JJNY : 5in1 ไอติมเผยคุยปธ.ศาลรธน.│โตโต้โต้'ยธ.'│‘นักสืบทุนเทา’เปิดตัว1ด.│รุมค้านแจกหมื่นผู้สูงอายุ│เคียฟโวย รัสเซียยิง

ไอติม เผยคุยปธ.ศาลรธน. ได้คำตอบทำประชามติ 2 ครั้ง คิวต่อไปปธ.สภาฯ ปัดตอบชูศักดิ์ เสนอไม่ต้องรอ 180 วัน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4912230

พริษฐ์ แจงคุยประธานศาลรธน.ได้คำตอบทำประชามติแก้รธน. 2 ครั้ง คิวหารือประธานสภาหวังทบทวน 27 พย.นี้ ปัดตอบ ‘ชูศักดิ์’ เสนอตีความพรบ.ประชามติเป็นกม.การเงินจะได้ไม่ต้องรอ 180 วัน มั่นใจถ้ายึดโรดแมปทำประชามติ 2 ครั้งตามกรอบไร้ปัญหา
 
เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ที่บริเวณหน้าศาลรัฐธรรมนูญ นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะประธานกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ภายหลังเข้าร่วมหารือกับประธานศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมแบบไม่เป็นทางการ ความเห็นที่ออกมาจึงไม่ใช่ความเห็นที่เป็นทางการของศาลรัฐธรรมนูญ และไม่ได้พบกับตุลาการทั้งคณะ แต่เข้าพบกับแค่ประธานศาลรัฐธรรมนูญฃและผู้เข้าร่วมประชุม สิ่งที่พูดคุยกันจึงเป็นความเห็นของผู้เข้าร่วมประชุม ไม่ใช่ความเห็นของทั้งองค์คณะ โดยจัดการหารือพบว่าเราได้มีการทบทวนคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 ซึ่งระบุไว้ชัดไว้ในย่อหน้าสุดท้ายว่ามีการพูดถึงประชามติ 2 ครั้ง คือ 1 ครั้งก่อน และ 1 ครั้งหลัง การหารือกันของความหมายดังกล่าวก็ไม่ได้มีการแสดงความเห็นว่าจะมีความจำเป็นที่จะต้องทำประชามติถึง 3 ครั้ง
 
ส่วนการทำประชามติทั้งก่อนและหลัง ขั้นตอนจะเป็นเช่นไร เป็นสิ่งที่ทางรัฐสภาต้องตัดสินใจร่วมกัน แต่ข้อเสนอที่พรรคประชาชนและพรรคเพื่อไทย เคยพูดมาก่อนหน้านี้ คือให้ทำประชามติ 2 ครั้งโดยใช้วิธีการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพิ่มหมวด 15/1 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เข้าไป หากผ่าน 3 วาระ ของรัฐสภาแล้วก็จะต้องมีการทำประชามติครั้งแรก เพื่อถามว่าประชาชนเห็นชอบกับแนวทางดังกล่าวหรือไม่ ก่อนจะมีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้วจึงทำประชามติครั้งที่ 2 เพื่อถามว่าประชาชนจะเห็นชอบกับเนื้อหาที่ถูกจัดทำมาในฉบับใหม่หรือไม่ ซึ่งจากการหารือก็ดูแล้วเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 ดังนั้น ก็จะนำแนวทางนี้ไปหารือกับประธานรัฐสภาในวันที่ 27 พ.ย. เพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยหวังว่าประธานรัฐสภาจะได้มีการทบทวนและบรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการเพิ่มหมวด 15/1 เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาก็จะเป็นโอกาสที่ดีที่ทำให้มีการพิจารณามุมมองต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และถ้าหากร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านความเห็นชอบจากทางรัฐสภามาได้ ก็จะมีการจัดทำประชามติหลังจากที่ผ่านวาระที่ 3
 
เมื่อถามว่าผลการหารือในครั้งนี้ทำให้มั่นใจมากขึ้นหรือไม่ว่า หากมีผู้นำเรื่องกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญมายื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย การวินิจฉัยก็จะเป็นคุณมากกว่าโทษ นายพริษฐ์กล่าวว่า อย่างที่บอกว่าการหารือไม่มีใครแสดงความคิดเห็นว่ามีความจำเป็นต้องทำประชามติ 3 ครั้ง คำวินิจฉัยที่ 4/2564 ก็พูดถึงการทำประชามติแค่ 2 ครั้ง แต่ 2 ครั้งจะเกิดขึ้นตอนไหน อย่างที่บอกว่าพรรคประชาชนและพรรคเพื่อไทย เสนอไปก็สอดคล้องกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จึงคิดว่าผลของการหารือดังกล่าวจะนำไปสู่การพูดคุยกับทางสภาให้ทบทวนและบรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นก็คิดว่าทางรัฐสภาก็จะเดินหน้าพิจารณาได้ แต่แน่นอนว่าเป็นสิทธิบางกลุ่มอาจจะยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นเราจะไปคาดการณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์คำวินิจฉัยที่จะออกมาคงไม่ได้ แต่ก็เชื่อว่าผลที่ออกมาจะยืนยันว่าสิ่งที่เราเสนอนั้นไม่ได้ขัดต่อคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564
 
เมื่อถามว่า นอกจากเรื่องดังกล่าวได้มีการหารือเรื่องอื่นๆ ที่ยังติดใจอยู่หรือไม่ นายพริษฐ์กล่าวว่า สิ่งที่หารือเป็นหลักคือคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 และคิดว่าการที่ได้รับความชัดเจนในเรื่องนี้เป็นปัจจัยที่สำคัญ ในการที่จะทำให้เราสามารถจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ทำต่อการเลือกตั้งครั้งถัดไป
 
เมื่อถามว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่ที่สภาจะเสนอให้มีการตีความว่า กฎหมายประชามติเข้าข่ายเป็นกฎหมายการเงิน เพื่อที่จะได้ไม่ต้องรอ 180 วัน ตามที่นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ นายพริษฐ์กล่าวว่า คงต้องไปดูในรายละเอียด ตนยังไม่ทราบรายละเอียดที่นายชูศักดิ์เสนอ จึงขอไม่ให้ความเห็น แต่ถ้ามีการเสนอพรรคประชาชน ในฐานะพรรคการเมืองในสภาก็ต้องมีความเห็นในเรื่องนี้อยู่แล้ว แต่ในภาพรวมขณะนี้หลายคนก็กังวลใจว่า เมื่อข้อสรุปของ กมธ.ร่วมเห็นชอบร่างของ ส.ว. เมื่อส่งกลับมาที่ ส.ส. สภาอาจยืนยันในหลักการเดิม คือใช้เสียงข้างมากหนึ่งชั้น ถ้าหากเป็นเช่นนั้นร่าง พ.ร.บ.ประชามติจะต้องถูกชะลอไป 180 วัน ซึ่งถ้าจะยึดตามแผนเดิมให้มีประชามติ 3 ครั้ง และจะไม่จัดครั้งแรก จนกว่า พ.ร.บ.ประชามติจะแก้ไขเสร็จสิ้น แน่นอนว่าก็จะกระทบต่อกรอบเวลา
 
แต่ถ้าผลสรุปที่ได้จากวันนี้สามารถทำให้เราโน้มน้าวทุกฝ่าย หันมาใช้โรดแมปในการทำประชามติ 2 ครั้ง ก็คิดว่า พ.ร.บ.ประชามติจะล่าช้า จะไม่กระทบต่อไทม์ไลน์ดังกล่าว เพราะถ้าเราทำประชามติ 2 ครั้งขั้นตอนแรกไม่ใช่เป็นการจัดทำประชามติเลย แต่เป็นการรัฐสภาพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับ ส.ส.ร. และการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ใน 3 วาระของรัฐสภา ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในระดับหนึ่ง แต่หากเราดำเนินการตามขั้นตอนแบบนี้ 6 เดือนที่ชะลอไปก็คงจะไม่กระทบไทม์ไลน์ตรงนี้
 
พูดง่ายๆ คือถ้าเราไม่อยากให้ความล่าช้าของ พ.ร.บ.ประชามติเป็นปัญหา ก็หันมาใช้กลไกหรือโรดแมปประชามติ 2 ครั้งก็น่าจะเป็นทางออกที่ดี” นายพริษฐ์กล่าว



โตโต้ โชว์เอกสารโต้ 'ยธ.' ยัน กมธ.มั่นคงฯ มีอำนาจสอบปมชั้น 14 ลั่นอำนาจครอบจักรวาล
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_9515403

โตโต้ โชว์เอกสารโต้ ‘ยธ.’ ยัน กมธ.มั่นคงฯ มีอำนาจสอบปมชั้น 14 ถามมีอำนาจอะไรมาตัดสิน พร้อมทวนชื่อ กมธ.ชัดๆ ลั่นอำนาจเราครอบจักรวาล แค่คำว่า “ปฏิรูป” คำเดียว ทำได้หลายเรื่อง งงมาบอกไม่มีอำนาจ
 
เมื่อวันที่ 21 พ.ย.67 ที่รัฐสภา นายปิยรัฐ จงเทพ สส.กทม.พรรคประชน(ปชน.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร แถลงกรณี กระทรวงยุติธรรม กล่าวหาว่า กมธ.ความมั่นคงฯ ไม่มีอำนาจตรวจสอบนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กรณีพักรักษาตัวโรงพยาบาลตำรวจ ชั้น 14 และเตรียมส่งเรื่องนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ชี้ขาด
 
นายปิยรัฐ กล่าวว่า กรณีที่ที่ปรึกษารมว.ยุติธรรม ระบุทำหนังสือท้วงติงถึง กมธ.ฯ ทุกคนว่าไม่มีอำนาจเชิญหน่วยงานของกระทรวงยุติธรรม กรณีนายทักษิณ รักษาตัวชั้น 14 แต่กรมราชทัณฑ์กลับไปแถลงข่าวก่อน ทั้งที่ประทับตราลับไว้แล้ว ยืนยันว่า กมธ.ฯทำหนังสือเชิญกรมราชทัณฑ์มาแล้ว 1 รอบ เมื่อวันที่ 7 พ.ย. ซึ่งกรมราชทัณฑ์มาชี้แจงต่อ กมธ.แล้ว ตอบได้บ้าง ไม่ได้บ้าง และฝ่ายผู้อำนวยการกองกฎหมายของกรมราชทัณฑ์ก็เสนอต่อ กมธ.เองว่าขอให้ กมธ.มีมติเป็นคำสั่งให้กรมราชทัณฑ์ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ
 
ผมยังแย้งไปว่า ถ้าเมื่อไหร่ ทาง กมธ.มีมติเรียกเอกสารจากกรมราชทัณฑ์มา แล้วท่านไม่มาก็จะมีความผิดตาม พ.ร.บ.คำสั่งเรียกฯ ก็จะมีความผิดทางวินัยในฐานะข้าราชการ ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่ ผมยังบอกไปว่า อย่าให้ถึงกับมีคำสั่งเรียกเลย ไม่แน่ใจว่าเจ้าหน้าที่ที่มาชี้แจงจะเข้าใจหรือไม่ แต่เขาก็ยังให้ทำหนังสือไปถึงกรมราชทัณฑ์ ซึ่ง กมธ.ก็ทำให้ ในหนังสือที่ทำไปก็ชัดเจนว่าต้องการศึกษาปัญหาและแนวทางการปฏิรูปประเทศ ด้านกระบวนการยุติธรรม กรณีกรมราชทัณฑ์ให้อดีตนายกรัฐมนตรีพักรักษาตัวในโรงพยาบาลตำรวจ กับการใช้อำนาจหน้าที่ตามกฏหมาย ซึ่งเป็นสิ่งที่เราทำหนังสือไป
 
นายปิยรัฐ โชว์เอกสารหนังสือเชิญกระทรวงยุติธรรม และกล่าวด้วยท่าทีดุเดือดว่า กมธ.ฯ สามารถศึกษาเรื่องการปฏิรูปได้ เพราะการทำงานของ กมธ.ครอบคลุมเรื่องความมั่นคงแห่งรัฐ และการปฏิรูปประเทศ เพราะชื่อของ กมธ.สามารถทำงานครอบจักรวาลได้ แค่คำว่าปฏิรูปประเทศอย่างเดียว ก็สามารถทำได้หลายเรื่อง เช่น การปฏิรูปตำรวจ ตำรวจก็เป็นหนึ่งในกระบวนการยุติธรรม แล้วทำไมกรมราชทัณฑ์จะไม่ใช่หนึ่งในกระบวนการยุติธรรมที่เราปฏิรูปไม่ได้ ดังนั้น เมื่อเราจะปฏิรูป ถ้าเราไม่แสวงหาข้อเท็จจริง ไม่ศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้น แล้วเราจะปฏิรูปได้อย่างไร
 
ผมอยากให้ทางหน่วยงานของกระทรวงยุติธรรม โดยเฉพาะอธิบดี รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ที่ทำหนังสือมาถึงเรา ที่บอกว่าเราทำหน้าที่ขัดรัฐธรรมนูญตามมาตรา 129 วรรค 2 ว่าเราทำหน้าที่ซ้ำซ้อนกับ กมธ. อื่นนั้น ท่านมีอำนาจอะไรมาวินิจฉัย ทั้งที่เราทำหน้าที่ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและข้อบังคับการประชุมสภาด้วยซ้ำไป ขอให้โต้แย้งมาว่าเราไม่ได้ประชุมเรื่องการปฏิรูปอย่างไร” นายปิยรัฐ กล่าว
 
นายปิยรัฐ กล่าวด้วยว่า ใน กมธ.ฯ ก็มีทั้ง สส. ฝ่ายค้านและรัฐบาลนั่งอยู่ด้วย ดังนั้น การจะเชิญหน่วยงานใดมาก็ต้องขอมติจาก กมธ.ทุกคน จึงอยากให้เข้าใจว่าเราไม่ได้ทำหน้าที่ในฐานะฝ่ายค้าน แต่เราทำหน้าที่ในฐานะ กมธ.ของสภาผู้แทนราษฎร และหากประธานสภาฯ วินิจฉัยเรื่องนี้อย่างไร เราก็ไม่ขัดข้อง ขอให้เป็นไปตามนั้น
 
เมื่อถามว่ามองว่าการแถลงในครั้งนี้ กระทรวงยุติธรรมมีเป้าประสงค์อย่างไร นายปิยรัฐ กล่าวว่า คงต้องตอบอย่างตรงไปตรงมาว่า รมว.ยุติธรรม มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ ดังนั้น รัฐมนตรีน่าจะมาชี้แจงด้วยตัวเองจะดีกว่า ตนยืนยันกับ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม ว่าเรื่องนี้จะไม่นำมาเป็นเรื่องเล่นงานหรือหาเสียงทางการเมือ แต่ต้องการให้มาชี้แจงข้อเท็จจริง แล้วนำข้อเท็จจริงนี้มาปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม เราได้ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ต้นน้ำคือเรื่องตำรวจแล้ว เรากำลังไปปฏิรูปกระบวนการศาล กระบวนการราชทัณฑ์ต่อไป แค่นำเรื่องนี้เข้ามาศึกษาเท่านั้นเอง



‘นักสืบทุนเทา’ เปิดตัว 1 เดือน ประชาชนร้องเรียนกว่า 500 เรื่อง
https://www.dailynews.co.th/news/4105596/

"กมธ.พัฒนาเศรษฐกิจ" ปลื้ม "นักสืบทุนเทา" เปิดตัว 1 เดือน ประชาชนร้องเรียนกว่า 500 เรื่อง เกือบครึ่งเป็นปัญหานอมินี "กทม.-ภูเก็ต" ร้องเยอะ 2 อันดับแรก

เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 67 ที่รัฐสภา นายสิทธิพล วิบูลย์ธนากุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ แถลงความคืบหน้าโครงการ “นักสืบทุนเทา” แพลตฟอร์มรับเรื่องร้องเรียนปัญหาสินค้าต่างชาติและการประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติผิดกฎหมาย ผ่านแพลตฟอร์ม Traffy Fondue ซึ่งทาง กมธ. ทำงานร่วมกับสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย มีเป้าหมายเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้ผู้ประกอบการไทย ที่ปัจจุบันได้รับผลกระทบจากสินค้าและธุรกิจต่างชาติผิดกฎหมาย เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ช่วยชี้เป้า แจ้งเบาะแส นำไปสู่การแก้ไขปัญหา

นายสิทธิพล กล่าวว่า เป็นเวลากว่า 1 เดือนนับแต่เปิดตัวโครงการ จนถึงวันนี้มีประชาชนส่งเรื่องร้องเรียนแล้วกว่า 500 เรื่อง เรื่องร้องเรียนเหล่านี้หลัง กมธ. คัดกรองแล้ว จะถูกส่งต่อไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยในเชิงสถิติพบว่าปัญหาทุนต่างชาติผิดกฎหมาย หรือนอมินี เป็นเรื่องที่ประชาชนร้องเรียนเข้ามามากสุด กว่า 200 เรื่อง หรือคิดเป็น ร้อยละ  45  รองลงมาคือสินค้าไม่มี อย. 110 เรื่อง คิดเป็น ร้อยละ 26 และสินค้าไม่มี มอก. อีก 57 เรื่อง คิดเป็น ร้อยละ 13 ในเชิงพื้นที่ จังหวัดที่ส่งเรื่องร้องเรียนเข้ามามากสุดคือ กรุงเทพมหานคร มีจำนวนกว่า 250 เรื่อง ส่วนมากเป็นปัญหาสินค้าไม่มี อย. และ มอก. รองลงมา คือ จ.ภูเก็ต มีเรื่องร้องเรียนเข้ามากว่า 100 เรื่อง เกือบทั้งหมดเป็นปัญหาเกี่ยวข้องกับนอมินีต่างชาติผิดกฎหมาย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่