จิต เป็นผู้บังคับร่างกายได้ แล้วอะไรเล่ามาบังคับจิตได้
ปรกติ เราจะสั่งให้ร่างกายทำโน้น ทำนี่ได้ ยกเว้น กล้ามเนื้อที่อยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ
แล้วจิตเราละมันทำงานตามคำสั่งของใคร หรือมันทำงานได้เองโดยที่เราไม่สามารถบังคับมันได้ ผมเคยพูดอย่างนี้ พอดีท่านคนหนึ่งมาอธิบาย ก็เป็นสิ่งดีครับ ท่านว่าอย่างนี้
“ใครบอกว่า " ไม่สามารถ..ทำให้จิตเป็นไปตามอำนาจได้ " ผู้นั้น..เข้าใจผิดแล้ว..ครับ
นี่คือการสอนให้ทำจิตให้เป็นไปตามอำนาจ 7 ประการ..
แล้วท่านก็ยกพระสูตรขึ้นมาแสดง
โน จ ภิกฺขุ จิตฺตสฺส วเสน วตฺตติ ฯ
..และ..ภิกษุ(ผู้นั้น)..จะไม่เป็นไปตามอำนาจ..ของจิต..
(..หมายถึง..ไม่โดน..จิต...บังคับ..)
กตเมหิ สตฺตหิ
.. 7 ประการนี้..คือ..อะไร?...
อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ
...ในกรณีนี้ ภิกษุ ท! คือ...ภิกษุ(ผู้ที่)..
(1)สมาธิกุสโล โหติ
... มีความฉลาดใน..สมาธิ...
(2)สมาธิสฺส สมาปตฺติกุสโล โหติ
...มีความฉลาดในการเข้าสู่..สมาธิ...
(3)สมาธิสฺส ฐิติกุสโล โหติ
...มีความฉลาดในการตั้งอยู่ใน..สมาธิ...
(4)สมาธิสฺส วุฏฺฐานกุสโล โหติ
...มีความฉลาดในการออกจาก..สมาธิ..
(5)สมาธิสฺส กลฺลิตกุสโล โหติ
...มีความฉลาดในความพอใจใน..สมาธิ...
(6)สมาธิสฺส โคจรกุสโล โหติ
...มีความฉลาดในการโคจรใน..สมาธิ...
(7)สมาธิสฺส อภินิหารกุสโล โหติ ฯ
...มีความฉลาดในอภินิหารแห่ง..สมาธิ..
อิเมหิ โข ภิกฺขเว สตฺตหิ ธมฺเมหิ สมนฺนาคโต
...อย่างนี้แล ภิกษุ ท! ธรรม 7 ประการ..เมื่อถึงพร้อมแล้ว..
ภิกฺขุ จิตฺตํ วเส วตฺเตติ
...ภิกษุ(ผู้นั้น)..ก็จะทำให้..จิต..เป็นไปตามอำนาจได้..
โน จ ภิกฺขุ จิตฺตสฺส วเสน วตฺตตีติ ฯ
...และ...ภิกษุ(ผู้นั้น)..จะไม่เป็นไปตามอำนาจ..ของจิต...”
ผมยอมรับว่า ผมแค่เพียงรู้คำสอนระดับรากหญ้า ผมไม่ได้เรียนภาษาบาลีครับ
ผมชอบฟังรายการ “คนช่างสงสัย” (ยูทูป) ก็ผม มีนิสัยช่างสงสัย ก็เลยมาศึกษา และเปรียบเทียบ กับการปรากฏการณ์ที่เกิดกับตัวเราเทียบกับคำสอนในพระไตรปิฏก
อันที่สงสัยมากที่สุด รสชาติของการบรรลุธรรม มันเป็นอย่างไรหนอ ก่อนตายอยากลิ้มลองสักครั้ง
มาพูดเรื่อง อะไรที่สามารถบังคับจิตเราได้ ท่านเคยสงสัยไหมละครับ
ผมยกตัวอย่างนะ เวลาเรานอนฝัน ใจของเราเชื่อ เรื่องในฝัน ร้อยเปอร์เซ็นต์ ท่านรองทดสอบดูก็ได้ บางคนฝัน ยกตัวอย่างผม เคยยกมือไหว้ คนที่เคย เป็น ผอ. เจอในฝันมันก็ยกมือไหว้ เจอเจ้าหนี้ในฝัน ก็วิ่งสะดุ้งตกใจทั่งๆใช้หนี้หมดไปแล้ว เป็นต้น จิตในความฝันมัน เป็นสิ่งที่จิตปรุงแต่งขึ้นมา แล้วจิตก็เชื่ออย่างนั้นจริง แม้แต่ฝันเห็นผี มนุษย์ต่างดาว ล้วนมาจากจินตนาการทั้งสิ้น
พอเราตื่นขึ้นมา จะต่างจากการฝัน เพราะอะไร เพราะเรามี สติ และสัมปชัญญะ
สติ และสัมปชัญญะ มิได้มีกันทุกคน ยกตัวอย่าง คนเมาเหล้า เกินขนาด คนบ้า คนป่วย จนสมองทำงานไม่ปรกติ เป็นต้น
สติ คืออะไร สติ ก็คือ เจตสิกของจิต จิตที่มีสติ ก็คือ จิตที่ระลึกได้ว่า ผัสสะที่เพิ่งผ่านไปก่อนหน้านั้น คือ สิ่งที่เคยเกิดมาก่อน ตัวอย่าง เช่นมีคนเขกหัวเราโป๊ก เราก็มีสติ ก็คือจิตจำได้เพราะเคยโดนเขกหัวมาก่อน
สัมปชัญญะ คืออะไร คือความรู้สึกตัว มันจะต้องมีตัวสติ มาชักจูงมันเสมอ มันเกิดเองไม่ได้หรอก
การเกิดสติ จะตามด้วยสัมปชัญญะ นั้น ก็ไม่เสมอไป เป็นบางครั้ง และอยู่ที่การฝึก ตัวอย่างการฝึก เช่น
การทำอานาปานสติ ลมหายใจออก มีสติ จิตระลึกได้ ว่าลมออก ต้องฝึกต่อ ว่า รุ้สึกว่าอะไรกำลังเกิดขึ้น ท่านให้ฝึก รู้ว่า ลมสั้นลมยาวเป็นต้น
จิต มีอายตนะ คือ ใจ ใจจะรับรู้คือธรรมารมณ์
สติ จึงเกิดจาก ตัวผู้รู้คือ จิต
ส่วน สัมปชัญญะ ไม่ได้มาจากตัวผู้รู้ที่ไม่ใช่จิต
สัมปชัญญะ มาจากตัวผู้รู้ ที่เรียกว่า นิพพานธาตุ
ซึ่งนิพพานธาตุ ผูกติดกับ จิตอยู่ เป็นตัวผู้รู้ ที่อยู่ คู่กัน
ในสัตว์เดรัจฉาน ไม่สามรถ สร้าง สติได้ และสัมปชัญญะ เหมือนคนได้ ดังนั้นเราจะเห็นว่า ในสมัยพุทธกาล ช้างที่มาเฝ้าพระองค์ก็ไม่สามารถ บรรลุธรรมได้
การบรรลุธรรม ต้องอาศัย การเกิดญาณ ซึ่งตัวญาณ ก็ก่อตัวขึ้นมาจาก สัมปชัญญะ นั้นเอง
นักปฏิบัติที่เป็นนักวิปัสสนา จึงต้องสามารถสร้าง สัมปชัญญะ จนก้าวไปสู้ การเกิดญาณ เพื่อ นำไปสู่การน้อมจิต
ดังนั้นต้องฝึกที่จะแยกให้ได้ว่า อันไหนคือสติ อันไหนคือสัมปชัญญะ
ว่าด้วยการทำงานของจิตในชีวิตประจำวัน
จิตจะถูกโปรแกรม ให้ทำงานเหมือนคอมพิวเตอร์ ถูกโปรแกรมข้ามภพข้ามชาติมาเลยทีเดียว (ในทางธรรมะเรียกว่าอนุสัย) และเมื่อโตขึ้น ก็มีการสั่งสอนให้เข้าใจว่าอันไหนผิดอันไหนถูก ศาสนาพุทธ ก็สอนให้รักษาศีล เป็นต้น
ในชีวิตประจำวัน จิตทำงานไป ก็จะมีความรู้สึกตัว เป็นระยะ เพื่อให้เบรกการทำงานของจิต เพื่อให้จิต เลือกทางที่ถูกต้อง
ยกตัวอย่าง ขณะที่เราดูยูทูปเพลินๆ บางครั้งก็ขาดสติ สัมปชัญญะเป็นช่วงๆ พอได้รู้สึกตัวเป็นระยะๆ จิตก็จะรีเซ็ตตัวว่า จะดูต่อหรือจะไปทำงานที่ควรทำ
มันจะต่างจากการนอนหลับ เวลาเราฝัน จิตมันทำงาน ของมัน แบบ โดดเดี่ยว ถ้าเป็นรถก็ไม่มีเบรก มันจะต่างจากตอนเราตื่น
เมื่อตื่น การทำงานของจิต มันก็จะมีเบรก เป็นระยะ เพื่อให้จิต เลือกทางว่าจะทำต่อ หรือจะคิดก่อน
สรูป อะไรคือตัวบังคับจิต จิตบังคับไม่ได้แต่ เบรกการทำงานของจิต เพื่อให้จิต เริ่มต้น คิดและทำงานใหม่ได้ด้วยตัว สัมปชัญญะนั้นเอง
พระสูตร ที่ยกมาข้างบนท่านกล่าวว่า การได้สมาธิ ก็คือการบังคับจิตให้อยู่กับที่ เหมือนการจับขังจิต เมื่อจิตเป็นสมาธิ ก็หมดสิทธิที่จะไปทำอะไรได้ จะไปมีกิเลสก็ไม่ได้ ประมาณนั้น
เมื่อหลับ จิตคือตัวผู้รู้ตัวเดียวทำงาน แต่เมื่อตื่น จะมีตัวผู้รู้สอง ตัว ตัวจิตทำงาน อีกตัว เป็นตัวเบรก เป็นระยะ เพื่อให้จิต เลือกทางที่ถูก
ท่านไม่จำเป็นต้องเชื่อผม ลองอ่านดู แล้วเอามาพิจารณาว่า จริงอย่างที่ผมพูดหรือเปล่า เชื่อตัวท่านเอง ดีที่สุดครับ
จิต เป็นผู้บังคับร่างกายได้ แล้วอะไรเล่ามาบังคับจิตได้
ปรกติ เราจะสั่งให้ร่างกายทำโน้น ทำนี่ได้ ยกเว้น กล้ามเนื้อที่อยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ
แล้วจิตเราละมันทำงานตามคำสั่งของใคร หรือมันทำงานได้เองโดยที่เราไม่สามารถบังคับมันได้ ผมเคยพูดอย่างนี้ พอดีท่านคนหนึ่งมาอธิบาย ก็เป็นสิ่งดีครับ ท่านว่าอย่างนี้
“ใครบอกว่า " ไม่สามารถ..ทำให้จิตเป็นไปตามอำนาจได้ " ผู้นั้น..เข้าใจผิดแล้ว..ครับ
นี่คือการสอนให้ทำจิตให้เป็นไปตามอำนาจ 7 ประการ..
แล้วท่านก็ยกพระสูตรขึ้นมาแสดง
โน จ ภิกฺขุ จิตฺตสฺส วเสน วตฺตติ ฯ
..และ..ภิกษุ(ผู้นั้น)..จะไม่เป็นไปตามอำนาจ..ของจิต..
(..หมายถึง..ไม่โดน..จิต...บังคับ..)
กตเมหิ สตฺตหิ
.. 7 ประการนี้..คือ..อะไร?...
อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ
...ในกรณีนี้ ภิกษุ ท! คือ...ภิกษุ(ผู้ที่)..
(1)สมาธิกุสโล โหติ
... มีความฉลาดใน..สมาธิ...
(2)สมาธิสฺส สมาปตฺติกุสโล โหติ
...มีความฉลาดในการเข้าสู่..สมาธิ...
(3)สมาธิสฺส ฐิติกุสโล โหติ
...มีความฉลาดในการตั้งอยู่ใน..สมาธิ...
(4)สมาธิสฺส วุฏฺฐานกุสโล โหติ
...มีความฉลาดในการออกจาก..สมาธิ..
(5)สมาธิสฺส กลฺลิตกุสโล โหติ
...มีความฉลาดในความพอใจใน..สมาธิ...
(6)สมาธิสฺส โคจรกุสโล โหติ
...มีความฉลาดในการโคจรใน..สมาธิ...
(7)สมาธิสฺส อภินิหารกุสโล โหติ ฯ
...มีความฉลาดในอภินิหารแห่ง..สมาธิ..
อิเมหิ โข ภิกฺขเว สตฺตหิ ธมฺเมหิ สมนฺนาคโต
...อย่างนี้แล ภิกษุ ท! ธรรม 7 ประการ..เมื่อถึงพร้อมแล้ว..
ภิกฺขุ จิตฺตํ วเส วตฺเตติ
...ภิกษุ(ผู้นั้น)..ก็จะทำให้..จิต..เป็นไปตามอำนาจได้..
โน จ ภิกฺขุ จิตฺตสฺส วเสน วตฺตตีติ ฯ
...และ...ภิกษุ(ผู้นั้น)..จะไม่เป็นไปตามอำนาจ..ของจิต...”
ผมยอมรับว่า ผมแค่เพียงรู้คำสอนระดับรากหญ้า ผมไม่ได้เรียนภาษาบาลีครับ
ผมชอบฟังรายการ “คนช่างสงสัย” (ยูทูป) ก็ผม มีนิสัยช่างสงสัย ก็เลยมาศึกษา และเปรียบเทียบ กับการปรากฏการณ์ที่เกิดกับตัวเราเทียบกับคำสอนในพระไตรปิฏก
อันที่สงสัยมากที่สุด รสชาติของการบรรลุธรรม มันเป็นอย่างไรหนอ ก่อนตายอยากลิ้มลองสักครั้ง
มาพูดเรื่อง อะไรที่สามารถบังคับจิตเราได้ ท่านเคยสงสัยไหมละครับ
ผมยกตัวอย่างนะ เวลาเรานอนฝัน ใจของเราเชื่อ เรื่องในฝัน ร้อยเปอร์เซ็นต์ ท่านรองทดสอบดูก็ได้ บางคนฝัน ยกตัวอย่างผม เคยยกมือไหว้ คนที่เคย เป็น ผอ. เจอในฝันมันก็ยกมือไหว้ เจอเจ้าหนี้ในฝัน ก็วิ่งสะดุ้งตกใจทั่งๆใช้หนี้หมดไปแล้ว เป็นต้น จิตในความฝันมัน เป็นสิ่งที่จิตปรุงแต่งขึ้นมา แล้วจิตก็เชื่ออย่างนั้นจริง แม้แต่ฝันเห็นผี มนุษย์ต่างดาว ล้วนมาจากจินตนาการทั้งสิ้น
พอเราตื่นขึ้นมา จะต่างจากการฝัน เพราะอะไร เพราะเรามี สติ และสัมปชัญญะ
สติ และสัมปชัญญะ มิได้มีกันทุกคน ยกตัวอย่าง คนเมาเหล้า เกินขนาด คนบ้า คนป่วย จนสมองทำงานไม่ปรกติ เป็นต้น
สติ คืออะไร สติ ก็คือ เจตสิกของจิต จิตที่มีสติ ก็คือ จิตที่ระลึกได้ว่า ผัสสะที่เพิ่งผ่านไปก่อนหน้านั้น คือ สิ่งที่เคยเกิดมาก่อน ตัวอย่าง เช่นมีคนเขกหัวเราโป๊ก เราก็มีสติ ก็คือจิตจำได้เพราะเคยโดนเขกหัวมาก่อน
สัมปชัญญะ คืออะไร คือความรู้สึกตัว มันจะต้องมีตัวสติ มาชักจูงมันเสมอ มันเกิดเองไม่ได้หรอก
การเกิดสติ จะตามด้วยสัมปชัญญะ นั้น ก็ไม่เสมอไป เป็นบางครั้ง และอยู่ที่การฝึก ตัวอย่างการฝึก เช่น
การทำอานาปานสติ ลมหายใจออก มีสติ จิตระลึกได้ ว่าลมออก ต้องฝึกต่อ ว่า รุ้สึกว่าอะไรกำลังเกิดขึ้น ท่านให้ฝึก รู้ว่า ลมสั้นลมยาวเป็นต้น
จิต มีอายตนะ คือ ใจ ใจจะรับรู้คือธรรมารมณ์
สติ จึงเกิดจาก ตัวผู้รู้คือ จิต
ส่วน สัมปชัญญะ ไม่ได้มาจากตัวผู้รู้ที่ไม่ใช่จิต
สัมปชัญญะ มาจากตัวผู้รู้ ที่เรียกว่า นิพพานธาตุ
ซึ่งนิพพานธาตุ ผูกติดกับ จิตอยู่ เป็นตัวผู้รู้ ที่อยู่ คู่กัน
ในสัตว์เดรัจฉาน ไม่สามรถ สร้าง สติได้ และสัมปชัญญะ เหมือนคนได้ ดังนั้นเราจะเห็นว่า ในสมัยพุทธกาล ช้างที่มาเฝ้าพระองค์ก็ไม่สามารถ บรรลุธรรมได้
การบรรลุธรรม ต้องอาศัย การเกิดญาณ ซึ่งตัวญาณ ก็ก่อตัวขึ้นมาจาก สัมปชัญญะ นั้นเอง
นักปฏิบัติที่เป็นนักวิปัสสนา จึงต้องสามารถสร้าง สัมปชัญญะ จนก้าวไปสู้ การเกิดญาณ เพื่อ นำไปสู่การน้อมจิต
ดังนั้นต้องฝึกที่จะแยกให้ได้ว่า อันไหนคือสติ อันไหนคือสัมปชัญญะ
ว่าด้วยการทำงานของจิตในชีวิตประจำวัน
จิตจะถูกโปรแกรม ให้ทำงานเหมือนคอมพิวเตอร์ ถูกโปรแกรมข้ามภพข้ามชาติมาเลยทีเดียว (ในทางธรรมะเรียกว่าอนุสัย) และเมื่อโตขึ้น ก็มีการสั่งสอนให้เข้าใจว่าอันไหนผิดอันไหนถูก ศาสนาพุทธ ก็สอนให้รักษาศีล เป็นต้น
ในชีวิตประจำวัน จิตทำงานไป ก็จะมีความรู้สึกตัว เป็นระยะ เพื่อให้เบรกการทำงานของจิต เพื่อให้จิต เลือกทางที่ถูกต้อง
ยกตัวอย่าง ขณะที่เราดูยูทูปเพลินๆ บางครั้งก็ขาดสติ สัมปชัญญะเป็นช่วงๆ พอได้รู้สึกตัวเป็นระยะๆ จิตก็จะรีเซ็ตตัวว่า จะดูต่อหรือจะไปทำงานที่ควรทำ
มันจะต่างจากการนอนหลับ เวลาเราฝัน จิตมันทำงาน ของมัน แบบ โดดเดี่ยว ถ้าเป็นรถก็ไม่มีเบรก มันจะต่างจากตอนเราตื่น
เมื่อตื่น การทำงานของจิต มันก็จะมีเบรก เป็นระยะ เพื่อให้จิต เลือกทางว่าจะทำต่อ หรือจะคิดก่อน
สรูป อะไรคือตัวบังคับจิต จิตบังคับไม่ได้แต่ เบรกการทำงานของจิต เพื่อให้จิต เริ่มต้น คิดและทำงานใหม่ได้ด้วยตัว สัมปชัญญะนั้นเอง
พระสูตร ที่ยกมาข้างบนท่านกล่าวว่า การได้สมาธิ ก็คือการบังคับจิตให้อยู่กับที่ เหมือนการจับขังจิต เมื่อจิตเป็นสมาธิ ก็หมดสิทธิที่จะไปทำอะไรได้ จะไปมีกิเลสก็ไม่ได้ ประมาณนั้น
เมื่อหลับ จิตคือตัวผู้รู้ตัวเดียวทำงาน แต่เมื่อตื่น จะมีตัวผู้รู้สอง ตัว ตัวจิตทำงาน อีกตัว เป็นตัวเบรก เป็นระยะ เพื่อให้จิต เลือกทางที่ถูก
ท่านไม่จำเป็นต้องเชื่อผม ลองอ่านดู แล้วเอามาพิจารณาว่า จริงอย่างที่ผมพูดหรือเปล่า เชื่อตัวท่านเอง ดีที่สุดครับ