อัสสุตวาสูตร กาย จิต มโน วิญญาณ ความแตกต่างระหว่างการแปล ฉบับหลวง และ มหาจุฬา ควรระวัง

ขอประทานโทษนะครับ เห็นยกพระสูตรนี้กันบ่อยแล้ว
บางกระทู้ บางท่าน ฟันธงว่า กายเท่ากับจิต เลยอยากปรึกษาว่า
พระไตรปิฏกฉบับหลวงแปลแล้วสับสนจนอาจทำให้มีความเข้าใจ
เนื้อหาธรรมะของพระศาสดาผิดไป ให้ดูพระสูตรนี้จากการแปล
ของมหาจุฬาแทนนะครับจะลงกันได้
เข้ากันได้กับหลักธรรมของพระศาสดา

ซึ่งในความหมายของพระสูตรคือ "ร่างกายละง่ายกว่าจิต" แม้ไม่ได้ฟังธรรมะ
ของพระศาสดา

ข้อนี้ถ้าจำจากฉบับหลวง ย่อมเกิดความขัดแย้งในข้อธรรม อันที่หนึ่ง
อันที่สองคือ ถ้าเผยแพร่ต่อไปอาจจะเสียหายทั้งต่อตนเองและผู้อื่นครับ
---------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง
๑. อัสสุตวตาสูตรที่ ๑
[๒๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก
เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ... ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเบื่อหน่ายบ้างคลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ใน
ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ความเจริญ
ก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตายก็ดี ของร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้
ย่อมปรากฏ ปุถุชนผู้มิได้สดับจึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกาย
นั้น แต่ตถาคตเรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง
วิญญาณบ้างปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิต เป็น
ต้นนั้นได้เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตเป็นต้นนี้ อันปุถุชนมิได้สดับ รวบรัดถือไว้
ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฐิว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา  ดังนี้
ตลอดกาลช้านานฉะนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับ จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้น
ในจิตเป็นต้นนั้นได้เลย ฯ
------------------------------------------------------------------------------------------------


พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ
๑. อัสสุตวาสูตร
                  ว่าด้วยผู้ไม่ได้สดับ
   {๒๓๐} [๖๑]    ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
            สมัยหนึ่ง    พระผู้มีพระภาคประทับอยู่    ณ    พระเชตวัน    อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี    เขตกรุงสาวัตถี    ณ    ที่นั้น    พระผู้มีพระภาค    ...
            “ภิกษุทั้งหลาย    ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ๑    พึงเบื่อหน่ายบ้าง    คลายกำหนัดบ้าง
หลุดพ้นบ้าง    จากกายซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง    ๔    นี้
            ข้อนั้นเพราะเหตุไร
            เพราะเหตุที่การประชุมก็ดี    ความสิ้นไปก็ดี    การยึดถือก็ดี    การทอดทิ้งกาย
ซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง    ๔    นี้ก็ดี    ย่อมปรากฏ    เพราะฉะนั้น    ปุถุชนผู้ไม่ได้
สดับพึงเบื่อหน่ายบ้าง    คลายกำหนัดบ้าง    หลุดพ้นบ้าง    จากกายนั้น
            ตถาคตเรียกสิ่งนี้ว่า    ‘จิตบ้าง    มโนบ้าง    วิญญาณบ้าง’    ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ    ไม่อาจ
เบื่อหน่าย    คลายกำหนัด    หลุดพ้นไปจากจิตเป็นต้นนั้นได้
            ข้อนั้นเพราะเหตุไร
            เพราะจิตเป็นต้นนี้    ถูกรัดไว้ด้วยตัณหา    ยึดถือว่าเป็นของเรา    เป็นสิ่งที่ปุถุชน
ผู้ไม่ได้สดับยึดมั่นว่า    ‘นั่นของเรา    เราเป็นนั่น    นั่นเป็นอัตตาของเรา’    ตลอดกาลนาน
เพราะฉะนั้น    ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ    จึงไม่อาจเบื่อหน่าย    คลายกำหนัด    หลุดพ้นไปจาก
จิตเป็นต้นนั้นได้

๑ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ  ในที่นี้หมายถึงปุถุชนผู้เว้นจากการศึกษาเล่าเรียน  การสอบถาม  การวินิจฉัยในขันธ์
   ธาตุ  อายตนะ  ปัจจยาการ  และสติปัฏฐานเป็นต้น  (สํ.นิ.อ.  ๒/๖๑/๑๑๑)
--------------------------------------------------------------------------------
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่