ศาลรับฟ้อง คดีแกนนำพีมูฟ ชุมนุมใกล้ทำเนียบ รัศมี 50 เมตร ยื่น 10 ข้อเรียกร้อง
https://www.matichon.co.th/politics/news_4933797
ศาลรับฟ้อง คดีแกนนำพีมูฟ ชุมนุมใกล้ทำเนียบ รัศมี 50 เมตร ยื่น 10 ข้อเรียกร้อง
เมื่อเวลา 10.30 น.วันที่ 3 ธันวาคม นาย
จำนงค์ หนูพันธ์ ประธานกลุ่มขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ) เดินทางมาที่ ศาลแขวงดุสิต ถนนนครไชยศรี ตามที่ อัยการได้นัดมาฟังคำสั่งฟ้องคดีจากการชุมนุมพีมูฟทวงสิทธิช่วงเดือนต.ค. 2566 โดยมีข้อกล่าวหา คือ เป็นผู้จัดให้มีการชุมนุม ฝ่าฝ่นคำสั่งประกาศ 50 เมตร รอบทำเนียบรัฐบาล (ตามมาตรา 7 วรรคท้าย พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 “ห้ามชุมนุมสาธารณะในรัศมีไม่เกินห้าสิบเมตร รอบทำเนียบรัฐบาล”) บรรยากาศมีกลุ่มประชาชนส่วนหนึ่งมาให้กำลังใจนายจำนงค์ที่บริเวณหน้าศาลแขวงดุสิต อย่างสงบไม่เหตุรุนแรง
นายจำนงค์ กล่าวว่า คดีนี้เป็นผลสืบเนื่องจากการชุมนุม ที่บริเวณประตู 5 ของทำเนียบรัฐบาล เมื่อช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 เป็นการเรียกร้อง ภาพรวมนโยบาย 10 ด้านของพีมูฟ โดยทางพนักงานสอบสวน สน. นางเลิ้งได้มีการส่งสำนวนฟ้องไปยังศาลตลิ่งชัน โดยทางศาลตลิ่งชันได้มีการพิจารณาว่าคดีนี้ เป็นคดีที่ไม่ร้ายแรง หรืออัตราโทษสูงเป็นคดีแพ่ง จึงได้ส่งต่อมายังศาลแขวงดุสิต โดยคดีนี้มีโทษจำคุก 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
อย่างไรก็ตาม สถานที่ห้ามชุมนุมตามมาตรา 7 ในพ.ร.บ.ชุมนุมฯ ไม่ได้เป็นสถานที่ที่ห้ามจัดการชุมนุมตลอดเวลา กล่าวคือ สามารถชุมนุมได้ในสถานที่ดังกล่าว จนกระทั่งการชุมนุมมีพฤติการณ์เข้าข่ายก่อความไม่สงบหรือสร้างความเดือดร้อนวุ่นวาย ทางผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้มีอำนาจประกาศห้ามชุมนุม จึงจะใช้อำนาจตามมาตรา 7 วรรคท้าย ในการประกาศห้ามชุมนุมได้
ซึ่งตนมองว่าพรบ.ตัวนี้เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เพื่อไม่ให้พี่น้องประชาชนมาติดตามการแก้ปัญหาของหน่วยงานรัฐ หากสามารถแก้ปัญหาจากทางจังหวัด หรือกระทรวงประชาชนก็ไม่ต้องเดินทางมาเรียกร้องที่ทำเนียบรัฐบาล
ฉะนั้นเรายืนยันว่าสิ่งที่เรากระทำเป็นสิทธิเสรีภาพที่ประชาชนพึงกระทำได้ และขอต่อสู้ ไปตามหลักของกระบวนการยุติธรรม
เบื้องต้น ศาลแขวงดุสิตได้มีคำสั่งฟ้อง ในข้อหาดังกล่าว และศาลได้ให้ประกันตัวนายจำนงน์ในจำนวนเงิน 20,000 บาท และนัดมาสอบพยานอีกครั้งในวันที่ 22 มกราคม 2568
กมธ.ไอซีที วุฒิฯ ขู่ ยื่น ม.157 เอาผิด รมว.ดีอี ฉุน ตีมึน โฆษณาหลอกหลวง ปล่อย หมอบุญ หนีลอยนวล
https://www.matichon.co.th/politics/news_4933873
“กมธ.ไอซีที วุฒิฯ” ขู่ ยื่น ม.157 เอาผิด รมว.ดีอี ฉุน ตีมึน โฆษณาหลอกหลวง ปล่อย “หมอบุญ” หนีลอยนวล
เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 3 ธันวาคม ที่รัฐสภา นพ.
เปรมศักดิ์ เพียยุระ ส.ว. ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการโทรคมนาคม คนที่หก วุฒิสภา แถลงผลการประชุมกมธ. เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ซึ่งตรวจสอบกรณีการโฆษณาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ให้ลงทุนในสินทรัพย์ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าชี้แจง กรณีของนพ.
บุญ วนาสิน ผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลธนบุรี ที่พบกรณีฉ้อโกงและฟอกเงิน เป็นมูลค่าสูงกว่า 7,500 ล้านบาท
อย่างไรก็ดีในคดีดังกล่าวถูกแจ้งความดำเนินคดีที่ สน.ห้วยขวาง แล้วปี 2566 แต่ไม่มีการดำเนินการใดๆ จน นพ.บุญเดินทางออกไปนอกประเทศและไม่มีการอายัดทรัพย์ ทั้งนี้ในการหลอกหลวงผ่านโฆษณาชวนเชื่อนั้น ทำผ่านโบรกเกอร์ที่หลอกลงทุน ทั้งนี้เชื่อว่าจะเป็นนักลงทุนที่เคยลงทุนที่คุ้นเคยกับเครือโรงพยาบาลธนบุรี
“
จากการชี้แจงกรณี นพ.บุญ ของหน่วยงานที่ชี้แจง พบเป็นการโยนกลองกันไปมา ไม่มีหน่วยงานใดที่รับผิดชอบจริงจัง ถือเป็นอุทาหรณ์ที่กมธ.บอกกับหน่วยงานว่า อย่าใช้วิธีแค่เตือนประชาชน ว่า อย่าโอน หรือไม่โลภ เพราะเท่ากับโยนความผิดให้ประชาชน ทั้งที่ข้อเท็จจริงอยู่ที่หน่วยงานราชการที่ต้องดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ และที่สำคัญควรพิจารณาเอาผิดสื่อโซเชียลมีเดียที่ปล่อยให้มีโฆษณาหลอกหลวงประชาชน โดยไม่อ้างว่าไม่ใช่นิติบุคคลตามกฎหมายของไทย นอกจากนั้นรัฐบาลควรยกให้เป็นวาระแห่งชาติในการปราบปรามการหลอกลวงประชาชนผ่านสื่อออนไลน์ ตามที่แถลงนโยบายไว้ต่อรัฐสภา โดยเร่งรัดการออกกฎหมายเพื่อดำเนิน” นพ.เปรมศักดิ์ กล่าว
นพ.
เปรมศักดิ์ กล่าวต่อว่าสำหรับกรณีของนพ.
บุญนั้น กมธ.มีมติให้ติดตามต่อไปหากพบความผิดปกติจะตรวจสอบอีกครั้ง อย่างไรก็ดีในการปล่อยปละละเลยของกระทรวงดีอีนั้น ตนมองว่าเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ปล่อยให้ประชาชนตกเป็นเหยื่อ โดยในสมัยประชุมจะตั้งกระทู้สดเพื่อถามความคืบหน้ากรณีนพ.บุญ อีกครั้ง นอกจากนั้นหากยังปล่อยให้เว็ปออนไลน์หลอกหลวงประชาชนต่อไป จะยื่นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อเอาผิดนาย
ประเสริฐ จันทรรองทอง รองนายกฯ และ รมว.ดีอีต่อไป
สภาผู้ส่งออกชี้ส่งออกปีหน้าผันผวนหนักหลัง “ทรัมป์” รับตำแหน่ง
https://tna.mcot.net/business-1455894
กรุงเทพฯ 3 ธ.ค. – สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือสภาผู้ส่งออกฯ ปรับคาดการณ์การส่งออกปี 2567 เติบโตร้อยละ 4 และประมาณการณ์ปี 2568 เติบโตร้อยละ 1-3 ชี้ภาวะผันผวนหนักหลัง “โดนัลด์ ทรัมป์” รับตำแหน่ง ประธานาธิบดีสหรัฐ
นาย
ชัยชาญ เจริญสุข ประธาน สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) แถลงว่า ปี 68 คาดว่าการส่งออกจะผันผัวนอย่างหนัก หลังจาก “ทรัมป์” รับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐที่มีการประกาศล่วงหน้าในการขึ้นภาษีนำเข้า และจะกลายเป็นสงครามการค้า โดยเฉพาะกับจีน มีผลต่อการค้าและเศรษฐกิจทั่วโลก และจะมีผลต่อเงินเฟ้อของสหรัฐ แม้ว่าจะมีการสนับสนุนการผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้นก็ตาม ก็ต้องจับตาดูว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะมีท่าทีอย่างไร ในขณะเดียวกันมสหภาพยุโรปจะเพิ่มมาตรการกีดกันทางค้า โดยใช้ข้ออ้างสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ส่วนปัญหาความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์ยังมีต่อเนื่อง แต่จากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว เรือขนส่งสินค้ามีมากขึ้น จึงคาดว่าค่าระวางเรือจะทรงตัว ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบคาดทรงตัวที่ 70-80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ส่วนเงินบาทคาดว่าผันผวน นอกจากตามปัจจัยนโยบายสหรัฐแล้ว ยังมาจากเรื่งหนี้สาธารณะของประเทศที่อยู่ราว 70% รัฐบาลมีทิศทางจะกู้เงินเพิ่มเติมกระตุ้นเศรษฐกิจ ประกอบกับทิศทางเงินทุนไหลออก จึงคาดว่าเงินบาทปีหน้าจะอ่อนค่าอยู่ที่ 34-35 บาท/ดอลลาร์ฯ ในขณะที่ประเมินการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เดือนธันวาคมนี้คงไม่มีการปรับลดดอกเบี้ย โดยคาดว่า กนง.จะลดดอกเบี้ย ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 68
“
สรท.ปรับคาดการณ์การส่งออกปี 67 เติบโตร้อยละ 4 ยอดส่งออกราว 2.97 แสนล้านดอลลาร์ฯ หรือ 10 ล้านล้านบาท และประมาณการณ์ปี 68 เติบโตร้อยละ 1-3 โดยพระเอกช่วยการส่งออกปลายปีนี้คืออิเล็กทรอนิกส์ ในขณะที่กลุ่มยานยนต์ส่งออกหดตัว อย่างไรก็ตาม จากที่การส่งออกปีนี้ดีกว่าคาดการณ์เดิมมาก จึงหวังว่ารัฐบาลจะมีการจัดสรรงบส่งเสริมการส่งออกทั้งขยายตลาดใหม่รักษาฐานตลาดเดิม เพื่อช่วยผู้ประกอบการสู้กับความผันผวนในปีหน้า โดยผู้ประกอบการเองก็ต้องปรับตัวทุกด้านเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน” นาย
ชัยชาญ ระบุ
สรท.สรุปปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องเฝ้าระวังต่อเนื่อง ได้แก่
1) ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์
1.1) ความกังวลเกี่ยวกับนโยบายกีดกันทางการค้าและนโยบายอื่นของสหรัฐอเมริกากับประเทศคู่ค้าที่เกินดุลการค้า
1.2) สถานการณ์สงครามในตะวันออกกลาง และ รัสเซีย-ยูเครน ยังคงยืดเยื้อ
2) Manufacturing PMI ยังคงชะลอตัวในตลาดสำคัญ แม้จะมีอุปสงค์ระยะสั้นในการนำเข้าในช่วงเทศกาลสำคัญ และวัฎจักรขาขึ้นของกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
3) ค่าเงินบาทยังคงมีความผันผวน จากความไม่แน่นอนของทิศทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ จากปัจจัยเงินเฟ้อและนโยบายการค้าของประธานาธิบดีสหรัฐฯ
4) สถานการณ์ค่าระวางขนส่งสินค้าทางทะเลปรับลดลงในเส้นทางสำคัญ แต่ยังมีความผันผวนจาก
4.1) การปรับขึ้นค่าใช้จ่าย อาทิ ค่า GRI (General Rate Increase)
4.2) การเจรจาปรับขึ้นค่าแรงในฝั่งตะวันออกของสหรัฐที่ยังไม่ยุติ
และ 5) มาตรการทางการค้าที่เฝ้าระวัง อาทิ 5.1) การกลับมาส่งออกข้าวของอินเดีย กระทบต่อผู้ส่งออกข้าวไทย 5.2) สหภาพยุโรปเลื่อนการบังคับใช้ EUDR ออกไปเป็นปี 2569 กระทบราคาส่งมอบต่อผู้ส่งออกยางพารา
ทั้งนี้ สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย มีข้อเสนอแนะที่สำคัญ ดังนี้
1) เร่งลดต้นทุนการทำธุรกิจให้กับผู้ส่งออก อาทิ
1.1) ต้นทุนการประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
และ 1.2) ต้นทุนการประกันความเสี่ยงการชำระเงินค่าสินค้า
2) เพิ่มงบประมาณและจำนวนความถี่ในการจัดส่งเสริมกิจกรรมการค้าทั้งในกลุ่มประเทศคู่ค้าหลักและตลาดลำดับรอง
และ 3) เร่งรัดการเจรจาการค้าเสรีในกรอบที่มีอยู่เดิม และเพิ่มการเจรจาในตลาดศักยภาพใหม่. -511-สำนักข่าวไทย
JJNY : ศาลรับฟ้อง คดีแกนนำพีมูฟ│กมธ.ไอซีที วุฒิฯขู่ยื่นเอาผิดรมว.ดีอี│ส่งออกปีหน้าผันผวนหนัก│อินโดฯไม่ยอมรับการอ้างสิทธิ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4933797
ศาลรับฟ้อง คดีแกนนำพีมูฟ ชุมนุมใกล้ทำเนียบ รัศมี 50 เมตร ยื่น 10 ข้อเรียกร้อง
เมื่อเวลา 10.30 น.วันที่ 3 ธันวาคม นายจำนงค์ หนูพันธ์ ประธานกลุ่มขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ) เดินทางมาที่ ศาลแขวงดุสิต ถนนนครไชยศรี ตามที่ อัยการได้นัดมาฟังคำสั่งฟ้องคดีจากการชุมนุมพีมูฟทวงสิทธิช่วงเดือนต.ค. 2566 โดยมีข้อกล่าวหา คือ เป็นผู้จัดให้มีการชุมนุม ฝ่าฝ่นคำสั่งประกาศ 50 เมตร รอบทำเนียบรัฐบาล (ตามมาตรา 7 วรรคท้าย พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 “ห้ามชุมนุมสาธารณะในรัศมีไม่เกินห้าสิบเมตร รอบทำเนียบรัฐบาล”) บรรยากาศมีกลุ่มประชาชนส่วนหนึ่งมาให้กำลังใจนายจำนงค์ที่บริเวณหน้าศาลแขวงดุสิต อย่างสงบไม่เหตุรุนแรง
นายจำนงค์ กล่าวว่า คดีนี้เป็นผลสืบเนื่องจากการชุมนุม ที่บริเวณประตู 5 ของทำเนียบรัฐบาล เมื่อช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 เป็นการเรียกร้อง ภาพรวมนโยบาย 10 ด้านของพีมูฟ โดยทางพนักงานสอบสวน สน. นางเลิ้งได้มีการส่งสำนวนฟ้องไปยังศาลตลิ่งชัน โดยทางศาลตลิ่งชันได้มีการพิจารณาว่าคดีนี้ เป็นคดีที่ไม่ร้ายแรง หรืออัตราโทษสูงเป็นคดีแพ่ง จึงได้ส่งต่อมายังศาลแขวงดุสิต โดยคดีนี้มีโทษจำคุก 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
อย่างไรก็ตาม สถานที่ห้ามชุมนุมตามมาตรา 7 ในพ.ร.บ.ชุมนุมฯ ไม่ได้เป็นสถานที่ที่ห้ามจัดการชุมนุมตลอดเวลา กล่าวคือ สามารถชุมนุมได้ในสถานที่ดังกล่าว จนกระทั่งการชุมนุมมีพฤติการณ์เข้าข่ายก่อความไม่สงบหรือสร้างความเดือดร้อนวุ่นวาย ทางผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้มีอำนาจประกาศห้ามชุมนุม จึงจะใช้อำนาจตามมาตรา 7 วรรคท้าย ในการประกาศห้ามชุมนุมได้
ซึ่งตนมองว่าพรบ.ตัวนี้เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เพื่อไม่ให้พี่น้องประชาชนมาติดตามการแก้ปัญหาของหน่วยงานรัฐ หากสามารถแก้ปัญหาจากทางจังหวัด หรือกระทรวงประชาชนก็ไม่ต้องเดินทางมาเรียกร้องที่ทำเนียบรัฐบาล
ฉะนั้นเรายืนยันว่าสิ่งที่เรากระทำเป็นสิทธิเสรีภาพที่ประชาชนพึงกระทำได้ และขอต่อสู้ ไปตามหลักของกระบวนการยุติธรรม
เบื้องต้น ศาลแขวงดุสิตได้มีคำสั่งฟ้อง ในข้อหาดังกล่าว และศาลได้ให้ประกันตัวนายจำนงน์ในจำนวนเงิน 20,000 บาท และนัดมาสอบพยานอีกครั้งในวันที่ 22 มกราคม 2568
กมธ.ไอซีที วุฒิฯ ขู่ ยื่น ม.157 เอาผิด รมว.ดีอี ฉุน ตีมึน โฆษณาหลอกหลวง ปล่อย หมอบุญ หนีลอยนวล
https://www.matichon.co.th/politics/news_4933873
“กมธ.ไอซีที วุฒิฯ” ขู่ ยื่น ม.157 เอาผิด รมว.ดีอี ฉุน ตีมึน โฆษณาหลอกหลวง ปล่อย “หมอบุญ” หนีลอยนวล
เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 3 ธันวาคม ที่รัฐสภา นพ.เปรมศักดิ์ เพียยุระ ส.ว. ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการโทรคมนาคม คนที่หก วุฒิสภา แถลงผลการประชุมกมธ. เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ซึ่งตรวจสอบกรณีการโฆษณาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ให้ลงทุนในสินทรัพย์ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าชี้แจง กรณีของนพ.บุญ วนาสิน ผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลธนบุรี ที่พบกรณีฉ้อโกงและฟอกเงิน เป็นมูลค่าสูงกว่า 7,500 ล้านบาท
อย่างไรก็ดีในคดีดังกล่าวถูกแจ้งความดำเนินคดีที่ สน.ห้วยขวาง แล้วปี 2566 แต่ไม่มีการดำเนินการใดๆ จน นพ.บุญเดินทางออกไปนอกประเทศและไม่มีการอายัดทรัพย์ ทั้งนี้ในการหลอกหลวงผ่านโฆษณาชวนเชื่อนั้น ทำผ่านโบรกเกอร์ที่หลอกลงทุน ทั้งนี้เชื่อว่าจะเป็นนักลงทุนที่เคยลงทุนที่คุ้นเคยกับเครือโรงพยาบาลธนบุรี
“จากการชี้แจงกรณี นพ.บุญ ของหน่วยงานที่ชี้แจง พบเป็นการโยนกลองกันไปมา ไม่มีหน่วยงานใดที่รับผิดชอบจริงจัง ถือเป็นอุทาหรณ์ที่กมธ.บอกกับหน่วยงานว่า อย่าใช้วิธีแค่เตือนประชาชน ว่า อย่าโอน หรือไม่โลภ เพราะเท่ากับโยนความผิดให้ประชาชน ทั้งที่ข้อเท็จจริงอยู่ที่หน่วยงานราชการที่ต้องดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ และที่สำคัญควรพิจารณาเอาผิดสื่อโซเชียลมีเดียที่ปล่อยให้มีโฆษณาหลอกหลวงประชาชน โดยไม่อ้างว่าไม่ใช่นิติบุคคลตามกฎหมายของไทย นอกจากนั้นรัฐบาลควรยกให้เป็นวาระแห่งชาติในการปราบปรามการหลอกลวงประชาชนผ่านสื่อออนไลน์ ตามที่แถลงนโยบายไว้ต่อรัฐสภา โดยเร่งรัดการออกกฎหมายเพื่อดำเนิน” นพ.เปรมศักดิ์ กล่าว
นพ.เปรมศักดิ์ กล่าวต่อว่าสำหรับกรณีของนพ.บุญนั้น กมธ.มีมติให้ติดตามต่อไปหากพบความผิดปกติจะตรวจสอบอีกครั้ง อย่างไรก็ดีในการปล่อยปละละเลยของกระทรวงดีอีนั้น ตนมองว่าเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ปล่อยให้ประชาชนตกเป็นเหยื่อ โดยในสมัยประชุมจะตั้งกระทู้สดเพื่อถามความคืบหน้ากรณีนพ.บุญ อีกครั้ง นอกจากนั้นหากยังปล่อยให้เว็ปออนไลน์หลอกหลวงประชาชนต่อไป จะยื่นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อเอาผิดนายประเสริฐ จันทรรองทอง รองนายกฯ และ รมว.ดีอีต่อไป
สภาผู้ส่งออกชี้ส่งออกปีหน้าผันผวนหนักหลัง “ทรัมป์” รับตำแหน่ง
https://tna.mcot.net/business-1455894
กรุงเทพฯ 3 ธ.ค. – สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือสภาผู้ส่งออกฯ ปรับคาดการณ์การส่งออกปี 2567 เติบโตร้อยละ 4 และประมาณการณ์ปี 2568 เติบโตร้อยละ 1-3 ชี้ภาวะผันผวนหนักหลัง “โดนัลด์ ทรัมป์” รับตำแหน่ง ประธานาธิบดีสหรัฐ
นายชัยชาญ เจริญสุข ประธาน สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) แถลงว่า ปี 68 คาดว่าการส่งออกจะผันผัวนอย่างหนัก หลังจาก “ทรัมป์” รับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐที่มีการประกาศล่วงหน้าในการขึ้นภาษีนำเข้า และจะกลายเป็นสงครามการค้า โดยเฉพาะกับจีน มีผลต่อการค้าและเศรษฐกิจทั่วโลก และจะมีผลต่อเงินเฟ้อของสหรัฐ แม้ว่าจะมีการสนับสนุนการผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้นก็ตาม ก็ต้องจับตาดูว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะมีท่าทีอย่างไร ในขณะเดียวกันมสหภาพยุโรปจะเพิ่มมาตรการกีดกันทางค้า โดยใช้ข้ออ้างสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ส่วนปัญหาความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์ยังมีต่อเนื่อง แต่จากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว เรือขนส่งสินค้ามีมากขึ้น จึงคาดว่าค่าระวางเรือจะทรงตัว ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบคาดทรงตัวที่ 70-80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ส่วนเงินบาทคาดว่าผันผวน นอกจากตามปัจจัยนโยบายสหรัฐแล้ว ยังมาจากเรื่งหนี้สาธารณะของประเทศที่อยู่ราว 70% รัฐบาลมีทิศทางจะกู้เงินเพิ่มเติมกระตุ้นเศรษฐกิจ ประกอบกับทิศทางเงินทุนไหลออก จึงคาดว่าเงินบาทปีหน้าจะอ่อนค่าอยู่ที่ 34-35 บาท/ดอลลาร์ฯ ในขณะที่ประเมินการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เดือนธันวาคมนี้คงไม่มีการปรับลดดอกเบี้ย โดยคาดว่า กนง.จะลดดอกเบี้ย ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 68
“สรท.ปรับคาดการณ์การส่งออกปี 67 เติบโตร้อยละ 4 ยอดส่งออกราว 2.97 แสนล้านดอลลาร์ฯ หรือ 10 ล้านล้านบาท และประมาณการณ์ปี 68 เติบโตร้อยละ 1-3 โดยพระเอกช่วยการส่งออกปลายปีนี้คืออิเล็กทรอนิกส์ ในขณะที่กลุ่มยานยนต์ส่งออกหดตัว อย่างไรก็ตาม จากที่การส่งออกปีนี้ดีกว่าคาดการณ์เดิมมาก จึงหวังว่ารัฐบาลจะมีการจัดสรรงบส่งเสริมการส่งออกทั้งขยายตลาดใหม่รักษาฐานตลาดเดิม เพื่อช่วยผู้ประกอบการสู้กับความผันผวนในปีหน้า โดยผู้ประกอบการเองก็ต้องปรับตัวทุกด้านเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน” นายชัยชาญ ระบุ
สรท.สรุปปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องเฝ้าระวังต่อเนื่อง ได้แก่
1) ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์
1.1) ความกังวลเกี่ยวกับนโยบายกีดกันทางการค้าและนโยบายอื่นของสหรัฐอเมริกากับประเทศคู่ค้าที่เกินดุลการค้า
1.2) สถานการณ์สงครามในตะวันออกกลาง และ รัสเซีย-ยูเครน ยังคงยืดเยื้อ
2) Manufacturing PMI ยังคงชะลอตัวในตลาดสำคัญ แม้จะมีอุปสงค์ระยะสั้นในการนำเข้าในช่วงเทศกาลสำคัญ และวัฎจักรขาขึ้นของกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
3) ค่าเงินบาทยังคงมีความผันผวน จากความไม่แน่นอนของทิศทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ จากปัจจัยเงินเฟ้อและนโยบายการค้าของประธานาธิบดีสหรัฐฯ
4) สถานการณ์ค่าระวางขนส่งสินค้าทางทะเลปรับลดลงในเส้นทางสำคัญ แต่ยังมีความผันผวนจาก
4.1) การปรับขึ้นค่าใช้จ่าย อาทิ ค่า GRI (General Rate Increase)
4.2) การเจรจาปรับขึ้นค่าแรงในฝั่งตะวันออกของสหรัฐที่ยังไม่ยุติ
และ 5) มาตรการทางการค้าที่เฝ้าระวัง อาทิ 5.1) การกลับมาส่งออกข้าวของอินเดีย กระทบต่อผู้ส่งออกข้าวไทย 5.2) สหภาพยุโรปเลื่อนการบังคับใช้ EUDR ออกไปเป็นปี 2569 กระทบราคาส่งมอบต่อผู้ส่งออกยางพารา
ทั้งนี้ สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย มีข้อเสนอแนะที่สำคัญ ดังนี้
1) เร่งลดต้นทุนการทำธุรกิจให้กับผู้ส่งออก อาทิ
1.1) ต้นทุนการประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
และ 1.2) ต้นทุนการประกันความเสี่ยงการชำระเงินค่าสินค้า
2) เพิ่มงบประมาณและจำนวนความถี่ในการจัดส่งเสริมกิจกรรมการค้าทั้งในกลุ่มประเทศคู่ค้าหลักและตลาดลำดับรอง
และ 3) เร่งรัดการเจรจาการค้าเสรีในกรอบที่มีอยู่เดิม และเพิ่มการเจรจาในตลาดศักยภาพใหม่. -511-สำนักข่าวไทย