สิ่งที่ควรทำ...เมื่อความโกรธเข้าครอบงำ !!!!

กรรมฐาน หมายถึง ที่ตั้งในการกระทำของจิตใช้เป็นอุปกรณ์ในการฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบเป็น สมาธิ(สมถะ) มี 40 กอง หรือวิธี ในการฝึกปฏิบัติกรรมฐาน ซึ่งมีอุบาย 40 วิธีด้วยกัน

       ที่ใช้สำหรับฝึกจิตให้เกิดสมาธิ ก็คือการเอาสิ่งต่าง ๆ มาให้จิตภาวนา เพื่อทำให้จิตเป็นสมาธิ เมื่อจิตแน่วแน่อยู่กับสิ่งเหล่านั้น จะทำให้จิตเป็นสมาธิตั้งมั่นได้อย่างรวดเร็ว  พระอาจารย์ผู้ให้กรรมฐาน ต้องรู้จริตของลูกศิษย์ ก่อนให้กรรมฐานที่เหมาะในการฝึกปฏิบัติ

        ต่อไปนี้เป็น 4 อุบายเพื่อทำสมาธิที่เหมาะกับผู้ที่มักโกรธหรือเจ้าโทสะ เรียกว่าโทสจริต ที่เรียกว่า  อัปปมัญญา (พรหมวิหาร) กรรมฐาน 4 กอง



        อัปปมัญญา (พรหมวิหาร) กรรมฐาน 4 กอง คือ ธรรมที่แผ่ไปสู่ผู้ยังเกิด แก่ เจ็บ ตาย  โดยไม่มีประมาณ โดยไม่มีขอบเขต เหมาะที่จะใช้สำหรับผู้ที่มีโทสจริต คือ ความโกรธ เกลียด แค้น อาฆาต พยาบาท

       1) เมตตา  มีความเป็นมิตร ไม่พยาบาท ไม่มีเวรต่อกัน  ขอให้มีความสุขโดยทั่วกันเถิด

       2) กรุณา มีความคิดที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ให้พ้นจากทุกข์ ภัย ทั้งสิ้นเถิด

       3) มุฑิตา มีความยินดี ไม่อิจฉา ริษยา เมื่อผู้อื่นมีลาภ ยศ สรรเสริญ มีความสุข

       4) อุเบกขา มีความวางใจเป็นกลาง ๆ ไม่ยินดีไม่ยินร้าย เมื่อให้ช่วยเหลือผู้ประสบทุกข์ภัยไม่ได้ ท่านว่าทุกคนมีกรรมเป็นของ ๆ ตน มีกรรมเป็นผู้ให้ผล จะทำกรรมเช่นใดไว้ ย่อมได้รับผลของกรรมนั้น



      ++  ซึ่งจะยังประโยชน์ให้เกิดจากการแผ่เมตตา 11 ประการ ดังต่อไปนี้ คือ

          1.  หลับก็เป็นสุข  

          2.  ตื่นก็เป็นสุข  

          3.  มีหน้าเบิกบาน  

          4.  ฝันดี

          5.  เป็นที่รักของมนุษย์ เทวดา และผู้ล่วงลับไปแล้ว

          6.  มีเทวดาคุ้มครองรักษา

          7.  ไฟไม่ไหม้  

         8.  ไม่ถูกยาพิษและอาวุธ  

         9.  มีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ

        10.  มีผิวหน้าผ่องใส

        11.  เมื่อจากโลกนี้ไป จะไปแบบมีสติดี ถ้ายังไม่บรรลุมรรคผลนิพพาน ก็จะมีโอกาสไปบังเกิดในพรหมโลก


  ขอบคุณข้อมูลจาก : อ. สุชาติ ภูวรัตน์ อดีตพระธรรมฑูตต่างประเทศ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่