เครดิตบูโร เปิดหนี้เสียอยู่ที่ประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท
https://www.pptvhd36.com/wealth/economic/237103
เครดิตบูโร เปิดตัวเลขหนี้ครัวเรือน 30 ล้านคน ก้อนหนี้ 13.6 ล้านล้านบาท หนี้เสียอยู่ที่ประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท
นาย
สุรพล โอภาสเสถียร เครดิตบูโร โพสต์
เฟซบุ๊ก Surapol Opasatien ถึง รายงานภาระหนี้สินภาคครัวเรือนจากสถาบันการเงิน 157 แห่งที่เป็นสมาชิกของเครดิตบูโร ครอบคลุมประชาชนคนไทยและผู้มีถิ่นฐานในประเทศไทยที่มีหนี้สินกับสถาบันการเงินสมาชิก ซึ่งปัจจุบันครอบคลุมประมาณกว่า 30 ล้านคนจากฐานข้อมูลสถิติที่ไม่มีตัวตนในไตรมาสที่ 3 ปี 2567 มีรายละเอียดดังนี้
หนี้ครัวเรือนในระบบเครดิตบูโรอยู่ที่ 13.6 ล้านล้านบาท (หนี้ครัวเรือนไทยทั้งหมด 16.3ล้านล้านบาท) อัตราการเติบโต 0.5% yoy ถ้าเป็น QoQ จะ -0.2% สรุปคือสินเชื่อไม่โต เศรษฐกิจในไตรมาส 3 เติบโต 3% ในช่วง 9 เดือนโต 2.3% สินเชื่อธุรกิจคนตัวเล็ก -4.6% yoy สินเชื่อเบิกเกินบัญชี -4.5% yoy
ต่อมาคือระดับของ NPLs (หนี้เสีย) เป็นไปตามคาดอยู่ที่ประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 8.8% ของหนี้รวม 13.6 ล้านล้านบาท พุ่งขึ้นชัดเจนตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 หลังพักฐานไตรมาสที่ 4 ปี 2566 แล้วไปต่อตั้งแต่ปี 2567 พร้อมๆกับมาตรการกลับไปสู่ความเป็นปกติ (normalize) เศรษฐกิจค่อยๆ โตกลับมาอย่างเชื่องช้า มีเรื่องการให้กู้อย่างรับผิดชอบ การแก้หนี้เรื้อรัง แก้หนี้ครบวงจร ภาพของเส้นหนี้เสียวิ่งจาก 7.7% สู่ 8.8%
โดยเลขหนี้ NPLs ประมาณ 1.2 ล้านล้านบาทโดยประมาณ เติบโต 14.1% yoy 3.4% QoQ โดย NPLs สินเชื่อบ้าน รถยนต์ บัตรเครดิต ส่วนสินเชื่อส่วนบุคคลยังโตไม่มากจากไตรมาสก่อน นายสุรพลบอกว่าที่กังวลมากคือสินเชื่อธุรกิจคนตัวเล็กหรือ SMEs เติบโต 20% yoy 5.2% QoQ อันนี้คือประเด็นสำคัญมาก
ส่วน SM ยอดคงค้าง Q3 ปี 2567 มาหยุดที่ 4.8 แสนล้านบาทโดยประมาณ ลดลงมาทั้ง yoy และ QoQ น่าจะเบาใจขึ้นได้บ้าง
สำหรับปรับปรุงโครงสร้างหนี้หลังเป็นหนี้เสียที่เรียกว่าทำ TDR ซึ่งตัวเลขสะสมมาอยู่ที่ 1.03 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 7.6% ของ 13.6 ล้านล้านบาท ที่ไม่ค่อยดีคือมันอืด มันเติบโต QoQ ติดลบประมาณ 3%
ในส่วนของ DR หรือปรับโครงสร้างหนี้เชิงป้องกันก่อนเป็นหนี้เสียยอดสะสมตั้งแต่เมษายน 2567 มาหยุดที่ 1.2 ล้านบัญชี 6.45 แสนล้านบาท
กังวล! กมธ.ความมั่นคงฯ เรียก “ทวี” แจ้งปม “ทักษิณ” นอนรพ.ตร.
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_805466
ที่ปรึกษา รมว.ยธ. เผย กังวล หลัง กมธ.ความมั่นคงฯ ส่งหนังสือเชิญ ทวี – อธิบดีกรมราชทัณฑ์ และผู้ที่เกี่ยวข้องกว่า 10 คน เข้าชี้แจงกรณี “ทักษิณ” รักษาตัว รพ.ตำรวจ
วันนี้ (21 พ.ย. 67) นาย
สมบูรณ์ ม่วงกล่ำ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และผู้บริหารกรมราชทัณฑ์ ร่วมกันแถลงชี้แจงกรณีที่คณะกรรมาธิการ หรือ กมธ. ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติ และการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ส่งหนังสือมาถึงกระทรวงยุติธรรม ให้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าชี้แจงกรณีการรักษาตัวของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่โรงพยาบาลตำรวจ มีความถูกต้องตามกระบวนการยุติธรรมหรือไม่
นาย
สมบูรณ์ กล่าวว่า เมื่อวันที่14 พ.ย.ที่ผ่านมา กมธ.ความมั่นคง ฯ มีหนังสือมาถึงกระทรวงยุติธรรม ให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม, อธิบดีกรมราชทัณฑ์ และ เจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน กว่า 10 คน เข้าไปชี้แจงในประเด็นการดำเนินงานและเประเด็นอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ต่อ กมธ.ความมั่นคงฯ เกี่ยวกับการพักรักษาตัวของนาย
ทักษิณ ชินวัตร ที่โรงพยาบาลตำรวจ ในวันพรุ่งนี้
โดยเมื่อวานที่ผ่านมา อธิบดีกรมราชทัณฑ์ได้มีหนังสือไปถึงประธานสภาผู้แทนราษฎร และ คณะกรรมการ กรธ.ความมั่นคงฯ ทุกคน เพื่อแสดงข้อกังวลว่า การจะสอบหรือสืบหาข้อเท็จจริงในกรณีนี้ไม่ได้อยู่ในขอบข่ายอำนาจหน้าที่ ของกมธ.ชุดนี้ ตามที่กฎหมายกำหนดให้มีหน้าที่ ตรวจสอบเกี่ยวกับปัญหาความมั่นคงแห่งรัฐ ด้านกิจการชายแดนและด้านยุทธศาสตร์ชาติ รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน ขณะเดียวกันกรณีดังกล่าว กมธ.ตำรวจ ทำหน้าที่ตรวจสอบอยู่แล้ว จึงมองว่าเป็นการทำงานที่ซ้ำซ้อน รวมถึงยังมีองค์กรอิสระอื่นๆที่กำลังตรวจสอบกรณีนี้อยู่แล้วเช่นกัน
นาย
สมบูรณ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าพ.ต.อ.
ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และอธิบดีกรมราชทัณฑ์จะเข้าไปชี้แจงตามนัดหมายพรุ่งนี้หรือไม่ แต่ถ้าหากประธานสภาผู้แทนราษฎรมีความเห็นว่าอยู่ใน อำนาจหน้าที่ของ กมธ. ความมั่นคงฯ ก็ยินดีจะเข้าไปชี้แจง ซึ่งยืนยันว่ากระทรวงยุติธรรม พร้อมจะให้ความร่วมมือกับทุกฝ่าย
ลุ้นพรุ่งนี้! "ศาลรธน." รับ-ไม่รับ "ทักษิณ-พท." ล้มล้างการปกครอง สะพัดเสียงยังไม่นิ่ง ส่อสูสี
https://siamrath.co.th/n/582070
วันที่ 21 พ.ย.67 จากกรณีที่นาย
ธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายความ ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 เมื่อวันที่ 10 ต.ค.67 ที่ผ่านมา ระบุพฤติกรรม 6 ข้อ ตามคำร้องอ้างว่า นาย
ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิ หรือเสรีภาพ เพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีหนังสือแจ้งอัยการสูงสุด เพื่อขอทราบว่า ได้ดำเนินการตามคำร้องของผู้ร้อง คือนาย
ธีรยุทธ ไปแล้วอย่างไร และรวบรวมพยานหลักฐานได้เพียงใด โดยให้จัดส่งต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน ทั้งนี้เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 67 ที่ผ่านมา นายไพรัช พรสมบูรณ์ศิริ อัยการสูงสุด ได้ลงนามตอบถ้อยคำต่อศาลรัฐธรรมนูญ เป็นที่เรียบร้อยเเล้ว
มีรายงานว่า ในวันที่ 22 พ.ย.นี้ ศาลรัฐธรรมนูญจะมีการประชุม เพื่อพิจารณาว่าจะรับหรือไม่รับ คำร้องของนาย
ธีรยุทธ ซึ่งเป็นการเลื่อนประชุมจากเมื่อวันที่ 20 พ.ย.67 ที่ผ่านมา เนื่องจากตุลาการติดภารกิจ
ทั้งนี้มีรายงานความเคลื่อนไหวในส่วนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่จะพิจารณาทั้งสิ้น 9 คน ประกอบด้วย 1.นาย
นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ 2.นาย
ปัญญา อุดชาชน 3.นาย
อุดม สิทธิวิรัชธรรม 4.นาย
วิรุฬห์ แสงเทียน 5.นาย
จิรนิติ หะวานนท์ 6.นาย
นภดล เทพพิทักษ์ 7.นาย
บรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์ 8.นาย
อุดม รัฐอมฤต 9.นาย
สุเมธ รอยกุลเจริญ
มีรายงานว่า มติที่จะออกมาว่ารับหรือไม่รับคำร้อง ของนาย
ธีรยุทธ ที่จะพิจารณาในวันพรุ่งนี้นั้น ยังไม่นิ่ง เนื่องจากมีตัวแปร และเงื่อนไขเรื่องเสียงของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ก่อนหน้านี้มีรายงานจากฝ่ายการเมือง ประเมินว่า อาจมีมติ 7 ต่อ 2 เสียงให้รับคำร้องดังกล่าวเอาไว้พิจารณา แต่ขณะเดียวกันล่าสุด มีรายงานว่ามติที่ออกมามีแนวโน้มว่าเสียงจะสูสี ระหว่างรับหรือไม่รับคำร้อง โดยมีการประเมินจากที่ก่อนหน้านี้ ศาลรัฐธรรมนูญ เคยมีมติคดีถอดถอน นาย
เศรษฐา ทวีสิน ให้พ้นจากตำแหน่งนายกฯ กรณีแต่งตั้งนาย
พิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยมติออกมา 5 ต่อ 4 เสียงให้นาย
เศรษฐา ต้องพ้นจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 14 ส.ค.67
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เสียงข้างมาก 5 เสียงได้แก่ นาย
ปัญญา อุดชาชน ,นาย
อุดม สิทธิวิรัชธรรม ,นาย
วิรุฬห์ แสงเทียน, นาย
จิรนิติ หะวานนท์ และนาย
บรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์
ทั้งนี้มีรายงานว่า ในจำนวน 5 เสียงข้างมากกลุ่มนี้ นาย
อุดม สิทธิวิรัชธรรม อาจติดภารกิจ เนื่องจากจะต้องเดินทางไปดูงานที่ประเทศฟิลิปปินส์ ตามคำสั่งของประธานศาลรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้เสียงในที่ประชุมพรุ่งนี้ เหลือ 8 เสียง โดยทำให้มีการจับตาไปที่การเกาะกลุ่มในกลุ่มนี้ที่จะเหลือ 4 เสียง นอกจากนี้มีมองไปที่ นาย
จิรนิติ หะวานนท์ ที่ จะสามารถเป็นตัวหลักของกลุ่มนี้แทนนาย
อุดม
JJNY : เครดิตบูโร เปิดหนี้เสีย│กังวล! กมธ.ความมั่นคงฯ เรียก “ทวี”│ลุ้นพรุ่งนี้! "ศาลรธน." รับ-ไม่รับ│สภาดูมาตัดรายได้
https://www.pptvhd36.com/wealth/economic/237103
นายสุรพล โอภาสเสถียร เครดิตบูโร โพสต์ เฟซบุ๊ก Surapol Opasatien ถึง รายงานภาระหนี้สินภาคครัวเรือนจากสถาบันการเงิน 157 แห่งที่เป็นสมาชิกของเครดิตบูโร ครอบคลุมประชาชนคนไทยและผู้มีถิ่นฐานในประเทศไทยที่มีหนี้สินกับสถาบันการเงินสมาชิก ซึ่งปัจจุบันครอบคลุมประมาณกว่า 30 ล้านคนจากฐานข้อมูลสถิติที่ไม่มีตัวตนในไตรมาสที่ 3 ปี 2567 มีรายละเอียดดังนี้
หนี้ครัวเรือนในระบบเครดิตบูโรอยู่ที่ 13.6 ล้านล้านบาท (หนี้ครัวเรือนไทยทั้งหมด 16.3ล้านล้านบาท) อัตราการเติบโต 0.5% yoy ถ้าเป็น QoQ จะ -0.2% สรุปคือสินเชื่อไม่โต เศรษฐกิจในไตรมาส 3 เติบโต 3% ในช่วง 9 เดือนโต 2.3% สินเชื่อธุรกิจคนตัวเล็ก -4.6% yoy สินเชื่อเบิกเกินบัญชี -4.5% yoy
ต่อมาคือระดับของ NPLs (หนี้เสีย) เป็นไปตามคาดอยู่ที่ประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 8.8% ของหนี้รวม 13.6 ล้านล้านบาท พุ่งขึ้นชัดเจนตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 หลังพักฐานไตรมาสที่ 4 ปี 2566 แล้วไปต่อตั้งแต่ปี 2567 พร้อมๆกับมาตรการกลับไปสู่ความเป็นปกติ (normalize) เศรษฐกิจค่อยๆ โตกลับมาอย่างเชื่องช้า มีเรื่องการให้กู้อย่างรับผิดชอบ การแก้หนี้เรื้อรัง แก้หนี้ครบวงจร ภาพของเส้นหนี้เสียวิ่งจาก 7.7% สู่ 8.8%
โดยเลขหนี้ NPLs ประมาณ 1.2 ล้านล้านบาทโดยประมาณ เติบโต 14.1% yoy 3.4% QoQ โดย NPLs สินเชื่อบ้าน รถยนต์ บัตรเครดิต ส่วนสินเชื่อส่วนบุคคลยังโตไม่มากจากไตรมาสก่อน นายสุรพลบอกว่าที่กังวลมากคือสินเชื่อธุรกิจคนตัวเล็กหรือ SMEs เติบโต 20% yoy 5.2% QoQ อันนี้คือประเด็นสำคัญมาก
ส่วน SM ยอดคงค้าง Q3 ปี 2567 มาหยุดที่ 4.8 แสนล้านบาทโดยประมาณ ลดลงมาทั้ง yoy และ QoQ น่าจะเบาใจขึ้นได้บ้าง
สำหรับปรับปรุงโครงสร้างหนี้หลังเป็นหนี้เสียที่เรียกว่าทำ TDR ซึ่งตัวเลขสะสมมาอยู่ที่ 1.03 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 7.6% ของ 13.6 ล้านล้านบาท ที่ไม่ค่อยดีคือมันอืด มันเติบโต QoQ ติดลบประมาณ 3%
ในส่วนของ DR หรือปรับโครงสร้างหนี้เชิงป้องกันก่อนเป็นหนี้เสียยอดสะสมตั้งแต่เมษายน 2567 มาหยุดที่ 1.2 ล้านบัญชี 6.45 แสนล้านบาท
กังวล! กมธ.ความมั่นคงฯ เรียก “ทวี” แจ้งปม “ทักษิณ” นอนรพ.ตร.
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_805466
ที่ปรึกษา รมว.ยธ. เผย กังวล หลัง กมธ.ความมั่นคงฯ ส่งหนังสือเชิญ ทวี – อธิบดีกรมราชทัณฑ์ และผู้ที่เกี่ยวข้องกว่า 10 คน เข้าชี้แจงกรณี “ทักษิณ” รักษาตัว รพ.ตำรวจ
วันนี้ (21 พ.ย. 67) นายสมบูรณ์ ม่วงกล่ำ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และผู้บริหารกรมราชทัณฑ์ ร่วมกันแถลงชี้แจงกรณีที่คณะกรรมาธิการ หรือ กมธ. ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติ และการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ส่งหนังสือมาถึงกระทรวงยุติธรรม ให้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าชี้แจงกรณีการรักษาตัวของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่โรงพยาบาลตำรวจ มีความถูกต้องตามกระบวนการยุติธรรมหรือไม่
นายสมบูรณ์ กล่าวว่า เมื่อวันที่14 พ.ย.ที่ผ่านมา กมธ.ความมั่นคง ฯ มีหนังสือมาถึงกระทรวงยุติธรรม ให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม, อธิบดีกรมราชทัณฑ์ และ เจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน กว่า 10 คน เข้าไปชี้แจงในประเด็นการดำเนินงานและเประเด็นอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ต่อ กมธ.ความมั่นคงฯ เกี่ยวกับการพักรักษาตัวของนายทักษิณ ชินวัตร ที่โรงพยาบาลตำรวจ ในวันพรุ่งนี้
โดยเมื่อวานที่ผ่านมา อธิบดีกรมราชทัณฑ์ได้มีหนังสือไปถึงประธานสภาผู้แทนราษฎร และ คณะกรรมการ กรธ.ความมั่นคงฯ ทุกคน เพื่อแสดงข้อกังวลว่า การจะสอบหรือสืบหาข้อเท็จจริงในกรณีนี้ไม่ได้อยู่ในขอบข่ายอำนาจหน้าที่ ของกมธ.ชุดนี้ ตามที่กฎหมายกำหนดให้มีหน้าที่ ตรวจสอบเกี่ยวกับปัญหาความมั่นคงแห่งรัฐ ด้านกิจการชายแดนและด้านยุทธศาสตร์ชาติ รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน ขณะเดียวกันกรณีดังกล่าว กมธ.ตำรวจ ทำหน้าที่ตรวจสอบอยู่แล้ว จึงมองว่าเป็นการทำงานที่ซ้ำซ้อน รวมถึงยังมีองค์กรอิสระอื่นๆที่กำลังตรวจสอบกรณีนี้อยู่แล้วเช่นกัน
นายสมบูรณ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าพ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และอธิบดีกรมราชทัณฑ์จะเข้าไปชี้แจงตามนัดหมายพรุ่งนี้หรือไม่ แต่ถ้าหากประธานสภาผู้แทนราษฎรมีความเห็นว่าอยู่ใน อำนาจหน้าที่ของ กมธ. ความมั่นคงฯ ก็ยินดีจะเข้าไปชี้แจง ซึ่งยืนยันว่ากระทรวงยุติธรรม พร้อมจะให้ความร่วมมือกับทุกฝ่าย
ลุ้นพรุ่งนี้! "ศาลรธน." รับ-ไม่รับ "ทักษิณ-พท." ล้มล้างการปกครอง สะพัดเสียงยังไม่นิ่ง ส่อสูสี
https://siamrath.co.th/n/582070
วันที่ 21 พ.ย.67 จากกรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายความ ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 เมื่อวันที่ 10 ต.ค.67 ที่ผ่านมา ระบุพฤติกรรม 6 ข้อ ตามคำร้องอ้างว่า นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิ หรือเสรีภาพ เพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีหนังสือแจ้งอัยการสูงสุด เพื่อขอทราบว่า ได้ดำเนินการตามคำร้องของผู้ร้อง คือนายธีรยุทธ ไปแล้วอย่างไร และรวบรวมพยานหลักฐานได้เพียงใด โดยให้จัดส่งต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน ทั้งนี้เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 67 ที่ผ่านมา นายไพรัช พรสมบูรณ์ศิริ อัยการสูงสุด ได้ลงนามตอบถ้อยคำต่อศาลรัฐธรรมนูญ เป็นที่เรียบร้อยเเล้ว
มีรายงานว่า ในวันที่ 22 พ.ย.นี้ ศาลรัฐธรรมนูญจะมีการประชุม เพื่อพิจารณาว่าจะรับหรือไม่รับ คำร้องของนายธีรยุทธ ซึ่งเป็นการเลื่อนประชุมจากเมื่อวันที่ 20 พ.ย.67 ที่ผ่านมา เนื่องจากตุลาการติดภารกิจ
ทั้งนี้มีรายงานความเคลื่อนไหวในส่วนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่จะพิจารณาทั้งสิ้น 9 คน ประกอบด้วย 1.นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ 2.นายปัญญา อุดชาชน 3.นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม 4.นายวิรุฬห์ แสงเทียน 5.นายจิรนิติ หะวานนท์ 6.นายนภดล เทพพิทักษ์ 7.นายบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์ 8.นายอุดม รัฐอมฤต 9.นายสุเมธ รอยกุลเจริญ
มีรายงานว่า มติที่จะออกมาว่ารับหรือไม่รับคำร้อง ของนายธีรยุทธ ที่จะพิจารณาในวันพรุ่งนี้นั้น ยังไม่นิ่ง เนื่องจากมีตัวแปร และเงื่อนไขเรื่องเสียงของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ก่อนหน้านี้มีรายงานจากฝ่ายการเมือง ประเมินว่า อาจมีมติ 7 ต่อ 2 เสียงให้รับคำร้องดังกล่าวเอาไว้พิจารณา แต่ขณะเดียวกันล่าสุด มีรายงานว่ามติที่ออกมามีแนวโน้มว่าเสียงจะสูสี ระหว่างรับหรือไม่รับคำร้อง โดยมีการประเมินจากที่ก่อนหน้านี้ ศาลรัฐธรรมนูญ เคยมีมติคดีถอดถอน นายเศรษฐา ทวีสิน ให้พ้นจากตำแหน่งนายกฯ กรณีแต่งตั้งนายพิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยมติออกมา 5 ต่อ 4 เสียงให้นายเศรษฐา ต้องพ้นจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 14 ส.ค.67
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เสียงข้างมาก 5 เสียงได้แก่ นายปัญญา อุดชาชน ,นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม ,นายวิรุฬห์ แสงเทียน, นายจิรนิติ หะวานนท์ และนายบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์
ทั้งนี้มีรายงานว่า ในจำนวน 5 เสียงข้างมากกลุ่มนี้ นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม อาจติดภารกิจ เนื่องจากจะต้องเดินทางไปดูงานที่ประเทศฟิลิปปินส์ ตามคำสั่งของประธานศาลรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้เสียงในที่ประชุมพรุ่งนี้ เหลือ 8 เสียง โดยทำให้มีการจับตาไปที่การเกาะกลุ่มในกลุ่มนี้ที่จะเหลือ 4 เสียง นอกจากนี้มีมองไปที่ นายจิรนิติ หะวานนท์ ที่ จะสามารถเป็นตัวหลักของกลุ่มนี้แทนนายอุดม