ในที่สุดก็ปล่อย Sub Thai ตอนที่สาม มาแล้ว
สำหรับ Risk no Kamisama หน่วยจัดการความเสี่ยง
ในตอนที่สามเรื่องยิ่งเริ่มเข้มข้นขึ้น มีสองเหตุการณ์เกิดขึ้น
เหตุการณ์แรก เจอ นักการเมืองว่าที่ผู้สมัครชิงตำแหน่งนายก ถูกทำร้ายบนเรืออยู่กับผู้หญิงที่ไม่ใช่ภรรยา แน่นอนในวงการเมืองเรื่องแบบนี้ โดนขุดคุ้ยและภาพลักษณ์ของนักการเมืองคนนั้นไม่ดีแน่ แถมนักการเมืองคนนี้ ยังเป็นผู้อุปถัมภ์บริษัท ที่ทีมงานจัดการความเสี่ยงนี้ดูแลอยู่
เหตุการณ์ที่สอง ก็เกี่ยวกับบริษัทที่ทีมงานนี้เกี่ยวข้องด้วย แต่เป็นเรื่องข่าวฉาวในวงการบันเทิง ที่นางแบบสาวถูกแอบถ่ายว่ามีการคบหาผู้ชาย แถมผู้ชายยังมีข่าวลือเรื่องยาเสพติดด้วย
การรับมือกับปัญหาสองอย่างพร้อมกันจะทำอย่างไร
ดูตอนนี้ทำให้นึกถึง
- การก้มหัวรับผิดของบรรดานักการเมือง ประธานหรือเจ้าหน้าที่ระดับสูงของบริษัทใหญ่ๆ เมือมีอะไรผิดพลาดแล้วออกมาก้มหัวยอมรับ แม้กระทั่งบางคนขอลดเงินเดือน ในกรณีมีความผิดพลาดออกไปสู่วงกว้าง
- กรณีของ มาเรีย ชาราโปว่า ที่ออกแถลงข่าวรับผิด ในกรณีใช้ยาต้องห้าม
- การใช้ข่าวฉาวอีกข่าว เพื่อกลบกระแสข่าวฉาวอีกข่าว หรือซื้อเวลา แต่สุดท้ายก็ต้องออกมายอมรับ แต่ยอมรับแบบดูดี (ในละคร นักการเมืองออกมายอมรับพร้อมภรรยาที่ให้อภัยสามี ซึ่งจริงๆมีเหตุผลของมันที่จะเปิดเผยฝ่ายหญิงไม่ได้)
ทุกสิ่งทุกอย่างมันมีขั้นตอนของมันในการรักษาภาพพจน์ รักษาชื่อเสียง ถึงแม้มันต้องแลกหรือมีผู้เสียสละเกิดขึ้นก็ตาม แต่ทำไงได้ ว่าไปมันก็คือความผิดของผู้บริหารหรือบุคคลนั้นที่ต้องรับผิดชอบเหมือนกัน
เหมือนกับตอนแรกที่นางเอกต้องแถลงข่าวขอโทษ(อย่างจริงใจ) ในกรณีตัวเองปล่อยสินค้าที่ไม่มีคุณภาพออกไป ทั้งๆที่ไม่ใช่ความผิดของตัวเองเท่าไร แต่ถูกบีบจากฝ่ายบริหารที่ต้องหาคนรับผิดชอบ จนโดนย้ายมาอยู่หน่วยงานนี้
นั่นคือในสังคมบ้านเขา การออกมาก้มหัวยอมรับ คือการผ่อนหนักเป็นเบา เป็นขั้นตอนการทำงานต่างๆที่จะรักษาภาพลักษณ์ในองค์กร ถึงแม้จะต้องมีเหยื่อ มีคนที่รับเคราะห์ก็ตาม หรืออาจใช้วิธีการสีเทาๆบ้าง
แต่กับบ้านเรา ยังไม่ค่อยเห็นวัฒนธรรมนี้เท่าไร ก็เลยอดคิดว่าอะไรที่มันดีกว่ากันแน่
Risk no Kamisama หน่วยจัดการความเสี่ยง
ในที่สุดก็ปล่อย Sub Thai ตอนที่สาม มาแล้ว
สำหรับ Risk no Kamisama หน่วยจัดการความเสี่ยง
ในตอนที่สามเรื่องยิ่งเริ่มเข้มข้นขึ้น มีสองเหตุการณ์เกิดขึ้น
เหตุการณ์แรก เจอ นักการเมืองว่าที่ผู้สมัครชิงตำแหน่งนายก ถูกทำร้ายบนเรืออยู่กับผู้หญิงที่ไม่ใช่ภรรยา แน่นอนในวงการเมืองเรื่องแบบนี้ โดนขุดคุ้ยและภาพลักษณ์ของนักการเมืองคนนั้นไม่ดีแน่ แถมนักการเมืองคนนี้ ยังเป็นผู้อุปถัมภ์บริษัท ที่ทีมงานจัดการความเสี่ยงนี้ดูแลอยู่
เหตุการณ์ที่สอง ก็เกี่ยวกับบริษัทที่ทีมงานนี้เกี่ยวข้องด้วย แต่เป็นเรื่องข่าวฉาวในวงการบันเทิง ที่นางแบบสาวถูกแอบถ่ายว่ามีการคบหาผู้ชาย แถมผู้ชายยังมีข่าวลือเรื่องยาเสพติดด้วย
การรับมือกับปัญหาสองอย่างพร้อมกันจะทำอย่างไร
ดูตอนนี้ทำให้นึกถึง
- การก้มหัวรับผิดของบรรดานักการเมือง ประธานหรือเจ้าหน้าที่ระดับสูงของบริษัทใหญ่ๆ เมือมีอะไรผิดพลาดแล้วออกมาก้มหัวยอมรับ แม้กระทั่งบางคนขอลดเงินเดือน ในกรณีมีความผิดพลาดออกไปสู่วงกว้าง
- กรณีของ มาเรีย ชาราโปว่า ที่ออกแถลงข่าวรับผิด ในกรณีใช้ยาต้องห้าม
- การใช้ข่าวฉาวอีกข่าว เพื่อกลบกระแสข่าวฉาวอีกข่าว หรือซื้อเวลา แต่สุดท้ายก็ต้องออกมายอมรับ แต่ยอมรับแบบดูดี (ในละคร นักการเมืองออกมายอมรับพร้อมภรรยาที่ให้อภัยสามี ซึ่งจริงๆมีเหตุผลของมันที่จะเปิดเผยฝ่ายหญิงไม่ได้)
ทุกสิ่งทุกอย่างมันมีขั้นตอนของมันในการรักษาภาพพจน์ รักษาชื่อเสียง ถึงแม้มันต้องแลกหรือมีผู้เสียสละเกิดขึ้นก็ตาม แต่ทำไงได้ ว่าไปมันก็คือความผิดของผู้บริหารหรือบุคคลนั้นที่ต้องรับผิดชอบเหมือนกัน
เหมือนกับตอนแรกที่นางเอกต้องแถลงข่าวขอโทษ(อย่างจริงใจ) ในกรณีตัวเองปล่อยสินค้าที่ไม่มีคุณภาพออกไป ทั้งๆที่ไม่ใช่ความผิดของตัวเองเท่าไร แต่ถูกบีบจากฝ่ายบริหารที่ต้องหาคนรับผิดชอบ จนโดนย้ายมาอยู่หน่วยงานนี้
นั่นคือในสังคมบ้านเขา การออกมาก้มหัวยอมรับ คือการผ่อนหนักเป็นเบา เป็นขั้นตอนการทำงานต่างๆที่จะรักษาภาพลักษณ์ในองค์กร ถึงแม้จะต้องมีเหยื่อ มีคนที่รับเคราะห์ก็ตาม หรืออาจใช้วิธีการสีเทาๆบ้าง
แต่กับบ้านเรา ยังไม่ค่อยเห็นวัฒนธรรมนี้เท่าไร ก็เลยอดคิดว่าอะไรที่มันดีกว่ากันแน่