การแยก วิปัสสนา กับ วิปัสสนึก
วิปัสสนา คืออะไร ก็คือการภาวนาเพื่อให้เกิด วิปัสสนาญาณ เพราะเมื่อเกิด วิปัสสนาญาณ ก็คือการบรรลุธรรม หรือที่เรียกว่า ตรัสรู้ธรรม ได้เป็น พระอริยะบุคคล ตั้งแต่ พระโสดาบันขึ้นไป
ส่วน วิปัสสนึก นั้น ไม่มีคำนี้ในศาสนา เพียงแต่เป็นการเรียก ล้อคนทีภาวนา เพื่อให้เกิด วิปัสสนาญาณ นั้น ยังทำไม่ถูกต้อง
แล้วเราจะเอาอะไรมาแบ่ง ว่า แบบนี้เรียกวิปัสสนา แบบนี้เรียกวิปัสสนึก
ผมเคยตั้งกระทู้ เรื่องการน้อมจิต นั้น ซึ่งสรูปว่า การน้อมจิต คือการพิจารณา ความเป็นไตรลักษณ์ ของขันธ์ห้า ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ สิ่งนี้ไม่ใช่ตน ใจนี้ กายนี้ไม่ใช่ตน เป็นเพียง สิ่งที่เกิดมาเพียงมาจากปัจจัยให้เกิด เมื่อพิจารณา อย่างนี้ จะต้องอยู่ในสภาวะ ที่ มีสัมปชัญญะพร้อมและ มีมากพอ หรืออาจจะ มากจนกลายเป็นญาณ เมื่อพิจารณาด้วยจิต พิจารณาอย่างต่อเนื่อง ขณะมีการเกิดญาณ มันจะทำให้ตัวญาณมารับรู้ เรียกว่า เกิดการรู้ด้วยญาณ นั้นเอง
การทำวิปัสสนาก็เหมือนกัน จะต้องมีการปฏิบัติในหลักสติปัฏฐานสี่เท่านั้น
ในฐานกาย จะเน้น ไปในการสร้าง สติ และตามด้วยการสร้างสัมปชัญญะ
ตัวอย่างเช่นการทำอานาปานสติ ทุกครั้งที่หายใจออก และ เข้า ก็จะมีสติ อยู่ที่ลมมากระทบ ทำไปเรื่อยๆ จนจิต นิ่งอยู่กับสติที่ลมหายใจ
ส่วนสัมปชัญญะ จะต้องมีการฝึกที่ยากไปอีกขั้น เพราะ ลำพังการทำสติให้นิ่งก็ยากอยู่แล้ว แต่คราวนี้ต้องให้เกิดสองอย่าง พร้อมกัน เมื่อมีลมหายใจออกมีสติ ต้องตามด้วยสัมปชัญญะ คือ รู้ว่า ลมนั้นสั้นหรือยาว หายใจเข้าก็เช่นกัน พอมีสติก็ต้องรู้ว่า หายใจเข้านั้น สั้นหรือยาว
การฝึกสัมปชัญญะ นั้นต้องแยกให้ออก เพราะการรู้สึกตัว ไม่ได้มาจากจิต เพราะตัวรู้จะเป็นอีกตัวหนึ่ง ซึ่ง เป็นอสังขตะธรรม (อันนี้ มีคนว่าผมแรงๆ ประณามอย่างมาก เมื่อเราได้ โต้แย้งกันมามากพอแล้ว ท่าไม่เชื่อ ก็ผ่านไป ให้คนเชื่อมาคุยกันก็แล้วกัน) ดังนั้นเราต้องแยกให้ออกระหว่าง สติ และสัมปชัญญะ
การภาวนา นั้น ต้องมีทั้งสติ และสัมปชัญญะ
สัมปชัญญะจะเกิดไม่ได้ถ้าไม่มีตัวกระตุ้น ตัวกระตุ้นก็คือการมีสติของจิตนั้นเอง
รู้ว่า กายนั่งตรงนี้ รู้ว่ากำลังหายใจ รู้ตัวทั่งพร้อม แม้แต่การเดินจงกรม ก็ล้วนสร้างสติ เพื่อให้เกิดสัมปชัญญะ เป็นการรู้แล้วจบ ไม่มีการคิดต่อ รู้เฉยๆ นั้นเอง ถ้าใคร สร้างสัมปชัญญะไม่เป็น ก็ต้องฝึก จนเป็นถ้าไม่เป็นจะเรียกว่า การภาวนา เป็นวิปัสสนาภาวนาไม่ได้ เพราะการทำวิปัสสนา ต้องมีสัมปชัญญะ ที่หนาแน่นพอ จนกลายเป็นญาณ (อันนี้คนเขาก็เถียง และโต้แย้งกันมากพอแล้ว ถ้าไม่เชื่อก็ผ่านไปนะครับ)
การเกิดการตรัสรู้ธรรม ต้องมี สองสิ่ง จิต ที่เป็นสมาธิพอ และมีญาณ เกิดขึ้นด้วย ตัวจิต จะเป็นตัวพิจารณา ความเป็นไตรลักษณ์ ของขันธ์ห้า ส่วนตัวญาณจะเป็นตัวรู้ตาม เรียกว่าเกิดวิปัสสนาญาณ
สรูป การภาวนา โดยการสร้างสติอย่างเดียว เมื่อ มีการพิจารณาว่าขันธ์ห้าเป็นไตรลักษณ์ ในขณะที่พิจารณานั้น ไม่มีสัมปชัญญะ เลย อันนี้แหละเรียกว่า วิปัสสนึก
การภาวนาที่เรียกว่า วิปัสสนา ที่ถูกต้อง ต้องมี ทั้งสติ และ สัมปชัญญะ เป็นฐาน ขาดสองสิ่งนี้ไม่ได้
การแยก วิปัสสนา กับ วิปัสสนึก
วิปัสสนา คืออะไร ก็คือการภาวนาเพื่อให้เกิด วิปัสสนาญาณ เพราะเมื่อเกิด วิปัสสนาญาณ ก็คือการบรรลุธรรม หรือที่เรียกว่า ตรัสรู้ธรรม ได้เป็น พระอริยะบุคคล ตั้งแต่ พระโสดาบันขึ้นไป
ส่วน วิปัสสนึก นั้น ไม่มีคำนี้ในศาสนา เพียงแต่เป็นการเรียก ล้อคนทีภาวนา เพื่อให้เกิด วิปัสสนาญาณ นั้น ยังทำไม่ถูกต้อง
แล้วเราจะเอาอะไรมาแบ่ง ว่า แบบนี้เรียกวิปัสสนา แบบนี้เรียกวิปัสสนึก
ผมเคยตั้งกระทู้ เรื่องการน้อมจิต นั้น ซึ่งสรูปว่า การน้อมจิต คือการพิจารณา ความเป็นไตรลักษณ์ ของขันธ์ห้า ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ สิ่งนี้ไม่ใช่ตน ใจนี้ กายนี้ไม่ใช่ตน เป็นเพียง สิ่งที่เกิดมาเพียงมาจากปัจจัยให้เกิด เมื่อพิจารณา อย่างนี้ จะต้องอยู่ในสภาวะ ที่ มีสัมปชัญญะพร้อมและ มีมากพอ หรืออาจจะ มากจนกลายเป็นญาณ เมื่อพิจารณาด้วยจิต พิจารณาอย่างต่อเนื่อง ขณะมีการเกิดญาณ มันจะทำให้ตัวญาณมารับรู้ เรียกว่า เกิดการรู้ด้วยญาณ นั้นเอง
การทำวิปัสสนาก็เหมือนกัน จะต้องมีการปฏิบัติในหลักสติปัฏฐานสี่เท่านั้น
ในฐานกาย จะเน้น ไปในการสร้าง สติ และตามด้วยการสร้างสัมปชัญญะ
ตัวอย่างเช่นการทำอานาปานสติ ทุกครั้งที่หายใจออก และ เข้า ก็จะมีสติ อยู่ที่ลมมากระทบ ทำไปเรื่อยๆ จนจิต นิ่งอยู่กับสติที่ลมหายใจ
ส่วนสัมปชัญญะ จะต้องมีการฝึกที่ยากไปอีกขั้น เพราะ ลำพังการทำสติให้นิ่งก็ยากอยู่แล้ว แต่คราวนี้ต้องให้เกิดสองอย่าง พร้อมกัน เมื่อมีลมหายใจออกมีสติ ต้องตามด้วยสัมปชัญญะ คือ รู้ว่า ลมนั้นสั้นหรือยาว หายใจเข้าก็เช่นกัน พอมีสติก็ต้องรู้ว่า หายใจเข้านั้น สั้นหรือยาว
การฝึกสัมปชัญญะ นั้นต้องแยกให้ออก เพราะการรู้สึกตัว ไม่ได้มาจากจิต เพราะตัวรู้จะเป็นอีกตัวหนึ่ง ซึ่ง เป็นอสังขตะธรรม (อันนี้ มีคนว่าผมแรงๆ ประณามอย่างมาก เมื่อเราได้ โต้แย้งกันมามากพอแล้ว ท่าไม่เชื่อ ก็ผ่านไป ให้คนเชื่อมาคุยกันก็แล้วกัน) ดังนั้นเราต้องแยกให้ออกระหว่าง สติ และสัมปชัญญะ
การภาวนา นั้น ต้องมีทั้งสติ และสัมปชัญญะ
สัมปชัญญะจะเกิดไม่ได้ถ้าไม่มีตัวกระตุ้น ตัวกระตุ้นก็คือการมีสติของจิตนั้นเอง
รู้ว่า กายนั่งตรงนี้ รู้ว่ากำลังหายใจ รู้ตัวทั่งพร้อม แม้แต่การเดินจงกรม ก็ล้วนสร้างสติ เพื่อให้เกิดสัมปชัญญะ เป็นการรู้แล้วจบ ไม่มีการคิดต่อ รู้เฉยๆ นั้นเอง ถ้าใคร สร้างสัมปชัญญะไม่เป็น ก็ต้องฝึก จนเป็นถ้าไม่เป็นจะเรียกว่า การภาวนา เป็นวิปัสสนาภาวนาไม่ได้ เพราะการทำวิปัสสนา ต้องมีสัมปชัญญะ ที่หนาแน่นพอ จนกลายเป็นญาณ (อันนี้คนเขาก็เถียง และโต้แย้งกันมากพอแล้ว ถ้าไม่เชื่อก็ผ่านไปนะครับ)
การเกิดการตรัสรู้ธรรม ต้องมี สองสิ่ง จิต ที่เป็นสมาธิพอ และมีญาณ เกิดขึ้นด้วย ตัวจิต จะเป็นตัวพิจารณา ความเป็นไตรลักษณ์ ของขันธ์ห้า ส่วนตัวญาณจะเป็นตัวรู้ตาม เรียกว่าเกิดวิปัสสนาญาณ
สรูป การภาวนา โดยการสร้างสติอย่างเดียว เมื่อ มีการพิจารณาว่าขันธ์ห้าเป็นไตรลักษณ์ ในขณะที่พิจารณานั้น ไม่มีสัมปชัญญะ เลย อันนี้แหละเรียกว่า วิปัสสนึก
การภาวนาที่เรียกว่า วิปัสสนา ที่ถูกต้อง ต้องมี ทั้งสติ และ สัมปชัญญะ เป็นฐาน ขาดสองสิ่งนี้ไม่ได้