กมธ.ที่ดิน เรียก มท.1-รมว.คมนาคม แจง ปมที่ดินเขากระโดง 27 พ.ย.
https://www.matichon.co.th/politics/news_4918950
กมธ.ที่ดิน เรียก มท.1-รมว.คมนาคม แจงปมที่ดินเขากระโดง 27 พ.ย.นี้ พูนศักดิ์ ชี้ควรนำที่ดินคืนให้รัฐ โดยเร็ว โปร่งใส กังวลเรื่องจบแบบเงียบๆ
เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน นาย
พูนศักดิ์ จันทร์จำปี ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน(ปชน.)ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.) ที่ดิน ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ว่า กมธ.ฯ ได้นัดประชุมในวันที่ 27 พฤศจิกายน โดยมีวาระพิจารณากรณีพิพาทปัญหาที่ดินเขากระโดง ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ทั้งนี้จะมีการตรวจสอบข้อกฎหมาย คือ กรณีของการตั้งคณะกรรมการ ซึ่งกรมที่ดินตั้งขึ้นมาเพื่อพิจารณาตามประมวลกฎหมายที่ดิน กรณีของการเพิกถอนโฉนด ตามคำสั่งของศาลปกครอง โดยกมธ.ฯต้องการทราบอำนาจขอบเขตของกรรมการชุดดังกล่าวว่ามีอำนาจหยุด หรือ ระงับการเพิกถอนโฉนดได้หรือไม่ ทั้งที่ศาลมีคำสั่งชัดเจนแล้วว่าให้ดำเนินการร่วมกันระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และกรมที่ดิน
นาย
พูนศักดิ์ กล่าวต่อว่า สำหรับบุคคลที่กมธ.ฯ เชิญมาชี้แจง ได้แก่ รมว.มหาดไทย รมว.คมนาคม ซึ่งถือเป็นบุคคลที่เป็นเบอร์หนึ่งของหน่วยงาน และสามารถให้ข้อมูลข้อเท็จจริงได้ในการดำเนินการ ทั้งในส่วนของกรมที่ดิน และรฟท. กมธ.ต้องการรับฟังจาก รมว.คมนาคมด้วยว่าแนวทางของ รฟท.จะเป็นอย่างไร จะดำเนินการทางศาลหรือไม่ หรือมีแนวทางอย่างไรที่จะนำที่ดินกลับมาเป็นของรัฐ
นาย
พูนศักดิ์ กล่าวด้วยว่าสำหรับพื้นที่พิพาทซึ่งพบการประกอบกิจการของเอกชน ตนมองว่าควรนำที่ดินคืนมาให้รัฐ และต้องเร่งรัดกระบวนการดังกล่าว โดยขณะนี้มีผลคำวินิจฉัยจากศาลแล้วว่า ที่ดินเป็นของ รฟท. หาก รฟท.จะฟ้องรายแปลง เชื่อว่า รฟท. จะชนะ อย่างไรก็ตามการเพิกถอนสิทธิรายแปลงนั้นต้องใช้เวลา ซึ่งจะทำให้เวลายื้อออกไป ดังนั้นกมธ.ต้องการให้เร่งรัด ทำให้เสร็จโดยเร็ว และหลังจากนั้นเป็นขั้นตอนทางธุรกิจที่ รฟท. สามารถพูดคุยกับเอกชนเพื่อขอเช่า หรือดำเนินการใดเพื่อเป็นช่องทางหารายได้เข้ารัฐ
“
กระบวนการที่ต้องตรวจสอบ คือ มีบุคคลใดที่ละเมิดหรือไม่ เป็นหน้าที่ของ รฟท.ที่ต้องดำเนินการต่อในชั้นศาล นอกจากนั้นมีการใช้อำนาจที่มิชอบของฝ่ายใดหรือไม่ โดยเฉพาะกระบวนการตั้งกรรมการของกรมที่ดิน ที่ต้องพิจารณาว่ามีองค์ประกอบอย่างไร มีความสัมพันธ์ระดับไหน ที่มาของกรรมการโปร่งใสหรือไม่ เรื่องนี้กมธ.ไม่อยากให้เป็นเรื่องเงียบ หากไม่มีใครกระตุ้น เรื่องจะจบแบบเงียบๆ เหมือนในอดีตอีก”นายพูนศักดิ์ กล่าว
นาย
พูนศักดิ์ กล่าวต่อว่า ในการตรวจสอบของกมธ.ฯหากได้ข้อมูลที่ครบถ้วนแล้ว จะสรุปเสนอไปยังรัฐบาล ถึง น.ส.
แพทองธาร ชินวัตร นายกฯ เบื้องต้นในประเด็นที่เป็นปัญหาตามข้อกฎหมายอาจเสนอให้แก้ไขกฎหมาย เช่น การพิจารณายกเลิกโฉนดที่ไม่โปร่งใส ต้องแก้ไขกฎหมายที่ดิน เป็นต้น
ปูอัด แฉ ขบวนการล็อกสเปก บริษัทประกันภัยแรงงานต่างด้าว จาก 17 ผ่าน 2 ลั่นเจอซักฟอกแน่
https://www.matichon.co.th/politics/news_4919215
ปูอัด แฉ ขบวนการล็อกสเปกบริษัทประกันภัยแรงงานต่างด้าว จาก 17 ผ่าน 2 ลั่นเจอซักฟอกแน่
เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 25 พฤศจิกายน 2567 ที่รัฐสภา นาย
ไชยามพวาน มั่นเพียรจิตต์ ส.ส.กทม. พรรคไทยก้าวหน้า แถลงกรณีการล็อกสเปก บริษัทประกันภัย แรงงานต่างด้าว 67 ว่า จากกรณีที่มีกระแสข่าวว่าทางกรมการจัดหางานออกเงื่อนไข ล็อกสเปกสำหรับบริษัทที่มีสิทธิ์ในการขายกรมธรรม์ให้เหลือเพียง 2 บริษัท จากทั้งหมด 17 บริษัทให้แก่แรงงานต่างด้าว โดยมีการกำหนดสเปกใหม่ขึ้นมาเพิ่มเติมจากเดิม
นาย
ไชยามพวาน กล่าวต่อว่า มี 2 หัวข้อหลักที่เพิ่มเติมขึ้นมานำไปสู่การกีดกันบริษัทรายอื่นให้เหลือเพียงบริษัทหลักที่อาจมีผลประโยชน์ กับทางฝ่ายข้าราชการ ฝ่ายการเมืองกระทรวงแรงงาน คือ
1.ผู้ยื่นข้อเสนอต้องมีอัตราส่วนความเพียงพอของการดำรงเงินกองทุนต่อเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามกฎหมาย(Car Ratio) ไว้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 200 ณ สิ้นปี 2566 และ 2.ผู้ยื่นข้อเสนอต้องมีสินทรัพย์รวม ณ สิ้นปี 2566 จำนวนไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นล้านบาท
นาย
ไชยามพวาน กล่าวว่า ตนตั้งข้อสังเกตว่า กระทรวงแรงงานหรือกรมการจัดหางานไม่ได้เป็นคนชำระเบี้ยประกัน แรงงานต่างด้าวเป็นผู้ชำระเบี้ยเอง มีสิทธิที่จะเลือกบริษัทประกันตามที่คปภ.กำหนด รวมถึงไม่มีการกำหนดเงื่อนไขในโลกประกันภัยที่ใช้สินทรัพย์ เป็นตัวกำหนดความแข็งแกร่งของบริษัทประกันภัย เพราะในฐานะประเทศไทยเป็นสมาชิกของสมาคมผู้ควบคุม ธุรกิจประกันภัยนานาชาติ ได้กำหนดมาตรฐานการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยข้อ 17ความเพียงพอของเงินกองทุน
และทางคปภ.ได้กำหนดไว้ไม่ต่ำกว่า 140% ยิ่งมากยิ่งดี บางบริษัทประกันวินาศภัยมีความเพียงพอของเงินกองทุนสูงกว่า 400% แสดงถึงความแข็งแกร่งทางการเงินอย่างมาก (Extremely Strong) แต่ไม่ได้รับเลือก แสดงว่าไม่ชอบมาพากล
นาย
ไชยามพวาน กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวโยงไปถึงการขึ้นทะเบียนที่หละหลวมในวันที่ 28 พฤศจิกายน นี้ตนจะไปยื่นเรื่องที่ศาลปกครองเพื่อพิจารณาขอระงับการขึ้นทะเบียนแรงงานครั้งนี้ให้ได้ เพราะถือเป็นการทำที่หละหลวม บางคนเข้ามาอย่างผิดกฎหมายก็สามารถขึ้นทะเบียนได้ จะมองว่าเป็นการนิรโทษกรรมก็ได้ แค่สุดท้ายทุกคนก็ต้องมีประกันที่สามารถใช้ได้เพียง 6 เดือนระหว่างรอขึ้นทะเบียนประกันสังคม
“
เรื่องนี้เป็นการล็อกสเปกในกระบวนอย่างเห็นได้ชัดและโจ่งแจ้ง จากบริษัทประกันทั้งหมด 17 บริษัท กลับมีเพียงแค่บริษัท ม และบริษัท ธ ที่มีสิทธิ ลองคิดดูว่านโยบายประกันโควิด ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รัฐบาลชุดที่แล้วคือใคร และในรัฐบาลชุดนี้ใครเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของผลประโยชน์ระดับชาติ ผมจะตามต่อไปและแน่นอนว่าเรื่องนี้เจอกันในอภิปรายไม่ไว้วางใจแน่นอน“ นาย
ไชยามพวานกล่าว
เปิดตัวเลข คนไทยว่างงาน ส่วนใหญ่จบ ป.ตรี 65% บอกหางานไม่ได้
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_9520357
สภาพัฒน์ เปิดตัวเลข คนไทยว่างงาน ส่วนใหญ่จบ ป.ตรี 65% บอกหางานไม่ได้ ว่างงานเกิน 1 ปีเพิ่มขึ้น 16% ขณะที่ 71.3% ไม่เคยทำงานมาก่อน
วันที่ 25 พ.ย.2567 นาย
ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ แถลงรายงานภาวะสังคมไทยไตรมาส 3 ปี 2567 ว่า การจ้างงานค่อนข้างทรงตัว โดยมีผู้มีงานทำมีจำนวน 40 ล้านคน ลดลงจากไตรมาส 3 ปี 2566 เล็กน้อยที่ 0.1%
สำหรับอัตราการว่างงานอยู่ที่ 1.02% เพิ่มขึ้นจาก 0.99% ในไตรมาสก่อนหน้า โดยมีผู้ว่างงานเฉลี่ยจำนวน 4.14 แสนคน ต่ำกว่าผู้ว่างงานจำนวน 4.29 แสนคน ในไตรมาสก่อนหน้า แต่สูงกว่าผู้ว่างงานจำนวน 4.01 แสนคน ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า
เมื่อจำแนกผู้ว่างงานตามระดับการศึกษา ส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับผู้ที่มีการศึกษาสูงสุดในระดับอุดมศึกษา มัธยมปลาย และมัธยมต้น ตามลำดับ นอกจากนี้ ผู้ว่างงานระยะยาวตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าถึง 16.2% หรือมีจำนวน 8.1 หมื่นคน
โดย 65% ระบุสาเหตุว่าหางานไม่ได้ ขณะที่ 71.3% ไม่เคยทำงานมาก่อน ซึ่งในจำนวนนี้เกือบ 3 ใน 4 อยู่ในช่วงอายุ 20 – 29 ปี
สำหรับอัตราการว่างงานในระบบอยู่ที่ 1.82% ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ 1.93% โดยมีผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานทั้งสิ้น 7.4 หมื่นคน ซึ่งกว่า 95% เป็นแรงงานในภาคการผลิต
JJNY : กมธ.ที่ดินเรียกมท.1-รมว.คมนาคมแจง│ปูอัดแฉขบวนการ│จบป.ตรี65% บอกหางานไม่ได้│ทหารเกาหลีเหนือปลอมเป็นชาวบ้านรบยูเครน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4918950
กมธ.ที่ดิน เรียก มท.1-รมว.คมนาคม แจงปมที่ดินเขากระโดง 27 พ.ย.นี้ พูนศักดิ์ ชี้ควรนำที่ดินคืนให้รัฐ โดยเร็ว โปร่งใส กังวลเรื่องจบแบบเงียบๆ
เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน นายพูนศักดิ์ จันทร์จำปี ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน(ปชน.)ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.) ที่ดิน ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ว่า กมธ.ฯ ได้นัดประชุมในวันที่ 27 พฤศจิกายน โดยมีวาระพิจารณากรณีพิพาทปัญหาที่ดินเขากระโดง ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ทั้งนี้จะมีการตรวจสอบข้อกฎหมาย คือ กรณีของการตั้งคณะกรรมการ ซึ่งกรมที่ดินตั้งขึ้นมาเพื่อพิจารณาตามประมวลกฎหมายที่ดิน กรณีของการเพิกถอนโฉนด ตามคำสั่งของศาลปกครอง โดยกมธ.ฯต้องการทราบอำนาจขอบเขตของกรรมการชุดดังกล่าวว่ามีอำนาจหยุด หรือ ระงับการเพิกถอนโฉนดได้หรือไม่ ทั้งที่ศาลมีคำสั่งชัดเจนแล้วว่าให้ดำเนินการร่วมกันระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และกรมที่ดิน
นายพูนศักดิ์ กล่าวต่อว่า สำหรับบุคคลที่กมธ.ฯ เชิญมาชี้แจง ได้แก่ รมว.มหาดไทย รมว.คมนาคม ซึ่งถือเป็นบุคคลที่เป็นเบอร์หนึ่งของหน่วยงาน และสามารถให้ข้อมูลข้อเท็จจริงได้ในการดำเนินการ ทั้งในส่วนของกรมที่ดิน และรฟท. กมธ.ต้องการรับฟังจาก รมว.คมนาคมด้วยว่าแนวทางของ รฟท.จะเป็นอย่างไร จะดำเนินการทางศาลหรือไม่ หรือมีแนวทางอย่างไรที่จะนำที่ดินกลับมาเป็นของรัฐ
นายพูนศักดิ์ กล่าวด้วยว่าสำหรับพื้นที่พิพาทซึ่งพบการประกอบกิจการของเอกชน ตนมองว่าควรนำที่ดินคืนมาให้รัฐ และต้องเร่งรัดกระบวนการดังกล่าว โดยขณะนี้มีผลคำวินิจฉัยจากศาลแล้วว่า ที่ดินเป็นของ รฟท. หาก รฟท.จะฟ้องรายแปลง เชื่อว่า รฟท. จะชนะ อย่างไรก็ตามการเพิกถอนสิทธิรายแปลงนั้นต้องใช้เวลา ซึ่งจะทำให้เวลายื้อออกไป ดังนั้นกมธ.ต้องการให้เร่งรัด ทำให้เสร็จโดยเร็ว และหลังจากนั้นเป็นขั้นตอนทางธุรกิจที่ รฟท. สามารถพูดคุยกับเอกชนเพื่อขอเช่า หรือดำเนินการใดเพื่อเป็นช่องทางหารายได้เข้ารัฐ
“กระบวนการที่ต้องตรวจสอบ คือ มีบุคคลใดที่ละเมิดหรือไม่ เป็นหน้าที่ของ รฟท.ที่ต้องดำเนินการต่อในชั้นศาล นอกจากนั้นมีการใช้อำนาจที่มิชอบของฝ่ายใดหรือไม่ โดยเฉพาะกระบวนการตั้งกรรมการของกรมที่ดิน ที่ต้องพิจารณาว่ามีองค์ประกอบอย่างไร มีความสัมพันธ์ระดับไหน ที่มาของกรรมการโปร่งใสหรือไม่ เรื่องนี้กมธ.ไม่อยากให้เป็นเรื่องเงียบ หากไม่มีใครกระตุ้น เรื่องจะจบแบบเงียบๆ เหมือนในอดีตอีก”นายพูนศักดิ์ กล่าว
นายพูนศักดิ์ กล่าวต่อว่า ในการตรวจสอบของกมธ.ฯหากได้ข้อมูลที่ครบถ้วนแล้ว จะสรุปเสนอไปยังรัฐบาล ถึง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกฯ เบื้องต้นในประเด็นที่เป็นปัญหาตามข้อกฎหมายอาจเสนอให้แก้ไขกฎหมาย เช่น การพิจารณายกเลิกโฉนดที่ไม่โปร่งใส ต้องแก้ไขกฎหมายที่ดิน เป็นต้น
ปูอัด แฉ ขบวนการล็อกสเปก บริษัทประกันภัยแรงงานต่างด้าว จาก 17 ผ่าน 2 ลั่นเจอซักฟอกแน่
https://www.matichon.co.th/politics/news_4919215
ปูอัด แฉ ขบวนการล็อกสเปกบริษัทประกันภัยแรงงานต่างด้าว จาก 17 ผ่าน 2 ลั่นเจอซักฟอกแน่
เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 25 พฤศจิกายน 2567 ที่รัฐสภา นายไชยามพวาน มั่นเพียรจิตต์ ส.ส.กทม. พรรคไทยก้าวหน้า แถลงกรณีการล็อกสเปก บริษัทประกันภัย แรงงานต่างด้าว 67 ว่า จากกรณีที่มีกระแสข่าวว่าทางกรมการจัดหางานออกเงื่อนไข ล็อกสเปกสำหรับบริษัทที่มีสิทธิ์ในการขายกรมธรรม์ให้เหลือเพียง 2 บริษัท จากทั้งหมด 17 บริษัทให้แก่แรงงานต่างด้าว โดยมีการกำหนดสเปกใหม่ขึ้นมาเพิ่มเติมจากเดิม
นายไชยามพวาน กล่าวต่อว่า มี 2 หัวข้อหลักที่เพิ่มเติมขึ้นมานำไปสู่การกีดกันบริษัทรายอื่นให้เหลือเพียงบริษัทหลักที่อาจมีผลประโยชน์ กับทางฝ่ายข้าราชการ ฝ่ายการเมืองกระทรวงแรงงาน คือ
1.ผู้ยื่นข้อเสนอต้องมีอัตราส่วนความเพียงพอของการดำรงเงินกองทุนต่อเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามกฎหมาย(Car Ratio) ไว้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 200 ณ สิ้นปี 2566 และ 2.ผู้ยื่นข้อเสนอต้องมีสินทรัพย์รวม ณ สิ้นปี 2566 จำนวนไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นล้านบาท
นายไชยามพวาน กล่าวว่า ตนตั้งข้อสังเกตว่า กระทรวงแรงงานหรือกรมการจัดหางานไม่ได้เป็นคนชำระเบี้ยประกัน แรงงานต่างด้าวเป็นผู้ชำระเบี้ยเอง มีสิทธิที่จะเลือกบริษัทประกันตามที่คปภ.กำหนด รวมถึงไม่มีการกำหนดเงื่อนไขในโลกประกันภัยที่ใช้สินทรัพย์ เป็นตัวกำหนดความแข็งแกร่งของบริษัทประกันภัย เพราะในฐานะประเทศไทยเป็นสมาชิกของสมาคมผู้ควบคุม ธุรกิจประกันภัยนานาชาติ ได้กำหนดมาตรฐานการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยข้อ 17ความเพียงพอของเงินกองทุน
และทางคปภ.ได้กำหนดไว้ไม่ต่ำกว่า 140% ยิ่งมากยิ่งดี บางบริษัทประกันวินาศภัยมีความเพียงพอของเงินกองทุนสูงกว่า 400% แสดงถึงความแข็งแกร่งทางการเงินอย่างมาก (Extremely Strong) แต่ไม่ได้รับเลือก แสดงว่าไม่ชอบมาพากล
นายไชยามพวาน กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวโยงไปถึงการขึ้นทะเบียนที่หละหลวมในวันที่ 28 พฤศจิกายน นี้ตนจะไปยื่นเรื่องที่ศาลปกครองเพื่อพิจารณาขอระงับการขึ้นทะเบียนแรงงานครั้งนี้ให้ได้ เพราะถือเป็นการทำที่หละหลวม บางคนเข้ามาอย่างผิดกฎหมายก็สามารถขึ้นทะเบียนได้ จะมองว่าเป็นการนิรโทษกรรมก็ได้ แค่สุดท้ายทุกคนก็ต้องมีประกันที่สามารถใช้ได้เพียง 6 เดือนระหว่างรอขึ้นทะเบียนประกันสังคม
“เรื่องนี้เป็นการล็อกสเปกในกระบวนอย่างเห็นได้ชัดและโจ่งแจ้ง จากบริษัทประกันทั้งหมด 17 บริษัท กลับมีเพียงแค่บริษัท ม และบริษัท ธ ที่มีสิทธิ ลองคิดดูว่านโยบายประกันโควิด ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รัฐบาลชุดที่แล้วคือใคร และในรัฐบาลชุดนี้ใครเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของผลประโยชน์ระดับชาติ ผมจะตามต่อไปและแน่นอนว่าเรื่องนี้เจอกันในอภิปรายไม่ไว้วางใจแน่นอน“ นายไชยามพวานกล่าว
เปิดตัวเลข คนไทยว่างงาน ส่วนใหญ่จบ ป.ตรี 65% บอกหางานไม่ได้
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_9520357
สภาพัฒน์ เปิดตัวเลข คนไทยว่างงาน ส่วนใหญ่จบ ป.ตรี 65% บอกหางานไม่ได้ ว่างงานเกิน 1 ปีเพิ่มขึ้น 16% ขณะที่ 71.3% ไม่เคยทำงานมาก่อน
วันที่ 25 พ.ย.2567 นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ แถลงรายงานภาวะสังคมไทยไตรมาส 3 ปี 2567 ว่า การจ้างงานค่อนข้างทรงตัว โดยมีผู้มีงานทำมีจำนวน 40 ล้านคน ลดลงจากไตรมาส 3 ปี 2566 เล็กน้อยที่ 0.1%
สำหรับอัตราการว่างงานอยู่ที่ 1.02% เพิ่มขึ้นจาก 0.99% ในไตรมาสก่อนหน้า โดยมีผู้ว่างงานเฉลี่ยจำนวน 4.14 แสนคน ต่ำกว่าผู้ว่างงานจำนวน 4.29 แสนคน ในไตรมาสก่อนหน้า แต่สูงกว่าผู้ว่างงานจำนวน 4.01 แสนคน ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า
เมื่อจำแนกผู้ว่างงานตามระดับการศึกษา ส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับผู้ที่มีการศึกษาสูงสุดในระดับอุดมศึกษา มัธยมปลาย และมัธยมต้น ตามลำดับ นอกจากนี้ ผู้ว่างงานระยะยาวตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าถึง 16.2% หรือมีจำนวน 8.1 หมื่นคน
โดย 65% ระบุสาเหตุว่าหางานไม่ได้ ขณะที่ 71.3% ไม่เคยทำงานมาก่อน ซึ่งในจำนวนนี้เกือบ 3 ใน 4 อยู่ในช่วงอายุ 20 – 29 ปี
สำหรับอัตราการว่างงานในระบบอยู่ที่ 1.82% ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ 1.93% โดยมีผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานทั้งสิ้น 7.4 หมื่นคน ซึ่งกว่า 95% เป็นแรงงานในภาคการผลิต