สวัสดีครับ วันนี้ผมอยากมาแบ่งปันพร้อมทั้งปรึกษาทั้งผู้ที่ปริยัติและปฏิบัติทุกท่าน ตัวผมได้ศึกษาและปฏิบัติตามแนวทางพุทธศาสนามาประมาณ 2 ปีกว่าๆแล้ว รู้สึกว่าการทำสมาธิไม่ค่อยก้าวหน้านัก ผมเลยลองศึกษาอย่างจริงจังว่าธรรมบทไหนที่จะส่งเสริมการปฏิบัติได้หรือไม่ และนี่คือข้อสรุปที่ผมได้รวบรวมมาจากความคิดเห็นส่วนตัวบวกกับการได้ยินได้ฟังครูบาอาจารย์มานะครับ แนวทางของผมมีดังนี้ครับ
1.สมาธิจะเกิดได้ ต้องดับนิวรณ์ 5 ให้ได้ ดังนั้นเราต้องรู้จักมัน และ เรียนรู้มันก่อน (หา search ได้ทั่วไป)
2.นิวรณ์ 5 อาศัยปัจจัยในการเกิด คือการที่เรายังทำทุจริต 3 อยู่ (ทุจริตทางกาย/วาจา/ใจ)
3.ธรรมที่ทำให้ทุจริต 3 เจริญคือ อกุศลกรรมบถ 10 (มี 10 ข้อ หา search ได้ทั่วไป)
4.การถอน อกุศลกรรมบถ 10 ออกต้องเจริญธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อมัน คือ กุศลกรรมบถ 10
โดย กุศลกรรมบถ 10 มีดังนี้
1.ไม่ฆ่าสัตว์
2.ไม่ลักทรัพย์
3.ไม่ประพฤติผิดในกาม
4.ไม่พูดโกหก
5.ไม่พูดส่อเสียด
6.ไม่พูดคำหยาบ
7.ไม่พูดเพ้อเจ้อ
8.ไม่โลภอยากได้ทรัพย์ของผู้อื่น
9.ไม่คิดพยาบาท
10.มีสัมมาทิฐิ(ซึ่งก็มีย่อยลงไปอีก 10 ข้อ)
และจากการวิเคราะห์ของผมเอง ตัวกุศลกรรมบถ 10 นี้จะครอบคลุมมากกว่าศีล 5 แต่จะไม่มีข้อห้ามดื่มสุรา
(ประเด็นศีล 5 ค่อนข้างละเอียดอ่อน ไม่ขอพูดถึง มีนักวิชาการหลายๆท่านได้ศึกษาและตีความพระไตรปิฎกอธิบายไว้หลายความเห็น
แนะนำให้เปิดใจกว้างๆ และลองศึกษาจากงานเขียนของ ดร.นพ. มโน ก็ได้) และตัวกุศลกรรมบถ 10
ก็เหมือนจะให้ความสำคัญตามลำดับที่ผมเคยเรียนมาจากพระพี่เลี้ยงตอนที่บวช
(ผลของกรรมที่ส่งผลมากไปน้อยจะเรียงจาก มโนกรรม > วจีกรรม > กายกรรม) ซึ่งตัวกุศลกรรมบถ 10
มีข้อห้ามกายกรรม 3 ข้อ วจีกรรม 4 ข้อ และ มโนกรรม 12 ข้อ(2 + สัมมาทิฐิ 10 ข้อ) ซึ่งตรงนี้จะบอกเราได้เป็นอย่างดี
ตามจำนวนข้อที่ต้องสำรวมระวัง โดยเรียงจาก มโนกรรม > วจีกรรม > กายกรรม อย่างชัดเจน
และขอยกตัวอย่าง ผมรักษาศีล 5 ข้อไม่โกหก แต่ผมยังพูดจาส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ อยู่
ก็เหมือนผมเจริญกุศลกรรมบถ 10 และ อกุศลกรรมบถ 10 ไปพร้อมๆกัน ซึ่งสองอย่างนี้เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน
กุศลก็ไม่เจริญ นิวรณ์ 5 ก็ไม่ดับไปสักที สมาธิก็ไม่เกิด เป็นต้น
ทั้งนี้ทั้งนั้น สิ่งที่ผมเรียนมาอาจจะไม่ถูกทั้งหมด อยากให้ทุกท่านลองพิจรณาตามแล้วมาถกกันครับ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านครับ
ท่านไหนอยากแนะนำเพิ่มเติมผมก็ขอน้อมฟังและขออนุโมทนาครับ
กุศลกรรมบถ 10 คือธรรมที่ควรค่าแก่การปฏิบัติอย่างยิ่งยวดของผู้ปฏิบัติธรรม
1.สมาธิจะเกิดได้ ต้องดับนิวรณ์ 5 ให้ได้ ดังนั้นเราต้องรู้จักมัน และ เรียนรู้มันก่อน (หา search ได้ทั่วไป)
2.นิวรณ์ 5 อาศัยปัจจัยในการเกิด คือการที่เรายังทำทุจริต 3 อยู่ (ทุจริตทางกาย/วาจา/ใจ)
3.ธรรมที่ทำให้ทุจริต 3 เจริญคือ อกุศลกรรมบถ 10 (มี 10 ข้อ หา search ได้ทั่วไป)
4.การถอน อกุศลกรรมบถ 10 ออกต้องเจริญธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อมัน คือ กุศลกรรมบถ 10
โดย กุศลกรรมบถ 10 มีดังนี้
1.ไม่ฆ่าสัตว์
2.ไม่ลักทรัพย์
3.ไม่ประพฤติผิดในกาม
4.ไม่พูดโกหก
5.ไม่พูดส่อเสียด
6.ไม่พูดคำหยาบ
7.ไม่พูดเพ้อเจ้อ
8.ไม่โลภอยากได้ทรัพย์ของผู้อื่น
9.ไม่คิดพยาบาท
10.มีสัมมาทิฐิ(ซึ่งก็มีย่อยลงไปอีก 10 ข้อ)
และจากการวิเคราะห์ของผมเอง ตัวกุศลกรรมบถ 10 นี้จะครอบคลุมมากกว่าศีล 5 แต่จะไม่มีข้อห้ามดื่มสุรา
(ประเด็นศีล 5 ค่อนข้างละเอียดอ่อน ไม่ขอพูดถึง มีนักวิชาการหลายๆท่านได้ศึกษาและตีความพระไตรปิฎกอธิบายไว้หลายความเห็น
แนะนำให้เปิดใจกว้างๆ และลองศึกษาจากงานเขียนของ ดร.นพ. มโน ก็ได้) และตัวกุศลกรรมบถ 10
ก็เหมือนจะให้ความสำคัญตามลำดับที่ผมเคยเรียนมาจากพระพี่เลี้ยงตอนที่บวช
(ผลของกรรมที่ส่งผลมากไปน้อยจะเรียงจาก มโนกรรม > วจีกรรม > กายกรรม) ซึ่งตัวกุศลกรรมบถ 10
มีข้อห้ามกายกรรม 3 ข้อ วจีกรรม 4 ข้อ และ มโนกรรม 12 ข้อ(2 + สัมมาทิฐิ 10 ข้อ) ซึ่งตรงนี้จะบอกเราได้เป็นอย่างดี
ตามจำนวนข้อที่ต้องสำรวมระวัง โดยเรียงจาก มโนกรรม > วจีกรรม > กายกรรม อย่างชัดเจน
และขอยกตัวอย่าง ผมรักษาศีล 5 ข้อไม่โกหก แต่ผมยังพูดจาส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ อยู่
ก็เหมือนผมเจริญกุศลกรรมบถ 10 และ อกุศลกรรมบถ 10 ไปพร้อมๆกัน ซึ่งสองอย่างนี้เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน
กุศลก็ไม่เจริญ นิวรณ์ 5 ก็ไม่ดับไปสักที สมาธิก็ไม่เกิด เป็นต้น
ทั้งนี้ทั้งนั้น สิ่งที่ผมเรียนมาอาจจะไม่ถูกทั้งหมด อยากให้ทุกท่านลองพิจรณาตามแล้วมาถกกันครับ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านครับ
ท่านไหนอยากแนะนำเพิ่มเติมผมก็ขอน้อมฟังและขออนุโมทนาครับ