จิตคิดได้เอง จิตสั่งงานได้เองใช่หรือไม่

เวลาเราคิดโน้นคิดนี้
เวลาเราทำงานต่างๆ ในชีวิตประจำวัน 
ท่านคิดว่า จิตคิดได้เอง จิตสามารถสั่งงานให้ร่างกายทำงานได้เองหรือไม่

ส่วนผม เข้าใจว่า จิตทำงานได้สองแบบ
คือ จิตคิดได้เอง จิตสั่งงานได้เอง  และ จิต สามารถทำตามการควบคุมของเรา 

คำกล่าวในพระสูตรที่ว่า

" นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิต เป็นต้นนั้นได้
เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตเป็นต้นนี้ อันปุถุชนมิได้สดับ รวบรัดถือ
ไว้ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฐิว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
ดังนี้ ตลอดกาลช้านานฉะนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับ จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย คลาย
กำหนัด หลุดพ้นในจิตเป็นต้นนั้นได้เลย ฯ"

ก็หมายถึงจิต มิใช่เรา
ถามว่ามีเราไหม คำตอบก็คือ มี แต่มิใช่จิต เรากับจิต แยกออกจากกัน
จิต เจตสิก รูป นิพพาน ประกอบเป็นคน คนหนึ่ง
จิต ก็เป็นธาตุรู้  ที่ปรุงแต่งได้ด้วยเจตสิก จิตจึงมิใช่แต่รับรู้ จิตยังคิดได้ด้วย
นิพพานก็เป็นธาตุรู้  เพราะนิพพาน มีอายัตนะ นิพพาน ไม่สามารถ คิดได้อย่างจิต
สองผู้รู้นี้ผูกติดกันด้วยกิเลสสังโยชน์
ถ้าผมจะเรียกนิพพานธาตุ ว่า คือตน บางท่านก็จะเถึยงว่า ไม่มีตนทุกสิ่งล้วนเป็นอนัตตา
อนัตตามิได้แปลว่าสูญ มันมีอยู่ แต่ขอยืมคำว่าตนหน่อยนะครับ

ผมจะอุปมาอย่างนี้นะครับ
สมมุติ จิตเปรียบเหมือนวัวตัวหนึ่ง มีคนขึ่วัว ก็เปรียบเหมือนตน  ทั้งวัว และคนขี่ถูกผูกติดกัน  
ขณะที่คนขึ่ไม่ใด้สนใจวัว วัวก็สามรถทำอะไรก็ได้ ไปกินหญ้า เข้าสวนคนอื่นทำอะไรตามใจชอบ บางครั้งก็ถูกทำโทษจากการทำผิดเป็นต้นโดนเอาคนขึ่ไปด้วย อันนี้ก็เปรียบการทำงานของจิต ที่เราไม่ได้ใส่ใจ
ขณะที่คนขึ่สนใจวัวฝึกวัวให้รู้จัก ว่าอันใหนเป็นโทษ อันใหนเป็นคุณ เมื่อวัวก็มีนิสัยดี คนขี่ก็พลอยได้ประโยชน์ไปด้วย
เปรียบดังที่ว่า จิตที่ฝึกดีแล้วนำความสุขมาให้
วัวสามารถ บังคับได้อาจจะยากสักหน่อย และสามรถควบคุมได้ เปรียบเสมือนจิต เราสามารถควบคุมได้ เช่น ถ้าเรามีสัมปชัญญะคือความรู้สึกตัวอยู่ เราก็สามารถควบคุมจิตได้
เช่น การทำสมาธิด้วยอานาปานสติ เราบังคับให้จิต ผูกจิตใว้กับหลัก หลักก็คือลมหายใจ  
เช่น เราเดินจงกรม ก็คือ เรามีสติ มีสัมปชัญญะ เมื่อเรารู้สึกตัว เราจะให้จิต ยกเท้า ก้าวเท้า

เราบังคับจิตได้ก็ต่อเมื่อ เรารู้สึกตัว ก็คือ เรามีสัมปชัญญะนั้นเอง
ขณะที่เราไม่รู้สึกตัว ก็คือไม่มีสัมปชัญญะ นั้นแหละเรียกว่า จิตมันทำงานของมันเองโดยที่ไม่ได้ควบคุมจากเรา

ขณะจิต มีความสุข กายมีความสุข เราก็รับรู้ได้ เป็นบางขณะ แต่ส่วนใหญ่เราจะไม่รู้สึกตัวหรอก ถ้าไม่ฝึกจะรู้แค่แวบๆ

พุทธะ แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน หมายถึง รู้ ตื่น จากการหลับใหล มีความรุ้สึกตัวอยู่ตลอดเวลา

ผุ้ไม่เคยสดับ จะไม่สามรถแยกออกได้เลย ว่า การรับรู้ของจิต  ต่างจากการรับรู้ของ ตน  เพราะคิดว่าจิตคือตน
การภาวนาก็เพื่อละสักกายะทิฏฐิ ว่า ไม่มีเราในจิต ไม่มีจิตในเรา
เมือตนรู้อย่างแจ่มแจ้งว่า จิต มิใช่ตน นั้นแหละจึงละได้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่