ยกปัญหาที่ฟิลิปปินส์-ผู้เชี่ยวชาญ UN เตือนไทยผลักดันพนันถูกกฎหมาย หวั่นเอื้อฟอกเงิน
https://www.isranews.org/article/isranews-news/135099-isranews-Gamblibbb.html
ผู้เชี่ยวชาญ UN เตือนไทยออกนโยบายเอื้อคาสิโน-พนันออนไลน์ หวั่นเป็นแหล่งเอื้ออาชญากรรม-ฟอกเงิน แนะดูตัวอย่างฟิลิปปินส์เพิ่งยกเลิกออกใบอนุญาตพนันออนไลน์เมื่อปีที่แล้ว ชี้ควรยกเลิกชำระเงินพนันผ่านคริปโทฯ ให้หน่วยงานตรวจสอบคนเล่น-นักลงทุนเคร่งครัด แนะควรศึกษาตัวอย่างจาก กก.การพนันที่อังกฤษลงโทษคนฝ่าฝืนกฎหมาย
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานข่าวความเห็นเกี่ยวกับนโยบายเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าจะมีการเปิดบ่อนคาสิโน ของรัฐบาลว่านายเบเนดิกต์ ฮอฟมันน์ รองผู้แทนประจําภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิกของสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติหรือ UNODC ได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าววอยซ์ออฟอเมริกาเอาไว้ตอนหนึ่งว่าการนำเอาพนันผิดกฎหมาย การพนันออนไลน์ใต้ดินขึ้นมาอยู่บนดิน ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาลว่าเรื่องนี้อาจจะมีประโยชน์อยู่บ้าน แต่ว่าดูตัวอย่างจากประเทศฟิลิปปินส์จะเห็นว่ามันไม่ได้ปัญหาได้ทั้งหมด
นาย
ฮอฟมันน์กล่าวว่าในปี 2559 ฟิลิปปินส์ได้เดินหน้าโครงการ POGO หรือว่าโครงการผู้ให้บริการเกมการพนันนอกชายฝั่งของฟิลิปปินส์ มีจุดประสงค์เพื่อให้ใบอนุญาตผู้ประกอบการพนันออนไลน์ แต่ว่าปีที่แล้วได้มีการปิดโครงการลงไป โดยนายเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส จูเนียร์ ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์กล่าวตอนเดือน ก.ค. 2567 ให้กับคนทั้งประเทศว่าอุตสาหกรรมนี้ได้กลายร่างเป็นแหล่งหลอกลวงทางไซเบอร์ การฟอกเงิน และการค้ามนุษย์
นายฮอฟมันน์กล่าวว่าอุตสาหกรรมการพนันออนไลน์มักจะเกิดขึ้นเกิดจาการมีคาสิโนและสามารถเพิ่มกิจกรรมทางอาชญากรรมได้
“
การใช้ประโยชน์จากพื้นที่ออนไลน์ การดําเนินการเหล่านี้ทํางานตลอดเวลาและสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ในโลกดังนั้นการเข้าถึงและปริมาณของเงินทุนทั้งที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมายที่ดําเนินการจึงมีขนาดใหญ่กว่ามาก นอกจากนี้ยังมีการเสนอวิธีที่ง่ายกว่าเช่นการรวมธุรกรรมสกุลเงินดิจิทัล ทําให้สิ่งล่อตาล่อใจอย่างมากสําหรับการฟอกเงิน” นาย
ฮอฟมันน์กล่าว
รายงานของ UNODC ปี 2566 ระบุอีกว่าองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เปลี่ยนคาสิโนและเว็บไซต์พนันออนไลน์ในภูมิภาคให้เป็นเครือข่ายธนาคารเงาของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการเคลื่อนย้ายและฟอกเงินนับหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อปี ซึ่งเงินเหล่านี้มีที่มาจากรายได้การพนันผิดกฎหมาย การค้ายาเสพติด การหลอกลวงทางไซเบอร์ และกิจกรรมอาชญากรรมอื่นๆ
โดยนอกจากฟิลิปปินส์แล้ว คาสิโนและเว็บไซต์พนันหลายแห่งยังเปิดให้บริการข้ามพรมแดนจากประเทศไทยในกัมพูชา ลาว และเมียนมาร์
นาง
อแมนด้า กอร์ ผู้อํานวยการศูนย์ความก้าวหน้าระดับโลกและนักบัญชีนิติเวชที่สืบสวนอาชญากรรมทางการเงินทั่วโลก กล่าวว่าพื้นที่ใกล้เคียงของประเทศไทยทําให้ประเทศมีความเสี่ยงสูงที่อุตสาหกรรมการพนันออนไลน์ของไทยจะถูกเอารัดเอาเปรียบ
"
เพราะพวกเขามีปัญหาทางภูมิศาสตร์แบบเดียวกัน การค้ายาเสพติด องค์กรอาชญากรรม ทั้งหมดอยู่ในพื้นที่นั้น ดังนั้นไทยจะต้องเข้มงวดอย่างยิ่ง และหากไม่เข้มงวด มันก็อาจจะจบลงด้วยวิธีเดียวกับฟิลิปปินส์" นาง
กอร์กล่าว
นาง
กอร์กล่าวต่อว่าผู้ประกอบการที่อยู่เบื้องหลังเว็บไซต์การพนันออนไลน์เหล่านี้มักจะย้ายจากเขตอํานาจศาลหนึ่งไปยังอีกเขตอํานาจศาลหนึ่งเพื่อค้นหาเงื่อนไขที่อำนวยความสะดวกมากที่สุด และเตือนว่าผู้ประกอบการพนันที่เพิ่งถูกขับออกจากฟิลิปปินส์อาจมองหาประเทศไทยเป็นพื้นที่ปฏิบัติการต่อไป เว้นแต่จะผ่านกฎหมายที่เข้มงวดและสนับสนุนด้วยการบังคับใช้อย่างเข้มงวด
"
กุญแจสําคัญคือไทยต้องมีมีหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายที่แข็งแกร่งอยู่เบื้องหลังกฎระเบียบและกฎหมายเหล่านั้นหรือไม่ เพราะหากไทยไม่ทําเช่นนั้น ฉันคิดว่ามันจะเสี่ยงต่อมากต่อการเป็นเป้าหมายของกลุ่มอาชญากรในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกลุ่มอาชญากรที่เกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน" นาง
กอร์กล่าว
นาง
กอร์ยังแนะนำให้ประเทศไทยศึกษารายละเอียดจากการทำงานของคณะกรรมการการพนันของประเทศที่มีชื่อเสียงอย่างเช่นที่ สหราชอาณาจักร เพราะอาจจะได้บทเรียนที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับวิธีการคว่ำบาตรผู้ประกอบการพนันที่ไม่ทำตามกฎ
เช่นเดียวกับนาย
ฮอฟมันน์ที่กล่าวว่าประเทศไทยควรจะเน้นไปที่การสร้างความมั่นใจว่าหน่วยงานกํากับดูแลตรวจสอบนักลงทุนและผู้เล่นคาสิโนจะทำงานอย่างรอบคอบ และพิจารณายกเลิกการพนันออนไลน์และการชําระเงินด้วยสกุลเงินดิจิทัลโดยสิ้นเชิง
“
อย่างไรก็ตาม แม้จะดำเนินการตามที่ว่าแล้วมันก็ยังมีความเสี่ยงอยู่ ดังที่เราเห็นว่ากลุ่มอาชญากรมักจะแทรกซึมภายในนคาสิโนทั่วโลก” นาย
ฮอฟมันน์กล่าว
เรียบเรียงจาก:
https://www.voanews.com/a/money-laundering-fears-hang-over-thailand-s-online-gambling-plans-/7942266.html
ศูนย์ทนายความมุสลิม ยื่น กมธ.การกฎหมาย เรียก ภูมิธรรม-รมว.กต.- เลขา สมช. แจงปมส่งตัวอุยกูร์กลับจีน
https://www.matichon.co.th/politics/news_5011804
ศูนย์ทนายความมุสลิม ยื่น กมธ.การกฎหมาย เรียก ภูมิธรรม-รมว.กต.- เลขา สมช. แจงปมส่งตัวอุยกูร์กลับจีน
เมื่อวันที่ 22 มกราคม ที่รัฐสภา นาย
กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ สส.นราธิวาสพรรคประชาชาติ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ การกฎหมายการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนสภาผู้แทนราษฎร รับยื่นหนังสือจากนายอาดิลัน อาลีอิสเฮาะ ที่ปรึกษามูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม กรณีการส่งตัวชาวอุยกูร์กลับประเทศจีน
นาย
กมลศักดิ์ กล่าวว่า มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมเป็น องค์กรภาคประชาสังคมที่ดูแลเรื่องสิทธิมนุษยชน ในพื้นที่ชายแดนใต้ และกทม. ซึ่งมีการยื่นหนังสือร้องเรียนกรณีที่มีข่าวว่าจะมีการส่งตัวชาวอุยกูร์กลับประเทศ 48 คน โดย กมธ. ได้ติดตามประเด็นนี้ และทราบมาว่ามีข้อกังวลจากหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะภาคประชาสังคม ที่ดูแลด้านสิทธิมนุษยชน เกรงว่าจะมีนโยบายนำชาวอุยกูร์กลับประเทศจีน และเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา กมธ. ได้มีการหารเรื่องผู้ลี้ภัยชาวกัมพูชา ซึ่งหลังจากมีประเด็น และได้รับการประสานงานมากับเรื่องนี้ จึงคิดว่าในวันพุธหน้า ทาง กมธ. จะมีการบรรจุระเบียบวาระเพื่อเรียกหน่วยงานมาชี้แจง ถึงนโยบายความชัดเจนว่าเป็นจริงหรือไม่อย่างไร
นาย
กมลศักดิ์ กล่าวต่อว่า ขอให้ติดตามการเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาชี้แจงในสัปดาห์หน้า ว่าจะมีใครมาบ้าง เข้ามาชี้แจงเพื่อความชัดเจน เพราะตอนนี้มันยังคลุมเครือ เพียงแต่มีพฤติการณ์น่าเชื่อว่า เกรงว่า จะมีการส่งตัวกลับ ก็มีความเป็นห่วงในเรื่องของสิทธิมนุษยชน และกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้น ในวันพุธหน้า คงจะมีความชัดเจนจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เราเรียกมา และผู้ร้องก็จะมาชี้แจงร่วมกัน
นาย
อาดิลัน กล่าวว่า ในนามของมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม วันนี้มายื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรมต่อ กมธ. กรณีที่มีการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการกับชาวอุยกูร์ที่อยู่ในการควบคุมกักตัวของ ตม. สวนพลู เนื่องจากว่าเราได้ทราบจากการประสานจากมูลนิธิ หรือองค์กรสิทธิมนุษยชน ขณะนี้ ผู้ที่อยู่ใน ตม. จำนวน 48 คน กำลังถูกปฏิบัติการจากเจ้าหน้าที่ ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าจะเป็นการเตรียมการในการส่งตัวชาวอุยกูร์กลับประเทศตามที่ได้เป็นข่าว
นาย
อาดิลัน กล่าวต่อว่า มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมมีความห่วงใย ในฐานะที่เป็นองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน จึงมีการยื่นหนังสือในวันนี้ เพื่อขอเชิญหน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องที่จะจัดการกับบุคคลที่อยู่ในศูนย์กัก ทั้งนาย
ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะที่กำกับดูแลหน่วยงานความมั่นคง, นาย
มาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, ผู้บัญชาการตำรวจตรวจคนเข้าเมือง, นาย
ฉัตรชัย บางชวด เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ และ ดร.
ปณิธาน วัฒนายากร เพราะมีส่วนในการติดตามเรื่องนี้มาโดยตลอด เพื่อมาให้ข้อมูลกับ กมธ. เพื่อให้ภาคีองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนได้ทราบ ถึงการจัดการของรัฐบาลไทยกับบุคคลเหล่านี้
เท้ง ไม่สนพท.รุมอัด บี้ถามต่อจะทำเมื่อไหร่ ไหนบอกจะแก้ฝุ่นโดยเร็ว ชี้เกิดขึ้นทุกปี แต่ไร้แผนล่วงหน้า
https://www.matichon.co.th/politics/news_5011931
‘เท้ง-ณัฐพงษ์’ ถามรบ.แก้ปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 เมื่อไหร่ ชี้ ปัญหาเกิดขึ้นทุกปีมีเวลาวางแผนล่วงหน้าได้ มอง นโยบายไม่ชัดเจนทำเกษตรกรเผาอ้อยไปขาย จับตางบ69 เพิ่มงบให้ท้องถิ่นจัดการปัญหาไฟป่าหรือไม่
เมื่อวันที่ 22 มกราคม ที่รัฐสภา นาย
ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคประชาชน ในฐานะผู้นำฝ่ายค้าน ในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ว่า เป็นเรื่องที่รัฐบาลสามารถบริหารจัดการได้และป้องกันปัญหาล่วงหน้าได้เนื่องจากเกิดมาแล้วหลายปี หากรัฐบาลมีมาตรการที่ชัดเจนและวางแผนล่วงหน้าอย่างดีเพียงพอ จะสามารถแก้ไขปัญหาฝุ่นได้ดีกว่านี้ยิ่งขึ้น
เช่นเรื่องมาตรการเงินอุดหนุนให้ชาวนา หรือเกษตรกรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการรับซื้ออ้อยสดหรืออ้อยเผา ยังเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นว่ามีเกษตรกรเผาอ้อยนำไปจำหน่ายแก่ผู้ประกอบการหลายร้อยคัน ซึ่งสาเหตุเกิดจากความไม่ชัดเจนของรัฐบาล หากสื่อสารชัดเจนแต่แรกว่าจะมีมาตรการรับซื้ออ้อยสดอย่างไร รวมถึงมาตรการรับซื้ออ้อยเผา จะทำให้เกษตรกรและโรงงานสามารถวางแผนก่อนการเก็บเกี่ยวล่วงหน้าได้
“
แต่ผลที่เกิดขึ้นเพราะรัฐบาลไม่มีความชัดเจนทำให้เกษตรกรที่เก็บเกี่ยวมาแล้วด้วยวิธีการเผา แต่รัฐบาลขอความร่วมมือไปยังโรงงานว่าไม่ให้รับซื้อ กลายเป็นว่ามีอ้อยเผาที่ค้างอยู่จำนวนมาก ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้รอนำเข้า ครม.นานแล้ว แต่ขาดความชัดเจนรวดเร็วในการจัดการต่อเกษตรกรล่วงหน้า” นาย
ณัฐพงษ์กล่าว
นาย
ณัฐพงษ์กล่าวว่า การให้เงินอุดหนุนเกษตรกรหรือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ที่รัฐบาลสามารถออกมาตรการกระตุ้นลดการเผาได้ หรือการบูรณาการข้อมูลการทำงานร่วมกับจิสด้า ที่มีเทคโนโลยีในการตรวจจับ ดูภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อดูพื้นที่ที่มีการเผาไหม้ ซึ่งจะต้องนำข้อมูลบูรณาการร่วมกันใช้ในการติดตามตรวจสอบว่ามีพื้นที่ใดใช้วิธีการเผา
“
การปฏิบัติภารกิจที่ต่างประเทศของนายกรัฐมนตรีไม่ใช่เรื่องผิดอะไร แต่อย่าลืมว่าปัญหาเรื่องฝุ่นเป็นปัญหาที่เกิดซ้ำทุกปี และพรรคเพื่อไทยมีนโยบายที่สื่อสารกับประชาชนโดยตลอดว่าต้องการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 โดยเร็ว คำถามคือโดยเร็วเมื่อไหร่ ที่ผ่านมาอย่างที่บอกไปก่อนหน้านี้คือปัญหาฝุ่นเกิดขึ้นซ้ำทุกปี เพียงแต่รอมาตรการที่ชัดเจนของภาครัฐ หากมีมาตรการที่ชัดเจนและสื่อสารกับประชาชนอย่างตรงไปตรงมาเข้าใจตรงกันเชื่อว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาฝุ่นได้มากขึ้น” นาย
ณัฐพงษ์กล่าว
นาย
ณัฐพงษ์กล่าวต่อว่า ส่วนประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดสรรงบประมาณคือเรื่องไฟป่า ปีงบประมาณ 2568 พบว่าคำของบประมาณของท้องถิ่นใช้ในการจัดการไฟป่า ขอ 1,000 ล้านบาทได้รับการจัดสรรเพียงกว่า 100 ล้านบาทเท่านั้นทำให้ท้องถิ่นมีงบประมาณไม่เพียงพอในการจัดการไฟป่า โดยหวังว่าในงบประมาณปี 2569 สภาได้รับความชัดเจนว่ารัฐบาลจะจัดสรรงบประมาณให้กับท้องถิ่นเพื่อจัดการไฟป่ามากขึ้นหรือไม่
JJNY : 5in1 เตือนไทยผลักดันพนันถูกกม.│ยื่นกมธ.เรียกแจงส่งตัวอุยกูร์│เท้งไม่สนพท.│ศก.ซึม อสังหาฯทรงตัว│ปานามาร้องยูเอ็น
https://www.isranews.org/article/isranews-news/135099-isranews-Gamblibbb.html
นายฮอฟมันน์กล่าวว่าในปี 2559 ฟิลิปปินส์ได้เดินหน้าโครงการ POGO หรือว่าโครงการผู้ให้บริการเกมการพนันนอกชายฝั่งของฟิลิปปินส์ มีจุดประสงค์เพื่อให้ใบอนุญาตผู้ประกอบการพนันออนไลน์ แต่ว่าปีที่แล้วได้มีการปิดโครงการลงไป โดยนายเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส จูเนียร์ ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์กล่าวตอนเดือน ก.ค. 2567 ให้กับคนทั้งประเทศว่าอุตสาหกรรมนี้ได้กลายร่างเป็นแหล่งหลอกลวงทางไซเบอร์ การฟอกเงิน และการค้ามนุษย์
นายฮอฟมันน์กล่าวว่าอุตสาหกรรมการพนันออนไลน์มักจะเกิดขึ้นเกิดจาการมีคาสิโนและสามารถเพิ่มกิจกรรมทางอาชญากรรมได้
“การใช้ประโยชน์จากพื้นที่ออนไลน์ การดําเนินการเหล่านี้ทํางานตลอดเวลาและสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ในโลกดังนั้นการเข้าถึงและปริมาณของเงินทุนทั้งที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมายที่ดําเนินการจึงมีขนาดใหญ่กว่ามาก นอกจากนี้ยังมีการเสนอวิธีที่ง่ายกว่าเช่นการรวมธุรกรรมสกุลเงินดิจิทัล ทําให้สิ่งล่อตาล่อใจอย่างมากสําหรับการฟอกเงิน” นายฮอฟมันน์กล่าว
รายงานของ UNODC ปี 2566 ระบุอีกว่าองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เปลี่ยนคาสิโนและเว็บไซต์พนันออนไลน์ในภูมิภาคให้เป็นเครือข่ายธนาคารเงาของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการเคลื่อนย้ายและฟอกเงินนับหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อปี ซึ่งเงินเหล่านี้มีที่มาจากรายได้การพนันผิดกฎหมาย การค้ายาเสพติด การหลอกลวงทางไซเบอร์ และกิจกรรมอาชญากรรมอื่นๆ
โดยนอกจากฟิลิปปินส์แล้ว คาสิโนและเว็บไซต์พนันหลายแห่งยังเปิดให้บริการข้ามพรมแดนจากประเทศไทยในกัมพูชา ลาว และเมียนมาร์
นางอแมนด้า กอร์ ผู้อํานวยการศูนย์ความก้าวหน้าระดับโลกและนักบัญชีนิติเวชที่สืบสวนอาชญากรรมทางการเงินทั่วโลก กล่าวว่าพื้นที่ใกล้เคียงของประเทศไทยทําให้ประเทศมีความเสี่ยงสูงที่อุตสาหกรรมการพนันออนไลน์ของไทยจะถูกเอารัดเอาเปรียบ
"เพราะพวกเขามีปัญหาทางภูมิศาสตร์แบบเดียวกัน การค้ายาเสพติด องค์กรอาชญากรรม ทั้งหมดอยู่ในพื้นที่นั้น ดังนั้นไทยจะต้องเข้มงวดอย่างยิ่ง และหากไม่เข้มงวด มันก็อาจจะจบลงด้วยวิธีเดียวกับฟิลิปปินส์" นางกอร์กล่าว
นางกอร์กล่าวต่อว่าผู้ประกอบการที่อยู่เบื้องหลังเว็บไซต์การพนันออนไลน์เหล่านี้มักจะย้ายจากเขตอํานาจศาลหนึ่งไปยังอีกเขตอํานาจศาลหนึ่งเพื่อค้นหาเงื่อนไขที่อำนวยความสะดวกมากที่สุด และเตือนว่าผู้ประกอบการพนันที่เพิ่งถูกขับออกจากฟิลิปปินส์อาจมองหาประเทศไทยเป็นพื้นที่ปฏิบัติการต่อไป เว้นแต่จะผ่านกฎหมายที่เข้มงวดและสนับสนุนด้วยการบังคับใช้อย่างเข้มงวด
"กุญแจสําคัญคือไทยต้องมีมีหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายที่แข็งแกร่งอยู่เบื้องหลังกฎระเบียบและกฎหมายเหล่านั้นหรือไม่ เพราะหากไทยไม่ทําเช่นนั้น ฉันคิดว่ามันจะเสี่ยงต่อมากต่อการเป็นเป้าหมายของกลุ่มอาชญากรในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกลุ่มอาชญากรที่เกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน" นางกอร์กล่าว
นางกอร์ยังแนะนำให้ประเทศไทยศึกษารายละเอียดจากการทำงานของคณะกรรมการการพนันของประเทศที่มีชื่อเสียงอย่างเช่นที่ สหราชอาณาจักร เพราะอาจจะได้บทเรียนที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับวิธีการคว่ำบาตรผู้ประกอบการพนันที่ไม่ทำตามกฎ
เช่นเดียวกับนายฮอฟมันน์ที่กล่าวว่าประเทศไทยควรจะเน้นไปที่การสร้างความมั่นใจว่าหน่วยงานกํากับดูแลตรวจสอบนักลงทุนและผู้เล่นคาสิโนจะทำงานอย่างรอบคอบ และพิจารณายกเลิกการพนันออนไลน์และการชําระเงินด้วยสกุลเงินดิจิทัลโดยสิ้นเชิง
“อย่างไรก็ตาม แม้จะดำเนินการตามที่ว่าแล้วมันก็ยังมีความเสี่ยงอยู่ ดังที่เราเห็นว่ากลุ่มอาชญากรมักจะแทรกซึมภายในนคาสิโนทั่วโลก” นายฮอฟมันน์กล่าว
เรียบเรียงจาก:https://www.voanews.com/a/money-laundering-fears-hang-over-thailand-s-online-gambling-plans-/7942266.html
ศูนย์ทนายความมุสลิม ยื่น กมธ.การกฎหมาย เรียก ภูมิธรรม-รมว.กต.- เลขา สมช. แจงปมส่งตัวอุยกูร์กลับจีน
https://www.matichon.co.th/politics/news_5011804
ศูนย์ทนายความมุสลิม ยื่น กมธ.การกฎหมาย เรียก ภูมิธรรม-รมว.กต.- เลขา สมช. แจงปมส่งตัวอุยกูร์กลับจีน
เมื่อวันที่ 22 มกราคม ที่รัฐสภา นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ สส.นราธิวาสพรรคประชาชาติ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ การกฎหมายการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนสภาผู้แทนราษฎร รับยื่นหนังสือจากนายอาดิลัน อาลีอิสเฮาะ ที่ปรึกษามูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม กรณีการส่งตัวชาวอุยกูร์กลับประเทศจีน
นายกมลศักดิ์ กล่าวว่า มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมเป็น องค์กรภาคประชาสังคมที่ดูแลเรื่องสิทธิมนุษยชน ในพื้นที่ชายแดนใต้ และกทม. ซึ่งมีการยื่นหนังสือร้องเรียนกรณีที่มีข่าวว่าจะมีการส่งตัวชาวอุยกูร์กลับประเทศ 48 คน โดย กมธ. ได้ติดตามประเด็นนี้ และทราบมาว่ามีข้อกังวลจากหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะภาคประชาสังคม ที่ดูแลด้านสิทธิมนุษยชน เกรงว่าจะมีนโยบายนำชาวอุยกูร์กลับประเทศจีน และเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา กมธ. ได้มีการหารเรื่องผู้ลี้ภัยชาวกัมพูชา ซึ่งหลังจากมีประเด็น และได้รับการประสานงานมากับเรื่องนี้ จึงคิดว่าในวันพุธหน้า ทาง กมธ. จะมีการบรรจุระเบียบวาระเพื่อเรียกหน่วยงานมาชี้แจง ถึงนโยบายความชัดเจนว่าเป็นจริงหรือไม่อย่างไร
นายกมลศักดิ์ กล่าวต่อว่า ขอให้ติดตามการเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาชี้แจงในสัปดาห์หน้า ว่าจะมีใครมาบ้าง เข้ามาชี้แจงเพื่อความชัดเจน เพราะตอนนี้มันยังคลุมเครือ เพียงแต่มีพฤติการณ์น่าเชื่อว่า เกรงว่า จะมีการส่งตัวกลับ ก็มีความเป็นห่วงในเรื่องของสิทธิมนุษยชน และกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้น ในวันพุธหน้า คงจะมีความชัดเจนจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เราเรียกมา และผู้ร้องก็จะมาชี้แจงร่วมกัน
นายอาดิลัน กล่าวว่า ในนามของมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม วันนี้มายื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรมต่อ กมธ. กรณีที่มีการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการกับชาวอุยกูร์ที่อยู่ในการควบคุมกักตัวของ ตม. สวนพลู เนื่องจากว่าเราได้ทราบจากการประสานจากมูลนิธิ หรือองค์กรสิทธิมนุษยชน ขณะนี้ ผู้ที่อยู่ใน ตม. จำนวน 48 คน กำลังถูกปฏิบัติการจากเจ้าหน้าที่ ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าจะเป็นการเตรียมการในการส่งตัวชาวอุยกูร์กลับประเทศตามที่ได้เป็นข่าว
นายอาดิลัน กล่าวต่อว่า มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมมีความห่วงใย ในฐานะที่เป็นองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน จึงมีการยื่นหนังสือในวันนี้ เพื่อขอเชิญหน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องที่จะจัดการกับบุคคลที่อยู่ในศูนย์กัก ทั้งนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะที่กำกับดูแลหน่วยงานความมั่นคง, นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, ผู้บัญชาการตำรวจตรวจคนเข้าเมือง, นายฉัตรชัย บางชวด เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ และ ดร. ปณิธาน วัฒนายากร เพราะมีส่วนในการติดตามเรื่องนี้มาโดยตลอด เพื่อมาให้ข้อมูลกับ กมธ. เพื่อให้ภาคีองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนได้ทราบ ถึงการจัดการของรัฐบาลไทยกับบุคคลเหล่านี้
เท้ง ไม่สนพท.รุมอัด บี้ถามต่อจะทำเมื่อไหร่ ไหนบอกจะแก้ฝุ่นโดยเร็ว ชี้เกิดขึ้นทุกปี แต่ไร้แผนล่วงหน้า
https://www.matichon.co.th/politics/news_5011931
‘เท้ง-ณัฐพงษ์’ ถามรบ.แก้ปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 เมื่อไหร่ ชี้ ปัญหาเกิดขึ้นทุกปีมีเวลาวางแผนล่วงหน้าได้ มอง นโยบายไม่ชัดเจนทำเกษตรกรเผาอ้อยไปขาย จับตางบ69 เพิ่มงบให้ท้องถิ่นจัดการปัญหาไฟป่าหรือไม่
เมื่อวันที่ 22 มกราคม ที่รัฐสภา นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคประชาชน ในฐานะผู้นำฝ่ายค้าน ในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ว่า เป็นเรื่องที่รัฐบาลสามารถบริหารจัดการได้และป้องกันปัญหาล่วงหน้าได้เนื่องจากเกิดมาแล้วหลายปี หากรัฐบาลมีมาตรการที่ชัดเจนและวางแผนล่วงหน้าอย่างดีเพียงพอ จะสามารถแก้ไขปัญหาฝุ่นได้ดีกว่านี้ยิ่งขึ้น
เช่นเรื่องมาตรการเงินอุดหนุนให้ชาวนา หรือเกษตรกรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการรับซื้ออ้อยสดหรืออ้อยเผา ยังเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นว่ามีเกษตรกรเผาอ้อยนำไปจำหน่ายแก่ผู้ประกอบการหลายร้อยคัน ซึ่งสาเหตุเกิดจากความไม่ชัดเจนของรัฐบาล หากสื่อสารชัดเจนแต่แรกว่าจะมีมาตรการรับซื้ออ้อยสดอย่างไร รวมถึงมาตรการรับซื้ออ้อยเผา จะทำให้เกษตรกรและโรงงานสามารถวางแผนก่อนการเก็บเกี่ยวล่วงหน้าได้
“แต่ผลที่เกิดขึ้นเพราะรัฐบาลไม่มีความชัดเจนทำให้เกษตรกรที่เก็บเกี่ยวมาแล้วด้วยวิธีการเผา แต่รัฐบาลขอความร่วมมือไปยังโรงงานว่าไม่ให้รับซื้อ กลายเป็นว่ามีอ้อยเผาที่ค้างอยู่จำนวนมาก ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้รอนำเข้า ครม.นานแล้ว แต่ขาดความชัดเจนรวดเร็วในการจัดการต่อเกษตรกรล่วงหน้า” นายณัฐพงษ์กล่าว
นายณัฐพงษ์กล่าวว่า การให้เงินอุดหนุนเกษตรกรหรือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ที่รัฐบาลสามารถออกมาตรการกระตุ้นลดการเผาได้ หรือการบูรณาการข้อมูลการทำงานร่วมกับจิสด้า ที่มีเทคโนโลยีในการตรวจจับ ดูภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อดูพื้นที่ที่มีการเผาไหม้ ซึ่งจะต้องนำข้อมูลบูรณาการร่วมกันใช้ในการติดตามตรวจสอบว่ามีพื้นที่ใดใช้วิธีการเผา
“การปฏิบัติภารกิจที่ต่างประเทศของนายกรัฐมนตรีไม่ใช่เรื่องผิดอะไร แต่อย่าลืมว่าปัญหาเรื่องฝุ่นเป็นปัญหาที่เกิดซ้ำทุกปี และพรรคเพื่อไทยมีนโยบายที่สื่อสารกับประชาชนโดยตลอดว่าต้องการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 โดยเร็ว คำถามคือโดยเร็วเมื่อไหร่ ที่ผ่านมาอย่างที่บอกไปก่อนหน้านี้คือปัญหาฝุ่นเกิดขึ้นซ้ำทุกปี เพียงแต่รอมาตรการที่ชัดเจนของภาครัฐ หากมีมาตรการที่ชัดเจนและสื่อสารกับประชาชนอย่างตรงไปตรงมาเข้าใจตรงกันเชื่อว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาฝุ่นได้มากขึ้น” นายณัฐพงษ์กล่าว
นายณัฐพงษ์กล่าวต่อว่า ส่วนประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดสรรงบประมาณคือเรื่องไฟป่า ปีงบประมาณ 2568 พบว่าคำของบประมาณของท้องถิ่นใช้ในการจัดการไฟป่า ขอ 1,000 ล้านบาทได้รับการจัดสรรเพียงกว่า 100 ล้านบาทเท่านั้นทำให้ท้องถิ่นมีงบประมาณไม่เพียงพอในการจัดการไฟป่า โดยหวังว่าในงบประมาณปี 2569 สภาได้รับความชัดเจนว่ารัฐบาลจะจัดสรรงบประมาณให้กับท้องถิ่นเพื่อจัดการไฟป่ามากขึ้นหรือไม่