✽ ✾ ✿ ❀ ❁ ❃ ❋พระศาสดาตรัสสอนการทำสมาธิ ที่แตกต่างกันของผู้ไม่ได้สดับและผู้ได้สดับ ฉลาดและไม่ฉลาด✽ ✾ ✿ ❀ ❁ ❃ ❋
ปฐมธรรม อานาปานสติ
(ทรงปรารภเหตุที่ ภิกษุทั้งหลายได้ฆ่าตัวตายบ้าง ฆ่ากันและกันบ้าง เนื่องจากเกิดความอึดอัดระอา เกลียดกายของตน . จึงได้ทรงแสดงอานาปานสติสมาธิแก่ภิกษุเหล่านั้น).
ภิกษุทั้งหลาย !
อานาปานสติสมาธินี้แล
อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นของรำงับ
เป็นของประณีต เป็นของเย็น
เป็นสุขวิหาร และย่อมยังอกุศลธรรมอันเป็นบาป อันเกิดขึ้นแล้ว
และเกิดขึ้นแล้ว ให้อันตรธานไป ให้รำงับไป โดยควรแก่ฐานะ.
...................................................................................
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมถือด้วยดี ทำไว้ใน
ใจด้วยดี ใคร่ครวญด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ซึ่งปัจจเวกขณนิมิตด้วยปัญญา
เปรียบเหมือนคนอื่นพึงเห็นคนอื่น คนยืนพึงเห็นคนนั่ง หรือคนนั่งพึงเห็นคนนอน
ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เธอย่อมถือด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ใคร่ครวญด้วยดี
แทงตลอดด้วยดี ซึ่งปัจจเวกขณนิมิตด้วยปัญญา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นการ
เจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ ข้อที่ ๕
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนพ่อครัวผู้เขลา ไม่ฉลาดเฉียบแหลม บำรุง
พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชาด้วยสูปะต่างชนิด มีรสเปรี้ยวจัดบ้าง ขมจัดบ้าง เผ็ดจัด
บ้าง หวานจัดบ้าง มีรสเฝื่อนบ้าง ไม่เฝื่อนบ้าง เค็มบ้าง จืดบ้าง พ่อครัวนั้นไม่สังเกตรสอาหาร
ของตนว่า วันนี้ ภัตและสูปะของเราชนิดนี้ท่านชอบใจ หรือท่านรับสูปะนี้มาก หรือท่านชม
สูปะนี้ วันนี้ ภัตและสูปะของเรามีรสเปรี้ยวจัด ท่านชอบใจ หรือท่านรับสูปะมีรสเปรี้ยวจัด
หรือท่านหยิบเอาสูปะมีรสเปรี้ยวจัดมาก หรือท่านชมสูปะมีรสเปรี้ยวจัด วันนี้ ภัตและสูปะ
ของเรามีรสขมจัด ... มีรสเผ็ดจัด ... มีรสหวานจัด ... มีรสเฝื่อน ... มีรสไม่เฝื่อน ... มีรสเค็ม ...
วันนี้ ภัตและสูปะของเรามีรสจืดท่านชอบใจ หรือท่านรับสูปะมีรสจืด หรือท่านหยิบเอาสูปะ
มีรสจืดมาก หรือท่านชมสูปะมีรสจืด ดังนี้ พ่อครัวนั้นย่อมไม่ได้เครื่องนุ่งห่ม ไม่ได้ค่าจ้าง
ไม่ได้รางวัล ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะพ่อครัวนั้นเป็นคนเขลา ไม่ฉลาดเฉียบแหลม
ไม่สังเกตเครื่องหมายอาหารของตน ฉันใด
ฉันนั้นเหมือนกัน
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เขลา
ไม่ฉลาดเฉียบแหลม ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ จิตย่อมไม่ตั้งมั่น ยังละ
อุปกิเลสไม่ได้ เธอไม่สำเหนียกนิมิตนั้น ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณา
เห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ จิตย่อมไม่ตั้งมั่น ยังละอุป-
*กิเลสไม่ได้ เธอไม่สำเหนียกนิมิตนั้น ภิกษุนั้นย่อมไม่ได้ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
และไม่ได้สติสัมปชัญญะ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้เขลา ไม่ฉลาดเฉียบแหลม
ไม่สำเหนียกนิมิตแห่งจิตของตน.( สมาธินิมิต ปัคคหนิมิต อัพยัคคนิมิตอุเบกขานิมิต)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนพ่อครัวผู้มีปัญญาฉลาด เฉียบแหลม บำรุง
พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชาด้วยสูปะต่างชนิด มีรสเปรี้ยวจัดบ้าง ขมจัดบ้าง เผ็ดจัด
บ้าง หวานจัดบ้าง มีรสเฝื่อนบ้าง ไม่เฝื่อนบ้าง มีรสเค็มบ้าง จืดบ้าง พ่อครัวนั้นย่อมสังเกต
รสอาหารของตนว่า วันนี้ ภัตและสูปะของเราชนิดนี้ ท่านชอบใจ หรือท่านรับสูปะนี้ หรือ
หยิบเอาสูปะนี้มาก หรือท่านชมสูปะนี้ วันนี้ ภัตและสูปะของเรามีรสเปรี้ยวจัด ... วันนี้ ภัต
และสูปะของเรามีรสขมจัด ... มีรสเผ็ดจัด ... มีรสหวานจัด ... มีรสเฝื่อน ... มีรสไม่เฝื่อน ...
มีรสเค็ม ... วันนี้ ภัตและสูปะของเรามีรสจืดท่านชอบใจ หรือท่านรับสูปะมีรสจืด หรือท่าน
หยิบเอาสูปะมีรสจืดมาก หรือท่านชมสูปะมีรสจืด ดังนี้ พ่อครัวนั้นย่อมได้เครื่องนุ่งห่ม ได้ค่า
จ้าง ได้รางวัล ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะพ่อครัวนั้นเป็นคนมีปัญญา ฉลาด เฉียบแหลม
สังเกตรสอาหารของตนฉันใด.
ฉันนั้นเหมือนกัน
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา
ฉลาด เฉียบแหลม
ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ จิตย่อมตั้งมั่น ละอุปกิเลสได้
เธอย่อมสำเหนียกนิมิตนั้น ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ...
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ จิตย่อมตั้งมั่น ละอุปกิเลสได้ เธอย่อม
สำเหนียกในนิมิตนั้น ภิกษุนั้นย่อมได้ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และได้สติสัมปชัญญะ
ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร? เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้
มีปัญญา ฉลาด เฉียบแหลม สำเหนียกนิมิตแห่ง
จิตของตน.( สมาธินิมิต ปัคคหนิมิต อัพยัคคนิมิตอุเบกขานิมิต)
..................................................................................................................
ม้าอาชาไนย
ดูกรสันธะ ! ก็การเพ่งของม้าอาชาไนยย่อมมีอย่างไร
ดูกรสันธะ ! ธรรมดา
ม้าอาชาไนยที่เจริญ ถูกเขาผูกไว้ใกล้รางข้าวเหนียว
ย่อมไม่เพ่งว่า ข้าวเหนียวๆ
ดังนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะม้าอาชาไนยที่เจริญ ถูกเขาผูกไว้ใกล้รางข้าว
เหนียว ย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า
วันนี้ สารถีผู้ฝึกม้าจักให้เราทำเหตุอะไรหนอ
แล เราจะกระทำอะไรตอบเขา ดังนี้ ม้าอาชาไนยนั้น ถูกเขาผูกไว้ใกล้รางข้าว
เหนียว ย่อมไม่เพ่งว่า ข้าวเหนียวๆ ดังนี้
................................................................................................
การเจริญอานาปานสติ อย่าง ม้าอาชาไนย
ฉันทะ ย่อมมีเพราะ, ธรรมทั้งหลายย่อมทนต่อการเพ่งพิสูจน์
.
.
เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
จิตของเราจักตั้งมั่น ดำรงอยู่ด้วยดีในภายใน
และธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วจักไม่ครอบงำจิตได้
ดูกรภิกษุ ! เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล
ดูกรภิกษุ ! เมื่อใด จิตของเธอเป็นจิตตั้งมั่น
ดำรงอยู่ด้วยดีแล้วในภายใน และธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ครอบงำ
จิตได้ เมื่อนั้น เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า.
เ
ราจักพิจารณากายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
ดูกรภิกษุ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล .
ดูกรภิกษุ ! เมื่อใด เธอเจริญกระทำให้มากซึ่ง
สมาธินี้อย่างนี้แล้ว เมื่อนั้น
เธอพึงเจริญสมาธินี้แม้มีวิตกวิจาร
พึงเจริญสมาธินี้แม้ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร พึงเจริญสมาธินี้แม้ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
พึงเจริญสมาธินี้แม้มีปีติ
พึงเจริญสมาธินี้แม้ไม่มีปีติ
พึงเจริญสมาธินี้แม้สหรคตด้วยความสำราญ
พึงเจริญสมาธินี้แม้สหรคตด้วยอุเบกขา
ดูกรภิกษุ ! เมื่อใดเธอเจริญสมาธินี้อย่างนี้ เจริญดีแล้ว เมื่อนั้น
เธอจักเดินไปทางใดๆ ก็จักเดิน
เป็นสุขในทางนั้นๆ ยืนอยู่ในที่ใดๆ ก็จักยืนเป็นสุขในที่นั้นๆ นั่งอยู่ในที่
ใดๆ ก็จักนั่งอยู่เป็นสุขในที่นั้นๆ นอนอยู่ที่ใดๆ ก็จักนอนเป็นสุขในที่
นั้นๆ ฯ
อานาปานสติ อย่างม้าอาชาไนย
.
ความยินดีอันไม่ใช่ของมนุษย์ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้เข้าไปสู่เรือนว่าง
ผู้มีจิตสงบ ผู้เห็นแจ้งธรรมซึ่งโดยชอบ
กุศลมีความไม่เดือดร้อนเป็นผล มีความไม่เดือด
ร้อนเป็นอานิสงส์ ความไม่เดือดร้อน มีความปราโมทย์เป็นผล มีความปราโมทย์
เป็นอานิสงส์ ความปราโมทย์ มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล
มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ สุขมีสมาธิเป็นผล
มีสมาธิเป็นอานิสงส์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสนะเป็นผล
.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ได้ทำความดีงามไว้
ทำกุศลไว้ ได้ทำบุญอันเป็นเครื่องต้านความขลาดกลัวไว้ ไม่ได้ทำบาป
ไม่ได้ทำอกุศลกรรมอันหยาบช้า ไม่ได้ทำอกุศลกรรมอันกล้าแข็ง บุคคล
นั้นย่อมไม่เดือดร้อนว่า เราได้ทำกรรมอันดีงามดังนี้บ้าง ย่อมไม่เดือดร้อนว่า
เราไม่ได้ทำบาปดังนี้บ้าง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม ๒ ประการนี้แล ไม่เป็น
เหตุให้เดือนร้อน
ภิกษุไรๆ ก็ตาม ไม่เจริญ ไม่ทำให้มาก
ซึ่งกายคตาสติแล้ว มารย่อมได้ช่อง ย่อมได้อารมณ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบ
เหมือนบุรุษเหวี่ยงก้อนศิลาหนักไปที่กองดินเปียก ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะ
สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ก้อนศิลาหนักนั้น จะพึงได้ช่องในกองดินเปียกหรือ
หนอ ฯ
ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ได้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล .
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตามเจริญกาย-
*คตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์ ฯ
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทำ
ให้มากแล้ว เธอย่อมถึงความเป็นผู้สามารถในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่ง
อันเป็นแดนที่ตนน้อมจิตไป โดยการทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งนั้นๆ ได้ ในเมื่อ
มีสติเป็นเหตุ .
ปีติและปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น
ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจ.
ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวง.
. ด้วยสามารถความเป็นผู้ระงับกาย
สังขาร. . ปีติและ
ปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น ปีติและปราโมทย์ คือ ความเบิกบาน ความบันเทิง
ความหรรษา ความรื่นเริงแห่งจิต ความปลื้มจิต ความดีใจ ปีตินี้ย่อมปรากฏ
เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจ.
สติย่อมตั้งมั่น ปีตินั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิต
มีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจ. .
ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวง. . ด้วยสามารถความเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจ.ด้วย
.สติย่อมตั้งมั่น ปีติย่อมปรากฏด้วย
สตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อคำนึงถึง ปีตินั้นย่อมปรากฏ
เมื่อรู้ ... เมื่อเห็นเมื่อพิจารณา เมื่ออธิษฐานจิต เมื่อน้อมใจไปด้วยศรัทธา เมื่อประคองความเพียร
เมื่อเข้าไปตั้งสติไว้ เมื่อจิตตั้งมั่น เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา เมื่อรู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้
ยิ่ง เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อละธรรมที่ควรละ เมื่อเจริญธรรม
ที่ควรเจริญ เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ปีตินั้นย่อมปรากฏ เวทนาด้วย(เวทนา 2 เวทนา 3เวทนา 5 เวทนา 6)
สามารถความเป็นผู้รู้แจ้งปีติหายใจออกหายใจเข้าอย่างนี้นั้นปรากฏ
เพราะไม่รู้ธรรม ๓ ประการ จึงไม่ได้ภาวนา นิมิตลม
เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว เพราะรู้ธรรม ๓ ประการ จึงจะได้ภาวนา
.
ธรรม ๓ ประการนี้ เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว เป็นธรรม
ปรากฏ
จิตไม่ถึงความฟุ้งซ่าน 1
จิตปรากฏเป็นประธาน 2
จิตให้ประโยชน์สำเร็จ 3
ประธานเป็นไฉน แม้กาย แม้จิตของภิกษุผู้ปรารภความเพียร
ย่อมควรแก่การงาน นี้เป็นประธาน .
ประโยชน์เป็นไฉน ภิกษุผู้ปรารภความเพียร
ย่อมละอุปกิเลสได้ วิตกย่อมสงบไป นี้เป็นประโยชน์.
.จิตไม่ถึงความฟุ้งซ่าน ปรากฏเป็นประธาน
ยังประโยชน์ให้สำเร็จ และบรรลุถึงผลวิเศษ
เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถ
ลมหายใจออกยาว ปีติและปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น
ผู้ใดไม่บำเพ็ญ ไม่เจริญอานาปาณสติ กายและจิตของผู้นั้น
ย่อมหวั่นไหว ดิ้นรน ผู้ใดบำเพ็ญ เจริญอานาปาณสติดี
กายและจิตของผู้นั้น ย่อมไม่หวั่นไหว ไม่ดิ้นรน ฉะนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
เปรียบเหมือนนายช่างกลึงหรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ขยัน เมื่อชักเชือกกลึงยาว
ก็รู้ชัดว่า เราชักยาว
เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่า เราชักสั้น
นายช่างกลึงชักยาวแบบมัดรวม
หายใจเข้า ออก นับ 1-10 คือรู้ว่าชักยาว
นายช่างกลึงชักสั้น
หายใจเข้า ออก นับ 1-5 คือรู้ว่าชักสั้น
เปิดธรรมที่ถูกปิด การเจริญอานาปานสติ อย่าง ม้าอาชาไนย การเจริญอานาปานสติ อย่าง พ่อครัวผู้ฉลาด
✽ ✾ ✿ ❀ ❁ ❃ ❋พระศาสดาตรัสสอนการทำสมาธิ ที่แตกต่างกันของผู้ไม่ได้สดับและผู้ได้สดับ ฉลาดและไม่ฉลาด✽ ✾ ✿ ❀ ❁ ❃ ❋
ปฐมธรรม อานาปานสติ
(ทรงปรารภเหตุที่ ภิกษุทั้งหลายได้ฆ่าตัวตายบ้าง ฆ่ากันและกันบ้าง เนื่องจากเกิดความอึดอัดระอา เกลียดกายของตน . จึงได้ทรงแสดงอานาปานสติสมาธิแก่ภิกษุเหล่านั้น).
ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติสมาธินี้แล
อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นของรำงับ
เป็นของประณีต เป็นของเย็น
เป็นสุขวิหาร และย่อมยังอกุศลธรรมอันเป็นบาป อันเกิดขึ้นแล้ว
และเกิดขึ้นแล้ว ให้อันตรธานไป ให้รำงับไป โดยควรแก่ฐานะ.
...................................................................................
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมถือด้วยดี ทำไว้ใน
ใจด้วยดี ใคร่ครวญด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ซึ่งปัจจเวกขณนิมิตด้วยปัญญา
เปรียบเหมือนคนอื่นพึงเห็นคนอื่น คนยืนพึงเห็นคนนั่ง หรือคนนั่งพึงเห็นคนนอน
ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เธอย่อมถือด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ใคร่ครวญด้วยดี
แทงตลอดด้วยดี ซึ่งปัจจเวกขณนิมิตด้วยปัญญา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นการ
เจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ ข้อที่ ๕
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนพ่อครัวผู้เขลา ไม่ฉลาดเฉียบแหลม บำรุง
พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชาด้วยสูปะต่างชนิด มีรสเปรี้ยวจัดบ้าง ขมจัดบ้าง เผ็ดจัด
บ้าง หวานจัดบ้าง มีรสเฝื่อนบ้าง ไม่เฝื่อนบ้าง เค็มบ้าง จืดบ้าง พ่อครัวนั้นไม่สังเกตรสอาหาร
ของตนว่า วันนี้ ภัตและสูปะของเราชนิดนี้ท่านชอบใจ หรือท่านรับสูปะนี้มาก หรือท่านชม
สูปะนี้ วันนี้ ภัตและสูปะของเรามีรสเปรี้ยวจัด ท่านชอบใจ หรือท่านรับสูปะมีรสเปรี้ยวจัด
หรือท่านหยิบเอาสูปะมีรสเปรี้ยวจัดมาก หรือท่านชมสูปะมีรสเปรี้ยวจัด วันนี้ ภัตและสูปะ
ของเรามีรสขมจัด ... มีรสเผ็ดจัด ... มีรสหวานจัด ... มีรสเฝื่อน ... มีรสไม่เฝื่อน ... มีรสเค็ม ...
วันนี้ ภัตและสูปะของเรามีรสจืดท่านชอบใจ หรือท่านรับสูปะมีรสจืด หรือท่านหยิบเอาสูปะ
มีรสจืดมาก หรือท่านชมสูปะมีรสจืด ดังนี้ พ่อครัวนั้นย่อมไม่ได้เครื่องนุ่งห่ม ไม่ได้ค่าจ้าง
ไม่ได้รางวัล ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะพ่อครัวนั้นเป็นคนเขลา ไม่ฉลาดเฉียบแหลม
ไม่สังเกตเครื่องหมายอาหารของตน ฉันใด
ฉันนั้นเหมือนกัน
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เขลา
ไม่ฉลาดเฉียบแหลม ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ จิตย่อมไม่ตั้งมั่น ยังละ
อุปกิเลสไม่ได้ เธอไม่สำเหนียกนิมิตนั้น ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณา
เห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ จิตย่อมไม่ตั้งมั่น ยังละอุป-
*กิเลสไม่ได้ เธอไม่สำเหนียกนิมิตนั้น ภิกษุนั้นย่อมไม่ได้ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
และไม่ได้สติสัมปชัญญะ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้เขลา ไม่ฉลาดเฉียบแหลม
ไม่สำเหนียกนิมิตแห่งจิตของตน.( สมาธินิมิต ปัคคหนิมิต อัพยัคคนิมิตอุเบกขานิมิต)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนพ่อครัวผู้มีปัญญาฉลาด เฉียบแหลม บำรุง
พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชาด้วยสูปะต่างชนิด มีรสเปรี้ยวจัดบ้าง ขมจัดบ้าง เผ็ดจัด
บ้าง หวานจัดบ้าง มีรสเฝื่อนบ้าง ไม่เฝื่อนบ้าง มีรสเค็มบ้าง จืดบ้าง พ่อครัวนั้นย่อมสังเกต
รสอาหารของตนว่า วันนี้ ภัตและสูปะของเราชนิดนี้ ท่านชอบใจ หรือท่านรับสูปะนี้ หรือ
หยิบเอาสูปะนี้มาก หรือท่านชมสูปะนี้ วันนี้ ภัตและสูปะของเรามีรสเปรี้ยวจัด ... วันนี้ ภัต
และสูปะของเรามีรสขมจัด ... มีรสเผ็ดจัด ... มีรสหวานจัด ... มีรสเฝื่อน ... มีรสไม่เฝื่อน ...
มีรสเค็ม ... วันนี้ ภัตและสูปะของเรามีรสจืดท่านชอบใจ หรือท่านรับสูปะมีรสจืด หรือท่าน
หยิบเอาสูปะมีรสจืดมาก หรือท่านชมสูปะมีรสจืด ดังนี้ พ่อครัวนั้นย่อมได้เครื่องนุ่งห่ม ได้ค่า
จ้าง ได้รางวัล ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะพ่อครัวนั้นเป็นคนมีปัญญา ฉลาด เฉียบแหลม
สังเกตรสอาหารของตนฉันใด.
ฉันนั้นเหมือนกัน
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา
ฉลาด เฉียบแหลม
ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ จิตย่อมตั้งมั่น ละอุปกิเลสได้
เธอย่อมสำเหนียกนิมิตนั้น ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ...
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ จิตย่อมตั้งมั่น ละอุปกิเลสได้ เธอย่อม
สำเหนียกในนิมิตนั้น ภิกษุนั้นย่อมได้ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และได้สติสัมปชัญญะ
ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร? เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้มีปัญญา ฉลาด เฉียบแหลม สำเหนียกนิมิตแห่ง
จิตของตน.( สมาธินิมิต ปัคคหนิมิต อัพยัคคนิมิตอุเบกขานิมิต)
..................................................................................................................
ม้าอาชาไนย
ดูกรสันธะ ! ก็การเพ่งของม้าอาชาไนยย่อมมีอย่างไร
ดูกรสันธะ ! ธรรมดา
ม้าอาชาไนยที่เจริญ ถูกเขาผูกไว้ใกล้รางข้าวเหนียว ย่อมไม่เพ่งว่า ข้าวเหนียวๆ
ดังนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะม้าอาชาไนยที่เจริญ ถูกเขาผูกไว้ใกล้รางข้าว
เหนียว ย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า
วันนี้ สารถีผู้ฝึกม้าจักให้เราทำเหตุอะไรหนอ
แล เราจะกระทำอะไรตอบเขา ดังนี้ ม้าอาชาไนยนั้น ถูกเขาผูกไว้ใกล้รางข้าว
เหนียว ย่อมไม่เพ่งว่า ข้าวเหนียวๆ ดังนี้
................................................................................................
การเจริญอานาปานสติ อย่าง ม้าอาชาไนย
ฉันทะ ย่อมมีเพราะ, ธรรมทั้งหลายย่อมทนต่อการเพ่งพิสูจน์
.
.
เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
จิตของเราจักตั้งมั่น ดำรงอยู่ด้วยดีในภายใน
และธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วจักไม่ครอบงำจิตได้
ดูกรภิกษุ ! เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล
ดูกรภิกษุ ! เมื่อใด จิตของเธอเป็นจิตตั้งมั่น
ดำรงอยู่ด้วยดีแล้วในภายใน และธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ครอบงำ
จิตได้ เมื่อนั้น เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า.
เราจักพิจารณากายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
ดูกรภิกษุ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล .
ดูกรภิกษุ ! เมื่อใด เธอเจริญกระทำให้มากซึ่ง
สมาธินี้อย่างนี้แล้ว เมื่อนั้น เธอพึงเจริญสมาธินี้แม้มีวิตกวิจาร
พึงเจริญสมาธินี้แม้ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร พึงเจริญสมาธินี้แม้ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
พึงเจริญสมาธินี้แม้มีปีติ
พึงเจริญสมาธินี้แม้ไม่มีปีติ
พึงเจริญสมาธินี้แม้สหรคตด้วยความสำราญ
พึงเจริญสมาธินี้แม้สหรคตด้วยอุเบกขา
ดูกรภิกษุ ! เมื่อใดเธอเจริญสมาธินี้อย่างนี้ เจริญดีแล้ว เมื่อนั้น
เธอจักเดินไปทางใดๆ ก็จักเดิน
เป็นสุขในทางนั้นๆ ยืนอยู่ในที่ใดๆ ก็จักยืนเป็นสุขในที่นั้นๆ นั่งอยู่ในที่
ใดๆ ก็จักนั่งอยู่เป็นสุขในที่นั้นๆ นอนอยู่ที่ใดๆ ก็จักนอนเป็นสุขในที่
นั้นๆ ฯ
อานาปานสติ อย่างม้าอาชาไนย
.
ความยินดีอันไม่ใช่ของมนุษย์ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้เข้าไปสู่เรือนว่าง
ผู้มีจิตสงบ ผู้เห็นแจ้งธรรมซึ่งโดยชอบ
กุศลมีความไม่เดือดร้อนเป็นผล มีความไม่เดือด
ร้อนเป็นอานิสงส์ ความไม่เดือดร้อน มีความปราโมทย์เป็นผล มีความปราโมทย์
เป็นอานิสงส์ ความปราโมทย์ มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล
มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ สุขมีสมาธิเป็นผล
มีสมาธิเป็นอานิสงส์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสนะเป็นผล
.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ได้ทำความดีงามไว้
ทำกุศลไว้ ได้ทำบุญอันเป็นเครื่องต้านความขลาดกลัวไว้ ไม่ได้ทำบาป
ไม่ได้ทำอกุศลกรรมอันหยาบช้า ไม่ได้ทำอกุศลกรรมอันกล้าแข็ง บุคคล
นั้นย่อมไม่เดือดร้อนว่า เราได้ทำกรรมอันดีงามดังนี้บ้าง ย่อมไม่เดือดร้อนว่า
เราไม่ได้ทำบาปดังนี้บ้าง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม ๒ ประการนี้แล ไม่เป็น
เหตุให้เดือนร้อน
ภิกษุไรๆ ก็ตาม ไม่เจริญ ไม่ทำให้มาก
ซึ่งกายคตาสติแล้ว มารย่อมได้ช่อง ย่อมได้อารมณ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบ
เหมือนบุรุษเหวี่ยงก้อนศิลาหนักไปที่กองดินเปียก ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะ
สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ก้อนศิลาหนักนั้น จะพึงได้ช่องในกองดินเปียกหรือ
หนอ ฯ
ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ได้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล .
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตามเจริญกาย-
*คตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์ ฯ
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทำ
ให้มากแล้ว เธอย่อมถึงความเป็นผู้สามารถในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่ง
อันเป็นแดนที่ตนน้อมจิตไป โดยการทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งนั้นๆ ได้ ในเมื่อ
มีสติเป็นเหตุ .
ปีติและปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น
ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจ.
ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวง.
. ด้วยสามารถความเป็นผู้ระงับกาย
สังขาร. . ปีติและ
ปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น ปีติและปราโมทย์ คือ ความเบิกบาน ความบันเทิง
ความหรรษา ความรื่นเริงแห่งจิต ความปลื้มจิต ความดีใจ ปีตินี้ย่อมปรากฏ
เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจ.
สติย่อมตั้งมั่น ปีตินั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิต
มีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจ. .
ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวง. . ด้วยสามารถความเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจ.ด้วย
.สติย่อมตั้งมั่น ปีติย่อมปรากฏด้วย
สตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อคำนึงถึง ปีตินั้นย่อมปรากฏ
เมื่อรู้ ... เมื่อเห็นเมื่อพิจารณา เมื่ออธิษฐานจิต เมื่อน้อมใจไปด้วยศรัทธา เมื่อประคองความเพียร
เมื่อเข้าไปตั้งสติไว้ เมื่อจิตตั้งมั่น เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา เมื่อรู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้
ยิ่ง เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อละธรรมที่ควรละ เมื่อเจริญธรรม
ที่ควรเจริญ เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ปีตินั้นย่อมปรากฏ เวทนาด้วย(เวทนา 2 เวทนา 3เวทนา 5 เวทนา 6)
สามารถความเป็นผู้รู้แจ้งปีติหายใจออกหายใจเข้าอย่างนี้นั้นปรากฏ
เพราะไม่รู้ธรรม ๓ ประการ จึงไม่ได้ภาวนา นิมิตลม
เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว เพราะรู้ธรรม ๓ ประการ จึงจะได้ภาวนา
.
ธรรม ๓ ประการนี้ เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว เป็นธรรม
ปรากฏ
จิตไม่ถึงความฟุ้งซ่าน 1
จิตปรากฏเป็นประธาน 2
จิตให้ประโยชน์สำเร็จ 3
ประธานเป็นไฉน แม้กาย แม้จิตของภิกษุผู้ปรารภความเพียร
ย่อมควรแก่การงาน นี้เป็นประธาน .
ประโยชน์เป็นไฉน ภิกษุผู้ปรารภความเพียร
ย่อมละอุปกิเลสได้ วิตกย่อมสงบไป นี้เป็นประโยชน์.
.จิตไม่ถึงความฟุ้งซ่าน ปรากฏเป็นประธาน
ยังประโยชน์ให้สำเร็จ และบรรลุถึงผลวิเศษ
เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถ
ลมหายใจออกยาว ปีติและปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น
ผู้ใดไม่บำเพ็ญ ไม่เจริญอานาปาณสติ กายและจิตของผู้นั้น
ย่อมหวั่นไหว ดิ้นรน ผู้ใดบำเพ็ญ เจริญอานาปาณสติดี
กายและจิตของผู้นั้น ย่อมไม่หวั่นไหว ไม่ดิ้นรน ฉะนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
เปรียบเหมือนนายช่างกลึงหรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ขยัน เมื่อชักเชือกกลึงยาว
ก็รู้ชัดว่า เราชักยาว
เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่า เราชักสั้น
นายช่างกลึงชักยาวแบบมัดรวม
หายใจเข้า ออก นับ 1-10 คือรู้ว่าชักยาว
นายช่างกลึงชักสั้น
หายใจเข้า ออก นับ 1-5 คือรู้ว่าชักสั้น