ว่าด้วย ธรรมไหลไปสู่ธรรม....

โดยไม่ต้องมีใครเจตนา๑

      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !  เมื่อมีศีลสมบูรณ์แล้ว ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า “อวิปปฏิสาร 
จงบังเกิดแก่เรา”. 
      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้เป็นธรรมดา ว่า เมื่อมีศีลสมบูรณ์แล้ว 
อวิปปฏิสารย่อมเกิด (เอง). 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !  เมื่อไม่มีวิปปฏิสาร ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า “ปราโมทย์จง
บังเกิดแก่เรา”. 
      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้เป็นธรรมดา ว่า เมื่อไม่มีวิปปฏิสาร 
ปราโมทย์ย่อมเกิด (เอง). 

      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !  เมื่อปราโมทย์แล้ว ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า “ปีติจงบังเกิดแก่
เรา”. 
      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้เป็นธรรมดา ว่า เมื่อปราโมทย์แล้ว ปีติย่อมเกิด (เอง). 

      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !  เมื่อมีใจปีติแล้ว ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า “กายของเราจง
รำงับ”. 
      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้เป็นธรรมดา ว่า เมื่อมีใจปีติแล้ว กายย่อมรำงับ (เอง). 

      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !  เมื่อกายรำงับแล้ว ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า “เราจงเสวยสุขเถิด”. 

      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้เป็นธรรมดา ว่า เมื่อกายรำงับแล้ว ย่อมได้เสวยสุข 
(เอง). 

      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !  เมื่อมีสุข ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า “จิตของเราจงตั้งมั่นเป็นสมาธิ”.

      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้เป็นธรรมดา ว่า เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิ (เอง). 

      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !  เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า “เราจงรูจงเห็นตามที่เป็นจริง”.  

      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้เป็นธรรมดา ว่า เมื่อจิต ตั้งมั่นเป็น
สมาธิแล้ว ย่อมรู้ ย่อมเห็นตามที่เป็นจริง (เอง). 

      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !  เมื่อรู้อยู่เห็นอยู่ตามที่เป็นจริง ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า “เราจง
เบื่อหน่าย”  

      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้เป็นธรรมดา ว่า เมื่อรู้อยู่เห็นอยู่ตามที่ เป็นจริง 
ย่อมเบื่อหน่าย (เอง). 

      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !  เมื่อเบื่อหน่ายแล้ว ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า “เราจงคลาย
กำหนัด”. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้เป็นธรรมดา ว่า เมื่อเบื่อหน่ายแล้ว ย่อมคลายกำหนัด (เอง). 

      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !  เมื่อจิตคลายกำหนัดแล้ว ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า “เราจง
ทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติญาณทัสสนะ”.  

      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้เป็นธรรมดา ว่าเมื่อคลาย
กำหนัดแล้ว ย่อมทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติญาณทัสสนะ (เอง). 

      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ด้วยอาการอย่างนี้แล วิราคะ ย่อมมี วิมุตติญาณทัสสนะ เป็น
อานิสงส์ ที่มุ่งหมาย ; 
นิพพิทา ย่อมมีวิราคะเป็นอานิสงส์ ที่มุ่งหมาย ; 
ยถาภูตญาณทัสสนะ ย่อมมีนิพพิทาเป็นอานิสงส์ ที่มุ่งหมาย ; 
สมาธิ ย่อมมียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ ที่มุ่งหมาย ; 
สุข ย่อมมีสมาธิเป็นอานิสงส์ ที่มุ่งหมาย ; 
ปัสสัทธิ ย่อมมีสุขเป็นอานิสงส์ ที่มุ่งหมาย ; 
ปีติ ย่อมมีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ที่มุ่งหมาย; 
ปราโมทย์ ย่อมมีปีติเป็นอานิสงส์ ที่มุ่งหมาย; 
อวิปปฏิสาร(ความไม่เดือดร้อนใจ)ย่อมมีปราโมทย์เป็นอานิสงส์ ที่มุ่งหมาย; 
ศีลอันเป็นกุศล ย่อมมีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์ ที่มุ่งหมาย. 

      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !  ด้วยอาการอย่างนี้แล ธรรมย่อมไหลไปสู่ธรรม; 
ธรรมย่อมทำธรรมให้เต็ม เพื่อการถึงซึ่งฝั่ง (คือนิพพาน) จากที่มิใช่ฝั่ง (คือสังสาระ) ดังนี้. 
      - สูตรที่ ๑ อานิสังสวรรค ทสก. อํ. ๒๔/๒/๒
-
      ⚖️จะเป็นก็ชั่ง ไม่เป็นก็ชั่ง มันเป็นไปเอง. 🥔🍠
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่