โชว์ข้อมูลร้อง ป.ป.ช.สอบคัดเลือก บ.ทำประกันต่างด้าว 5 พันล.วิจารณ์ขรมใบสั่งฝ่ายการเมือง
https://www.isranews.org/article/isranews/133631-invesdsdsdssdds-2.html
โชว์ข้อมูล ร้อง ป.ป.ช.สอบเงื่อนไขคัดเลือก บ.รับทำประกันแรงงานต่างด้าว 5 พันล. เอื้อประโยชน์นายทุน ชี้พิรุธปี 66 กำหนดหลักเกณฑ์แค่ 6 ข้อ ก่อนเพิ่มใหม่ 13 ข้อ ปี 67 อ้างมติ ครม. 24 ก.ย. ทำจำนวน 17 บริษัท เหลือเข้าได้แค่ 2 - วิจารณ์ขรมใบสั่งฝ่ายการเมือง ทดลองภารกิจก่อนทำเรื่องใหญ่ในอนาคต
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org))รายงานความคืบหน้ากรณี กรมการจัดหางาน (กกจ.) กำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐานใหม่ในการคัดเลือกบริษัทประกันภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยที่จะรับประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว ซึ่งจะขอรับใบอนุญาตทำงานตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 24 ก.ย. 2567 ว่า บริษัทจะต้องมีคุณสมบัติและเงื่อนไขตามที่กำหนด 13 ประการ แจ้งความประสงค์จะเข้าร่วมการดำเนินการประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว ภายในวันที่ 19 พ.ย. 2567 ที่ผ่านมา เพื่อพิจารณาอนุญาตให้เชื่อมโยงข้อมูลหลักฐานการซื้อประกันสุขภาพต่อไป
ขณะที่ตัวแทนบริษัทประกันภัยกลุ่มหนึ่ง ได้ทำหนังสือร้องเรียนไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อขอให้ตรวจสอบกรณีข้าราชการกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ออกหลักเกณฑ์เอื้อประโยชน์บริษัทประกันภัยบางบริษัท ให้มีสิทธิเข้ารับการประกันสุขภาพของคนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรี 24 ก.ย. 2567 และกีดกันบริษัทประกันภัยอื่น ๆ โดยกำหนดคุณสมบัติเรื่องทรัพย์สินรวมที่ต้องมีทรัพย์สินรวม ณ สิ้นปี 2566 จำนวนไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นล้านบาท และต้องมีอัตราส่วนความเพียงพอของการดำรงเงินกองทุนต่อเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามกฎหมาย (Car Ratio)
ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 200 ณ สิ้นปี 2566 ซึ่งทำให้เหลือบริษัทประกันภัยที่สามารถเข้าร่วมประกันภัยเพียง 2 บริษัท จากเดิม 17 บริษัทประกันภัย ขณะที่ตัวเลขการทะเบียนแรงงานต่างด้าว ปัจจุบันมีจำนวนกว่า 3 ล้านคน ตัวเลขมูลค่าวงเงินประกันที่จะเกิดขึ้นประมาณ 5 พันล้านบาท
ล่าสุด แหล่งข่าวจากตัวแทนบริษัทประกันภัยรายหนึ่ง เปิดเผยสำนักข่าวอิศราเพิ่มเติมว่า กรณีตัวแทนบริษัทประกันภัย ยื่นเรื่องร้องเรียนให้ ป.ป.ช.ตรวจสอบกรณีการออกหลักเกณฑ์เอื้อประโยชน์บริษัทประกันภัยบางบริษัท ให้มีสิทธิเข้ารับการประกันสุขภาพของคนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรี 24 ก.ย. 2567 และกีดกันบริษัทประกันภัยอื่น ๆ นั้น ข้อมูลสำคัญที่ตัวแทนบริษัทประกันภัยนำไปยื่นเรื่องให้ ป.ป.ช.ใช้ประกอบการตรวจสอบเรื่องนี้ คือ ข้อสังเกตการออกหลักเกณฑ์การประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว จากในปี 2566 ที่อ้างว่าเป็นการดำเนินการตามมติ ครม. วันที่ 5 ก.ค.2566
และ ตามมติ ครม. วันที่ 3 ต.ค.2566 มีจำนวน 6 ข้อ ทำให้มีบริษัทประกันภัย ที่ผ่านเข้าหลักเกณฑ์ทั้งหมด 17 บริษัท ซึ่งปี 66 ก็เป็นช่วงที่ประเทศไทย เริ่มผ่านพ้นสถานการณ์โควิดแล้ว แต่ในการดำเนินการปี 2567 มีการออกหลักเกณฑ์การประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวใหม่ เพิ่มขึ้นมาแบบก้าวกระโดด เป็น 13 ข้อ
"
หลักเกณฑ์ใหม่ที่เพิ่มขึ้นมา จำนวน 13 ข้อ มี 2 ข้อสำคัญ ที่เป็นปัญหา คือ การกำหนดคุณสมบัติเรื่องทรัพย์สินรวมที่ต้องมีทรัพย์สินรวม ณ สิ้นปี 2566 จำนวนไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นล้านบาท และต้องมีอัตราส่วนความเพียงพอของการดำรงเงินกองทุนต่อเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามกฎหมาย (Car Ratio)
ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 200 ณ สิ้นปี 2566 เพราะทำให้เหลือบริษัทประกันภัยเพียง 2 บริษัท ที่มีคุณสมบัติสามารถเข้าร่วมได้ และทำให้ถูกมองว่าเป็นการล็อกสเปก เอื้อประโยชน์ให้กับนายทุนบางกลุ่ม รวมไปถึงอาจจะมีใบสั่งจากฝ่ายการเมืองมา เพื่อนำไปสู่การดำเนินงานเรื่องที่ใหญ่กว่านี้ในอนาคต" แหล่งข่าวระบุ (ดูเอกสารประกอบ / มีรายชื่อ 17 บริษัทประกันภัยรวมอยู่ด้วย )
แหล่งข่าวกล่าวย้ำว่า ข้อมูลนี้มีความสำคัญมาก และน่าจะเป็นประโยชน์ต่อ ป.ป.ช. และสำนักข่าวอิศรา นำไปใช้เป็นข้อมูลตั้งต้นในการติดตามตรวจสอบข่าวเจาะเรื่องนี้ โดยเฉพาะประเด็นสำคัญที่ว่า เงื่อนไขที่เป็นปัญหาทั้ง 2 ข้อดังกล่าว ใครเป็นผู้นำเสนอริเริ่มความคิดนี้ขึ้นมา
อนึ่งเกี่ยวกับประเด็นเรื่องนี้ ก่อนหน้านี้ นายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวอิศราชี้แจงข้อเท็จจริงไปแล้วว่า กรมการจัดหางาน ดำเนินการตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 24 ก.ย. 2567 ที่ให้แรงงานต่างด้าวต้องทำประกันสุขภาพกับโรงพยาบาลรัฐหรือบริษัทประกันวินาศภัยที่มีความมั่นคงตามที่กรมการจัดหางานกำหนด ส่วนมาตรฐานความมั่นคงของบริษัทประกันนั้น ทางกรมการจัดหางานได้ตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณา มีเจ้าหน้าที่ของกรมฯ ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เข้ามาพิจารณาร่วมกัน จึงออกเป็นมาตรฐานดังกล่าวออกมา อีกทั้งกรมฯ ยังดำเนินการตามมติครม. ทุกประการ และเป็นการดำเนินการเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคต เนื่องจากเหตุการณ์ที่หลายคนทราบว่าในช่วงโควิดที่ผ่านมามีการขายประกันโควิด แล้วมีบริษัทประกันสุขภาพปิดตัว 2 บริษัท แล้วขณะนี้ยังมีการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายไม่เสร็จสิ้น
เมื่อถามว่าจากมาตรฐานที่กรมการจัดหางานกำหนดตามมติครม. ทำให้บริษัทประกันภัยมีคุณสมบัติตามมาตรฐานมีเพียง 2 บริษัท
นาย
สมชาย ตอบว่า "
ไม่ทราบว่าจะผ่านกี่บริษัท เพราะทุกวันนี้มีคำขอยื่นเชื่อมโยงข้อมูลกับกรมการจัดหางานจำนวนมาก ขณะนี้กำลังตรวจสอบว่าบริษัทที่ยื่นคำขอมาเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่ เราไม่สามารถทำตามความต้องการที่จะให้เข้าร่วมได้ ทั้ง 100 บริษัท เราต้องมีมาตรฐาน ถ้าไม่มีมาตรฐานใคร ๆ ก็เข้ามาได้ เมื่อเกิดปัญหาใครจะรับผิดชอบ"
"
แรงงานต่างด้าว 3 ล้านคน เมื่อเกิดปัญหาล้มขึ้นมา ใครจะรับผิดชอบ กองทุนก็รับผิดชอบไม่ไหว กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานก็รับผิดชอบไม่ไหว เมื่อเรารับผิดชอบไม่ไหวจึงต้องการบริษัทประกันที่มีความมั่นคงอย่างเพียงพอ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่เราร้องดำเนินการ การดำเนินการของเราดำเนินการด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้" อธิบดีกรมการจัดหางานระบุ
กกต. เดินหน้าสอบคดียุบพรรค ชี้ศาลรธน.ยกคำร้อง ทักษิณ-พท. ไม่กระทบ ใช้กม.คนละฉบับ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4915633
แสวง ยัน ศาลยกคำร้อง ทักษิณ-พท. ล้มล้างฯ ไม่กระทบกกต. เดินหน้าสอบคดียุบพรรค รับข้อเท็จจริงเดียวกันแต่พิจารณากฎหมายคนละฉบับ
เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ที่จ.อุดรธานี นาย
แสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง กล่าวกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับคำร้องของ นาย
ธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายความอิสระ ที่ยื่นขอให้สั่งนาย
ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และพรรคเพื่อไทย เลิกการกระทำที่เป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพอันจะนำไปสู่การล้มล้างการปกครองฯ จะกระทบกับคำร้องที่กกต.กำลังดำเนินการตรวจสอบหรือไม่ ว่า เรื่องนี้จะอธิบายยาก โดยจะอธิบายกฎหมายก่อน ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาเรื่องการใช้เสรีภาพ เฉพาะมาตรา 49 เขียนว่าการใช้เสรีภาพเพื่อการล้มล้างการปกครองฯทำไม่ได้ เสรีภาพถูกรับรองโดยรัฐธรรมนูญ ประชาชนทุกคนมีเสรีภาพ นั่นคือ อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ แต่กกต.และนายทะเบียนพรรคการเมืองจะพิจารณาสิ่งที่กฎหมายห้ามกระทำตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง จะต่างกันจึงไม่เกี่ยวกัน
นาย
แสวง กล่าวว่า ทั้งนี้ ข้อมูล ข้อเท็จจริง อาจจะเป็นเรื่องเดียวกัน แต่เราถือกฎหมายคนละฉบับ ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาตามรัฐธรรมนูญว่าการใช้สิทธิเสรีภาพนั้นเพื่อเป็นการล้มล้างการปกครองฯหรือไม่ แต่กกต.หรือนายทะเบียนฯจะพิจารณาว่า การกระทำนั้นผิดกฎหมายพรรคการเมือง เป็นเหตุให้มีการยุบพรรคหรือไม่ ยกตัวอย่าง ครั้งที่นายทะเบียนฯ ไม่รับเรื่องของพรรคก้าวไกล (ก.ก.)ไว้พิจารณา แต่ศาลรัฐธรรมนูญรับไว้พิจารณา มีนักข่าวมาถามว่า กกต.ทำไมไม่รับ ซึ่งกรณีนั้นเป็นกรณีใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ กกต.ไม่มีอำนาจที่จะไปพิจารณา เพราะเกินขอบเขตอำนาจ กกต.ไม่ได้เข้าไปพิจารณาเนื้อหา แต่กรณีหลังนั้นมีผู้มาร้องว่ามีพรรคการเมือง กระทำการฝ่าฝืนพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง เป็นเหตุนำไปสู่การยุบพรรค นายทะเบียนฯรับไว้เพื่อรวบรวมพยานหลักฐาน จะเป็นคนละประเด็นกับศาลรัฐธรรมนูญทั้งที่ข้อเท็จจริงเดียวกัน
เมื่อถามว่า หมายความว่า คำร้องหลายๆเรื่อง ที่มีลักษณะคล้ายกัน กกต.เดินหน้าตรวจสอบต่อไป นาย
แสวง กล่าวว่า กกต. ทำตามอำนาจขอบเขตของเรา
สงครามรัสเซียคุกรุ่น หนุนราคาทองคำขาขึ้น ปีหน้าลุ้นแตะ 47,000 บาท
https://www.matichon.co.th/economy/news_4915586
สงครามรัสเซียคุกรุ่น หนุนราคาทองคำขาขึ้น ปีหน้าลุ้นแตะ 47,000 บาท
วันที่ 23 พฤศจิกายน นาย
จิตติ ตั้งสิทธิ์ภักดี นายกสมาคมค้าทองคำ เปิดเผยว่า สถานการณ์ราคาทองคำยังคงผันผวนตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลก การชนะเลือกตั้งของนาย
โดนัลด์ ทรัมป์ รวมถึงสงครามรัสเซียกับยูเครนที่อาจจะทวีความรุนแรงขึ้น และหลังสถานการณ์ตึงเครียด ทำให้ช่วง 2 วันนี้ ราคาทองปรับขึ้น 2,000 บาท หลังจากก่อนหน้าที่ปรับลดลงไป 2,000 กว่าบาทหลังทรัมป์ชนะเลือกตั้ง และคาดว่าราคาจะผันผวนไปจนถึงเดือนมกราคม 2568 หลังที่ทรัมป์ประกาศนโยบายออกมาอย่างชัดเจน ดังนั้นในช่วงนี้หากใครมีเงินเก็บสามารถซื้อลงทุนระยะยาวได้ แต่ถ้าซื้อเพื่อเก็งกำไรระยะสั้นก็ต้องระมัดระวัง
“
วันที่ 22 พฤศจิกายนราคาทองปรับขึ้นลง 14 ครั้ง และปิดวันปรับเพิ่มขึ้น 550 บาท ทองคำแท่งขายออก 44,250 บาทต่อบาททองคำ ทองรูปพรรณขายออก 44,750 บาทต่อบาททองคำ ทั้งนี้คาดการณ์ว่าสิ้นปี 2567 ราคาทองคำจะพุ่ง 2,700 ดอลลาร์และทะลุ 3,000 ดอลลาร์ ในปี 2568 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับค่าเงินบาทในเวลานั้นๆด้วย แต่คาดว่าจะได้เห็นราคาทะลุ 47,000 บาทต่อบาททองคำแน่ๆในปีหน้า” นาย
จิตติกล่าว
JJNY : โชว์ข้อมูลร้องป.ป.ช. บ.ประกัน│กกต.เดินหน้าสอบคดียุบพรรค│สงครามหนุนราคาทองคำขาขึ้น│แม่น้ำในชั้นบรรยากาศท่วมในสหรัฐ
https://www.isranews.org/article/isranews/133631-invesdsdsdssdds-2.html
โชว์ข้อมูล ร้อง ป.ป.ช.สอบเงื่อนไขคัดเลือก บ.รับทำประกันแรงงานต่างด้าว 5 พันล. เอื้อประโยชน์นายทุน ชี้พิรุธปี 66 กำหนดหลักเกณฑ์แค่ 6 ข้อ ก่อนเพิ่มใหม่ 13 ข้อ ปี 67 อ้างมติ ครม. 24 ก.ย. ทำจำนวน 17 บริษัท เหลือเข้าได้แค่ 2 - วิจารณ์ขรมใบสั่งฝ่ายการเมือง ทดลองภารกิจก่อนทำเรื่องใหญ่ในอนาคต
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org))รายงานความคืบหน้ากรณี กรมการจัดหางาน (กกจ.) กำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐานใหม่ในการคัดเลือกบริษัทประกันภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยที่จะรับประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว ซึ่งจะขอรับใบอนุญาตทำงานตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 24 ก.ย. 2567 ว่า บริษัทจะต้องมีคุณสมบัติและเงื่อนไขตามที่กำหนด 13 ประการ แจ้งความประสงค์จะเข้าร่วมการดำเนินการประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว ภายในวันที่ 19 พ.ย. 2567 ที่ผ่านมา เพื่อพิจารณาอนุญาตให้เชื่อมโยงข้อมูลหลักฐานการซื้อประกันสุขภาพต่อไป
ขณะที่ตัวแทนบริษัทประกันภัยกลุ่มหนึ่ง ได้ทำหนังสือร้องเรียนไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อขอให้ตรวจสอบกรณีข้าราชการกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ออกหลักเกณฑ์เอื้อประโยชน์บริษัทประกันภัยบางบริษัท ให้มีสิทธิเข้ารับการประกันสุขภาพของคนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรี 24 ก.ย. 2567 และกีดกันบริษัทประกันภัยอื่น ๆ โดยกำหนดคุณสมบัติเรื่องทรัพย์สินรวมที่ต้องมีทรัพย์สินรวม ณ สิ้นปี 2566 จำนวนไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นล้านบาท และต้องมีอัตราส่วนความเพียงพอของการดำรงเงินกองทุนต่อเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามกฎหมาย (Car Ratio)
ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 200 ณ สิ้นปี 2566 ซึ่งทำให้เหลือบริษัทประกันภัยที่สามารถเข้าร่วมประกันภัยเพียง 2 บริษัท จากเดิม 17 บริษัทประกันภัย ขณะที่ตัวเลขการทะเบียนแรงงานต่างด้าว ปัจจุบันมีจำนวนกว่า 3 ล้านคน ตัวเลขมูลค่าวงเงินประกันที่จะเกิดขึ้นประมาณ 5 พันล้านบาท
ล่าสุด แหล่งข่าวจากตัวแทนบริษัทประกันภัยรายหนึ่ง เปิดเผยสำนักข่าวอิศราเพิ่มเติมว่า กรณีตัวแทนบริษัทประกันภัย ยื่นเรื่องร้องเรียนให้ ป.ป.ช.ตรวจสอบกรณีการออกหลักเกณฑ์เอื้อประโยชน์บริษัทประกันภัยบางบริษัท ให้มีสิทธิเข้ารับการประกันสุขภาพของคนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรี 24 ก.ย. 2567 และกีดกันบริษัทประกันภัยอื่น ๆ นั้น ข้อมูลสำคัญที่ตัวแทนบริษัทประกันภัยนำไปยื่นเรื่องให้ ป.ป.ช.ใช้ประกอบการตรวจสอบเรื่องนี้ คือ ข้อสังเกตการออกหลักเกณฑ์การประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว จากในปี 2566 ที่อ้างว่าเป็นการดำเนินการตามมติ ครม. วันที่ 5 ก.ค.2566
และ ตามมติ ครม. วันที่ 3 ต.ค.2566 มีจำนวน 6 ข้อ ทำให้มีบริษัทประกันภัย ที่ผ่านเข้าหลักเกณฑ์ทั้งหมด 17 บริษัท ซึ่งปี 66 ก็เป็นช่วงที่ประเทศไทย เริ่มผ่านพ้นสถานการณ์โควิดแล้ว แต่ในการดำเนินการปี 2567 มีการออกหลักเกณฑ์การประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวใหม่ เพิ่มขึ้นมาแบบก้าวกระโดด เป็น 13 ข้อ
"หลักเกณฑ์ใหม่ที่เพิ่มขึ้นมา จำนวน 13 ข้อ มี 2 ข้อสำคัญ ที่เป็นปัญหา คือ การกำหนดคุณสมบัติเรื่องทรัพย์สินรวมที่ต้องมีทรัพย์สินรวม ณ สิ้นปี 2566 จำนวนไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นล้านบาท และต้องมีอัตราส่วนความเพียงพอของการดำรงเงินกองทุนต่อเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามกฎหมาย (Car Ratio)
ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 200 ณ สิ้นปี 2566 เพราะทำให้เหลือบริษัทประกันภัยเพียง 2 บริษัท ที่มีคุณสมบัติสามารถเข้าร่วมได้ และทำให้ถูกมองว่าเป็นการล็อกสเปก เอื้อประโยชน์ให้กับนายทุนบางกลุ่ม รวมไปถึงอาจจะมีใบสั่งจากฝ่ายการเมืองมา เพื่อนำไปสู่การดำเนินงานเรื่องที่ใหญ่กว่านี้ในอนาคต" แหล่งข่าวระบุ (ดูเอกสารประกอบ / มีรายชื่อ 17 บริษัทประกันภัยรวมอยู่ด้วย )
แหล่งข่าวกล่าวย้ำว่า ข้อมูลนี้มีความสำคัญมาก และน่าจะเป็นประโยชน์ต่อ ป.ป.ช. และสำนักข่าวอิศรา นำไปใช้เป็นข้อมูลตั้งต้นในการติดตามตรวจสอบข่าวเจาะเรื่องนี้ โดยเฉพาะประเด็นสำคัญที่ว่า เงื่อนไขที่เป็นปัญหาทั้ง 2 ข้อดังกล่าว ใครเป็นผู้นำเสนอริเริ่มความคิดนี้ขึ้นมา
อนึ่งเกี่ยวกับประเด็นเรื่องนี้ ก่อนหน้านี้ นายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวอิศราชี้แจงข้อเท็จจริงไปแล้วว่า กรมการจัดหางาน ดำเนินการตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 24 ก.ย. 2567 ที่ให้แรงงานต่างด้าวต้องทำประกันสุขภาพกับโรงพยาบาลรัฐหรือบริษัทประกันวินาศภัยที่มีความมั่นคงตามที่กรมการจัดหางานกำหนด ส่วนมาตรฐานความมั่นคงของบริษัทประกันนั้น ทางกรมการจัดหางานได้ตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณา มีเจ้าหน้าที่ของกรมฯ ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เข้ามาพิจารณาร่วมกัน จึงออกเป็นมาตรฐานดังกล่าวออกมา อีกทั้งกรมฯ ยังดำเนินการตามมติครม. ทุกประการ และเป็นการดำเนินการเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคต เนื่องจากเหตุการณ์ที่หลายคนทราบว่าในช่วงโควิดที่ผ่านมามีการขายประกันโควิด แล้วมีบริษัทประกันสุขภาพปิดตัว 2 บริษัท แล้วขณะนี้ยังมีการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายไม่เสร็จสิ้น
เมื่อถามว่าจากมาตรฐานที่กรมการจัดหางานกำหนดตามมติครม. ทำให้บริษัทประกันภัยมีคุณสมบัติตามมาตรฐานมีเพียง 2 บริษัท
นายสมชาย ตอบว่า "ไม่ทราบว่าจะผ่านกี่บริษัท เพราะทุกวันนี้มีคำขอยื่นเชื่อมโยงข้อมูลกับกรมการจัดหางานจำนวนมาก ขณะนี้กำลังตรวจสอบว่าบริษัทที่ยื่นคำขอมาเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่ เราไม่สามารถทำตามความต้องการที่จะให้เข้าร่วมได้ ทั้ง 100 บริษัท เราต้องมีมาตรฐาน ถ้าไม่มีมาตรฐานใคร ๆ ก็เข้ามาได้ เมื่อเกิดปัญหาใครจะรับผิดชอบ"
"แรงงานต่างด้าว 3 ล้านคน เมื่อเกิดปัญหาล้มขึ้นมา ใครจะรับผิดชอบ กองทุนก็รับผิดชอบไม่ไหว กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานก็รับผิดชอบไม่ไหว เมื่อเรารับผิดชอบไม่ไหวจึงต้องการบริษัทประกันที่มีความมั่นคงอย่างเพียงพอ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่เราร้องดำเนินการ การดำเนินการของเราดำเนินการด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้" อธิบดีกรมการจัดหางานระบุ
กกต. เดินหน้าสอบคดียุบพรรค ชี้ศาลรธน.ยกคำร้อง ทักษิณ-พท. ไม่กระทบ ใช้กม.คนละฉบับ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4915633
แสวง ยัน ศาลยกคำร้อง ทักษิณ-พท. ล้มล้างฯ ไม่กระทบกกต. เดินหน้าสอบคดียุบพรรค รับข้อเท็จจริงเดียวกันแต่พิจารณากฎหมายคนละฉบับ
เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ที่จ.อุดรธานี นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง กล่าวกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับคำร้องของ นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายความอิสระ ที่ยื่นขอให้สั่งนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และพรรคเพื่อไทย เลิกการกระทำที่เป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพอันจะนำไปสู่การล้มล้างการปกครองฯ จะกระทบกับคำร้องที่กกต.กำลังดำเนินการตรวจสอบหรือไม่ ว่า เรื่องนี้จะอธิบายยาก โดยจะอธิบายกฎหมายก่อน ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาเรื่องการใช้เสรีภาพ เฉพาะมาตรา 49 เขียนว่าการใช้เสรีภาพเพื่อการล้มล้างการปกครองฯทำไม่ได้ เสรีภาพถูกรับรองโดยรัฐธรรมนูญ ประชาชนทุกคนมีเสรีภาพ นั่นคือ อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ แต่กกต.และนายทะเบียนพรรคการเมืองจะพิจารณาสิ่งที่กฎหมายห้ามกระทำตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง จะต่างกันจึงไม่เกี่ยวกัน
นายแสวง กล่าวว่า ทั้งนี้ ข้อมูล ข้อเท็จจริง อาจจะเป็นเรื่องเดียวกัน แต่เราถือกฎหมายคนละฉบับ ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาตามรัฐธรรมนูญว่าการใช้สิทธิเสรีภาพนั้นเพื่อเป็นการล้มล้างการปกครองฯหรือไม่ แต่กกต.หรือนายทะเบียนฯจะพิจารณาว่า การกระทำนั้นผิดกฎหมายพรรคการเมือง เป็นเหตุให้มีการยุบพรรคหรือไม่ ยกตัวอย่าง ครั้งที่นายทะเบียนฯ ไม่รับเรื่องของพรรคก้าวไกล (ก.ก.)ไว้พิจารณา แต่ศาลรัฐธรรมนูญรับไว้พิจารณา มีนักข่าวมาถามว่า กกต.ทำไมไม่รับ ซึ่งกรณีนั้นเป็นกรณีใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ กกต.ไม่มีอำนาจที่จะไปพิจารณา เพราะเกินขอบเขตอำนาจ กกต.ไม่ได้เข้าไปพิจารณาเนื้อหา แต่กรณีหลังนั้นมีผู้มาร้องว่ามีพรรคการเมือง กระทำการฝ่าฝืนพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง เป็นเหตุนำไปสู่การยุบพรรค นายทะเบียนฯรับไว้เพื่อรวบรวมพยานหลักฐาน จะเป็นคนละประเด็นกับศาลรัฐธรรมนูญทั้งที่ข้อเท็จจริงเดียวกัน
เมื่อถามว่า หมายความว่า คำร้องหลายๆเรื่อง ที่มีลักษณะคล้ายกัน กกต.เดินหน้าตรวจสอบต่อไป นายแสวง กล่าวว่า กกต. ทำตามอำนาจขอบเขตของเรา
สงครามรัสเซียคุกรุ่น หนุนราคาทองคำขาขึ้น ปีหน้าลุ้นแตะ 47,000 บาท
https://www.matichon.co.th/economy/news_4915586
สงครามรัสเซียคุกรุ่น หนุนราคาทองคำขาขึ้น ปีหน้าลุ้นแตะ 47,000 บาท
วันที่ 23 พฤศจิกายน นายจิตติ ตั้งสิทธิ์ภักดี นายกสมาคมค้าทองคำ เปิดเผยว่า สถานการณ์ราคาทองคำยังคงผันผวนตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลก การชนะเลือกตั้งของนายโดนัลด์ ทรัมป์ รวมถึงสงครามรัสเซียกับยูเครนที่อาจจะทวีความรุนแรงขึ้น และหลังสถานการณ์ตึงเครียด ทำให้ช่วง 2 วันนี้ ราคาทองปรับขึ้น 2,000 บาท หลังจากก่อนหน้าที่ปรับลดลงไป 2,000 กว่าบาทหลังทรัมป์ชนะเลือกตั้ง และคาดว่าราคาจะผันผวนไปจนถึงเดือนมกราคม 2568 หลังที่ทรัมป์ประกาศนโยบายออกมาอย่างชัดเจน ดังนั้นในช่วงนี้หากใครมีเงินเก็บสามารถซื้อลงทุนระยะยาวได้ แต่ถ้าซื้อเพื่อเก็งกำไรระยะสั้นก็ต้องระมัดระวัง
“วันที่ 22 พฤศจิกายนราคาทองปรับขึ้นลง 14 ครั้ง และปิดวันปรับเพิ่มขึ้น 550 บาท ทองคำแท่งขายออก 44,250 บาทต่อบาททองคำ ทองรูปพรรณขายออก 44,750 บาทต่อบาททองคำ ทั้งนี้คาดการณ์ว่าสิ้นปี 2567 ราคาทองคำจะพุ่ง 2,700 ดอลลาร์และทะลุ 3,000 ดอลลาร์ ในปี 2568 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับค่าเงินบาทในเวลานั้นๆด้วย แต่คาดว่าจะได้เห็นราคาทะลุ 47,000 บาทต่อบาททองคำแน่ๆในปีหน้า” นายจิตติกล่าว