เสียความมั่นใจเพราะ ‘กลิ่นปาก’ มีวิธีแก้ได้ดังนี้อ่านเลย
‘กลิ่นปาก’ เป็นปัญหาบุคลิกภาพ แต่สามารถจัดการได้มาดูวิธีการเลย
ทพญ.นุชนาถ โอปิลันธน์ งานทันตกรรม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ “กลิ่นปาก” ว่า เป็นอีกหนึ่งปัญหาบุคลิกภาพที่สำคัญ หลายคนประสบปัญหาแต่ไม่สามารถจัดการได้ เพราะไม่รู้ถึงสาเหตุของ “กลิ่นปาก” ที่แท้จริงทำให้รักษาไม่ตรงจุด ดังนั้นการกำจัด “กลิ่นปาก” เป็นเรื่องที่ควรเข้าใจถึงสาเหตุ ซึ่งมีอยู่หลายประการ แบ่งออกเป็นสาเหตุภายในและภายนอกช่องปาก สาเหตุบางประการสามารถจัดการได้เองเพียงแค่ปรับพฤติกรรม แต่บางสาเหตุอาจต้องรักษาโดยแพทย์ ซึ่งการรักษาตามสาเหตุจะช่วยให้ปัญหาหมดไปอย่างแท้จริง
สาเหตุของกลิ่นปาก&สาเหตุภายในช่องปาก
ฟันผุ
โรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์
แผลในช่องปาก
ฟันซ้อนเก หรือการใส่เครื่องมีจัดฟัน หากทำความสะอาดไม่ดี
ฟันปลอม กรณีทำความสะอาดไม่ดี
ไม่ได้ทำความสะอาดลิ้น
น้ำลายบูด เกิดจากไม่ค่อยพูด การนอนหลับกลางคืน เครียด ดื่มน้ำน้อย
สาเหตุภายนอกช่องปาก
โรคในระบบต่าง ๆ เช่น ไซนัส ต่อมทอนซิล โรคปอด โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง และโรคกระเพาะอาหารอักเสบ เป็นต้น
สูบบุหรี่
การกินอาหารที่มีกลิ่นแรง เช่น กระเทียม เครื่องเทศ หัวหอม เป็นต้น
การป้องกัน
แปรงฟันให้สะอาด หากมีกลิ่นปากแปรงทุกครั้งหลังอาหารและใช้ไหมขัดฟันร่วม
หลีกเลี่ยงอาหารกลิ่นแรง หลังอาหารอาจะกินอาหารที่ช่วยขัดฟัน เช่น แอปเปิ้ล ฝรั่ง
หากใส่ฟันปลอม ทำความสะอาดฟันทุกครั้งหลังอาหารและถอดฟันออกก่อนนอน
ดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว
ทำความสะอาดลิ้น แลบลิ้นออกมา แล้วแปรงเบา ๆ อย่าเกร็ง เพราะจะทำให้อาเจียน
การรักษา
แพทย์ซักประวัติ (โรคประจำตัว/การดูแลช่องปาก)
ตรวจโรคในช่องปาก
รักษาตามสาเหตุ...
สามารถติดตามต่อได้ที่ :
https://www.dailynews.co.th/news/4276591/
“กะเพรา”มีสรรพคุณทางยามาก แต่ซ่อนผลกระทบด้านสุขภาพแบบคาดไม่ถึง
"กะเพรา" สมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยามาก แต่ซ่อนผลกระทบด้านสุขภาพแบบไม่คาดคิดได้เช่นกัน ดูกันเลยว่าใครควรหลีกเลี่ยงการกิน
ใบกะเพรา เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่เชื่อกันว่ามีสรรพคุณทางยา และนิยมกันนำมาปรุงเป็นอาหาร ที่แสนอร่อย แถมยังมีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ อีกทั้งยังเต็มไปด้วยแร่ธาตุนานาชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อย่างไรก็ตามแม้ว่าใบกระเพราจะมีคุณค่าทางยาและโภชนาการ ด้านวิตามิน และแร่ธาตุอื่น ๆ อีกหลายชนิด เช่น แคลเซียม วิตามินเอ วิตามินเค แมงกานีส แมกนีเซียม เหล็ก สังกะสี โพแทสเซียม
โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนคุณสมบัติในการส่งเสริมสุขภาพของใบกะเพรา พบว่า อาจช่วยป้องกันระดับไขมันในเลือดสูง เนื่องจากใบกะเพราประกอบด้วยสารยูจีนอล (Eugenol) มีคุณสมบัติช่วยปรับอัตราการเผาผลาญไขมันในร่างกายซึ่งส่งผลให้ระดับไขมันในเลือดลดลง หรืออยู่ในระดับที่เหมาะสม
อาจช่วยต้านมะเร็งได้ ใบกะเพราอุดมไปด้วยสารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ซึ่งมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนหรือการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง รวมทั้งเหนี่ยวนำให้เซลล์มะเร็งกลืนกินตัวเอง
อาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ใบกะเพรามีสารยูจีนอล โพลีฟีนอล (Polyphenols) และกรดคาเฟอิก (Caffeic Acid) ที่มีคุณสมบัติร่วมกันคือ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด หนึ่งในสาเหตุของการเป็นโรคเบาหวาน
อาจช่วยบรรเทาภาวะวิตกกังวลหรือซึมเศร้า ซึ่งใบกะเพรา จัดเป็นสมุนไพรกลุ่มอแดปโตเจน (Adaptogenic Herbs) ซึ่งมีคุณสมบัติในการช่วยปรับสมดุลภาวะจิตใจและอารมณ์ต่าง ๆ ของร่างกาย รวมถึงต้านอาการซึมเศร้าและวิตกกังวล การบริโภคใบกะเพราจึงอาจช่วยบรรเทาอาการของโรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder) โดยมีงานวิจัยสนับสนุนว่า ใบกะเพราอาจมีประสิทธิภาพคลายกังวลเทียบเท่ายานอนหลับหรือยาต้านเศร้า
แต่แม้ว่าใบกระเพราจะมีประโยชน์อย่างมาก แต่ข้อควรระระวังในการบริโภค ใบกะเพรา มีดังต่อไปนี้
สารยูจีนอลในใบกะเพรา อาจเป็นสาเหตุของอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย หัวใจเต้นเร็ว รวมถึงตับเสียหาย ดังนั้น จึงไม่ควรบริโภคใบกะเพราในปริมาณมากเกินไป
หญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคสารสกัดจากใบกะเพรา หรืออาหารเสริมจากใบกะเพรา เพราะอาจส่งผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์
ผู้ชายควรหลีกเลี่ยงการบริโภคสารสกัดจากใบกะเพรา หรืออาหารเสริมจากใบกะเพรา เพราะอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบสืบพันธุ์ และทำให้เสี่ยงมีบุตรยาก
สารสกัดจากใบกะเพรา หรืออาหารเสริมจากใบกะเพรา อาจมีคุณสมบัติต้านการแข็งตัวของเลือด จึงไม่ควรรับประทานคู่กับยาละลายลิ่มเลือด...
สามารถติดตามต่อได้ที่ :
https://www.dailynews.co.th/news/4278148/
เสียความมั่นใจเพราะ ‘กลิ่นปาก’ มีวิธีแก้ได้ และ “กะเพรา”มีสรรพคุณทางยามาก แต่ซ่อนผลกระทบ
‘กลิ่นปาก’ เป็นปัญหาบุคลิกภาพ แต่สามารถจัดการได้มาดูวิธีการเลย
ทพญ.นุชนาถ โอปิลันธน์ งานทันตกรรม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ “กลิ่นปาก” ว่า เป็นอีกหนึ่งปัญหาบุคลิกภาพที่สำคัญ หลายคนประสบปัญหาแต่ไม่สามารถจัดการได้ เพราะไม่รู้ถึงสาเหตุของ “กลิ่นปาก” ที่แท้จริงทำให้รักษาไม่ตรงจุด ดังนั้นการกำจัด “กลิ่นปาก” เป็นเรื่องที่ควรเข้าใจถึงสาเหตุ ซึ่งมีอยู่หลายประการ แบ่งออกเป็นสาเหตุภายในและภายนอกช่องปาก สาเหตุบางประการสามารถจัดการได้เองเพียงแค่ปรับพฤติกรรม แต่บางสาเหตุอาจต้องรักษาโดยแพทย์ ซึ่งการรักษาตามสาเหตุจะช่วยให้ปัญหาหมดไปอย่างแท้จริง
สาเหตุของกลิ่นปาก&สาเหตุภายในช่องปาก
ฟันผุ
โรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์
แผลในช่องปาก
ฟันซ้อนเก หรือการใส่เครื่องมีจัดฟัน หากทำความสะอาดไม่ดี
ฟันปลอม กรณีทำความสะอาดไม่ดี
ไม่ได้ทำความสะอาดลิ้น
น้ำลายบูด เกิดจากไม่ค่อยพูด การนอนหลับกลางคืน เครียด ดื่มน้ำน้อย
สาเหตุภายนอกช่องปาก
โรคในระบบต่าง ๆ เช่น ไซนัส ต่อมทอนซิล โรคปอด โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง และโรคกระเพาะอาหารอักเสบ เป็นต้น
สูบบุหรี่
การกินอาหารที่มีกลิ่นแรง เช่น กระเทียม เครื่องเทศ หัวหอม เป็นต้น
การป้องกัน
แปรงฟันให้สะอาด หากมีกลิ่นปากแปรงทุกครั้งหลังอาหารและใช้ไหมขัดฟันร่วม
หลีกเลี่ยงอาหารกลิ่นแรง หลังอาหารอาจะกินอาหารที่ช่วยขัดฟัน เช่น แอปเปิ้ล ฝรั่ง
หากใส่ฟันปลอม ทำความสะอาดฟันทุกครั้งหลังอาหารและถอดฟันออกก่อนนอน
ดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว
ทำความสะอาดลิ้น แลบลิ้นออกมา แล้วแปรงเบา ๆ อย่าเกร็ง เพราะจะทำให้อาเจียน
การรักษา
แพทย์ซักประวัติ (โรคประจำตัว/การดูแลช่องปาก)
ตรวจโรคในช่องปาก
รักษาตามสาเหตุ...
สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/4276591/
“กะเพรา”มีสรรพคุณทางยามาก แต่ซ่อนผลกระทบด้านสุขภาพแบบคาดไม่ถึง
"กะเพรา" สมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยามาก แต่ซ่อนผลกระทบด้านสุขภาพแบบไม่คาดคิดได้เช่นกัน ดูกันเลยว่าใครควรหลีกเลี่ยงการกิน
ใบกะเพรา เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่เชื่อกันว่ามีสรรพคุณทางยา และนิยมกันนำมาปรุงเป็นอาหาร ที่แสนอร่อย แถมยังมีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ อีกทั้งยังเต็มไปด้วยแร่ธาตุนานาชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อย่างไรก็ตามแม้ว่าใบกระเพราจะมีคุณค่าทางยาและโภชนาการ ด้านวิตามิน และแร่ธาตุอื่น ๆ อีกหลายชนิด เช่น แคลเซียม วิตามินเอ วิตามินเค แมงกานีส แมกนีเซียม เหล็ก สังกะสี โพแทสเซียม
โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนคุณสมบัติในการส่งเสริมสุขภาพของใบกะเพรา พบว่า อาจช่วยป้องกันระดับไขมันในเลือดสูง เนื่องจากใบกะเพราประกอบด้วยสารยูจีนอล (Eugenol) มีคุณสมบัติช่วยปรับอัตราการเผาผลาญไขมันในร่างกายซึ่งส่งผลให้ระดับไขมันในเลือดลดลง หรืออยู่ในระดับที่เหมาะสม
อาจช่วยต้านมะเร็งได้ ใบกะเพราอุดมไปด้วยสารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ซึ่งมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนหรือการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง รวมทั้งเหนี่ยวนำให้เซลล์มะเร็งกลืนกินตัวเอง
อาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ใบกะเพรามีสารยูจีนอล โพลีฟีนอล (Polyphenols) และกรดคาเฟอิก (Caffeic Acid) ที่มีคุณสมบัติร่วมกันคือ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด หนึ่งในสาเหตุของการเป็นโรคเบาหวาน
อาจช่วยบรรเทาภาวะวิตกกังวลหรือซึมเศร้า ซึ่งใบกะเพรา จัดเป็นสมุนไพรกลุ่มอแดปโตเจน (Adaptogenic Herbs) ซึ่งมีคุณสมบัติในการช่วยปรับสมดุลภาวะจิตใจและอารมณ์ต่าง ๆ ของร่างกาย รวมถึงต้านอาการซึมเศร้าและวิตกกังวล การบริโภคใบกะเพราจึงอาจช่วยบรรเทาอาการของโรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder) โดยมีงานวิจัยสนับสนุนว่า ใบกะเพราอาจมีประสิทธิภาพคลายกังวลเทียบเท่ายานอนหลับหรือยาต้านเศร้า
แต่แม้ว่าใบกระเพราจะมีประโยชน์อย่างมาก แต่ข้อควรระระวังในการบริโภค ใบกะเพรา มีดังต่อไปนี้
สารยูจีนอลในใบกะเพรา อาจเป็นสาเหตุของอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย หัวใจเต้นเร็ว รวมถึงตับเสียหาย ดังนั้น จึงไม่ควรบริโภคใบกะเพราในปริมาณมากเกินไป
หญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคสารสกัดจากใบกะเพรา หรืออาหารเสริมจากใบกะเพรา เพราะอาจส่งผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์
ผู้ชายควรหลีกเลี่ยงการบริโภคสารสกัดจากใบกะเพรา หรืออาหารเสริมจากใบกะเพรา เพราะอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบสืบพันธุ์ และทำให้เสี่ยงมีบุตรยาก
สารสกัดจากใบกะเพรา หรืออาหารเสริมจากใบกะเพรา อาจมีคุณสมบัติต้านการแข็งตัวของเลือด จึงไม่ควรรับประทานคู่กับยาละลายลิ่มเลือด...
สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/4278148/