู้วิเศษสิครับ

ความจริงก็คือความจริงนั้นเอง

พระสูตรกล่าวว่า

"... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเบื่อหน่ายบ้าง

คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ข้อ

นั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ความเจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตาย

ก็ดี ของร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ย่อมปรากฏ ปุถุชนผู้มิได้สดับ

จึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายนั้น แต่ตถาคตเรียก

ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง

ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิต เป็นต้นนั้นได้

เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตเป็นต้นนี้ อันปุถุชนมิได้สดับ รวบรัดถือ

ไว้ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฐิว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา

ดังนี้ ตลอดกาลช้านานฉะนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับ จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย คลาย

กำหนัด หลุดพ้นในจิตเป็นต้นนั้นได้เลย ฯ...

จะเห็นได้ว่า จิต นั้น ปุถุชนผู้ไม่เคย ฟังคำสอน มาก่อน ก็จะยึดเอาด้วยทิฐิ ว่า จิตเป็นตน ว่าจิตเป็นตัวตน

คำว่า ตน , เรา ก็แสดงให้เห็นว่า มีตน มีเรา อะไรเล่า ที่เป็นตน ไม่ใช่จิตแน่นอน ไม่ใช่เจตสิก ไม่ใช่ รูปแน่นอน

จะเป็นสิ่งอื่นไปไม่ได้ นอกจาก นิพพานธาตุ นั้นเอง

ถ้าเราทำสติปัฏฐานสี่

ฝึกมีสติ ตามด้วยสัมปชัญญะ

สติ คือการระลึกได้ของจิต

สัมปชัญญะ ไม่ใช่ของจิต แต่เป็นการ รู้สึกตัว ของตน แน่นอน เพราะเหตุได ลองสังเกตุ สัมปชัญญะมีคุณสมบัติ

ไม่มีการปรุงแต่ รู้ แค่รู้แล้ว ตัวรู้ของจิตก็มาสลับ

พระพุทธองค์ สอนทำอานาปานสติว่า

"นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติ

หายใจออก มีสติหายใจเข้า. เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว

ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว. เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น

ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น..............."

ท่านเคยสงสัยไหมว่า ทำไมต้องมีคำว่ารู้ชัดว่าหายใจออกยาว.....เข้ายาว......

เป็นการสร้างสติ สลับกับสัมปชัญญะ

คำว่ารู้ชัดก็คือ การรู้ด้วยสัมปชัญญะ

ทำอย่างไร ให้ ตน(นิพพานธาตุ) เกิดการรับรู้สิ่งต่างๆขึ้นมาได้

ก็คือการใช้ตัวสติ เป็นตัวปลุก ปลุกให้ตัว นิพพานธาตุ ตื่น

พุทธ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ก็คือมี สติ มีสัมปชัญญะ อยู่ตลอด ตนตื่นอยู่ตลอด ตื่นมาเพื่อดู จิต เจตสิค รูป ทำงาน

ตื่นจากการหลับไหล

อย่างอริยสัจจ์สี่

ทุกข์ หมายถึง ขันธ์ห้าไม่เที่ยง สิ่งที่ไม่เที่ยงจึงเป็นตัวทุกข์ ตัวจิตก็อยู่ในขันธ์ห้า

สมุททัย หมายถึง ตน ไปยึดเอา ขันธ์ห้า ว่าเป็นตน ตนก็เลยเป็นทุกข์

นิโรธ หมายถึง ตน ละการไปยึดเอาว่า ขันธ์ห้าว่าเป็นตนได้

มรรค หมายถึง วิธีที่จะทำให้ ตน ไม่ยึดเอาว่าขันธ์ห้าว่าเป็นตน

การภาวนา ก็เพื่อให้ ตนเห็น ว่า จิต , ขันธ์ห้า ว่าไม่ใช่ตน

การภาวนา ไม่ใช่ให้จิตเห็นว่า ขันธ์ห้าว่า เป็นตน(นิพพานธาตุ)

การศึกษาธรรมะ เราอ่านแล้วขบคิดตามคำสอน เป็นเพียงทำให้จิตรู้เท่านั้นหาได้รู้ในระดับตนไม่

ผมตัวอย่าง ถ้า มีคนอธิบาย ว่า 2 + 5 = 7 เราอ่านเราเข้าใจความหมายนี้ ด้วยจิต ถ้ามีคนบอกว่า

สิ่งที่ 2 + 5 = 7 นั้น จิตไม่เข้าใจ เราต้องภาวนา เพื่อให้จิตเข้าใจ

ผมคิดว่า มันน่าขบขันอย่างยิ่งเลย

เช่นกัน

ถ้า อริยสัจจ์สี่ ที่พระพุทธเจ้าสอนว่า นี้คือทุกข์ นี้คือสมุททัย นี้คือนิโรธ นี้คือมรรค

เราอ่านเราเข้าใจอย่างดี อันนี้ก็เป็นเพียงรู้ในระดับจิต มิใช่ระดับตน

การรู้ในระดับตนคืออย่างไร

การมีสติ และตามด้วยสัมปชัญญะ

เมื่อสติ มีกับสิ่งไดสิ่งหนี่งอย่างต่อเนื่อง ก็จะกลายเป็นสมาธิ

เมื่อ สัมปชัญญะ มีอย่างต่อเนื่อง ก็จะกลายไปเป็นญาณ

สติ เป็นเรื่องของจิต

สัมปชัญญะ ญาณ เป็นเรื่องของการรับรู้ของตน

จิตที่เป็นสมาธิ ก็น้อม ให้จิตป้อนความรู้ ว่าขันธ์ห้าเป็นทุกข์ ขันธ์ห้ามิใช้ตน น้อมไปเรื่อยๆให้ญาณรับรู้

ก็จะเกิดการรับรู้ในระดับญาณ ก็คือตนรู้

ตนรู้แค่ครั้งเดียว ก็เพียงพอ ทำให้ตัดสักกายะทิฏฐิได้

พระอรหันต์นาคเกษม อุปมาว่า ดังจุดไฟส่องตัวเลขในที่มืด เห็นครั้งเดียวก็เพียงพอ เช่นเดียวการเกิดวิปัสสนาญาณเห็นว่า

ขันธ์ห้าไม่ใช่ตน ครั้งเดียวก็ได้โสดาบัน

ถ้าคำว่า ไม่มีตน ในจิต , ไม่มีตนในขันธ์ห้า ก็ถูกต้อง

แต่ถ้าาบอกว่า ไม่มีตน โดยที่เหมือนกับว่า ตนเป็นสูญ ผมยังไม่เห็นในพระสูตรหรือมีใครเห็นลองยกขึ้นมาด้วยจักเป็นประโยชน์ยิ่ง

ส่วนบางท่านแย้งผมว่า สัมปะชัญญะ และ ญาณ คือปัญญาเจตสิก

เจตสิก จะเกิดร่วมกับจิตเสมอ

ไม่สามารถเกิดร่วมกับนิพพานธาตุได้เลย

จิตที่มีปัญญา ก็เรียกจินตามยะปัญญา รู้ด้วยการ ตรึกนึกคิด รู้ด้วยการอ่านการฟัง

การรู้ในระดับจิต ก็ไม่ทำให้บรรลุธรรม ตรัสรู้ได้

ถ้าท่านภาวนาเพื่อให้จิตรู้ เสียเวลาครับ ไม่มีในคำสอนซัวร์

ถ้าท่านภาวนาเพื่อให้ตนรู้ นั้นสิครับถูกต้องเลย

บางท่านกล่าวว่า ภาวนาเพื่อให้มีตน จะถูกต้องได้ไง

การภาวนาเพื่อไม่ให้มีตนในขันธ์ห้า นั้นสิครับผมว่าถูกต้อง ถ้าภาวนาให้ตนดับสูญ อันนี้ก็ไม่เคยเห็นในพระสูตรเหมือนกัน

เอาแค่นี้ก่อนรอฟังคนแย้ง (แบบมีอารายะ)

ผมค่อนข้างแน่ใจคนที่เห็นเหมือนผม คงไม่มี

ท่านไม่จำเป็นตัองเชื่อผม แต่ถ้าท่านเข้าใจสิ่งที่ผมอธิบาย ผมก็ดีใจละครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่