กระทู้เล่าสู่กันฟัง นะครับ
เนื่องจาก จขกท. เป็นเบาหวาน เนื่องมาจากการตามใจปากและการไม่ดูแลตัวเอง ทำให้ต้องเริ่มรับยาเบาหวาน มากิน(จริงๆ จังๆ มาเกือบ 2 ปี) นอกจากการรับยาแล้ว จขกท. ก็มีการเพิ่มการออกกำลัง การควบคุมอาหาร ในแบบที่ จขกท. เข้าใจ จากการตรวจน้ำตาลสะสมทุก 3 เดือน พบว่า ค่าน้ำตาลสะสม ลดลงมาก นอกจากน้ำตาลสะสมแล้วระดับไตรกลีเซอไรด์ก็ลดลงอย่างมากด้วย
จากการไปพบคุณหมอที่ดูแล จขกท. ในครั้งที่ผ่านมาคุณหมอก็ได้กรุณาแนะนำ จขกท. ให้รู้จักกับกับนักโภชนาการของโรงพยาบาล
ก็ได้รับคำแนะนำที่เป็นประโชยน์หลายๆ อย่าง ตัว จขกท. เองไม่ค่อยได้ทำอาหารกินเองได้แต่พึ่งพาอาหารถุง ซึ่งอันนี้หลีกเลี่ยงยาก นักโภชนาการแนะนำว่าอาหารถุงก็ไม่ได้แย่เพียงแต่เราต้องเลือกซื้อเป็นและคงต้องงดตามใจปาก (ฮาๆๆ อันนี้แหละยากมากๆ) พวกน้ำซุป น้ำแกงต่างๆ ให้ทานเท่าที่จำเป็น เหตุผลคือ ไม่ว่าจะเป็นน้ำปลาและน้ำตาลจากการปรุงอาหาร เมื่อปรุงเข้าไปแล้วก็จะละลายไปอยู่ในน้ำซุป น้ำแกง เหล่านั้นนั่นแหละรวมไปถึงน้ำซอสจากการผัดต่างๆ ด้วยไม่ว่าจะเป็นผัดเนื้อ ผัดหมู หรือผัดผัก
ส่วนค่า GI หรือ Glycemic Idex คือ ค่าดัชนีน้ำตาลที่บอกถึงความเร็วของการดูดซึมคาร์โบไฮเดรต มีผลกับระดับน้ำตาลในเลือด
ซึ่งดูได้ตามภาพที่แนบมาครับ
โดยภาพนี้ผม scan มาจากแผ่นพับที่ได้รับแจกมาครับ
Na คือ โซเดียม
P คือ ฟอสฟอรัส
K คือ โพแทสเซียม
สังเกตุดีๆ นะครับ
บางกรอบจะเป็นค่า GI
บางกรอบจะเป็นค่า Na
บางกรอบจะเป็นค่า P
บางกรอบจะเป็นค่า K
บางกรอบจะเป็นค่า ไขมันอิ่มตัว
จากภาพข้าวและแป้ง อันนี้ไม่เข้าใจว่าทำไม "ข้าวเหนียว" ที่มี GI = 98 ถึงถูกจัดอยู่ในกรอบสีเขียว ค่านี้ไม่ผิดครับผมค้นจาก
https://www.honestdocs.co/table-of-glycemic-index-per-food-types ที่นี่ก็ได้ค่าเดียวกัน เอาเป็นว่าเมนูข้าวเหนียวส้มตำและกับอย่างอื่นคงต้องกลายเป็นข้าวกล้อง ส้มตำและกับอย่างอื่นแทน
บะหมี่อีกอย่าง คงต้องลากันยาวๆ ไปก่อน จนกว่า ระดับน้ำตาลสะสมจะกลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ จนเป็นที่น่าพอใจ
ในกลุ่มของผักสุก ไม่ค่อยมีปัญหากับผมนักและส่วนตัวไม่ชอบกินแครอทและถั่วฝักยาว คือกินได้แต่ถ้าเลือกได้จะไม่กินครับ
ส่วนท่านใดสนใจเรื่องโพแทสเซียม อ่านใน สปอย นะครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://www.pobpad.com/hyperkalemia >> โพแทสเซียมในเลือดสูง
https://www.pobpad.com/hypokalemia >> โพแทสเซียมในเลือดต่ำ
http://bit.ly/2P1R683 >> ประโชยน์ 5 ข้อของ โพแทสเซียม
ในกลุ่มไขมัน มีปัญหาอยู่นิดหน่อย ถึงแม้ระดับไดรกลีเซอไรด์ของผมจะลดลงอย่างมากแล้ว แต่ก็ต้องไม่เผลอให้มันกลับมาเกินอีก ในกลุ่มนี้ เบคอน ผมห่างมานานแล้ว เนยสดนานๆ ครั้ง ไม่ว่าจะจากขนมต่างๆ หรือจับทาขนมปังปิ้งโดยตรงก็ตาม จะมีอยู่บ้างก็ตรงกะทิ เพราะชอบทานแกงกะทิเช่นแกงเขียวหวาน แกงเทโพ แพนงเนื้อ ตอนนี้ทำได้แค่หากจะกินต้องเป็นมื้อเช้า หรือกลางวันเท่านั้น
ส่วนถั่วกำลังพยายามหันมากินถั่วต้มแทนถั่วลิสงอบ ส่วนเม็ดมะม่วงหิมพานต์ อยากกินก็ต้องอบเอง
ในกลุ่มเนื้อสัตว์และนมก็ไม่ค่อยมีปัญหา หลักๆ คงเป็นกาแฟ ซึ่งก็หันมากินกาแฟดำ นานแล้ว
ในกลุ่มผลไม้ก็เช่นกัน ไม่ค่อยมีปัญหาสักเท่าใด เพราะปกติจะไม่ค่อยกินผลไม้เท่าไหร่ ที่กินบ่อยหน่อยสำหรับ จขกท. ก็จะมี แตงโม แอปเปิ้ลแดง มะละกอ กลัวยตามแต่จะหาได้ ซึ่งไม่ได้กินบ่อยครับ
การพูดคุยกับนักโภชนาการครั้งนี้เป็นครั้งแรก ส่วนมากเค้าจะซักถามถึงกิจวัตรประจำวัน ที่เกี่ยวกับการกินอาหารของเราซะมากกว่า แล้วก็แนะนำจากอาหารหรือเครื่องดื่มที่เราบริโภคเข้าไป โดยเน้นที่ปริมาณน้ำตาล ที่ จขกท. มีปัญหาอยู่ ว่าตัวไหน ควรกิน ตัวไหน ควรเลี่ยง
เอาไว้คราวหน้า น่าจะมีข้อมูลที่น่าสนใจมากกว่านี้ แล้วจะเอามาเล่าสู่กันฟังใหม่นะครับ
ค่า Glycemic Idex บางส่วนสำหรับคนเป็นเบาหวานหรือไม่เป็นก็รู้ไว้ได้
เนื่องจาก จขกท. เป็นเบาหวาน เนื่องมาจากการตามใจปากและการไม่ดูแลตัวเอง ทำให้ต้องเริ่มรับยาเบาหวาน มากิน(จริงๆ จังๆ มาเกือบ 2 ปี) นอกจากการรับยาแล้ว จขกท. ก็มีการเพิ่มการออกกำลัง การควบคุมอาหาร ในแบบที่ จขกท. เข้าใจ จากการตรวจน้ำตาลสะสมทุก 3 เดือน พบว่า ค่าน้ำตาลสะสม ลดลงมาก นอกจากน้ำตาลสะสมแล้วระดับไตรกลีเซอไรด์ก็ลดลงอย่างมากด้วย
จากการไปพบคุณหมอที่ดูแล จขกท. ในครั้งที่ผ่านมาคุณหมอก็ได้กรุณาแนะนำ จขกท. ให้รู้จักกับกับนักโภชนาการของโรงพยาบาล
ก็ได้รับคำแนะนำที่เป็นประโชยน์หลายๆ อย่าง ตัว จขกท. เองไม่ค่อยได้ทำอาหารกินเองได้แต่พึ่งพาอาหารถุง ซึ่งอันนี้หลีกเลี่ยงยาก นักโภชนาการแนะนำว่าอาหารถุงก็ไม่ได้แย่เพียงแต่เราต้องเลือกซื้อเป็นและคงต้องงดตามใจปาก (ฮาๆๆ อันนี้แหละยากมากๆ) พวกน้ำซุป น้ำแกงต่างๆ ให้ทานเท่าที่จำเป็น เหตุผลคือ ไม่ว่าจะเป็นน้ำปลาและน้ำตาลจากการปรุงอาหาร เมื่อปรุงเข้าไปแล้วก็จะละลายไปอยู่ในน้ำซุป น้ำแกง เหล่านั้นนั่นแหละรวมไปถึงน้ำซอสจากการผัดต่างๆ ด้วยไม่ว่าจะเป็นผัดเนื้อ ผัดหมู หรือผัดผัก
ส่วนค่า GI หรือ Glycemic Idex คือ ค่าดัชนีน้ำตาลที่บอกถึงความเร็วของการดูดซึมคาร์โบไฮเดรต มีผลกับระดับน้ำตาลในเลือด
ซึ่งดูได้ตามภาพที่แนบมาครับ
โดยภาพนี้ผม scan มาจากแผ่นพับที่ได้รับแจกมาครับ
Na คือ โซเดียม
P คือ ฟอสฟอรัส
K คือ โพแทสเซียม
สังเกตุดีๆ นะครับ
บางกรอบจะเป็นค่า GI
บางกรอบจะเป็นค่า Na
บางกรอบจะเป็นค่า P
บางกรอบจะเป็นค่า K
บางกรอบจะเป็นค่า ไขมันอิ่มตัว
จากภาพข้าวและแป้ง อันนี้ไม่เข้าใจว่าทำไม "ข้าวเหนียว" ที่มี GI = 98 ถึงถูกจัดอยู่ในกรอบสีเขียว ค่านี้ไม่ผิดครับผมค้นจาก https://www.honestdocs.co/table-of-glycemic-index-per-food-types ที่นี่ก็ได้ค่าเดียวกัน เอาเป็นว่าเมนูข้าวเหนียวส้มตำและกับอย่างอื่นคงต้องกลายเป็นข้าวกล้อง ส้มตำและกับอย่างอื่นแทน
บะหมี่อีกอย่าง คงต้องลากันยาวๆ ไปก่อน จนกว่า ระดับน้ำตาลสะสมจะกลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ จนเป็นที่น่าพอใจ
ในกลุ่มของผักสุก ไม่ค่อยมีปัญหากับผมนักและส่วนตัวไม่ชอบกินแครอทและถั่วฝักยาว คือกินได้แต่ถ้าเลือกได้จะไม่กินครับ
ส่วนท่านใดสนใจเรื่องโพแทสเซียม อ่านใน สปอย นะครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ในกลุ่มไขมัน มีปัญหาอยู่นิดหน่อย ถึงแม้ระดับไดรกลีเซอไรด์ของผมจะลดลงอย่างมากแล้ว แต่ก็ต้องไม่เผลอให้มันกลับมาเกินอีก ในกลุ่มนี้ เบคอน ผมห่างมานานแล้ว เนยสดนานๆ ครั้ง ไม่ว่าจะจากขนมต่างๆ หรือจับทาขนมปังปิ้งโดยตรงก็ตาม จะมีอยู่บ้างก็ตรงกะทิ เพราะชอบทานแกงกะทิเช่นแกงเขียวหวาน แกงเทโพ แพนงเนื้อ ตอนนี้ทำได้แค่หากจะกินต้องเป็นมื้อเช้า หรือกลางวันเท่านั้น
ส่วนถั่วกำลังพยายามหันมากินถั่วต้มแทนถั่วลิสงอบ ส่วนเม็ดมะม่วงหิมพานต์ อยากกินก็ต้องอบเอง
ในกลุ่มเนื้อสัตว์และนมก็ไม่ค่อยมีปัญหา หลักๆ คงเป็นกาแฟ ซึ่งก็หันมากินกาแฟดำ นานแล้ว
ในกลุ่มผลไม้ก็เช่นกัน ไม่ค่อยมีปัญหาสักเท่าใด เพราะปกติจะไม่ค่อยกินผลไม้เท่าไหร่ ที่กินบ่อยหน่อยสำหรับ จขกท. ก็จะมี แตงโม แอปเปิ้ลแดง มะละกอ กลัวยตามแต่จะหาได้ ซึ่งไม่ได้กินบ่อยครับ
การพูดคุยกับนักโภชนาการครั้งนี้เป็นครั้งแรก ส่วนมากเค้าจะซักถามถึงกิจวัตรประจำวัน ที่เกี่ยวกับการกินอาหารของเราซะมากกว่า แล้วก็แนะนำจากอาหารหรือเครื่องดื่มที่เราบริโภคเข้าไป โดยเน้นที่ปริมาณน้ำตาล ที่ จขกท. มีปัญหาอยู่ ว่าตัวไหน ควรกิน ตัวไหน ควรเลี่ยง
เอาไว้คราวหน้า น่าจะมีข้อมูลที่น่าสนใจมากกว่านี้ แล้วจะเอามาเล่าสู่กันฟังใหม่นะครับ