ระวัง…ปากพัง! ใครที่ชอบใช้ ‘น้ำยาบ้วนปาก’ผิดวิธี
ใช้‘น้ำยาบ้วนปาก’ ผิดวิธี เสี่ยงช่องปากพัง
วันนี้ “เดลินิวส์” ได้นำบทความจากเพจ โรงพยาบาลเชียงใหม่ ฮอสพิทอล บอกถึงการทำความสะอาดช่องปากและฟัน ว่า ถือเป็นสิ่งที่ต้องทำเป็นกิจวัตรประจำวัน นอกจากการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันให้สะอาดแล้ว น้ำยาบ้วนปาก ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ผู้บริโภคนิยมใช้ โดยเชื่อว่าจะสามารถยับยั้งฟันผุ ยับยั้งคราบจุลินทรีย์ ดับกลิ่นปาก รักษาสุขภาพฟันและเหงือกได้ แต่ยังมีหลายคนที่ใช้น้ำยาบ้วนปากไม่ถูกต้องอีกเช่นกัน จนเสี่ยงเป็นอันตรายต่อสุขภาพในภายหลังได้
ห้ามใช้น้ำยาบ้วนปากแทนการแปรงฟัน เพราะการใช้น้ำยาบ้วนปาก เป็นเพียงเพิ่มกลิ่นหอมสดชื่นให้กับช่องปากเพียงชั่วคราวเท่านั้น แต่คราบจุลินทรีย์ เศษอาหาร และอื่นๆ ยังคงอยู่ตามซอกเหงือกซอกฟัน รวมไปถึงกระพุ้งแก้ม ลิ้น และอื่น ๆ ดังนั้นควรใช้น้ำยาบ้วนปากเพิ่มเติมหลังจากแปรงฟันแล้วเท่านั้น
“น้ำยาบ้วนปาก” ไม่สามารถรักษาอาการต่าง ๆ ของโรคในช่องปากได้ หลายคนอาจใช้ในการอมไว้บริเวณเหงือก หรือจุดที่มีฟันผุ เพื่อหวังจะช่วยลดอาการเหงือกบวมอักเสบ หรือรักษาฟันผุได้ หากใช้น้ำยาบ้วนปากบ่อยเกินไป อาจเข้าไปทำลายเชื้อแบคทีเรียดีๆ ที่อาศัยอยู่ในปาก และอาจก่อให้เกิดเชื้อราภายในปากตามมาภายหลังได้ นอกจากนี้ยังอาจทำให้ฟันเกิดคราบหินปูนได้ง่าย ตุ่มรับรสชาติจากลิ้นเพี้ยนไป และสีเคลือบผิวฟันเปลี่ยนอีกด้วย
“น้ำยาบ้วนปาก” ที่มีแอลกอฮอล์ อาจทำให้ช่องปากระคายเคือง คนที่มีความรู้สึกไวต่อแอลกอฮอล์ หรือแพ้แอลกอฮอล์ อาจเกิดอาการปวดแสบปวดร้อน ดังนั้นคนที่แพ้ง่ายหรือเซนซิทีฟต่อแอลกอฮอล์ ควรหยุดใช้ หรือเลือกใช้น้ำยาบ้วนปากที่ไม่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสมแทน
“น้ำยาบ้วนปาก” ช่วยให้ช่องปากของเราหอมสดชื่น แต่ไม่ได้ช่วยรักษาโรค และอาการผิดปกติต่างๆ ในช่องปากแต่อย่างใด หากมีอาการเหงือกบวมอักเสบ ฟันผุ มีแผลในช่องปาก เหงือกร่น หรือปัญหาอื่นๆ ควรไปพบทันตแพทย์ และควรพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฟันทุก ๆ 6 เดือน...
สามารถติดตามต่อได้ที่ :
https://www.dailynews.co.th/news/4624553/
ระวัง…ปากพัง! ใครที่ชอบใช้ ‘น้ำยาบ้วนปาก’ผิดวิธี
ใช้‘น้ำยาบ้วนปาก’ ผิดวิธี เสี่ยงช่องปากพัง
วันนี้ “เดลินิวส์” ได้นำบทความจากเพจ โรงพยาบาลเชียงใหม่ ฮอสพิทอล บอกถึงการทำความสะอาดช่องปากและฟัน ว่า ถือเป็นสิ่งที่ต้องทำเป็นกิจวัตรประจำวัน นอกจากการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันให้สะอาดแล้ว น้ำยาบ้วนปาก ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ผู้บริโภคนิยมใช้ โดยเชื่อว่าจะสามารถยับยั้งฟันผุ ยับยั้งคราบจุลินทรีย์ ดับกลิ่นปาก รักษาสุขภาพฟันและเหงือกได้ แต่ยังมีหลายคนที่ใช้น้ำยาบ้วนปากไม่ถูกต้องอีกเช่นกัน จนเสี่ยงเป็นอันตรายต่อสุขภาพในภายหลังได้
ห้ามใช้น้ำยาบ้วนปากแทนการแปรงฟัน เพราะการใช้น้ำยาบ้วนปาก เป็นเพียงเพิ่มกลิ่นหอมสดชื่นให้กับช่องปากเพียงชั่วคราวเท่านั้น แต่คราบจุลินทรีย์ เศษอาหาร และอื่นๆ ยังคงอยู่ตามซอกเหงือกซอกฟัน รวมไปถึงกระพุ้งแก้ม ลิ้น และอื่น ๆ ดังนั้นควรใช้น้ำยาบ้วนปากเพิ่มเติมหลังจากแปรงฟันแล้วเท่านั้น
“น้ำยาบ้วนปาก” ไม่สามารถรักษาอาการต่าง ๆ ของโรคในช่องปากได้ หลายคนอาจใช้ในการอมไว้บริเวณเหงือก หรือจุดที่มีฟันผุ เพื่อหวังจะช่วยลดอาการเหงือกบวมอักเสบ หรือรักษาฟันผุได้ หากใช้น้ำยาบ้วนปากบ่อยเกินไป อาจเข้าไปทำลายเชื้อแบคทีเรียดีๆ ที่อาศัยอยู่ในปาก และอาจก่อให้เกิดเชื้อราภายในปากตามมาภายหลังได้ นอกจากนี้ยังอาจทำให้ฟันเกิดคราบหินปูนได้ง่าย ตุ่มรับรสชาติจากลิ้นเพี้ยนไป และสีเคลือบผิวฟันเปลี่ยนอีกด้วย
“น้ำยาบ้วนปาก” ที่มีแอลกอฮอล์ อาจทำให้ช่องปากระคายเคือง คนที่มีความรู้สึกไวต่อแอลกอฮอล์ หรือแพ้แอลกอฮอล์ อาจเกิดอาการปวดแสบปวดร้อน ดังนั้นคนที่แพ้ง่ายหรือเซนซิทีฟต่อแอลกอฮอล์ ควรหยุดใช้ หรือเลือกใช้น้ำยาบ้วนปากที่ไม่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสมแทน
“น้ำยาบ้วนปาก” ช่วยให้ช่องปากของเราหอมสดชื่น แต่ไม่ได้ช่วยรักษาโรค และอาการผิดปกติต่างๆ ในช่องปากแต่อย่างใด หากมีอาการเหงือกบวมอักเสบ ฟันผุ มีแผลในช่องปาก เหงือกร่น หรือปัญหาอื่นๆ ควรไปพบทันตแพทย์ และควรพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฟันทุก ๆ 6 เดือน...
สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/4624553/