เปิดธรรมที่ถูกปิด การทำสมาธิ

กระทู้สนทนา
พุทธวจน
สมัยใด อริยสาวกตั้งใจ ใส่ใจ รวมเข้าไว้ด้วยใจทั้งหมด เงี่ยโสตลงฟังธรรม สมัยนั้น นิวรณ์ ๕ไม่มี
ผู้เงี่ยโสตลงสดับ                              ย่อมได้ฟังธรรม

ครั้นฟังธรรมแล้ว                               ย่อมทรงจำธรรมไว้, ย่อมใคร่ครวญพิจารณาซึ่งเนื้อความทั้งหลายที่ตน
ทรงจำไว้;

เมื่อเขาใคร่ครวญพิจารณา                     ซึ่งเนื้อความแห่งธรรมนั้นอยู่, ธรรมทั้งหลายย่อมทนต่อการเพ่งพิสูจน์;

เมื่อธรรมทนต่อการเพ่งพิสูจน์มีอยู่            ฉันทะ (ความพอใจ) ย่อมเกิด ;

ผู้เกิดฉันทะแล้ว                                ย่อมมีอุตสาหะ ;

ครั้นมีอุตสาหะแล้ว                            ย่อมใช้ดุลพินิจ (เพื่อค้นหาความจริง) ;

ครั้นใช้ดุลยพินิจ (พบ) แล้ว                   ย่อมตั้งตนไว้ในธรรมนั้น ;

ผู้มีตนส่งไปแล้วในธรรมนั้นอยู่                ย่อมกระทำให้แจ้ง ซึ่งบรมสัจจ์ ด้วยกายด้วย,ย่อมเห็นแจ้งแทงตลอด

บรมสัจจ์นั้นด้วย,ย่อมเห็นแจ้งแทงตลอดบรมสัจจ์นั้นด้วยปัญญาด้วย
#############################################
เธอย่อมเห็นโทษในอกุศลทั้งหลายด้วยปัญญาโดยชอบ ตามความเป็นจริง
###############################################
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม 5ประการ ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อบรรลุปฐมฌาน
ธรรม 5 ประการเป็นไฉน คือ กามฉันทะ ๑ พยาบาท ๑ ถีนมิทธะ ๑อุทธัจจกุกกุจจะ ๑
วิจิกิจฉา ๑ เธอย่อมเห็นโทษในอกุศลทั้งหลายด้วยปัญญาโดยชอบ ตามความเป็นจริง  ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุละธรรม 5 ประการนี้แลย่อมเป็นผู้ควรเพื่อบรรลุปฐมฌาน

###########
เธอพึงศึกษาอย่างนี้
###########
เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักตั้งมั่น ดำรงอยู่
ด้วยดีในภายใน และธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วจักไม่ครอบงำจิตได้
ดูกรภิกษุ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล ดูกรภิกษุ เมื่อใด จิตของเธอเป็นจิตตั้งมั่น
ดำรงอยู่ด้วยดีแล้วในภายใน และธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ครอบงำ
จิตได้ เมื่อนั้น เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเจริญ กระทำให้มากซึ่งเมตตา
เจโตวิมุติ ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้มั่นคง สั่งสม ปรารภดีแล้ว ดูกร
ภิกษุ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล ดูกรภิกษุ เมื่อใด เธอเจริญกระทำให้มากซึ่ง
สมาธินี้อย่างนี้แล้ว เมื่อนั้น เธอพึงเจริญสมาธินี้แม้มีวิตกวิจาร พึงเจริญสมาธินี้
แม้ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร พึงเจริญสมาธินี้แม้ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร พึงเจริญสมาธินี้
แม้มีปีติ พึงเจริญสมาธินี้แม้ไม่มีปีติ พึงเจริญสมาธินี้แม้สหรคตด้วยความสำราญ
พึงเจริญสมาธินี้แม้สหรคตด้วยอุเบกขา ดูกรภิกษุ เมื่อใด เธอเจริญสมาธินี้
อย่างนี้ เจริญดีแล้ว เมื่อนั้น เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเจริญ กระทำให้มาก
ซึ่งกรุณาเจโตวิมุติ ฯลฯ มุทิตาเจโตวิมุติ ฯลฯ เราจักเจริญกระทำให้มากซึ่ง
อุเบกขาเจโตวิมุติ ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้มั่นคง สั่งสม ปรารภ
ดีแล้ว ดูกรภิกษุ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล ดูกรภิกษุ เมื่อใด เธอเจริญกระทำ
ให้มากซึ่งสมาธินี้อย่างนี้แล้ว เมื่อนั้น เธอพึงเจริญสมาธินี้แม้มีวิตก มีวิจาร ...
พึงเจริญสมาธินี้แม้สหรคตด้วยอุเบกขา ดูกรภิกษุ เมื่อใด เธอเจริญสมาธินี้
อย่างนี้ เจริญดีแล้ว เมื่อนั้น เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักพิจารณากายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกร
ภิกษุ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล ดูกรภิกษุ เมื่อใด เธอเจริญกระทำให้มากซึ่งสมาธิ
นี้อย่างนี้แล้ว เมื่อนั้น เธอพึงเจริญสมาธินี้แม้มีวิตก มีวิจาร ... เธอพึงเจริญ
สมาธินี้แม้สหรคตด้วยอุเบกขา ดูกรภิกษุ เมื่อใด เธอเจริญสมาธินี้อย่างนี้
เจริญดีแล้ว เมื่อนั้น เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักพิจารณาเวทนาในเวทนา
ทั้งหลายอยู่ ฯลฯ พิจารณาจิตในจิตอยู่ ฯลฯ พิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกร
ภิกษุ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล ดูกรภิกษุ เมื่อใด เธอเจริญกระทำให้มากซึ่ง
สมาธินี้อย่างนี้แล้ว เมื่อนั้น เธอพึงเจริญสมาธินี้แม้มีวิตก มีวิจาร พึงเจริญ
สมาธินี้แม้ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร พึงเจริญสมาธินี้แม้ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร พึง
เจริญสมาธินี้แม้มีปีติ พึงเจริญสมาธินี้แม้ไม่มีปีติ พึงเจริญสมาธินี้แม้สหรคต
ด้วยความสำราญ พึงเจริญสมาธินี้แม้สหรคตด้วยอุเบกขา ดูกรภิกษุ เมื่อใด
เธอเจริญสมาธินี้อย่างนี้ เจริญดีแล้ว เมื่อนั้น เธอจักเดินไปทางใดๆ ก็จักเดิน
เป็นสุขในทางนั้นๆ ยืนอยู่ในที่ใดๆ ก็จักยืนเป็นสุขในที่นั้นๆ นั่งอยู่ในที่
ใดๆ ก็จักนั่งอยู่เป็นสุขในที่นั้นๆ นอนอยู่ที่ใดๆ ก็จักนอนเป็นสุขในที่
นั้นๆ ฯ

########################
ความไม่เดือดร้อน ความปราโมทย์ สุข สมาธิ
########################
กุศลมีความไม่เดือดร้อนเป็นผล มีความไม่เดือด
ร้อนเป็นอานิสงส์ ความไม่เดือดร้อน มีความปราโมทย์เป็นผล มีความปราโมทย์
เป็นอานิสงส์ ความปราโมทย์ มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล
มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ สุขมีสมาธิเป็นผล
มีสมาธิเป็นอานิสงส์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสนะเป็นผล
ธรรม ๒ ประการนี้ ไม่เป็นเหตุให้เดือดร้อน ๒ ประการ
เป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ได้ทำความดีงามไว้
ทำกุศลไว้ ได้ทำบุญอันเป็นเครื่องต้านความขลาดกลัวไว้ ไม่ได้ทำบาป
ไม่ได้ทำอกุศลกรรมอันหยาบช้า ไม่ได้ทำอกุศลกรรมอันกล้าแข็ง บุคคล
นั้นย่อมไม่เดือดร้อนว่า เราได้ทำกรรมอันดีงามดังนี้บ้าง ย่อมไม่เดือดร้อนว่า
เราได้ทำบาปดังนี้บ้าง ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ ประการนี้แล ไม่เป็น
เหตุให้เดือนร้อน.    


#################
วาจาเป็นพันหรือจะสู้หนึ่งเพราะ
#################
หากว่าวาจาแม้ตั้งพันประกอบด้วยบทอันไม่เป็นประโยชน์ไซร้
บทอันเป็นประโยชน์บทหนึ่งที่บุคคลฟังแล้วย่อมสงบ ประเสริฐกว่า
คาถาแม้ตั้งพันประกอบด้วยบทอันไม่เป็นประโยชน์ไซร้
คาถาบทหนึ่งที่บุคคลฟังแล้วย่อมสงบ ประเสริฐกว่า
ก็บุคคลใดพึงกล่าวคาถา ประกอบด้วยบทอันไม่เป็นประโยชน์ตั้งร้อย
บทธรรมบทหนึ่งที่บุคคลฟังแล้วย่อมสงบ ประเสริฐกว่า

#############
ผู้ไม่ประมาท ผู้ประมาท
#############
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทอย่างไร
เมื่อภิกษุสำรวมจักขุนทรีย์อยู่ จิตก็ไม่แส่ไปในรูปทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ
เมื่อภิกษุนั้นมีจิตไม่แส่ไปแล้วปราโมทย์ก็เกิด เมื่อภิกษุเกิดปราโมทย์แล้ว
ปีติก็เกิด เมื่อภิกษุมีใจเกิดปีติ กายก็สงบ ภิกษุผู้มีกายสงบ ก็อยู่สบาย
จิตของภิกษุผู้มีความสุขก็ตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏ
เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ ภิกษุนั้นก็ถึงความนับว่า
เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทแท้จริง ฯลฯ

เมื่อภิกษุสำรวมชิวหินทรีย์อยู่ จิตก็ไม่แส่ไปในรสทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ฯลฯ
เมื่อภิกษุสำรวมมนินทรีย์อยู่ จิตก็ไม่แส่ไปในธรรมารมณ์ทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ
เมื่อภิกษุมีจิตไม่แส่ไปแล้ว ปราโมทย์ก็เกิด เมื่อภิกษุเกิดปราโมทย์แล้ว ปีติก็เกิด
เมื่อภิกษุมีใจเกิดปีติ กายก็สงบ ภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว ก็อยู่สบาย
จิตของภิกษุผู้มีความสุขก็ตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏ
เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ ภิกษุนั้นก็ถึงความนับว่า
เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท ด้วยประการฉะนี้

ดูกรวาเสฏฐะ อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย.
          ดูกรวาเสฏฐะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถือ
อนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรม
อันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวม
ในจักขุนทรีย์ ภิกษุฟังเสียงด้วยโสต ... ดมกลิ่นด้วยฆานะ ... ลิ้มรสด้วยชิวหา ...
ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ
เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก
คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์
ภิกษุประกอบด้วยอินทรียสังวรอันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสในภายใน
ดูกรวาเสฏฐะด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
เธอย่อมไม่ปล่อยให้วันคืนล่วงไป
ไม่ละการหลีกออกเร้นอยู่
ประกอบความสงบใจในภายใน
เพราะการเล่าเรียนธรรมนั้น
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรมอย่างนี้แล

###########
อานิสงค์กายคตาสติ
การเพ่งของม้าอาชาไนย
###########
เพื่อละความดำริพล่าน เพื่อปิดช่อง วิตกมาร
อดกลั้นต่อความไม่ยินดีและความยินดีได้ ไม่ถูกความไม่ยินดี
ครอบงำ ย่อมครอบงำความไม่ยินดีที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ด้วย ฯ
            อดกลั้นต่อภัยและความหวาดกลัวได้ ไม่ถูกภัยและความหวาดกลัว
ครอบงำ ย่อมครอบงำภัยและความหวาดกลัว ที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ด้วย ฯ
              อดทน คือเป็นผู้มีปรกติอดกลั้นต่อความหนาว ความร้อน ความหิว
ความกระหาย ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และ สัตว์ยิ้มคลาน ต่อ
ทำนองคำพูดที่กล่าวร้าย ใส่ร้าย ต่อเวทนาประจำสรีระที่เกิดขึ้นแล้ว อันเป็น
ทุกข์กล้า เจ็บแสบ ไม่ใช่ความสำราญ ไม่เป็นที่ชอบใจ พอจะสังหารชีวิตได้
เพื่อได้ ฌาน สุขในปัจจุบัน
ภิกษุไรๆ ก็ตาม ไม่เจริญ ไม่ทำให้มาก
ซึ่งกายคตาสติแล้ว มารย่อมได้ช่อง ย่อมได้อารมณ์


##############################
พ่อครัวผู้ฉลาดฉลาด เฉียบแหลม สำเหนียกนิมิตแห่ง
จิตของตน.  สมาธินิมิต
ปัคคหนิมิต อัพยัคคนิมิต      อุเบกขานิมิต
ปัจจเวกขณนิมิต
###############################
เปรียบเหมือนคนอื่นพึงเห็นคนอื่น คนยืนพึงเห็นคนนั่ง หรือคนนั่งพึงเห็นคนนอน
ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เธอย่อมถือด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ใคร่ครวญด้วยดี
แทงตลอดด้วยดี ซึ่งปัจจเวกขณนิมิตด้วยปัญญา



ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีปัญญารักษาตน มีสติ  เจริญสมาธิหาประมาณมิได้เถิด เมื่อเธอมีปัญญารักษาตน มีสติ เจริญสมาธิหาประมาณมิได้อยู่ ญาณ ๕ อย่าง ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตน
ญาณ ๕ อย่างเป็นไฉนคือ


ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป ๑

สมาธินี้เป็น อริยะ ปราศจากอามิส ๑

สมาธินี้อันคนเลวเสพไม่ได้ ๑

สมาธิ นี้ละเอียด ประณีต ได้ด้วยความสงบระงับ บรรลุได้ด้วยความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น และมิใช่บรรลุได้ด้วยการข่มธรรมที่เป็นข้าศึก ห้ามกิเลสด้วยจิตอันเป็นสสังขาร ๑

ก็เราย่อมมีสติเข้าสมาธินี้ได้ มีสติออกจากสมาธินี้ได้ ๑

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เขลา
ไม่ฉลาดเฉียบแหลม ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ จิตย่อมไม่ตั้งมั่น ยังละ
อุปกิเลสไม่ได้ เธอไม่สำเหนียกนิมิตนั้น ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณา
เห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ จิตย่อมไม่ตั้งมั่น ยังละอุป-
*กิเลสไม่ได้ เธอไม่สำเหนียกนิมิตนั้น ภิกษุนั้นย่อมไม่ได้ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
และไม่ได้สติสัมปชัญญะ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้เขลา ไม่ฉลาดเฉียบแหลม
ไม่สำเหนียกนิมิตแห่งจิตของตน.
เหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา
ฉลาด เฉียบแหลม ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ จิตย่อมตั้งมั่น ละอุปกิเลสได้
เธอย่อมสำเหนียกนิมิตนั้น ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ...
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ จิตย่อมตั้งมั่น ละอุปกิเลสได้ เธอย่อม
สำเหนียกในนิมิตนั้น ภิกษุนั้นย่อมได้ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และได้สติสัมปชัญญะ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่