'อนุสรณ์' ชี้ 'ไพบูลย์โมเดล' บิดเบือนเจตนารมณ์รธน. สร้างบรรทัดฐานที่น่ากังวล
https://www.matichon.co.th/politics/news_1645136
“อนุสรณ์” ชี้ ”ไพบูลย์โมเดล” เอื้อพรรคการเมืองตัดต่อพันธุกรรมให้บางพรรคได้ประโยชน์ อัดเป็นการบิดเบือนเจตนารมณ์รธน.
เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม นาย
อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด โฆษกพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณี กกต. มีมติให้ยุบพรรคประชาชนปฏิรูป (ปชช.) ว่า
มติดังกล่าวถ้าไม่สื่อสารทำความเข้าใจกับประชาชนและพรรคการเมือง จะกลายเป็นความสับสน อาจถูกมองว่าถ้าเป็นบางพรรคทำสามารถทำได้ ถ้าเป็นฝ่ายตรงข้ามไม่สามารถทำได้หรือไม่ และอาจกลายเป็นบรรทัดฐานให้เกิดยุทธศาสตร์แยกกันเดินตอนเลือกตั้ง แล้วรวมกันตีหลังเลือกตั้ง เพื่อทำให้พรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลมีความเข้มแข็งมากขึ้น
“ไพบูลย์โมเดล” เสมือนการเอื้อพรรคการเมืองให้ตัดต่อพันธุกรรม เพื่อให้บางพรรคได้ประโยชน์ เป็นการบิดเบือนเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะมีปัญหาการตีความและการปฏิบัติต่างๆ ตามมาอีกมาก ทั้งสูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ คะแนนระบบบัญชีรายชื่อของพรรคที่ยุบตัวเองจะถูกยุบคะแนนไปด้วยหรือไม่ ถ้าคะแนนของพรรคที่ยุบหายไปจะทำให้ ส.ส.บัญชีรายชื่อสิ้นสภาพไปด้วยหรือไม่ สามารถโอนคะแนนของพรรคที่ยุบตัวเองไปรวมกับพรรคที่จะย้ายไปสังกัดใหม่ได้หรือไม่ ต้องมีสูตรการคำนวณ ส.ส.ออกมาใหม่อีกหรือไม่ เพราะก่อนหน้านี้ กกต.ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่าใช้สูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อที่ให้คุณต่อบางพรรคการเมือง และเป็นโทษต่อบางพรรค จนมีชื่อเรียกสูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อว่า ส.ส.เอื้ออาทร ซึ่งผิดหลักการประชาธิปไตยอย่างมาก
“ประชาชนได้สัมผัสและเห็นชัดถึงปัญหาอันเกิดจากการใช้รัฐธรรมนูญ และเห็นความจำเป็นที่ประเทศไทยต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อทางออกของประเทศ
ไม่เช่นนั้นประเทศอาจเกิดภาวะสุญญากาศอันเกิดจากการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ ทำให้ประเทศชาติและประชาชนสูญเสียโอกาส สูญเสียศักยภาพการแข่งขันของประเทศ” นาย
อนุสรณ์ กล่าว
“ชูศักดิ์” ชี้ มติผู้ตรวจฯสอดคล้องญัตติของพรรคร่วมฝ่ายค้าน หวัง ศาลรธน.รับไว้วินิจฉัย
https://www.matichon.co.th/politics/news_1645284
“ชูศักดิ์” ชี้ มติผู้ตรวจการแผ่นดินสอดคล้องกับญัตติของพรรคร่วมฝ่ายค้านปมขออภิปรายทั่วไป ตามรธน. ม.152 หวัง ศาลรธน.รับไว้วินิจฉัย
เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม นาย
ชูศักดิ์ ศิรินิล รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) และประธานคณะทำงานด้านกฎหมายพท. กล่าวถึงกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน
มีมติให้ส่งเรื่องพร้อมความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณาวินิจฉัยกรณีนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีกล่าวคำถวายสัตย์ปฏิญาณไม่ครบถ้วน ถูกต้องว่า
เมื่อพิจารณาเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการถวายสัตย์ปฏิญาณของคณะรัฐมนตรีที่ผู้ตรวจการ แผ่นดินได้พิจารณา มีอยู่ 2 เรื่อง คือ
1.กรณีคำร้องของนาย
ศรีสุวรรณ จรรยา
ผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่า การถวายสัตย์ปฏิญาณ เป็น “
การกระทำ” มิใช่เป็น “
บทบัญญัติแห่งกฎหมาย” จึงไม่มีประเด็นให้พิจารณาว่า ข้อความหรือ ถ้อยคำถวายสัตย์มีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ที่จะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยได้และยังเห็นว่า การถวายสัตย์เป็นการกระทำตามกระบวนขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มิใช่การกระทำทาง ปกครองที่จะส่งให้ศาลปกครองได้พิจารณาวินิจฉัย จึงมีมติไม่เสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ
ในส่วนนี้ตน เห็นด้วยกับความเห็นของผู้ตรวจการแผ่นดิน จุดนี้เองที่ทำให้เห็นปัญหาว่ากฎหมายยังมีช่องว่างเกี่ยวกับ อานาจของศาลในการที่จะวินิจฉัยว่าการกระทำใดขัด หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับ “
การกระทำตามรัฐธรรมนูญ” และ
2.กรณีคำร้องของนาย
ชูพงศ์ ชูรักษ์
ผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่า รัฐธรรมนูญมาตรา 161 เป็นบทบัญญัติให้ต้องกระทำตามกระบวนการขั้นตอนก่อนที่คณะรัฐมนตรีเข้ารับหน้าที่ ถือเป็นเรื่อง สำคัญ นอกจากจะทาตามกระบวนการแล้วต้องถวายสัตย์ด้วยถ้อยคาที่บัญญัติไว้ให้ครบถ้วน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า การถวายสัตย์มีถ้อยคำขาดหายไป
จึงเป็นการกล่าวถ้อยคำถวายสัตย์ที่ไม่ ครบถ้วนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ เป็นการกระทาที่ขัด หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงเป็นอันใช้บังคับมิได้ ตามมาตรา 5 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 อันส่งผลให้การปฏิบัติ หน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ รวมถึงปัญหาการ คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ร้องเรียน เป็นเหตุให้ผู้ร้องเรียนได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหาย โดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ จึงเป็นไปตามหลักเกณฑ์ มาตรา 46 แห่งพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 ถือเป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิ หรือเสรีภาพของผู้ร้องเรียน ตามมาตรา 213 ของรัฐธรรมนูญ จึงมีมติส่งเรื่องพร้อมความเห็นนั้นไปให้ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย มติในเรื่องนี้ตนเห็นด้วย และ ส.ส. ฝ่ายค้านที่ได้ยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป โดยไม่ลงมติก็มีความเห็นเช่นนี้ การที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน เสนอเรื่องพร้อมความเห็นไปยังศาล รัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยนั้นจะเป็นผลดีกับทุกฝ่ายเพราะเมอื่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเป็นประการใดก็จะถือเป็นข้อยุติ ถือเป็นบรรทัดฐานต่อไป
“แต่สิ่งที่เป็นห่วงก็คือ ศาลรัฐธรรมนูญจะรับเรื่องของผู้ตรวจการ แผ่นดินไว้พิจารณาหรือไม่เท่านั้น เพราะกรณีการอ้างมาตรา 213 ของรัฐธรรมนูญ เคยมีผู้ยื่นคำร้องไป เป็นจำนวนมาก โดยยื่นตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญ ยังไม่ปรากฏว่า ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องไว้พิจารณาแต่ข้อเท็จจริงในกรณีนี้เป็นการยื่นคำร้องผ่านผู้ตรวจการแผ่นดินและมีมติให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องที่ มีความสำคัญมาก หากศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องไว้พิจารณาก็จะเป็นบรรทัดฐานที่สำคัญต่อไปสำหรับ คณะรัฐมนตรีและทุกฝ่าย” นาย
ชูศักดิ์ กล่าว
JJNY : อนุสรณ์ชี้ 'ไพบูลย์โมเดล' บิดเบือนเจตนารมณ์รธน./“ชูศักดิ์”ชี้มติผู้ตรวจฯสอดคล้องญัตติ/ไพบูลย์ขู่ฟ้อง "อ.เจษฎ์"
https://www.matichon.co.th/politics/news_1645136
“อนุสรณ์” ชี้ ”ไพบูลย์โมเดล” เอื้อพรรคการเมืองตัดต่อพันธุกรรมให้บางพรรคได้ประโยชน์ อัดเป็นการบิดเบือนเจตนารมณ์รธน.
เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด โฆษกพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณี กกต. มีมติให้ยุบพรรคประชาชนปฏิรูป (ปชช.) ว่า
มติดังกล่าวถ้าไม่สื่อสารทำความเข้าใจกับประชาชนและพรรคการเมือง จะกลายเป็นความสับสน อาจถูกมองว่าถ้าเป็นบางพรรคทำสามารถทำได้ ถ้าเป็นฝ่ายตรงข้ามไม่สามารถทำได้หรือไม่ และอาจกลายเป็นบรรทัดฐานให้เกิดยุทธศาสตร์แยกกันเดินตอนเลือกตั้ง แล้วรวมกันตีหลังเลือกตั้ง เพื่อทำให้พรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลมีความเข้มแข็งมากขึ้น “ไพบูลย์โมเดล” เสมือนการเอื้อพรรคการเมืองให้ตัดต่อพันธุกรรม เพื่อให้บางพรรคได้ประโยชน์ เป็นการบิดเบือนเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะมีปัญหาการตีความและการปฏิบัติต่างๆ ตามมาอีกมาก ทั้งสูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ คะแนนระบบบัญชีรายชื่อของพรรคที่ยุบตัวเองจะถูกยุบคะแนนไปด้วยหรือไม่ ถ้าคะแนนของพรรคที่ยุบหายไปจะทำให้ ส.ส.บัญชีรายชื่อสิ้นสภาพไปด้วยหรือไม่ สามารถโอนคะแนนของพรรคที่ยุบตัวเองไปรวมกับพรรคที่จะย้ายไปสังกัดใหม่ได้หรือไม่ ต้องมีสูตรการคำนวณ ส.ส.ออกมาใหม่อีกหรือไม่ เพราะก่อนหน้านี้ กกต.ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่าใช้สูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อที่ให้คุณต่อบางพรรคการเมือง และเป็นโทษต่อบางพรรค จนมีชื่อเรียกสูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อว่า ส.ส.เอื้ออาทร ซึ่งผิดหลักการประชาธิปไตยอย่างมาก
“ประชาชนได้สัมผัสและเห็นชัดถึงปัญหาอันเกิดจากการใช้รัฐธรรมนูญ และเห็นความจำเป็นที่ประเทศไทยต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อทางออกของประเทศ
ไม่เช่นนั้นประเทศอาจเกิดภาวะสุญญากาศอันเกิดจากการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ ทำให้ประเทศชาติและประชาชนสูญเสียโอกาส สูญเสียศักยภาพการแข่งขันของประเทศ” นายอนุสรณ์ กล่าว
“ชูศักดิ์” ชี้ มติผู้ตรวจฯสอดคล้องญัตติของพรรคร่วมฝ่ายค้าน หวัง ศาลรธน.รับไว้วินิจฉัย
https://www.matichon.co.th/politics/news_1645284
“ชูศักดิ์” ชี้ มติผู้ตรวจการแผ่นดินสอดคล้องกับญัตติของพรรคร่วมฝ่ายค้านปมขออภิปรายทั่วไป ตามรธน. ม.152 หวัง ศาลรธน.รับไว้วินิจฉัย
เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม นายชูศักดิ์ ศิรินิล รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) และประธานคณะทำงานด้านกฎหมายพท. กล่าวถึงกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน
มีมติให้ส่งเรื่องพร้อมความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณาวินิจฉัยกรณีนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีกล่าวคำถวายสัตย์ปฏิญาณไม่ครบถ้วน ถูกต้องว่า
เมื่อพิจารณาเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการถวายสัตย์ปฏิญาณของคณะรัฐมนตรีที่ผู้ตรวจการ แผ่นดินได้พิจารณา มีอยู่ 2 เรื่อง คือ
1.กรณีคำร้องของนายศรีสุวรรณ จรรยา
ผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่า การถวายสัตย์ปฏิญาณ เป็น “การกระทำ” มิใช่เป็น “บทบัญญัติแห่งกฎหมาย” จึงไม่มีประเด็นให้พิจารณาว่า ข้อความหรือ ถ้อยคำถวายสัตย์มีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ที่จะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยได้และยังเห็นว่า การถวายสัตย์เป็นการกระทำตามกระบวนขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มิใช่การกระทำทาง ปกครองที่จะส่งให้ศาลปกครองได้พิจารณาวินิจฉัย จึงมีมติไม่เสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ
ในส่วนนี้ตน เห็นด้วยกับความเห็นของผู้ตรวจการแผ่นดิน จุดนี้เองที่ทำให้เห็นปัญหาว่ากฎหมายยังมีช่องว่างเกี่ยวกับ อานาจของศาลในการที่จะวินิจฉัยว่าการกระทำใดขัด หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับ “การกระทำตามรัฐธรรมนูญ” และ
2.กรณีคำร้องของนายชูพงศ์ ชูรักษ์
ผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่า รัฐธรรมนูญมาตรา 161 เป็นบทบัญญัติให้ต้องกระทำตามกระบวนการขั้นตอนก่อนที่คณะรัฐมนตรีเข้ารับหน้าที่ ถือเป็นเรื่อง สำคัญ นอกจากจะทาตามกระบวนการแล้วต้องถวายสัตย์ด้วยถ้อยคาที่บัญญัติไว้ให้ครบถ้วน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า การถวายสัตย์มีถ้อยคำขาดหายไป
จึงเป็นการกล่าวถ้อยคำถวายสัตย์ที่ไม่ ครบถ้วนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ เป็นการกระทาที่ขัด หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงเป็นอันใช้บังคับมิได้ ตามมาตรา 5 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 อันส่งผลให้การปฏิบัติ หน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ รวมถึงปัญหาการ คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ร้องเรียน เป็นเหตุให้ผู้ร้องเรียนได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหาย โดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ จึงเป็นไปตามหลักเกณฑ์ มาตรา 46 แห่งพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 ถือเป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิ หรือเสรีภาพของผู้ร้องเรียน ตามมาตรา 213 ของรัฐธรรมนูญ จึงมีมติส่งเรื่องพร้อมความเห็นนั้นไปให้ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย มติในเรื่องนี้ตนเห็นด้วย และ ส.ส. ฝ่ายค้านที่ได้ยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป โดยไม่ลงมติก็มีความเห็นเช่นนี้ การที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน เสนอเรื่องพร้อมความเห็นไปยังศาล รัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยนั้นจะเป็นผลดีกับทุกฝ่ายเพราะเมอื่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเป็นประการใดก็จะถือเป็นข้อยุติ ถือเป็นบรรทัดฐานต่อไป
“แต่สิ่งที่เป็นห่วงก็คือ ศาลรัฐธรรมนูญจะรับเรื่องของผู้ตรวจการ แผ่นดินไว้พิจารณาหรือไม่เท่านั้น เพราะกรณีการอ้างมาตรา 213 ของรัฐธรรมนูญ เคยมีผู้ยื่นคำร้องไป เป็นจำนวนมาก โดยยื่นตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญ ยังไม่ปรากฏว่า ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องไว้พิจารณาแต่ข้อเท็จจริงในกรณีนี้เป็นการยื่นคำร้องผ่านผู้ตรวจการแผ่นดินและมีมติให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องที่ มีความสำคัญมาก หากศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องไว้พิจารณาก็จะเป็นบรรทัดฐานที่สำคัญต่อไปสำหรับ คณะรัฐมนตรีและทุกฝ่าย” นายชูศักดิ์ กล่าว