ปริยัติ กับ ปฎิบัติ

พระพุทธเจ้าองค์เดียวกันแต่เข้าใจไม่เหมือนกัน ผมมองว่าคนศึกษาศาสนาพุทธมี 2 แบบ


1. ปริยัติ อ่านจำฟังมา และ ยึดติดกับคำสอนเป็นหลักและปฎิบัติ และมักพิจารณาการกระทำหรือ สภาวะภายนอกเป็นหลัก ผมมองว่าเรื่องของเปลือก ซึ่งเป็น รูปธรรม


2. ปฎิบัติ ทำตามคำสอนของผู้ปฎิบัติเป็นหลักและอ่าน(ปริยัติ) และ มักพิจารณา เจตนา หรือ สภาวะภายในเป็นหลัก ซึ่งเป็น นามธรรม


ผมมองว่าธรรมของทั้ง 2 แบบนี้ เมื่อมีการแสดงธรรม จึงแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เช่น วจีกรรม 


ผู้ที่เป็นแบบที่ 1 จะมองว่า สัมมาวาจา ถึงจะถูกต้อง ซึ่งแท้จริงแล้ว สิ่งนั้นเรียกว่ามารยาท ไม่ใช่ความถูกต้องที่แท้จริง มิใช่การบ่งบอกว่านี่คือ วจีสุจริตหรือทุจริต สัมมาวาจาคือเจตนาที่เป็นสัมมา ไม่ใช่ คำสุภาพที่เรียกว่ามารยาทแล้วมาตีความว่านี่คือสัมมาวาจา ผมมองว่าแบบนี้คือ มิจฉาทิฏฐิ หลงยึดมั่นถือมั่นตามตำราว่านี่คือถูก ซึ่งผมมองว่าควรมองไปตามเนื้อผ้าว่า อันไหนธรรม อันไหน มารยาทธรรม


ผู้ที่เป็นแบบที่2 จะมองที่เจตนา เพราะคำว่า วจีกรรม คือเจตนา มิใช่มารยาทความสุภาพ มันคนละเรื่องกันสำหรับผม เพราะต่อให้ใช้คำพูดปิยวาจาแค่ไหน แต่เจตนาจะทำร้ายเค้า เจตนาชั่วก็คือชั่ว แบบนี้จะเรียกว่า วจีสุจริตหรือสัมมาวาจาได้อย่างไร  และไม่ใช่สัมมาด้วยครับ


ซึ่งเราจะเห็นกันอยู่ว่าตอนนี้ คนพูดจาดีเจตนาชั่ว กับ คนพูดชั่วเจตนาดี ณ ปัจจุบัน ในสิ่งที่บุคคลนั้นๆพูด มีอยู่เต็มไปหมด


เมื่อพิจารณาตามนี้แล้ว เมื่อมีผู้แสดงธรรม ผมฟังแล้วจึงมองว่า มันแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง


แล้วท่านทั้งหลายมีความเห็นกันอย่างไรบ้างครับ

อัพเดทครับ ผมงงกับหลายคอมเม้นท์มากๆนะครับ ผมเอาทั้ง2บริบทมาแจกแจง เพื่อ สรุปคำว่า วจีกรรม ครับ กรุณาหยุดความคิดปรุงแต่งด้วยครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่