ทาน กับ สติปัฏฐาน

ทาน (รวมถึง สีลนุสติ หรือการประกอบอธิจิต) 
สามารถโยงเข้ามาหมวดสติปัฏฐาน (ซึ่งโดยมากจะกล่าวกันแต่ในมุมสมาธิ)
เพียงแต่ต้องการๆมนสิการที่ถูก หรือ เรียกว่าเป็นผู้ที่ได้สดับ

-ทรงไม่ห้ามปิติ และ ปราโมทย์ แต่สรรเสริญในการศึกษาในกุศลธรรมนั้นเสียตลอดวันตลอดคืน
(ให้อยู่กับสุข)
จูฬราหุโลวาทสูตร  กล่าวถึง กรรมบถหรือ สุจริต ๓
(ซึ่งหมวดทาน ก็เป็นกุศล สุจริต ๓ อยู่ภายในหมวดสุจริตนี้นอกเหนือจากมุมของศีล)

แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เราปรารถนาจะทำกรรมใด/
แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เราทำกรรมใด/
แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เราได้ทำแล้วซึ่งกรรมใด/

กรรมของเรานี้ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง ไม่เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
และเพื่อไม่เบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง กายกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากดังนี้ไซร้ 
เธอพึงทำ/
เธอพึงเพิ่มกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมนั้นแหละ/
เธอพึงมีปีติและปราโมทย์ ศึกษาในกุศลธรรมทั้งกลางวันและกลางคืนอยู่ด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมนั้นแหละ/








แต่ถ้าจะโยงมาว่าเป็นสติปัฏฐานได้อย่างไร ต้องยึดตามพุทธโธวาทเรื่อง อวิชชาสูตร....


แม้สติปัฏฐาน ๔ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร
มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของสติปัฏฐาน ๔ ควรกล่าวว่า สุจริต ๓
แม้สุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของ
สุจริต ๓ ควรกล่าวว่า การสำรวมอินทรีย์


กล่าวยาวไปถึงกระทั่ง....

(การหน่วงกุศลละอกุศลคือการเจริญสติ)
 ก็อะไรเป็นอาหารของสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า การทำไว้ในใจ
โดยแยบคาย แม้การทำไว้ในใจโดยแยบคายเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่า
ไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ควรกล่าวว่า
ศรัทธา แม้ศรัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็น
อาหารของศรัทธา ควรกล่าวว่า การฟังสัทธรรม



การฟังสัทธรรมซึ่งก็คือการได้สดับในธรรมเป็นอีกชื่อหนึ่ง...
เป็นข้อที่แตกต่างของบุญภายในศาสนานี้กับลัทธิหรือโลกธาตุในกัปอื่น



การแทงตลอดรู้ชัดใน อกุศลมูล และ กุศลมูล

ซึ่งก็คือการแทงตลอดในเรื่องของกรรม  และกรรมคือรางเหง้าของสังโยชน์ (จัดเป็นผู้มีปัญญาดีแล้ว)
ดั่งที่พระองค์ตรัสว่า เรากล่าวว่า ปานาติบาตคือสังโยชน์    เรากล่าวว่าอทินนาทานา คือสังโยชน์ ๆลๆ
 การแทงตลอดในเรื่องของกรรม ก็คือ แทงตลอดในเรื่องของปฏิจจสมุปปบาท


โดยหัวใจของเรื่อง คือ การไม่มีวิปฏิสาร อยู่กับ ปิติ มีกุศลก็รู้ว่ามีกุศล (สติปัฏฐาน)
การละอกุศล  เจริญกุศล คือ วิตักสัณฐาน คือ สังกัปปะ คือ สัมมาทิฏฐิ
การละอกุศล เป็นความเพียรเผากิเลส    แม้แต่ตอนนอน ก็ชื่อว่าเผากิเลสอยู่
การครุ่นคิด ไถ่ถอนความคิดที่มันแย่ๆ ที่มันชวนลงต่ำการมีปกติเห็นโทษ คือการเผากิเลส
หรือการไม่มีเพื่อน ๒ ก็ว่า    (มันคือการเจริญสติใน process อยู่แล้ว)



อย่าประมาณในบุคคล ในสายบุญ(ซึ่งไม่น่าจะใช่ผม) เขาก็อยู่กับปิติ จิตใจแช่มชื่น อิ่มเอิบ
เพราะคนที่อยู่กับปิติ นี่ เข้าใกล้ มรรคมากๆ   ยิ่งถ้าเขามีการประกอบสุจริต ๓ นี่เหมือนหาเรื่องใส่ตัวเอง
เพียงแต่ว่าเขาเหล่านั้นเป็นพ่อครัวผู้ฉลาดหรือไม่ ก็คืออีกเรื่องหนึ่ง

ไม่ได้สอนใครครับ แค่อยากกล่าวธรรมลอยๆ (หรือ อาจจะเชิญให้ผู้อื่นกล่าว)








 ภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริตในเวลาเย็น เวลาเย็นก็เป็นเวลาที่ดีของสัตว์เหล่านั้น
 สัตว์ทั้งหลายประพฤติชอบในเวลาใด เวลานั้นชื่อว่าเป็นฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี ขณะดี ยามดี และบูชาดีในพรหมจารีบุคคล
.... ท่านเหล่านั้นได้ประโยชน์แล้ว จงได้รับความสุข. งอกงามในพุทธศาสนา จงไม่มีโรค
              ถึงความสุขพร้อมด้วยญาติทั้งมวล
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่