เหตุแห่งสมาธิ ถ้าปฏิบัติไม่ได้จะอธิบายกันอย่างไร (ไม่ใช่กระทู้คำถาม)

เหตุแห่งการจะไม่ได้สัมมาสมาธิ เพราะสัตว์โลกโดยปกติเสพคุ้นแต่อกุศล ๓ กันโดยส่วนมาก  พอจะไปประพฤติปฏิบัติธรรมจะถูกนิวรณ์ต่างๆ มันแสดงตัวออกมากลุ้มรุมจิตใจ อุปมาเหมือนคนยากจนถูกทวงหนี้แม้การถูกติดตามชดใช้ดอกเบี้ยก็เป็นทุกข์  และเมื่อไม่เคยได้ยินได้ฟังสดับธรรม มนสิการให้ถูกหลัก ขณะที่กำลังปฏิบัติธรรมก็จะเกิดความหงุดหงิด รำคาญ เดือดร้อน ปรุงแต่งความคิดไปในสิ่งที่แต่ละคนนั้นเสพคุ้น  ดังภาษิตที่ท่านกล่าวว่า 

 ภิกษุทั้งหลาย บุคคลนั้นนั่นแลผู้เป็นคนจนเข็ญใจยากไร้ เมื่อไม่มีศรัทธาใน
กุศลธรรม เมื่อไม่มีหิริในกุศลธรรม เมื่อไม่มีโอตตัปปะในกุศลธรรม เมื่อไม่มีวิริยะ
ในกุศลธรรม เมื่อไม่มีปัญญาในกุศลธรรม ย่อมประพฤติกายทุจริต ประพฤติ
วจีทุจริต ประพฤติมโนทุจริต  เรากล่าวว่าการประพฤติทุจริตเช่นนี้ของเขา เป็นการกู้หนี้

 บาปอกุศลวิตกที่ประกอบด้วยวิปปฏิสาร(ความร้อนใจ) ย่อมครอบงำบุคคลนั้นผู้ไปสู่ป่า 
ไปสู่โคนไม้ หรือไปสู่เรือนว่าง เรากล่าวว่าการถูกบาปอกุศลวิตกครอบงำเช่นนี้ของเขา เป็นการถูกติดตาม

จะเห็นได้ว่าการกู้หนี้ไม่ใช่สิ่งที่ดี ถึงแม้ทางโลกธรรม ๘ จะมีวลีเด็ดที่ตรงข้ามกับพุทธพจน์ว่า "ของมันต้องมี"
แต่ก็แสดงให้เห็นแล้วว่าระบบเศรษฐกิจครัวเรือนในยามนี้แย่แค่ไหนเพราะวลีที่สวนทางนี้ คนแก่ๆที่โดนต้มมาก่อนถึงสอนย้ำว่าอย่าเป็นหนี้จะเป็นลาภ
(ผมยังไม่แก่นะ)  นอกเรื่องมาพอสมควร แต่ก็จะชี้ให้เห็นว่าธรรมมะก็นำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ไม่ได้ขัดแย้งกับวิถีชีวิตแต่อย่างใด

          ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาใช้เงินแก้แบบใจเร็วด่วนได้ไม่ได้ อาจจะไม่ทันใจคนโดยส่วนมาก แต่ต้องใช้วิริยะ อุตสาหะ  ฉันทะ วายามะ ต้องแก้ไปที่ตัวต้นเหตุคือ ดับจากอกุศลธรรม บางท่านก็อาจเรียกสิ่งนี้ว่า ตทังคนิพพาน, สุญญตา, ๆลๆ คือว่าจากกิเลส ก็อยู่ที่ใครจะสะดวกใช้คำศัพท์ตัวไหนในบริบทไหน
ก็จะเป็นเหตุสารตั้งต้นแห่งการได้ความสงบแห่งสมาธิ ดังที่ท่านกล่าว

       ดูกรอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุ
ปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

ท่านแสดงธรรมไปตามลำดับของเหตุ เพราะสงัดจากอกุศลธรรมก่อน จึงบรรลุ ปฐมฌาน   เรียกได้ว่าถ้าใครสร้างเหตุถูกคือมีฉันทะ สัมมัปปธาน ในสัมมาสังกัปปะ ต่อให้ไม่อยากได้สมาธิสมาธิก็จะมาเอง เหมือนบุรุษคั้นน้ำมันจากงาต่อให้ไม่อยากได้น้ำมัน มันก็จะได้น้ำมันอยู่ดี เพราะเหตุคือไม่ได้ไปคั้นมาจากทราย    
**เกร็ดเล็กน้อยนอกประเด็นตรงนี้ในสังคมนักภาวนาก็มีประเด็นถกเถียงแยกย่อยยิบเยอะ ว่ามีอรหันต์แบบไม่มีทรงอารมณ์ฌานไหม?    หรือว่าประเด็นถ้ารู้ตรงนี้คือพวกบรรลุเร็ว ?    จขกท คิดว่าพระอริยะบุคคลทุกท่านต้องผ่านสัมมาสังปะอยู่แล้ว  ประเด็นเหล่านั้นเอาไว้เป็นสีสันในการถกเถียง แต่ไม่ใช่สาระของกระทู้นี้


จุดแรกที่คุยไปคือ ปฐมฌาน ซึ่งที่หลายท่านได้ทราบดีแล้วว่าเพียงพอในการบรรลุธรรม จะกล่าวถึงในย่อหน้าถัดไป
ในเรื่องของ ทุติยฌาน ตติยฌาน นั้นเป็นเรื่องของผู้กำลังน้อมไปในธรรมที่ปราณีตยิ่งขึ้น อุปมาเหมือนว่าผู้ได้ ปฐมฌาน จิตย่อมมีฉันทะในปฐมฌานและเห็นว่ามีธรรมที่ปราณีตยิ่งกว่า กาม นั้นมีอยู่   ในเรื่องของผู้ที่ได้ทุติยฌาน ตติฌาน ๆลๆ นั้นก็มีใจน้อมไปเช่นนั้น ดังที่ท่านกล่าว

 ‘ได้ยินว่า ธรรมเหล่านี้ที่ยังไม่มีก็มีขึ้น ที่มีแล้ว
ย่อมดับไป’ เธอจึงไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสอาศัยไม่ได้ อันกิเลสพัวพันไม่ได้
หลุดพ้นแล้ว พรากได้แล้วในธรรมเหล่านั้น มีจิตที่ฝึกให้ปราศจากเขตแดนคือ
กิเลสได้แล้วอยู่ สารีบุตรนั้นรู้ชัดว่า ‘การสลัดทุกข์ที่สูงๆ ขึ้นไป ยังมีอยู่’ 

ขยายความในส่วนแรก พระสารีบุตรนั้น ท่านเห็นทุกขสมุทัย และ ทุกขนิโรธ เสพสมาธิเป็นวิหารแต่ไม่สยบมัวเมา
และในความส่วนที่สอง คือที่ได้กล่าวไปในตอนต้นเรื่องของผู้มีกำลังโน้มไประดับสมาธิที่สูงขึ้นอยู่วิหารในธรรมนั้น

แล้วถ้าเป็นพวก ทุกขาปฏิปทา ทำสมาธิไม่ได้นั้นทำอย่างไร? 
ในส่วนนี้ก็กล่าวว่า ก็ต้องมีฉันทะ วายามะ ในการละอกุศล ๓ เหมือนด้านบนไม่มีผิดเลย พระอริยะบุคคลทุกท่านต้องผ่านด่านสัมมาสังกัปปะ เพราะเป็นมรรคข้อที่ ๒ จาก ๘ ข้อ และเป็น ปัญญา เป็น ศีลที่เกิดจากปัญญา(แตกย่อยไปในเรื่องของ อริยขันธศีล)
ถ้าจะกล่าวบทนำในเรื่องนี้ ต้องยก กิมัตถยสูตร เข้ามาประกอบอธิบายให้เห็นภาพ เพราะเป็นขั้นตอนวิธีที่ทรงอธิบายจนถึงอรหัตผล

1.ศีลที่เป็นกุศล มีอวิปปฏิสารเป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์ ฯ
2. อวิปปฏิสารมีปราโมทย์เป็นผล มีปราโมทย์เป็นอานิสงส์ ฯ
3. ปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์ ฯ
4. ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ฯ
5. ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ ฯ
6. สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์ ฯ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เรื่องของ อวิปปฏิสาร วิปปฏิสาร ก็ได้กล่าวอธิบายไว้แล้วในส่วนของการทวงหนี้   ปราโมทย์ ปิติ สุข ถ้าโดยย่อก็คือย่อมาเหลือคำเดียวก็ได้จะใช้คำว่าสุข หรือ ปิติ ก็อธิบายในบริบทที่ผู้ส่งสารกับผู้รับสารจะเข้าใจตรงกัน ครูบาอาจารย์ท่านสอนว่าปฏิธรรมต้องมีสุข ท่านก็พยายามสื่อถึงความไม่มีวิปปฏิสารตัวนี้แหละเป็นเหตุ   เพราะมีสุขก็จะเกิดจิตตั้งมั่นขึ้นมา  ธรรมจากเหตุก็ไหลไปสู่ธรรม
ก็เป็นการอธิบายไปในตัวว่า ทุกขาปฏิปทา บรรลุได้อย่างไร  คนในครั้งพุทธกาลเหตุใดจึงฟังธรรมแล้วบรรลุธรรมได้
เรื่องนี้ถ้าพูดอีก ก็อธิบายได้เพิ่มอีก ว่าเหตุใดพระพุทธองค์ ท่านจึงแนะนำให้แสดงธรรมด้วยสัมมาวาจาด้วยองค์ ๕ คือ 
 1) เราจักแสดงธรรมไปตามลำดับ    2) เราจักแสดงอ้างเหตุผล    3) เราจักแสดงธรรมอาศัยความเอ็นดู      4) เราจักเป็นผู้ไม่เพ่งอามิสแสดงธรรม  5) เราจักไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น
เพราะทั้งผู้แสดง และ ผู้ฟังธรรม สามารถโน้มไปในปิติ ปราโมทย์ เป็นเหตุให้จิตตั้งมั่น  มากกว่าแสดงธรรมไปตามอำนาจแห่งการเบียดเบียน หรือ ตามอำนาจอกุศล ที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไร ผลที่ได้ผู้ฟังก็เกิดอกุศลจิตตามมา(่ลบหลู่ท่าน ดูหมื่นท่าน)
การแสดงธรรมแบบนี้ทรงตรัสว่าทำได้ยาก ไม่ใช่ได้โดยง่าย เพราะวางจิตยากทุกข้อ

กลับเข้ามาที่ประเด็น อรรถกถา ก็ได้อธิบายไว้แล้วว่าอนันตริยกรรมไม่บรรลุธรรมก็เพราะการเกิดวิปปฏิสารนี่แหละ ไม่ใช่ธรรมที่จะมองข้ามได้ทั้งสุขขาปฏิปทา และ ทุกขาปฏิปทา    การละกุศล และ อกุศล ก็ได้อธิบายแล้ว ว่าการจะเป็นพระอริยะบุคคนั้นต้องภาวนาเรื่องนี้  พระไตรปิฏกนั้นถ้าดูเนื้อหาดีๆจะเน็นไปที่คำสองคำนี้มากๆ คือ เจริญกุศล และ ละอกุศล เพราะมันคือมรรควิธี เป็นทั้ง โอวาทปาฏิโมกข์ ดังที่ท่านกล่าว

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความตั้งอยู่
มิใช่ความเสื่อมอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา
ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณเท่าไร ธรรมเหล่านั้นของภิกษุย่อมไม่ตั้งอยู่
ย่อมไม่เสื่อม ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวข้อนี้ว่า เป็นความเจริญในกุศลธรรม
ทั้งหลาย มิใช่ความตั้งอยู่ มิใช่ความเสื่อม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเจริญ
ในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความตั้งอยู่ มิใช่ความเสื่อม อย่างนี้แล ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย หากว่าภิกษุไม่เป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของผู้อื่นไซร้ เมื่อเป็นอย่างนั้น
ภิกษุนั้นพึงศึกษาว่า เราจักเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของตน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ


แล้วถามว่าถ้าไม่ทำสมาธิจะมีอุบายเจริญกุศลได้อย่างไร  ก็กลับไปที่เรื่องเบสิคเลย คือ ทาน ศีล ภาวนา  หรือที่ขาดไม่ได้คือเรื่อง อนุสติ ๑๐
เพียงแต่อุบายจะมีมุมที่ลึกขึ้นขอยกตัวอย่างเช่นว่า

 อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงเทวดาว่า “เทวดาชั้นจาตุมหาราช ชั้น
ดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี เทวดาที่นับเนื่องใน
หมู่พรหม เทวดาชั้นที่สูงกว่านั้นขึ้นไปมีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด
จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น แม้ตัวเราก็มีศรัทธาเช่นนั้นอยู่พร้อม เทวดาเหล่านั้น
ประกอบด้วยศีลเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น แม้ตัวเราก็มีศีลเช่นนั้นอยู่พร้อม
เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยสุตะเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น แม้ตัวเราก็มีสุตะ
เช่นนั้นอยู่พร้อม เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยจาคะเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพ
นั้น แม้ตัวเราก็มีจาคะเช่นนั้นอยู่พร้อม เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยปัญญาเช่นใด
จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น แม้ตัวเราก็มีปัญญาเช่นนั้นอยู่พร้อม” เมื่อเธอระลึกถึง
ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาทั้งของตนและของเทวดาเหล่านั้นอยู่ จิตย่อม
ผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้

การระลึกถึงเทวดา ไม่ใช่เหมือนอย่างที่หลายๆคนเข้าใจกัน แต่เป็นการระลึกแบบเทียบกับความดีในตนแล้วเปิดความปราโมทย์
มันเข้ามาในมุมของ สีลานุสติ เเบบนี้เป็นต้น ภาษาที่นักภาวนาใช้กันคือ หน่วงปิติ เข้ามา เรื่องอนุสตินี้สำคัญ เพราะเกี่ยวข้องกับ วิปปฏิสาร โดยตรง
อย่างไรเสียก็อ่านเรื่อง อุโปสถสูตร กันในภายหลัง ก็จะเห็นมุมที่ละเอียดแยบคายมากยิ่งๆขึ้น จะช่วยเรื่องของการได้เป็นผู้สดับได้ดียิ่งขึ้น

สรุป

จะเห็นได้ว่าส่วนของผู้ภาวนาจะได้ฌาน หรือ ไม่ได้ ญาน นั้นมีจุดต่างจุดเหมือนตรงไหน   ส่วนที่ จขกท อธิบายนั้นจะเป็นเรื่องกรรมในปัจจุบัน 
คือมีฉันทะ วายามะ ในการละอกุศล เพียรเสริมสร้างกุศล ทำให้กุศลที่มีอยู่ตั้งมั่น  ไม่ได้อธิบายโยนไปรอชาติหน้าว่าถึงจะบรรลุ จขกท คิดว่าเป็นการคิดแบบผู้ประหมาดมากเพราะเกิดไปดีก็ดี เกิดไปเป็นแบบ ปลากปิละ ก็ไม่มีอะไรรับประกันว่าจะไม่เป็นแบบนั้นธรรมมะพระศาสดานั้นไม่เนิ่นช้า
      ถ้าถามว่า จขกท ทำสมาธิใช้บริกรรมใด  ใช้ยานลำไหน  ก็ตอบด้วยกระทู้นะครับ

แทรกเรื่อง พอได้พิจารณาเรื่อง ปลากปิละ ก็เป็นอีกกรณีที่อยู่ในเขตศาสนาแล้วได้เสวยทุกขเวทนาข้ามพุทธันดรแล้วยังไม่หมดกรรม (ก็ไม่รู้ผ่านมากี่กัปแล้ว)
อีกเคสนึงที่จำได้คือกรณีเปรตพระเจ้าพิมพิสาร ทุกขเวทนา นั้นเจ็บแสบ แผดร้อน เกินบรรยาย



แมวหมดมุขจะคุยแระกั้ป มีความสามารถแค่นี้
พาพันเศร้า
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่