อังคณา จี้ ‘ทักษิณ’ ขอโทษ ปราศรัยเหยียดเชื้อชาติ ชี้ช่วยหาเสียงเป็นสิทธิ แต่ไม่ใช่พูดอะไรก็ได้
https://www.matichon.co.th/politics/news_4986315
‘อังคณา’ จี้ ‘ทักษิณ’ ขอโทษ หลังปราศรัยเหยียดผิว มองช่วยหาเสียงเป็นสิทธิ แต่ไม่สามารถพูดด้อยค่า-ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้
เมื่อเวลา11.20 น. วันที่ 6 มกราคม ที่รัฐสภา นาง
อังคณา นีละไพจิตร ส.ว. ให้สัมภาษณ์กรณี นาย
ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ขึ้นปราศรัยหาเสียงช่วยผู้สมัครนายก อบจ.เชียงราย ซึ่งได้พูดพาดพิงคนแอฟริกันในลักษณะเหยียดเชื้อชาติว่า นาย
ทักษิณเองก็เคยเป็นนายกฯ รวมถึงเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง หรือสนับสนุนพรรคเพื่อไทย และยังมีลูกสาวเป็นนายกฯ การพูดในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ สีผิว ถือเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญและกติการะหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีอยู่
“
เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ในทางสิทธิมนุษยชน การเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งสีผิว หรือเชื้อชาติ ถือเป็นเรื่องใหญ่และเรื่องสำคัญมาก อยากให้คุณทักษิณออกมาขอโทษในสิ่งที่ได้พูดไป ในบ้านเราเองก็ไม่ได้มีคนที่มีสีผิวเหมือนกันหมด ตรงนี้เป็นหลักการขั้นพื้นฐานมากๆ ซึ่งหวังว่าท่านนายกรัฐมนตรีจะไม่ปล่อยเรื่องนี้ผ่านไปและหวังว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ซ้ำอีก เพราะไทยไปสมัครเป็นสมาชิกมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหชาติ ได้ให้คำมั่นไว้เยอะมาก โดยเฉพาะเรื่องธรรมาภิบาลของสิทธิมนุษยชน เรื่องการขจัดการเลือกปฏิบัติ” นาง
อังคณากล่าว
เมื่อถามว่า เรื่องนี้สะท้อนอะไรไปยังนาย
ทักษิณ นาง
อังคณากล่าวว่า นาย
ทักษิณคงคิดว่าจะพูดอะไรก็พูดได้ ไม่ระมัดระวังปาก คนที่ผ่านชีวิตช่วงที่นาย
ทักษิณเป็นนายกฯจะทราบว่านายทักษิณเป็นคนปากเร็ว พูดเร็ว และไม่กังวลผลกระทบว่าจะเป็นอย่างไร แต่เรื่องหลักการขั้นพื้นฐานต้องระวังให้มากขึ้น เรื่องนี้เป็นเรื่องของการเหยียดผิว เหยียดเชื้อชาติ สิ่งที่นายกฯพูดให้คำมั่นเป็นเรื่องหนึ่ง แต่คนที่อยู่เบื้องหลังพรรคการเมืองที่นายรัฐมนตรีสังกัดอยู่กลับพูดอีกแบบหนึ่ง วันนี้ก็ยังไม่ทราบเลยว่าตำแหน่งของนายทักษิณจริงๆ แล้วเกี่ยวข้องยังไงกับนายกฯ แต่ที่แน่ๆ นาย
ทักษิณเป็นผู้มีอิทธิพลในพรรคเพื่อไทยอยู่ ดังนั้น ก็ยึดโยงกันโดยที่ไม่สามารถปฏิเสธได้
ส่วนที่นาย
ทักษิณไม่มีตำแหน่งใดๆ ในรัฐบาลจะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์หรือไม่นั้น นางอังคณาระบุว่า ในทางนิตินัยนาย
ทักษิณไม่มีตำแหน่งอย่างเป็นทางการ แต่ในทางพฤตินัยเราก็ได้ยินคำว่าพ่อคิดลูกทำและเราก็เห็นวิธีปฏิบัติที่นายทักษิณมีอิทธิพลต่อพรรคเพื่อไทย ถึงแม้ในทางกฎหมายนาย
ทักษิณจะปฏิเสธว่าไม่มีตำแหน่งใดๆ แต่ในทางพฤตินัยไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทและมีอิทธิพลอย่างมากในพรรคเพื่อไทย
“
นายทักษิณพูดหาเสียงเป็นสิทธิ แต่ไม่สามารถพูดอย่างไรก็ได้ เนื่องจากต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ไม่ด้อยค่า หรือลดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แม้กรณีดังกล่าวอาจไม่ทำให้เกิดความขัดแย้ง เป็นน้ำผึ้งหยดเดียวได้ แต่เพื่อเป็นการป้องกันนายทักษิณควรออกมาขอโทษ” นาง
อังคณากล่าว
อังคณา หนุนร่างปชน. ถอดสิทธิส.ว.โหวตแก้รธน. เผยพรรคอาจเหนื่อย เหตุส.ว.ข้างมากไม่เอา
https://www.matichon.co.th/politics/news_4986358
‘อังคณา’ ประเมิน ปชน.แก้ รธน.เหนื่อย เหตุ ส.ว.ข้างมากไม่เอาด้วย พร้อมบอกหนุนถอดสิทธิ ส.ว. โหวตเห็นชอบแก้ รธน.
เมื่อเวลา 11.20 น. วันที่ 6 มกราคม ที่รัฐสภา นางอังคณา นีละไพจิตร ส.ว. ให้สัมภาษณ์ถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่พรรคประชาชน (ปชน.) เสนอต่อประเด็นการแก้ไขมาตรา 256 และเพิ่มหมวดสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ให้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งมีประเด็นที่ลิดรอนสิทธิของ ส.ว.ต่อการออกเสียงเห็นชอบว่า สนับสนุนในเนื้อหาที่พรรคประชาชนเสนอ โดยเนื้อหาที่เสนอแก้ไขนั้นเป็นสิทธิที่ทำได้ อย่างไรก็ดี ประเมินว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญในรอบนี้พรรคประชาชนอาจจะเหนื่อย เนื่องจากไม่ได้เสียงสนับสนุนจาก ส.ว.ส่วนใหญ่
“ขอเรียกร้องไปยัง ส.ว.ส่วนใหญ่ให้คำนึงถึงอนาคตประเทศและประชาชน เพราะต้องยอมรับว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีปัญหาหลายประการ ควรได้รับการแก้ไขโดย ส.ส.ร.ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน” นางอังคณากล่าว
นางอังคณากล่าวด้วยว่า สำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 มีการประเมินว่าอาจมีกระบวนการทำให้ยืดเยื้อ เพราะจะถูกยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัย ซึ่งตนไม่ทราบว่าจะมีฝ่ายใดเป็นผู้ดำเนินการ ดังนั้น เมื่อมีการยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญแล้ว การพิจารณาต้องหยุดไปก่อนจนกว่ามีคำวินิจฉัย
จับตาความท้าทาย เศรษฐกิจไทยปี 68 นโยบายสหรัฐ ปัจจัยอุตฯยานยนต์
https://www.dailynews.co.th/news/4260499/
แบงก์ชาติ ชี้เศรษฐกิจไทยปี 68 ท้าทายจากภายนอก นโยบายทรัมป์สะเทือนครึ่งปีหลัง เกาะติดอุตฯยานยนต์กระทบแรงงาน ฉุดจับจ่ายใช้สอยในประเทศ
วันที่ 6 ม.ค. นาย
สักกะภพ พันธ์ยานุกูล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้มีความไม่แน่นอนสูงขึ้น ทั้งจากปัจจัยเรื่องภูมิรัฐศาสตร์ที่มีความรุนแรงขึ้น รวมถึงนโยบายของประเทศคู่ค้าหลักที่มีความไม่แน่นอนสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะนโยบายของเศรษฐกิจสหรัฐที่จะเห็นผลกระทบชัดเจนในช่วงครึ่งปีหลัง และในภาคการผลิตที่ได้รับผลกระทบจากการแข่งขันภายนอกประเทศสูงขึ้น และปัจจัยโครงสร้างในด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์
ด้านนโยบายการเงิน ในระยะข้างหน้า เศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวได้แต่ยังมีการฟื้นตัวที่ไม่เท่าเทียมกัน และมีความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้าที่ยังสูงขึ้น โดยเฉพาะครึ่งหลังของปีนี้ ดังนั้นการดำเนินนโยบายการเงินจะต้องมีความยืดหยุ่น และสามารถรองรับกับสถานการณ์ที่มีความหลากหลาย และให้ความสำคัญกับการรักษากันชนด้านนโยบาย(โพลิซี บัฟเฟอร์) ในแง่ต่างๆไว้ด้วย รวมถึงพิจารณาผสมผสานเครื่องมือในเชิงนโยบายให้เหมาะสมกับพัฒนาการที่จะเกิดขึ้น
ขณะที่ในด้านทิศทางค่าเงินบาทในปีนี้ มองว่า ยังมีความผันผวน จากนโยบายเศรษฐกิจที่มีความท้าทายและคาดเดาได้ยาก ส่งผลให้ต้นทุนทางการเงิน หรือ อัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวนไปด้วย
นาย
ปิติ ดิษยทัต รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธปท. กล่าวว่า อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นความท้าทายไม่เฉพาะกับประเทศไทยเท่านั้น เพราะเป็นปัจจัยเฉพาะ ทั้งนี้ต้องมองข้างนอกและข้างในพร้อมกัน โดยในระยะต่อไป มีความท้าทายค่อนข้างมาก โดยประเด็นที่จะมีผลต่อเศรษฐกิจไทย คือ ในแง่ของแรงงานค่อนข้างสูง กระทบถึงกว่า 1 ล้านคน ซึ่งได้กระทบกับการจับจ่ายใช้สอยในประเทศ แม้ในภาพรวมไม่ได้กระทบต่อเศรษฐกิจ หรือจีดีพีไทยมากนัก
นาง
ปราณี สุทธศรี ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธปท. กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้คาดว่าจะขยายตัวได้ 2.9% โดยแรงขับเคลื่อนหลักจากอุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศ ขณะที่การท่องเที่ยวปีนี้คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างประเทศ 39.5 ล้านคน ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับระดับศักยภาพ โดยแรงส่งสำคัญมาจากการส่งออกสินค้า ที่ปีนี้คาดว่าจะขยายตัวได้ 2.7% ด้านการนำเข้าขยายตัวได้ 1.7% การท่องเที่ยวและอุปสงค์ในประเทศ
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยปีนี้ ยังมีปัจจัยบวกจาก มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ เช่น มาตรการเงินดิจิทัล เฟส 2 และ เฟส 3 มาตรการอีซี่ อี-รีซีท ลดหย่อนภาษี ที่จะต้องติดตามว่าจะมีผลต่อเศรษฐกิจมากน้อยแค่ไหน ขณะที่ปัจจัยลบต้องติดตาม ความรุนแรงของนโยบายกีดกันทางการค้าของสหรัฐที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป
“
ครึ่งแรกของปีจะเห็นการเร่งส่งออกสินค้า แต่ในระยะต่อไปจะมีความไม่แน่นอนของนโยบายกีดกันทางการค้าของสหรัฐ ที่จะทำให้ครึ่งปีหลังแผ่วลง แม้เศรษฐกิจจะขยายตัวได้ใกล้เคียงระดับศักยภาพ แต่การฟื้นตัวยังมีความแตกต่างกัน โดยกลุ่มที่ฟื้นตัวดีคือ ภาคการท่องเที่ยวและบริการอื่นๆ ขณะที่กลุ่มที่ฟื้นตัวช้า คือ อิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ ยังเป็นกลุ่มที่มีพัฒนาการแย่ลง โดยการผลิตยานยนต์ปีที่ผ่านมาลดลง จากวัฏจักรเชิงโครงสร้าง เป็นต้น”
นาย
สุรัช แทนบุญ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายการเงิน ธปท. กล่าวว่า เงินเฟ้อทั่วไปยังอยู่ในกรอบเป้าหมาย คาดว่าเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ 1.1% ด้านภาวะการเงินโดยรวมสามารถทำหน้าที่สนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยแม้ว่าจะเห็นสินเชื่อชะลอลงเป็นผลจากความต้องการสินเชื่อลดลง ส่วนหนึ่งจากธุรกิจที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพึ่งพาสินเชื่อน้อยลง ความเสี่ยงด้านเครดิตอยู่ในระดับสูง และการชำระคืนนี้ที่กู้ยืมไปในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
JJNY : อังคณาจี้‘ทักษิณ’ขอโทษ│อังคณาหนุนร่างปชน.│จับตาความท้าทายศก. นโยบายสหรัฐ│อินโดนีเซียยกเลิกแผน ขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
https://www.matichon.co.th/politics/news_4986315
‘อังคณา’ จี้ ‘ทักษิณ’ ขอโทษ หลังปราศรัยเหยียดผิว มองช่วยหาเสียงเป็นสิทธิ แต่ไม่สามารถพูดด้อยค่า-ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้
เมื่อเวลา11.20 น. วันที่ 6 มกราคม ที่รัฐสภา นางอังคณา นีละไพจิตร ส.ว. ให้สัมภาษณ์กรณี นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ขึ้นปราศรัยหาเสียงช่วยผู้สมัครนายก อบจ.เชียงราย ซึ่งได้พูดพาดพิงคนแอฟริกันในลักษณะเหยียดเชื้อชาติว่า นายทักษิณเองก็เคยเป็นนายกฯ รวมถึงเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง หรือสนับสนุนพรรคเพื่อไทย และยังมีลูกสาวเป็นนายกฯ การพูดในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ สีผิว ถือเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญและกติการะหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีอยู่
“เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ในทางสิทธิมนุษยชน การเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งสีผิว หรือเชื้อชาติ ถือเป็นเรื่องใหญ่และเรื่องสำคัญมาก อยากให้คุณทักษิณออกมาขอโทษในสิ่งที่ได้พูดไป ในบ้านเราเองก็ไม่ได้มีคนที่มีสีผิวเหมือนกันหมด ตรงนี้เป็นหลักการขั้นพื้นฐานมากๆ ซึ่งหวังว่าท่านนายกรัฐมนตรีจะไม่ปล่อยเรื่องนี้ผ่านไปและหวังว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ซ้ำอีก เพราะไทยไปสมัครเป็นสมาชิกมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหชาติ ได้ให้คำมั่นไว้เยอะมาก โดยเฉพาะเรื่องธรรมาภิบาลของสิทธิมนุษยชน เรื่องการขจัดการเลือกปฏิบัติ” นางอังคณากล่าว
เมื่อถามว่า เรื่องนี้สะท้อนอะไรไปยังนายทักษิณ นางอังคณากล่าวว่า นายทักษิณคงคิดว่าจะพูดอะไรก็พูดได้ ไม่ระมัดระวังปาก คนที่ผ่านชีวิตช่วงที่นายทักษิณเป็นนายกฯจะทราบว่านายทักษิณเป็นคนปากเร็ว พูดเร็ว และไม่กังวลผลกระทบว่าจะเป็นอย่างไร แต่เรื่องหลักการขั้นพื้นฐานต้องระวังให้มากขึ้น เรื่องนี้เป็นเรื่องของการเหยียดผิว เหยียดเชื้อชาติ สิ่งที่นายกฯพูดให้คำมั่นเป็นเรื่องหนึ่ง แต่คนที่อยู่เบื้องหลังพรรคการเมืองที่นายรัฐมนตรีสังกัดอยู่กลับพูดอีกแบบหนึ่ง วันนี้ก็ยังไม่ทราบเลยว่าตำแหน่งของนายทักษิณจริงๆ แล้วเกี่ยวข้องยังไงกับนายกฯ แต่ที่แน่ๆ นายทักษิณเป็นผู้มีอิทธิพลในพรรคเพื่อไทยอยู่ ดังนั้น ก็ยึดโยงกันโดยที่ไม่สามารถปฏิเสธได้
ส่วนที่นายทักษิณไม่มีตำแหน่งใดๆ ในรัฐบาลจะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์หรือไม่นั้น นางอังคณาระบุว่า ในทางนิตินัยนายทักษิณไม่มีตำแหน่งอย่างเป็นทางการ แต่ในทางพฤตินัยเราก็ได้ยินคำว่าพ่อคิดลูกทำและเราก็เห็นวิธีปฏิบัติที่นายทักษิณมีอิทธิพลต่อพรรคเพื่อไทย ถึงแม้ในทางกฎหมายนายทักษิณจะปฏิเสธว่าไม่มีตำแหน่งใดๆ แต่ในทางพฤตินัยไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทและมีอิทธิพลอย่างมากในพรรคเพื่อไทย
“นายทักษิณพูดหาเสียงเป็นสิทธิ แต่ไม่สามารถพูดอย่างไรก็ได้ เนื่องจากต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ไม่ด้อยค่า หรือลดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แม้กรณีดังกล่าวอาจไม่ทำให้เกิดความขัดแย้ง เป็นน้ำผึ้งหยดเดียวได้ แต่เพื่อเป็นการป้องกันนายทักษิณควรออกมาขอโทษ” นางอังคณากล่าว
อังคณา หนุนร่างปชน. ถอดสิทธิส.ว.โหวตแก้รธน. เผยพรรคอาจเหนื่อย เหตุส.ว.ข้างมากไม่เอา
https://www.matichon.co.th/politics/news_4986358
‘อังคณา’ ประเมิน ปชน.แก้ รธน.เหนื่อย เหตุ ส.ว.ข้างมากไม่เอาด้วย พร้อมบอกหนุนถอดสิทธิ ส.ว. โหวตเห็นชอบแก้ รธน.
เมื่อเวลา 11.20 น. วันที่ 6 มกราคม ที่รัฐสภา นางอังคณา นีละไพจิตร ส.ว. ให้สัมภาษณ์ถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่พรรคประชาชน (ปชน.) เสนอต่อประเด็นการแก้ไขมาตรา 256 และเพิ่มหมวดสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ให้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งมีประเด็นที่ลิดรอนสิทธิของ ส.ว.ต่อการออกเสียงเห็นชอบว่า สนับสนุนในเนื้อหาที่พรรคประชาชนเสนอ โดยเนื้อหาที่เสนอแก้ไขนั้นเป็นสิทธิที่ทำได้ อย่างไรก็ดี ประเมินว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญในรอบนี้พรรคประชาชนอาจจะเหนื่อย เนื่องจากไม่ได้เสียงสนับสนุนจาก ส.ว.ส่วนใหญ่
“ขอเรียกร้องไปยัง ส.ว.ส่วนใหญ่ให้คำนึงถึงอนาคตประเทศและประชาชน เพราะต้องยอมรับว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีปัญหาหลายประการ ควรได้รับการแก้ไขโดย ส.ส.ร.ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน” นางอังคณากล่าว
นางอังคณากล่าวด้วยว่า สำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 มีการประเมินว่าอาจมีกระบวนการทำให้ยืดเยื้อ เพราะจะถูกยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัย ซึ่งตนไม่ทราบว่าจะมีฝ่ายใดเป็นผู้ดำเนินการ ดังนั้น เมื่อมีการยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญแล้ว การพิจารณาต้องหยุดไปก่อนจนกว่ามีคำวินิจฉัย
จับตาความท้าทาย เศรษฐกิจไทยปี 68 นโยบายสหรัฐ ปัจจัยอุตฯยานยนต์
https://www.dailynews.co.th/news/4260499/
แบงก์ชาติ ชี้เศรษฐกิจไทยปี 68 ท้าทายจากภายนอก นโยบายทรัมป์สะเทือนครึ่งปีหลัง เกาะติดอุตฯยานยนต์กระทบแรงงาน ฉุดจับจ่ายใช้สอยในประเทศ
วันที่ 6 ม.ค. นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้มีความไม่แน่นอนสูงขึ้น ทั้งจากปัจจัยเรื่องภูมิรัฐศาสตร์ที่มีความรุนแรงขึ้น รวมถึงนโยบายของประเทศคู่ค้าหลักที่มีความไม่แน่นอนสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะนโยบายของเศรษฐกิจสหรัฐที่จะเห็นผลกระทบชัดเจนในช่วงครึ่งปีหลัง และในภาคการผลิตที่ได้รับผลกระทบจากการแข่งขันภายนอกประเทศสูงขึ้น และปัจจัยโครงสร้างในด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์
ด้านนโยบายการเงิน ในระยะข้างหน้า เศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวได้แต่ยังมีการฟื้นตัวที่ไม่เท่าเทียมกัน และมีความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้าที่ยังสูงขึ้น โดยเฉพาะครึ่งหลังของปีนี้ ดังนั้นการดำเนินนโยบายการเงินจะต้องมีความยืดหยุ่น และสามารถรองรับกับสถานการณ์ที่มีความหลากหลาย และให้ความสำคัญกับการรักษากันชนด้านนโยบาย(โพลิซี บัฟเฟอร์) ในแง่ต่างๆไว้ด้วย รวมถึงพิจารณาผสมผสานเครื่องมือในเชิงนโยบายให้เหมาะสมกับพัฒนาการที่จะเกิดขึ้น
ขณะที่ในด้านทิศทางค่าเงินบาทในปีนี้ มองว่า ยังมีความผันผวน จากนโยบายเศรษฐกิจที่มีความท้าทายและคาดเดาได้ยาก ส่งผลให้ต้นทุนทางการเงิน หรือ อัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวนไปด้วย
นายปิติ ดิษยทัต รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธปท. กล่าวว่า อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นความท้าทายไม่เฉพาะกับประเทศไทยเท่านั้น เพราะเป็นปัจจัยเฉพาะ ทั้งนี้ต้องมองข้างนอกและข้างในพร้อมกัน โดยในระยะต่อไป มีความท้าทายค่อนข้างมาก โดยประเด็นที่จะมีผลต่อเศรษฐกิจไทย คือ ในแง่ของแรงงานค่อนข้างสูง กระทบถึงกว่า 1 ล้านคน ซึ่งได้กระทบกับการจับจ่ายใช้สอยในประเทศ แม้ในภาพรวมไม่ได้กระทบต่อเศรษฐกิจ หรือจีดีพีไทยมากนัก
นางปราณี สุทธศรี ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธปท. กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้คาดว่าจะขยายตัวได้ 2.9% โดยแรงขับเคลื่อนหลักจากอุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศ ขณะที่การท่องเที่ยวปีนี้คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างประเทศ 39.5 ล้านคน ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับระดับศักยภาพ โดยแรงส่งสำคัญมาจากการส่งออกสินค้า ที่ปีนี้คาดว่าจะขยายตัวได้ 2.7% ด้านการนำเข้าขยายตัวได้ 1.7% การท่องเที่ยวและอุปสงค์ในประเทศ
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยปีนี้ ยังมีปัจจัยบวกจาก มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ เช่น มาตรการเงินดิจิทัล เฟส 2 และ เฟส 3 มาตรการอีซี่ อี-รีซีท ลดหย่อนภาษี ที่จะต้องติดตามว่าจะมีผลต่อเศรษฐกิจมากน้อยแค่ไหน ขณะที่ปัจจัยลบต้องติดตาม ความรุนแรงของนโยบายกีดกันทางการค้าของสหรัฐที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป
“ครึ่งแรกของปีจะเห็นการเร่งส่งออกสินค้า แต่ในระยะต่อไปจะมีความไม่แน่นอนของนโยบายกีดกันทางการค้าของสหรัฐ ที่จะทำให้ครึ่งปีหลังแผ่วลง แม้เศรษฐกิจจะขยายตัวได้ใกล้เคียงระดับศักยภาพ แต่การฟื้นตัวยังมีความแตกต่างกัน โดยกลุ่มที่ฟื้นตัวดีคือ ภาคการท่องเที่ยวและบริการอื่นๆ ขณะที่กลุ่มที่ฟื้นตัวช้า คือ อิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ ยังเป็นกลุ่มที่มีพัฒนาการแย่ลง โดยการผลิตยานยนต์ปีที่ผ่านมาลดลง จากวัฏจักรเชิงโครงสร้าง เป็นต้น”
นายสุรัช แทนบุญ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายการเงิน ธปท. กล่าวว่า เงินเฟ้อทั่วไปยังอยู่ในกรอบเป้าหมาย คาดว่าเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ 1.1% ด้านภาวะการเงินโดยรวมสามารถทำหน้าที่สนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยแม้ว่าจะเห็นสินเชื่อชะลอลงเป็นผลจากความต้องการสินเชื่อลดลง ส่วนหนึ่งจากธุรกิจที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพึ่งพาสินเชื่อน้อยลง ความเสี่ยงด้านเครดิตอยู่ในระดับสูง และการชำระคืนนี้ที่กู้ยืมไปในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19