สมาธิอันมีสัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะที่เป็นองค์ประกอบ เป็นสัมมาสมาธิอันเป็นอริยะหรือไม่

กระทู้คำถาม
จุดประสงค์ที่พระพุทธองค์ทรงตรัส มหาจัตตารีสกสูตร
พระองค์ต้องการให้เรารู้อะไร ทราบอะไร
ซึ่งพระองค์ทรงยก สัมมาสมาธิอันเป็นอริยะ ขึ้นเป็นบทตั้ง
แล้วทรงอธิบายว่าสัมมาสมาธิอันเป็นอริยะ ประกอบด้วยองค์ 7
แล้วทรงอธิบายอีกว่า สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ แบ่งเป็นที่ยังเป็นสาสวะ กับที่เป็นอนาสวะ
ส่วน สัมมาวายามะ สัมมาสติ  นั้น โดยนัยก็เป็นสาสวะ หรืออนาสวะ
ตามองค์ที่ประกอบร่วมกัน ว่าเป็น สาสวะ หรือ อนาสวะ

สมาธิอันมีสัมมาทิฏฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นสัมมาสมาธิอันเป็นอริยะหรือไม่

เทียบ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ในมหาสติปัฏฐานสูตร
กับ ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ จึงเป็นพระอรหันต์ผู้ประกอบ
ด้วยองค์ ๑๐ มหาจัตตารีสกสูตร

ในมหาจัตตารีสกสูตร สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ และสัมมาสติ 3 องค์นี้
ท่านว่าเป็นองค์แวดล้อมในของแต่ละองค์ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ (โดยสัมมาทิฏฐิเป็นองค์แวดล้อมตัวเองด้วย)
โดยองค์ 5 ที่เป็นฝ่ายสัมมาฯ ก็แบ่องออกอีกเป็น 2 ฝ่าย หรือ สัมมาฝ่ายยังมีอาสวะ
กับสัมมาที่ไม่มีอาสวะ
และ 5 องค์นี้ก็จะแวดล้องด้วยองค์ 3 ข้างต้นโดย
ท่านว่าสัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า คือ ทำหน้าที่ตัดสินให้รู้ว่าเป็นสัมมาหรือมิจฉา
ส่วนสัมมาวายามะ และสัมมาสติ เป็นสัมมาหรือมิจฉาตามทิฏฐิไปด้วยอัตโนมัติ

ส่วนทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ในมหาสติปัฏฐานสูตร
สัมมาสังกัปปะท่านว่า  คือ ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการไม่พยาบาท ความดำริ
ในการไม่เบียดเบียน นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ

ส่วนในมหาจัตตารีสกสูตร ท่านว่า
[๒๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วน
แห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์เป็นไฉน คือ ความดำริในเนกขัมมะ ดำริในความไม่
พยาบาท ดำริในความไม่เบียดเบียน นี้สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วน
แห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ
[๒๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความตรึก ความวิตก
ความดำริ ความแน่ว ความแน่ ความปักใจ วจีสังขาร ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก
มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรคเจริญอริยมรรคอยู่ นี้แล สัมมาสังกัปปะ
ของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ

จะเห็นว่า สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ ในมหาจัตตารีสกสูตร
เหมือนกับในสัมมาสังกัปปะใน มหาสติปัฏฐานสูตร
ดังนั้น สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ ในมหาจัตตารีสกสูตร ก็น่าจะเป็น
องค์แห่งอริยมรรคมีองค์8 อันเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ในมหาสติปัฏฐานสูตรด้วย
ดังนั้น คำว่าเป็นองค์มรรค ในข้อ 263 ที่ยกมา
น่าจะหมายถึง อรหันตมรรค หรือมรรคที่สมบูรณ์ เต็มที่แล้ว
และยังมีข้อความตอนท้ายๆ ในมหาจัตตารีสกสูตร ว่า
ภิกษุทั้งหลาย พระเสขะ ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ จึงเป็นพระอรหันต์ผู้ประกอบ
ด้วยองค์ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้(คือมีสัมมาญาณะ กับสัมมาวิมุติ เพิ่มเข้ามาอีก)

///

มหาสติปัฏฐานสูตร
 
[๑๓๕] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นอย่างไร
             คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นแล ได้แก่
                          ๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ)
                          ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
                          ๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ)
                          ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
                          ๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ)
                          ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
                          ๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ)
                          ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)
             สัมมาทิฏฐิ เป็นอย่างไร
             คือ ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ใน
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ
             สัมมาสังกัปปะ เป็นอย่างไร
             คือ ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการไม่พยาบาท ความดำริ
ในการไม่เบียดเบียน นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ
             สัมมาวาจา เป็นอย่างไร
             คือ เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ เจตนางดเว้นจากการพูดส่อเสียด เจตนา
งดเว้นจากการพูดคำหยาบ เจตนางดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า สัมมาวาจา
             สัมมากัมมันตะ เป็นอย่างไร
             คือ เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เจตนางดเว้นจากการลักทรัพย์ เจตนางด
เว้นจากการประพฤติผิดในกาม นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ
             สัมมาอาชีวะ เป็นอย่างไร
             คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ละมิจฉาอาชีวะแล้ว สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วย
สัมมาอาชีวะ นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ
             สัมมาวายามะ เป็นอย่างไร
             คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต
มุ่งมั่นเพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น สร้างฉันทะ พยายาม
ปรารภ ความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว สร้าง
ฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อทำกุศลธรรมที่ยัง
ไม่เกิดให้เกิดขึ้น สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่
เกิดขึ้นแล้ว๑- นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ
             สัมมาสติ เป็นอย่างไร
             คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย
อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา
และโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ นี้เรียกว่า สัมมาสติ
             สัมมาสมาธิ เป็นอย่างไร
             คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุ
ทุติยฌานที่มีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มี
แต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา
มีสติ อยู่เป็นสุข’ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว
บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า
สัมมาสมาธิ
             นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
 
/////
 
มหาจัตตารีสกสูตร
 
[๒๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวสัมมาสังกัปปะเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็น
ส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมาสังกัปปะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ
             [๒๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วน
แห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์เป็นไฉน คือ ความดำริในเนกขัมมะ ดำริในความไม่
พยาบาท ดำริในความไม่เบียดเบียน นี้สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วน
แห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ
             [๒๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความตรึก ความวิตก
ความดำริ ความแน่ว ความแน่ ความปักใจ วจีสังขาร ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก
มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรคเจริญอริยมรรคอยู่นี้แล สัมมาสังกัปปะ
ของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ
             ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาสังกัปปะ เพื่อบรรลุสัมมาสังกัปปะ
ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ
             ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาสังกัปปะได้ มีสติบรรลุสัมมาสังกัปปะอยู่ สติ
ของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ ฯ
             ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมา-
*สติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาสังกัปปะ ของภิกษุนั้น ฯ
 
///////
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่