[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้จิตมีอารมณ์121อย่าง เป็นอารมณ์ที่เป็นกุศล อกุศล
จิตเกิดอารมณ์ ก็เกิดมโน นึกคิด เกิด
มโนกรรม การกระทำทางใจ
มโนทวาร ทวารคือใจ
มโนทุจริต การประพฤติชั่วด้วยใจ
มโนสุจริต การประพฤติชอบด้วยใจ
มโนวิญญาณ ความรู้ทางใจ
มโนสัมผัส สัมผัสทางใจ
มโนรม เป็นที่ชอบใจ
เกิดปิยรูป สาตรูปขึ้นมา
เกิดตัณหาขึ้นมา
ฉนั้นจิตไปรู้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ใจนี้นึกถึงวาระของกุศลกรรม อกุศลกรรม
คือ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
ทำให้เกิดวิบากกรรมคือวิญญาณ
ไปรับผลกรรมที่ใจนึกขึ้นมา
กรรมต้องครบ3อย่างจึงจะเกิดกรรม
คือ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
ฉนั้นจิตเป็นใหญ่เป็นประธานให้เกิดมโน เกิดวิญญาณ
ชั่วขณะที่จิตไม่มีกุศลกรรม อกุศลกรรม
คือภวังคจิต ก็ไม่มีมโน ไม่มีวิญญาณ
มโนหมายถึง สภาวะของจิตที่น้อมจิตไปกำหนดสนใจ
ตามเจตสิกที่เข้ามาปรุงแต่งให้จิตเพ่งความสนใจ ในอายตนะต่างๆ โดยเฉพาะ
มโนวิญญาณคือการน้อมจิตไปในธรรมารมณ์ทั้ง 3 คือ
1.การน้อมจิตเสพเวทนา 2.การน้อมจิตระลึกถึงความจำในสัญญา(การนึก) และ3.การน้อมจิตปรุงแต่งสังขาร 3
คือกายสังขาร(เคลื่อนไหวร่างกาย) วจีสังขาร(การคิด) จิตสังขาร(ปรุงแต่งอารมณ์แก่จิต)
มโนเป็นทั้งภวังคจิต เป็นทั้งวิถีจิต ตามวาระขณะจิตนั้นๆ
ภวังคจิต หมายเอา มโนทวาร
วิถีจิต หมายเอา มโนวิญญาณ
จิตไม่ใช่มโน