จับตา 27 ส.ค. ผู้ตรวจการฯ มีมติ ปมนายกฯ ถวายสัตย์ฯ เผย มีนศ.ร้องซ้ำ
https://www.thairath.co.th/news/politic/1645020
ผู้ตรวจการฯ อยู่ระหว่างสรุปคำชี้แจงนายกฯ ปมถวายสัตย์ไม่ครบ จับตา 27 ส.ค.มีมติ เผย มี นศ.ร้องซ้ำ ขอยื่นศาลรธน.วินิจฉัย อ้าง เป็นการละเมิดสิทธิฯ ทำให้เสียประโยชน์ที่จะได้รับ หากถวายสัตย์เป็นโมฆะ
วันที่ 24 ส.ค. นาย
รักษเกชา แฉ่ฉาย เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวถึงการประชุมผู้ตรวจการแผ่นดิน ในวันที่ 27 ส.ค.ที่จะมีการพิจารณา กรณีนายกรัฐมนตรี กล่าวถวายสัตย์ปฏิญาณตนก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่ไม่ครบถ้วน ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 161 เข้าข่ายเป็นการกระทำขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ว่า ขณะนี้ทางสำนักงานฯ ได้รับคำชี้แจงของพลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในกรณีดังกล่าวแล้ว อยู่ระหว่างเจ้าหน้าที่ทำการสรุปประเด็น และจะเสนอให้ที่ประชุมฯ ได้พิจารณาซึ่งก็เป็นดุลพินิจของผู้ตรวจว่า จะมีความเห็น หรือมีมติอย่างไร
แต่ทั้งนี้ในเรื่องคำร้องเกี่ยวกับการถวายสัตย์ไม่ครบถ้วนนั้นนอกจากจะมีการร้องจากนาย
ศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย นาย
อัยย์ เพชรทอง เลขาธิการองค์กรปกป้องพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพ ที่ขอให้วินิจฉัยการกระทำดังกล่าวขัดรัฐธรรมนูญ ต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครอง วินิจฉัยหรือไม่แล้ว
ระหว่างที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน รอคำชี้แจง ของนายกรัฐมนตรี นั้น เมื่อวันที่ 20 ส.ค. นาย
ภาณุพงศ์ ชูรักษ์ นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ก็ได้ยื่นคำร้องขอให้ ผู้ตรวจการแผ่นดิน พิจารณาประเด็นเดียวกัน โดยขอให้ส่งเรื่องพร้อมความเห็น ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย แต่นาย
ภาณุพงศ์ เห็นว่า นอกจากนายกรัฐมนตรี ถวายสัตย์ไม่ครบถ้วน อาจขัดรัฐธรรมนูญแล้ว ก็มีผลทำให้การกระทำในเวลาต่อมาของรัฐบาล เช่น การตั้งคณะรัฐมนตรี การแถลงนโยบาย การโยกย้ายข้าราชการเป็นโมฆะไปด้วย และตัวนาย
ภานุพงศ์ ในฐานะประชาชนที่จะได้รับประโยชน์จากโครงการต่างๆ ที่รัฐบาล หรือรัฐมนตรีได้แถลงนโยบาย หรือให้คำมั่นสัญญาเมื่อเข้าปฏิบัติหน้าที่ใน กระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ก็จะไม่ได้รับการปฏิบัติ ตามที่รัฐบาลหรือรัฐมนตรี ระบุไว้ จึงถือว่าตนเองถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 ประกอบ มาตรา 46 พ.ร.ป.วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ 2561 ระบุ ให้บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้มีสิทธิ์ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ผ่านผู้ตรวจการแผ่นดิน และ พ.ร.บ.ผู้ตรวจการแผ่นดิน 2560 มาตรา 22 ก็ให้ผู้ตรวจมีหน้าที่และอำนาจอื่นตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายอื่น
ดังนั้น แม้คำร้องดังกล่าว จะมีการร้องเสริมในเรื่องของการที่บุคคลถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพ ทางสำนักงานก็เห็นว่า สามารถที่จะนำคำร้องดังกล่าว เสนอผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาในคราวเดียวกันได้ เนื่องจากประเด็นที่ร้องนั้นมีความเชื่อมโยงกัน โดยเท่าที่ทราบจากเจ้าหน้าที่ ข้อมูลต่างๆ ที่ทางสำนักงานได้รับในขณะนี้ถือว่า ค่อนข้างครบถ้วนเพียงพอ ที่ประชุมผู้ตรวจการแผ่นดิน ในวันที่ 27 ส.ค.จะพิจารณาให้ได้ข้อยุติ น่าจะไม่ต้องมีการขอให้หน่วยงานใดชี้แจงอีก
อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันดังกล่าวที่ประชุมผู้ตรวจการแผ่นดิน ยังจะได้มีการพิจารณา คำร้องที่ พลตำรวจเอก
เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย ร้องขอให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การที่นาย
ชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา รวบรัดการประชุมสภาผู้แทนราษฎร และประชุมรัฐสภา เพื่อคัดเลือกนายกรัฐมนตรี เป็นการกระทำที่ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ด้วย
JJNY : จับตา 27ส.ค. ผู้ตรวจการฯมีมติ ปมถวายสัตย์ฯ เผยมีนศ.ร้องซ้ำฯ/นศ.เชิญ "พท.-อนค.-พ.พ.ช."ตั้งวงเม้าธ์การเมืองฯ
https://www.thairath.co.th/news/politic/1645020
ผู้ตรวจการฯ อยู่ระหว่างสรุปคำชี้แจงนายกฯ ปมถวายสัตย์ไม่ครบ จับตา 27 ส.ค.มีมติ เผย มี นศ.ร้องซ้ำ ขอยื่นศาลรธน.วินิจฉัย อ้าง เป็นการละเมิดสิทธิฯ ทำให้เสียประโยชน์ที่จะได้รับ หากถวายสัตย์เป็นโมฆะ
วันที่ 24 ส.ค. นายรักษเกชา แฉ่ฉาย เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวถึงการประชุมผู้ตรวจการแผ่นดิน ในวันที่ 27 ส.ค.ที่จะมีการพิจารณา กรณีนายกรัฐมนตรี กล่าวถวายสัตย์ปฏิญาณตนก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่ไม่ครบถ้วน ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 161 เข้าข่ายเป็นการกระทำขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ว่า ขณะนี้ทางสำนักงานฯ ได้รับคำชี้แจงของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในกรณีดังกล่าวแล้ว อยู่ระหว่างเจ้าหน้าที่ทำการสรุปประเด็น และจะเสนอให้ที่ประชุมฯ ได้พิจารณาซึ่งก็เป็นดุลพินิจของผู้ตรวจว่า จะมีความเห็น หรือมีมติอย่างไร
แต่ทั้งนี้ในเรื่องคำร้องเกี่ยวกับการถวายสัตย์ไม่ครบถ้วนนั้นนอกจากจะมีการร้องจากนายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย นายอัยย์ เพชรทอง เลขาธิการองค์กรปกป้องพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพ ที่ขอให้วินิจฉัยการกระทำดังกล่าวขัดรัฐธรรมนูญ ต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครอง วินิจฉัยหรือไม่แล้ว
ระหว่างที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน รอคำชี้แจง ของนายกรัฐมนตรี นั้น เมื่อวันที่ 20 ส.ค. นายภาณุพงศ์ ชูรักษ์ นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ก็ได้ยื่นคำร้องขอให้ ผู้ตรวจการแผ่นดิน พิจารณาประเด็นเดียวกัน โดยขอให้ส่งเรื่องพร้อมความเห็น ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย แต่นายภาณุพงศ์ เห็นว่า นอกจากนายกรัฐมนตรี ถวายสัตย์ไม่ครบถ้วน อาจขัดรัฐธรรมนูญแล้ว ก็มีผลทำให้การกระทำในเวลาต่อมาของรัฐบาล เช่น การตั้งคณะรัฐมนตรี การแถลงนโยบาย การโยกย้ายข้าราชการเป็นโมฆะไปด้วย และตัวนายภานุพงศ์ ในฐานะประชาชนที่จะได้รับประโยชน์จากโครงการต่างๆ ที่รัฐบาล หรือรัฐมนตรีได้แถลงนโยบาย หรือให้คำมั่นสัญญาเมื่อเข้าปฏิบัติหน้าที่ใน กระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ก็จะไม่ได้รับการปฏิบัติ ตามที่รัฐบาลหรือรัฐมนตรี ระบุไว้ จึงถือว่าตนเองถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 ประกอบ มาตรา 46 พ.ร.ป.วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ 2561 ระบุ ให้บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้มีสิทธิ์ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ผ่านผู้ตรวจการแผ่นดิน และ พ.ร.บ.ผู้ตรวจการแผ่นดิน 2560 มาตรา 22 ก็ให้ผู้ตรวจมีหน้าที่และอำนาจอื่นตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายอื่น
ดังนั้น แม้คำร้องดังกล่าว จะมีการร้องเสริมในเรื่องของการที่บุคคลถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพ ทางสำนักงานก็เห็นว่า สามารถที่จะนำคำร้องดังกล่าว เสนอผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาในคราวเดียวกันได้ เนื่องจากประเด็นที่ร้องนั้นมีความเชื่อมโยงกัน โดยเท่าที่ทราบจากเจ้าหน้าที่ ข้อมูลต่างๆ ที่ทางสำนักงานได้รับในขณะนี้ถือว่า ค่อนข้างครบถ้วนเพียงพอ ที่ประชุมผู้ตรวจการแผ่นดิน ในวันที่ 27 ส.ค.จะพิจารณาให้ได้ข้อยุติ น่าจะไม่ต้องมีการขอให้หน่วยงานใดชี้แจงอีก
อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันดังกล่าวที่ประชุมผู้ตรวจการแผ่นดิน ยังจะได้มีการพิจารณา คำร้องที่ พลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย ร้องขอให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การที่นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา รวบรัดการประชุมสภาผู้แทนราษฎร และประชุมรัฐสภา เพื่อคัดเลือกนายกรัฐมนตรี เป็นการกระทำที่ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ด้วย