มันสำปะหลังเป็นพืชสารพัดประโยชน์นิยมนำมาแปรรูปเป็นวัตถุดิบอย่างผงชูรส สารให้ความหวาน และแป้งมันสำปะหลัง ตลอดจนนำมารับประทานเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เช่น บำรุงลำไส้ บำรุงระบบเผาผลาญ หรือรักษาโรคเบาหวาน เพราะมีคาร์โบไฮเดรต เส้นใย และสารอาหารบางชนิดที่เชื่อว่าดีต่อร่างกาย
คนส่วนใหญ่นิยมกินรากมันสำปะหลังหรือที่เรียกว่าหัวมัน โดยรากมันสำปะหลังต้ม 100 กรัม ให้พลังงาน 112 แคลอรี่ อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต เส้นใยอาหาร แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินบี 1 และวิตามินบี 2 นับว่ามีปริมาณสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายน้อยเมื่อเทียบกับพืชชนิดอื่น แต่ได้มีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์บางชิ้นชี้ให้เห็นคุณประโยชน์ทางยาของมันสำปะหลังในแง่มุมที่หลากหลาย ดังนี้
รักษาเบาหวาน แป้งมันสำปะหลังเป็นผลิตภัณฑ์ที่นิยมนำมาประกอบอาหารหลายชนิดและบริโภคกันมากในประเทศไทย ทั้งยังมีการกล่าวถึงคุณประโยชน์ในการต้านโรคเบาหวาน เนื่องจากมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์บางชิ้นชี้ว่าแป้งมันสำปะหลังอาจส่งผลดีต่อผู้ป่วยโรคนี้ การศึกษาชิ้นหนึ่งได้สำรวจและเก็บข้อมูลจากผู้เข้าร่วมการทดลองที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปที่ไม่เคยเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 409 ราย โดยรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการรับประทานอาหารและประวัติด้านสุขภาพเป็นเวลาประมาณ 3.5 ปี ผลพบว่ามีผู้เข้าร่วมทดลองป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 30 ราย ซึ่งคนกลุ่มนี้ต่างมีพฤติกรรมรับประทานเนื้อแดงมาก แต่กินแป้งมันสำปะหลังน้อย ผู้วิจัยจึงคาดว่าแป้งมันสำปะหลังอาจมีสรรพคุณในการป้องกันโรคเบาหวาน
ผลการศึกษาดังกล่าวสอดคล้องกับผลการทดลองอีกชิ้นหนึ่งที่ชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพของมันสำปะหลังในการควบคุมอาการของโรคเบาหวาน โดยให้ผู้ที่มีสุขภาพดีจำนวนหนึ่งรับประทานขนมปังที่ทำมาจากแป้งสาลีและแป้งมันสำปะหลัง พร้อมเข้ารับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ผลลัพธ์พบว่าผู้ที่รับประทานขนมปังที่มีส่วนผสมของแป้งมันสำปะหลังในปริมาณมากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นน้อยกว่าผู้ที่รับประทานขนมปังแป้งสาลีอย่างมีนัยสำคัญ การบริโภคแป้งมันสำปะหลังจึงอาจส่งผลดีต่อผู้ป่วยโรคเบาหวานและไม่ทำให้อาการของโรคแย่ลง
แม้ผลการศึกษาข้างต้นจะชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ด้านการรักษาเบาหวานของมันสำปะหลัง แต่ก็ไม่อาจรับรองความปลอดภัยหากนำมาใช้จริง เนื่องจากไม่ได้ทดลองกับผู้ป่วยเบาหวานโดยตรง อีกทั้งโรคเบาหวานไม่ได้เกิดจากการรับประทานอาหารเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ประกอบด้วย ประเด็นนี้จึงต้องมีการศึกษาในระยะยาวกับผู้ป่วยจำนวนมากและควบคุมปัจจัยด้านต่าง ๆ อย่างรัดกุมต่อไป ผู้ที่ต้องการทดสอบสรรพคุณข้อนี้ของมันสำปะหลังควรคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก โดยเฉพาะมันสำปะหลังดิบซึ่งมีสารบางชนิดที่อาจก่อให้เกิดพิษไซยาไนด์ในร่างกาย หากรับประทานเป็นประจำอาจส่งผลต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์และระบบประสาท อันอาจนำไปสู่ภาวะอัมพาต อวัยวะถูกทำลาย และเสียชีวิตได้
บำบัดโรคเกี่ยวกับระบบเผาผลาญอาหาร มีการศึกษาบางชิ้นชี้ว่ามันสำปะหลังอาจช่วยให้ระบบการเผาผลาญพลังงานทำงานได้ดีขึ้นและส่งผลดีต่อผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพด้านนี้ งานวิจัยชิ้นหนึ่งศึกษากับผู้ที่มีภาวะความบกพร่องของการสะสมไกลโคเจน (Glycogen Storage Disorders: GSD) ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมที่ทำให้ร่างกายเปลี่ยนกลูโคสเป็นไกลโคเจนหรือย่อยไกลโคเจนให้เป็นกลูโคสไม่ได้ตามปกติ ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดต่ำ กล้ามเนื้ออ่อนแรง อ้วนมาก หรือมีปัญหาเกี่ยวกับไต โรคนี้รักษาได้ด้วยการรับประทานอาหารน้ำตาลต่ำเพื่อคงระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติและป้องกันการมีไกลโคเจนสะสมในตับมากเกินไป
มันสำปะหลังเป็นอาหารอีกชนิดหนึ่งที่มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนซึ่งช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดได้ ดังปรากฏในการศึกษาชื้นหนึ่งที่เปรียบเทียบการย่อยของแป้งข้าวโพด แป้งแปรรูป และแป้งมันสำปะหลัง โดยทดสอบกับแบบจำลองกระเพาะอาหารและลำไส้ ผลการศึกษาเผยให้เห็นกระบวนการย่อยแป้งมันสำปะหลังที่จะปล่อยน้ำตาลออกมาช้า ๆ ซึ่งคุณสมบัตินี้อาจส่งผลดีต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยที่มีความบกพร่องในการสะสมไกลโคเจน
อย่างไรก็ตาม ยังไม่อาจชี้ชัดได้ว่ามันสำปะหลังมีสรรพคุณในการรักษาโรคดังกล่าว เนื่องจากเป็นการทดลองกับแบบจำลองระบบย่อยอาหารของมนุษย์เท่านั้น ประเด็นนี้จำเป็นต้องมีการศึกษากับผู้ป่วยจริงต่อไปเพื่อรับรองประสิทธิภาพและความปลอดภัย นอกจากนี้ สิ่งที่ควรคำนึงถึงก็คือ มันสำปะหลังที่ปลูกในบางพื้นที่อาจปนเปื้อนสารอาร์เซนิกและแคดเมียมซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยผู้ที่ได้รับสารอาร์เซนิกสะสมเป็นเวลานานอาจเกิดอาการหัวใจเต้นผิดปกติ ตับและไตถูกทำลาย และเสี่ยงติดเชื้อได้สูง ส่วนผู้ที่มีแคดเมียมสะสมในร่างกายเรื้อรังอาจเกิดปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับไต ปอด และกระดูกเปราะได้
บำรุงสุขภาพลำไส้ มันสำปะหลังอุดมไปด้วยแป้งที่ให้พลังงานสูงและมีคุณสมบัติเหมือนเส้นใยอาหารชนิดละลายน้ำ อันส่งผลดีต่อสุขภาพลำไส้ เนื่องจากช่วยให้แบคทีเรียชนิดดีในลำไส้เจริญเติบโตได้ดีและกระตุ้นระบบการย่อยอาหาร รวมทั้งลดการอักเสบของลำไส้
อย่างไรก็ตาม มันสำปะหลังประกอบด้วยสารบางชนิด ได้แก่ ซาโปนิน ไฟเตต และแทนนิน ที่อาจขัดขวางการดูดซึมวิตามิน แร่ธาตุ แคลเซียม ธาตุเหล็ก สังกะสี และทองแดง อีกทั้งอาจก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการย่อยอาหาร ผู้ที่รับประทานมันสำปะหลังเป็นประจำอาจมีสารดังกล่าวสะสมในร่างกายในปริมาณมาก ส่งผลให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอหรือประสบภาวะทุพโภชนาการได้
กินมันสำปะหลังอย่างไรให้ปลอดภัยและได้ประโยชน์
หากต้องการนำมันสำปะหลังมาประกอบอาหาร ควรปรุงให้สุกและถูกสุขลักษณะ รวมทั้งรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม โดยการบริโภคมันสำปะหลังให้ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพนั้น ทำได้ดังนี้
1.ปอกเปลือกมันสำปะหลังก่อนนำไปประกอบอาหาร เนื่องจากเปลือกของรากมันสำปะหลังมีส่วนประกอบของไซยาไนด์มากที่สุด
2.แช่มันสำปะหลังในน้ำเปล่าประมาณ 48-60 ชั่วโมงก่อนนำไปประกอบอาหารและบริโภค เพื่อลดสารเคมีตกค้าง
3.ปรุงมันสำปะหลังให้สุกด้วยการต้ม ย่าง หรืออบ เพราะการบริโภคมันสำปะหลังดิบอาจทำให้ได้รับสารเคมีอันตรายได้
4.รับประทานมันสำปะหลังร่วมกับอาหารที่มีโปรตีน เนื่องจากโปรตีนมีส่วนช่วยในการขับสารพิษไซยาไนด์ที่อาจได้รับจากมันสำปะหลังออกจากร่างกาย
5.รับประทานอาหารอย่างอื่นให้หลากหลายในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วน
6.ควรบริโภคมันสำปะหลังประมาณ 70-100 กรัม หรือครึ่งถ้วยเล็ก เพื่อเลี่ยงการได้รับแคลอรี่มากเกินความต้องการของร่างกาย
ขอบคุณเพจ พบแพทย์
"มันสำปะหลัง" มีประโยชน์และบำบัดโรคได้จริงหรือ ?
คนส่วนใหญ่นิยมกินรากมันสำปะหลังหรือที่เรียกว่าหัวมัน โดยรากมันสำปะหลังต้ม 100 กรัม ให้พลังงาน 112 แคลอรี่ อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต เส้นใยอาหาร แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินบี 1 และวิตามินบี 2 นับว่ามีปริมาณสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายน้อยเมื่อเทียบกับพืชชนิดอื่น แต่ได้มีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์บางชิ้นชี้ให้เห็นคุณประโยชน์ทางยาของมันสำปะหลังในแง่มุมที่หลากหลาย ดังนี้
รักษาเบาหวาน แป้งมันสำปะหลังเป็นผลิตภัณฑ์ที่นิยมนำมาประกอบอาหารหลายชนิดและบริโภคกันมากในประเทศไทย ทั้งยังมีการกล่าวถึงคุณประโยชน์ในการต้านโรคเบาหวาน เนื่องจากมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์บางชิ้นชี้ว่าแป้งมันสำปะหลังอาจส่งผลดีต่อผู้ป่วยโรคนี้ การศึกษาชิ้นหนึ่งได้สำรวจและเก็บข้อมูลจากผู้เข้าร่วมการทดลองที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปที่ไม่เคยเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 409 ราย โดยรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการรับประทานอาหารและประวัติด้านสุขภาพเป็นเวลาประมาณ 3.5 ปี ผลพบว่ามีผู้เข้าร่วมทดลองป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 30 ราย ซึ่งคนกลุ่มนี้ต่างมีพฤติกรรมรับประทานเนื้อแดงมาก แต่กินแป้งมันสำปะหลังน้อย ผู้วิจัยจึงคาดว่าแป้งมันสำปะหลังอาจมีสรรพคุณในการป้องกันโรคเบาหวาน
ผลการศึกษาดังกล่าวสอดคล้องกับผลการทดลองอีกชิ้นหนึ่งที่ชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพของมันสำปะหลังในการควบคุมอาการของโรคเบาหวาน โดยให้ผู้ที่มีสุขภาพดีจำนวนหนึ่งรับประทานขนมปังที่ทำมาจากแป้งสาลีและแป้งมันสำปะหลัง พร้อมเข้ารับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ผลลัพธ์พบว่าผู้ที่รับประทานขนมปังที่มีส่วนผสมของแป้งมันสำปะหลังในปริมาณมากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นน้อยกว่าผู้ที่รับประทานขนมปังแป้งสาลีอย่างมีนัยสำคัญ การบริโภคแป้งมันสำปะหลังจึงอาจส่งผลดีต่อผู้ป่วยโรคเบาหวานและไม่ทำให้อาการของโรคแย่ลง
แม้ผลการศึกษาข้างต้นจะชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ด้านการรักษาเบาหวานของมันสำปะหลัง แต่ก็ไม่อาจรับรองความปลอดภัยหากนำมาใช้จริง เนื่องจากไม่ได้ทดลองกับผู้ป่วยเบาหวานโดยตรง อีกทั้งโรคเบาหวานไม่ได้เกิดจากการรับประทานอาหารเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ประกอบด้วย ประเด็นนี้จึงต้องมีการศึกษาในระยะยาวกับผู้ป่วยจำนวนมากและควบคุมปัจจัยด้านต่าง ๆ อย่างรัดกุมต่อไป ผู้ที่ต้องการทดสอบสรรพคุณข้อนี้ของมันสำปะหลังควรคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก โดยเฉพาะมันสำปะหลังดิบซึ่งมีสารบางชนิดที่อาจก่อให้เกิดพิษไซยาไนด์ในร่างกาย หากรับประทานเป็นประจำอาจส่งผลต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์และระบบประสาท อันอาจนำไปสู่ภาวะอัมพาต อวัยวะถูกทำลาย และเสียชีวิตได้
บำบัดโรคเกี่ยวกับระบบเผาผลาญอาหาร มีการศึกษาบางชิ้นชี้ว่ามันสำปะหลังอาจช่วยให้ระบบการเผาผลาญพลังงานทำงานได้ดีขึ้นและส่งผลดีต่อผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพด้านนี้ งานวิจัยชิ้นหนึ่งศึกษากับผู้ที่มีภาวะความบกพร่องของการสะสมไกลโคเจน (Glycogen Storage Disorders: GSD) ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมที่ทำให้ร่างกายเปลี่ยนกลูโคสเป็นไกลโคเจนหรือย่อยไกลโคเจนให้เป็นกลูโคสไม่ได้ตามปกติ ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดต่ำ กล้ามเนื้ออ่อนแรง อ้วนมาก หรือมีปัญหาเกี่ยวกับไต โรคนี้รักษาได้ด้วยการรับประทานอาหารน้ำตาลต่ำเพื่อคงระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติและป้องกันการมีไกลโคเจนสะสมในตับมากเกินไป
มันสำปะหลังเป็นอาหารอีกชนิดหนึ่งที่มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนซึ่งช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดได้ ดังปรากฏในการศึกษาชื้นหนึ่งที่เปรียบเทียบการย่อยของแป้งข้าวโพด แป้งแปรรูป และแป้งมันสำปะหลัง โดยทดสอบกับแบบจำลองกระเพาะอาหารและลำไส้ ผลการศึกษาเผยให้เห็นกระบวนการย่อยแป้งมันสำปะหลังที่จะปล่อยน้ำตาลออกมาช้า ๆ ซึ่งคุณสมบัตินี้อาจส่งผลดีต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยที่มีความบกพร่องในการสะสมไกลโคเจน
อย่างไรก็ตาม ยังไม่อาจชี้ชัดได้ว่ามันสำปะหลังมีสรรพคุณในการรักษาโรคดังกล่าว เนื่องจากเป็นการทดลองกับแบบจำลองระบบย่อยอาหารของมนุษย์เท่านั้น ประเด็นนี้จำเป็นต้องมีการศึกษากับผู้ป่วยจริงต่อไปเพื่อรับรองประสิทธิภาพและความปลอดภัย นอกจากนี้ สิ่งที่ควรคำนึงถึงก็คือ มันสำปะหลังที่ปลูกในบางพื้นที่อาจปนเปื้อนสารอาร์เซนิกและแคดเมียมซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยผู้ที่ได้รับสารอาร์เซนิกสะสมเป็นเวลานานอาจเกิดอาการหัวใจเต้นผิดปกติ ตับและไตถูกทำลาย และเสี่ยงติดเชื้อได้สูง ส่วนผู้ที่มีแคดเมียมสะสมในร่างกายเรื้อรังอาจเกิดปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับไต ปอด และกระดูกเปราะได้
บำรุงสุขภาพลำไส้ มันสำปะหลังอุดมไปด้วยแป้งที่ให้พลังงานสูงและมีคุณสมบัติเหมือนเส้นใยอาหารชนิดละลายน้ำ อันส่งผลดีต่อสุขภาพลำไส้ เนื่องจากช่วยให้แบคทีเรียชนิดดีในลำไส้เจริญเติบโตได้ดีและกระตุ้นระบบการย่อยอาหาร รวมทั้งลดการอักเสบของลำไส้
อย่างไรก็ตาม มันสำปะหลังประกอบด้วยสารบางชนิด ได้แก่ ซาโปนิน ไฟเตต และแทนนิน ที่อาจขัดขวางการดูดซึมวิตามิน แร่ธาตุ แคลเซียม ธาตุเหล็ก สังกะสี และทองแดง อีกทั้งอาจก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการย่อยอาหาร ผู้ที่รับประทานมันสำปะหลังเป็นประจำอาจมีสารดังกล่าวสะสมในร่างกายในปริมาณมาก ส่งผลให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอหรือประสบภาวะทุพโภชนาการได้
กินมันสำปะหลังอย่างไรให้ปลอดภัยและได้ประโยชน์
หากต้องการนำมันสำปะหลังมาประกอบอาหาร ควรปรุงให้สุกและถูกสุขลักษณะ รวมทั้งรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม โดยการบริโภคมันสำปะหลังให้ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพนั้น ทำได้ดังนี้
1.ปอกเปลือกมันสำปะหลังก่อนนำไปประกอบอาหาร เนื่องจากเปลือกของรากมันสำปะหลังมีส่วนประกอบของไซยาไนด์มากที่สุด
2.แช่มันสำปะหลังในน้ำเปล่าประมาณ 48-60 ชั่วโมงก่อนนำไปประกอบอาหารและบริโภค เพื่อลดสารเคมีตกค้าง
3.ปรุงมันสำปะหลังให้สุกด้วยการต้ม ย่าง หรืออบ เพราะการบริโภคมันสำปะหลังดิบอาจทำให้ได้รับสารเคมีอันตรายได้
4.รับประทานมันสำปะหลังร่วมกับอาหารที่มีโปรตีน เนื่องจากโปรตีนมีส่วนช่วยในการขับสารพิษไซยาไนด์ที่อาจได้รับจากมันสำปะหลังออกจากร่างกาย
5.รับประทานอาหารอย่างอื่นให้หลากหลายในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วน
6.ควรบริโภคมันสำปะหลังประมาณ 70-100 กรัม หรือครึ่งถ้วยเล็ก เพื่อเลี่ยงการได้รับแคลอรี่มากเกินความต้องการของร่างกาย
ขอบคุณเพจ พบแพทย์