ศิริกัญญา แนะ ขุนคลัง ศึกษาให้เสร็จ แล้วค่อยพูด หลังแย้มอัตราภาษีใหม่ อ้างลดเหลื่อมล้ำ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4934714
ศิริกัญญา แนะ ขุนคลัง ศึกษาให้เสร็จ แล้วค่อยพูด หลังแย้มอัตราภาษีใหม่ อ้างลดเหลื่อมล้ำ
จากกรณีที่ นาย
พิชัย ชุนหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้มอบหมายให้ศึกษาแนวทางการปรับปรุงการจัดเก็บภาษี อาทิ ปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) 15 % ปรับภาษีเงินได้นิติบุคคล 15% สอดคล้อง Global Minimum Tax พร้อมศึกษาภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 15% เพื่อดึงคนเก่งเข้ามาทำงานในไทย และลดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนนั้น
ล่าสุด (3 ธ.ค.) น.ส.
ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคประชาชน ได้ทวิตข่าวดังกล่าว ผ่านแอปพลิเคชัน X พร้อมแสดงความคิดเห็นว่า
จริงๆ ก็ว่า จะยังไม่พูดเพราะเค้าบอกว่า แค่จะไปศึกษา แต่ดันโยนอัตราภาษีมาขนาดนี้ก่อนจะศึกษาเสร็จก็ต้องขอพูดหน่อย
เอาแค่ข้อเสนอเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่จะปรับเป็น 15% flat rate ไม่มีขั้นบันได ยกเลิกลดหย่อนทั้งหมด ฟังดูเหมือนจะดี
แต่มาดูว่า ทุกวันนี้เราเสียภาษีกันจริงๆ (effective tax rate) เท่าไหร่ โดยเอาภาษีเงินได้ที่เราจ่ายหารด้วยรายได้ก่อนหักลดหย่อน พบว่า
ทุกวันนี้ ถ้าคุณเงินเดือนถึง 300,000 บาท 3.6 ล้านต่อปี น่าจะเสียภาษีจริงๆ หลังลดหย่อนทุกอย่างแล้ว ประมาณ 530,000 หรือ คิดเป็นประมาณ 15% ของรายได้ของคุณ แต่ถ้าคุณเงินเดือน 30,000 บาท คุณเสียภาษีจริงๆ ราว 1% ของรายได้ เงินเดือนส.ส. 113,780 บาทต่อเดือน เสียภาษีจริงๆ อยู่ 8-12% เท่านั้น
ภายใต้นโยบายใหม่นี้ เท่ากับว่าคนที่เงินเดือนต่ำกว่า 300,000 บาททุกคนต้องจ่ายภาษีเพิ่มถ้าปรับลดอัตราลงเป็น 15%! ส่วนคนที่เงินเดือนเกินได้ลดภาษี
ยังจะกล้าพูดหรอว่านี่จะเป็นการลดความเหลื่อมล้ำ
ยังไม่ต้องพูดถึงว่าลดแล้วรายได้เข้ารัฐจะพอมั้ย ยังไม่ต้องพูดถึงว่า vat ขึ้นแล้วจะก้าวหน้าหรือถดถอย เรื่อง Global minimum income tax เค้าไม่ให้ลดต่ำกว่านี้ ไม่ได้บอกว่าห้ามเก็บเกิน
ไปศึกษาให้ดีๆ ให้เสร็จก่อนแล้วค่อยมาพูดดีกว่าค่ะ
https://x.com/SirikanyaTansa1/status/1863889128414478643
เท้ง ห่วงคนกรุงสูด PM2.5 ไปยาวๆ เหตุสภาพอากาศปิด ลมพัดควันจากพื้นที่เกษตรลงมาสะสม
https://www.matichon.co.th/politics/news_4934853
‘เท้ง’ ห่วงคนกรุง สูดฝุ่น PM2.5 ยาวถึงเสาร์นี้ เหตุลมพัดควันจากพื้นที่เกษตรลงมาสะสม-สภาพอากาศปิด ชี้มาตรการแก้ฝุ่นต้องชัดเจน-วางแผนล่วงหน้า เพื่อให้เกษตรกรปรับตัว มองคิดทำตอนนี้อาจช้าเกินไป
เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม นาย
ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคประชาชน กล่าวถึงสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 ในเขต กทม. ที่กลับมาทวีความรุนแรงอีกครั้ง โดยค่าคุณภาพอากาศวันนี้เกินกว่า 100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรทุกพื้นที่ ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพและระบบทางเดินหายใจของประชาชน
โดย นาย
ณัฐพงษ์กล่าวว่า ตนขอแสดงความห่วงใยถึงพี่น้องประชาชนชาว กทม. ที่อาจต้องเผชิญกับสถานการณ์ฝุ่นปกคลุมไปจนถึงวันที่ 7 ธ.ค.นี้ เพราะจากข้อมูลของกรมป่าไม้ระหว่างวันที่ 1-3 ธ.ค. พบจุดความร้อน (Hotspot) ทั่วประเทศจำนวน 306 จุด โดย 93% หรือ 284 จุดอยู่ในพื้นที่การเกษตรบริเวณภาคกลาง ภาคเหนือตอนล่าง และภาคอีสาน เมื่อผนวกกับทิศทางลมในช่วงนี้ที่พัดจากทิศเหนือลงใต้และจากตะวันออกมายังตะวันตก ทำให้ฝุ่นละอองจากพื้นที่เกษตรพัดลงมาสะสมที่กรุงเทพฯ ขณะที่อัตราการระบายอากาศของกรุงเทพฯ ก็อยู่ในเกณฑ์ย่ำแย่ไปจนถึงวันเสาร์นี้ ซ้ำเติมสถานการณ์ฝุ่นให้หนักหน่วงยิ่งขึ้นไปอีก
นาย
ณัฐพงษ์กล่าวต่อไปว่า สิ่งที่พรรคประชาชนเน้นย้ำเสมอมาคือการแก้ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 รัฐบาลต้องวางแผนและดำเนินการล่วงหน้าในช่วง 8 เดือนที่ไม่มีปัญหา เพราะหากมาเร่งออกมาตรการในช่วง 4 เดือนที่ปัญหาวิกฤตแล้วจะไม่ทันการณ์ โดย ส.ส.พรรคประชาชนได้เสนอมาตรการต่างๆ ผ่านการอภิปรายในสภาฯ หลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการอภิปรายงบประมาณหรือการอภิปรายนโยบายรัฐบาล แต่มาตรการของรัฐบาลกลับยังไม่มีความชัดเจนและไม่ทันเวลา
โดยเฉพาะในภาคเกษตร ฤดูกาลเปิดหีบอ้อยจะเริ่มต้นในวันที่ 6 ธ.ค.นี้แล้ว แต่จนถึงปัจจุบันมาตรการสนับสนุนการตัดอ้อยสดโดยไม่เผาก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะให้ราคาตันละเท่าไร มีเพียงรายละเอียดในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรครั้งที่ผ่านมาว่ารัฐบาลจะให้ 69 บาทต่อตัน ส่วนอีก 51 บาทจะให้ผ่านการรับซื้อใบอ้อยสด โดย 2 ส่วนให้เกษตรกร และอีก 1 ส่วนให้โรงไฟฟ้าชีวมวล แต่ก็ยังไม่มีมติคณะรัฐมนตรีออกมาอย่างเป็นทางการ มาตรการที่ไม่ชัดเจนและล่าช้าเช่นนี้ทำให้เกษตรกรไม่อาจปรับตัวและวางแผนด้านต้นทุนกำไรล่วงหน้าได้ทัน ขณะเดียวกันมาตรการปรับเงินโรงงานที่รับอ้อยไฟไหม้ในปริมาณมากก็ยังไม่มีออกมา
ขณะที่มาตรการด้านข้าว พรรคประชาชนเคยเสนอให้รัฐบาลเพิ่มเงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อมในการสนับสนุนเงิน 1,000 บาทต่อไร่ เพื่อจูงใจให้เกษตรกรลดการเผา แต่จากการแถลงข่าวมติคณะรัฐมนตรีวันนี้ก็ยังไม่เห็นความชัดเจนในการบรรจุเงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อมไว้ในมาตรการนี้
ส่วนมาตรการห้ามรับซื้อหรือนำเข้าสินค้าเกษตรที่มีที่มาจากการเผา รัฐบาลก็สามารถทำได้เลยโดยไม่ต้องรอร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาดมีผลบังคับใช้ โดยทำได้ผ่านทั้งการใช้ พ.ร.บ.มาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ.2551 ออกมาตรฐานบังคับกับสินค้าเกษตรที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ PM2.5 รวมถึงการใช้อำนาจตามกฎหมายการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ.2522 ที่สามารถกำหนดเงื่อนไขการนำเข้าและห้ามนำเข้าสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งได้
“
มาตรการต่างๆ เหล่านี้ รัฐบาลต้องวางแผนและแสดงความชัดเจนตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อให้ทุกภาคส่วนโดยเฉพาะเกษตรกรปรับตัวและคำนวณต้นทุนได้ทัน การแก้ปัญหาฝุ่นไม่ควรรอจนเกิดวิกฤต แต่ต้องเริ่มตั้งแต่ตอนที่ยังไม่เกิดปัญหา” นาย
ณัฐพงษ์กล่าว
WeWatch จี้เปลี่ยนวัน ‘เลือกตั้งอบจ.’ ยัน กกต.สั่งยืดเวลาได้ – แนะต่อไป ‘เปิดเลือกนอกเขต’
https://www.matichon.co.th/politics/news_4934512
We Watch จี้เปลี่ยนวัน ‘เลือกตั้งอบจ.’ ชี้ไม่มีกฎห้าม ห่วงคนติดทำงานวันเสาร์ ไม่ได้ใช้สิทธิ – กกต.มีอำนาจ สั่งขยายเวลาได้
สืบเนื่อง คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เห็นชอบร่างแผนการจัดการเลือกตั้ง สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.) และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) โดยจะประกาศวันรับสมัครรับเลือกตั้ง ระหว่างวันที่ 23-27 ธ.ค. 2567 และกำหนดวันเลือกตั้งในวันที่ 1 ก.พ. 2568 นั้น
เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม เครือข่ายเยาวชนสังเกตการณ์การเลือกตั้งเพื่อประชาธิปไตย (We Watch) ซึ่งมีพันธกิจในการณรงค์ขยายสิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง ความยุติธรรม การมีส่วนร่วม และความโปร่งใส มีข้อกังวลต่อการกำหนดวันเลือกตั้งดังกล่าว เนื่องจากตรงกับ ‘วันเสาร์’ ซึ่งอาจส่งผลต่อการใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชน รวมถึง การกำหนดวันเลือกตั้งดังกล่าวซ้ำเติมความถดถอยของการเลือกตั้งซ่อมนายก อบจ. ที่เราได้เห็นตลอดทั้งปี ในปี 2567 จึงเสนอให้ กกต. ทบทวนการกำหนดวันเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดใหม่ เพื่อให้เอื้อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสิทธิในการเลือกตั้ง โดยมีเหตุผลดังนี้
การกำหนดวันเลือกตั้งวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 ตรงกับวันเสาร์ เป็นอุปสรรคในการเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เนื่องจากมีประชาชนที่ยังคงต้องทำงานต่างถิ่น อาจจะไม่สามารถเดินทางกลับไปยังภูมิลำเนาเพื่อใช้สิทธิในวันเสาร์ได้ ตามธรรมเนียมแล้ว การกำหนดวันเลือกตั้งจะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ ด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นหยุดราชการ และยังเป็นวันหยุดของห้างร้าน และบริษัท ประกอบกับการใช้สิทธิเลือกตั้งยังไม่ได้รับการรับรองให้เป็นการใช้สิทธิลาเป็นการทั่วไป ซึ่งทำให้เกิดความยากลำบากแก่ประชาชนทั่วไปที่ต้องการใช้สิทธิเลือกตั้ง การเลือกตั้งในวันอาทิตย์ถือเป็นวันที่เหมาะสมสำหรับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ
จากการเก็บข้อมูลจำนวนผู้มาใช้สิทธิการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดจำนวน 20 ครั้งระหว่างเดือนมีนาคม-พฤศจิกายน 2567 พบว่ามีประชาชนสามารถไปใช้สิทธิได้เพียงร้อยละ 51.45 ซึ่งต่ำกว่าการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2566 ถึงร้อยละ 23 ซึ่งนับเป็นสัดส่วนที่น่ากังวล ทั้งที่การปกครองส่วนท้องถิ่นถือเป็นรากฐานสำคัญของประชาธิปไตยไทย กลับเผชิญกับอุปสรรคในการใช้สิทธิอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนนับตั้งแต่มีการเลือกตั้งท้องถิ่นตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2540 เป็นต้นมา
ส่วนที่ กกต. อ้างว่าหากเลือกตั้งตรงวันอาทิตย์ ที่ 2 ก.พ. 2568 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของเงื่อนเวลา 45 วัน นับแต่วันที่ครบวาระดำรงตำแหน่ง อาจจะเกินกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด ข้อเท็จจริงคือ ไม่มีบทกฎหมายใดห้ามจัดเลือกตั้งตรงวันสุดท้ายของเงื่อนเวลาดังกล่าว แม้จะมีบางหน่วยเลือกตั้งที่อาจต้องนับคะแนนเลือกตั้งใหม่ ซึ่งโดยทางปฏิบัติจะดำเนินการในวันถัดจากวันเลือกตั้ง คือวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 แต่กระบวนการนับคะแนนเลือกตั้งใหม่ดังกล่าว ก็เป็นแต่เพียงการตรวจสอบผลการเลือกตั้งที่ได้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2568 ซึ่งอยู่ในกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว นอกจากนั้น ตามความในมาตรา 11 วรรคท้าย ของ พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562 ยังให้อำนาจแก่คณะกรรมการการเลือกตั้งในการที่จะมีคำสั่งให้ขยายเวลาในการจัดเลือกตั้งได้ ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง อาจมีคำสั่ง เช่นให้ขยายเวลาเลือกตั้งออกไปอีก 3 วันก็แก้ปัญหาข้อกังวลดังกล่าว ซึ่งดีกว่าการแก้ปัญหาด้วยวิธีเลื่อนวันเลือกตั้งมากำหนดเป็นวันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568
โดยบทเรียนของการเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งนี้ ให้ถือเป็นตัวอย่างมาตรฐานการเลือกตั้งในอนาคต โดยให้มีการเปิดให้มีการใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า นอกเขต และนอกราชอาณาจักร ตามมาตรฐานสิทธิการเลือกตั้งทั่วไป (universal suffrage) และสอดคล้องกับมาตรฐานการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป
ด้วยเหตุผลที่กล่าวมา We Watch จึงขอให้ กกต. ทบทวนวันเลือกตั้งใหม่ และหวังว่าในการเลือกตั้งนายกอบจ. 47 จังหวัด และ สมาชิกอบจ. ทั้ง 76 จังหวัดทั่วประเทศที่จะถึงนี้ ประชาชนจะสามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้สะดวกมากขึ้น โดยปราศจากข้อกังวลและอุปสรรค อย่างน้อยที่สุดข้อจำกัดดังกล่าวควรได้รับการคลี่คลายจากจากผู้มีหน้าที่ในการจัดการเลือกตั้งเอง
ด้วยความเคารพ
We Watch
3 ธันวาคม 2567
สื่อจี้ทร. ตอบปมปักปันเขตแดน ผลประโยชน์ทับซ้อน ไทย-กัมพูชา อึกอัก โยนถามวงระดับชาติ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4934040
วงเสวนา ทร.เดือด! สื่อจี้ถามจุดยืนปักปันเขตแดน-จัดการผลประโยชน์ทับซ้อน ‘ไทย-กัมพูชา’ ผู้เชี่ยวชาญอึกอัก บอกตอบไม่ได้ โยนไปถามวงระดับชาติ ย้ำลงนาม MOU 44 มีปัจจัยเปลี่ยนไปตามเวลา โอดเป็นเรื่องซับซ้อน บอกต้องรอรัฐบาล ยัน ทร.ยึดตามเส้นเขตแดน ด้านผู้สื่อข่าวสวน พวกท่านคือผู้เชี่ยวชาญ ทำไมตอบคำถามไม่ได้
เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม ที่กรมยุทธศึกษาทหารเรือ จ.นครปฐม กองทัพเรือ จัดงานเสวนาวิชาการ “
หลักกฎหมายว่าด้วยอาณาเขตทางทะเล” เพื่อชี้ให้เห็นถึงบทบาทของกองทัพเรือ ความท้าทายที่กองทัพเรือต้องเผชิญ โดยมีวิทยากรประกอบด้วย นาวาเอก
เกียรติยุทธ เทียนสุวรรณ รองผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน กรมยุทธการทหารเรือ, นาวาเอกหญิง
มธุศร เลิศพานิช รองผู้อำนวยการกองกฤษฎีกา สำนักงานพระธรรมนูญทหารเรือ, นาวาเอก
รชต โอศิริ ผู้อำนวยการโรงเรียนอุทกศาสตร์ กรมอุทกศาสตร์ และนาวาเอก สมาน ได้รายรัมย์ อาจารย์ฝ่ายศึกษาโรงเรียนนายเรือ
JJNY : 5in1 ศิริกัญญาแนะขุนคลังศึกษา│เท้งห่วงคนกรุงสูดPM2.5│WeWatch จี้เปลี่ยนวัน│สื่อจี้ ทร.อึกอัก│รัสเซียเตือนนาโต
https://www.matichon.co.th/politics/news_4934714
จากกรณีที่ นายพิชัย ชุนหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้มอบหมายให้ศึกษาแนวทางการปรับปรุงการจัดเก็บภาษี อาทิ ปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) 15 % ปรับภาษีเงินได้นิติบุคคล 15% สอดคล้อง Global Minimum Tax พร้อมศึกษาภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 15% เพื่อดึงคนเก่งเข้ามาทำงานในไทย และลดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนนั้น
ล่าสุด (3 ธ.ค.) น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคประชาชน ได้ทวิตข่าวดังกล่าว ผ่านแอปพลิเคชัน X พร้อมแสดงความคิดเห็นว่า
จริงๆ ก็ว่า จะยังไม่พูดเพราะเค้าบอกว่า แค่จะไปศึกษา แต่ดันโยนอัตราภาษีมาขนาดนี้ก่อนจะศึกษาเสร็จก็ต้องขอพูดหน่อย
เอาแค่ข้อเสนอเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่จะปรับเป็น 15% flat rate ไม่มีขั้นบันได ยกเลิกลดหย่อนทั้งหมด ฟังดูเหมือนจะดี
แต่มาดูว่า ทุกวันนี้เราเสียภาษีกันจริงๆ (effective tax rate) เท่าไหร่ โดยเอาภาษีเงินได้ที่เราจ่ายหารด้วยรายได้ก่อนหักลดหย่อน พบว่า
ทุกวันนี้ ถ้าคุณเงินเดือนถึง 300,000 บาท 3.6 ล้านต่อปี น่าจะเสียภาษีจริงๆ หลังลดหย่อนทุกอย่างแล้ว ประมาณ 530,000 หรือ คิดเป็นประมาณ 15% ของรายได้ของคุณ แต่ถ้าคุณเงินเดือน 30,000 บาท คุณเสียภาษีจริงๆ ราว 1% ของรายได้ เงินเดือนส.ส. 113,780 บาทต่อเดือน เสียภาษีจริงๆ อยู่ 8-12% เท่านั้น
ภายใต้นโยบายใหม่นี้ เท่ากับว่าคนที่เงินเดือนต่ำกว่า 300,000 บาททุกคนต้องจ่ายภาษีเพิ่มถ้าปรับลดอัตราลงเป็น 15%! ส่วนคนที่เงินเดือนเกินได้ลดภาษี
ยังจะกล้าพูดหรอว่านี่จะเป็นการลดความเหลื่อมล้ำ
ยังไม่ต้องพูดถึงว่าลดแล้วรายได้เข้ารัฐจะพอมั้ย ยังไม่ต้องพูดถึงว่า vat ขึ้นแล้วจะก้าวหน้าหรือถดถอย เรื่อง Global minimum income tax เค้าไม่ให้ลดต่ำกว่านี้ ไม่ได้บอกว่าห้ามเก็บเกิน
ไปศึกษาให้ดีๆ ให้เสร็จก่อนแล้วค่อยมาพูดดีกว่าค่ะ
https://x.com/SirikanyaTansa1/status/1863889128414478643
เท้ง ห่วงคนกรุงสูด PM2.5 ไปยาวๆ เหตุสภาพอากาศปิด ลมพัดควันจากพื้นที่เกษตรลงมาสะสม
https://www.matichon.co.th/politics/news_4934853
‘เท้ง’ ห่วงคนกรุง สูดฝุ่น PM2.5 ยาวถึงเสาร์นี้ เหตุลมพัดควันจากพื้นที่เกษตรลงมาสะสม-สภาพอากาศปิด ชี้มาตรการแก้ฝุ่นต้องชัดเจน-วางแผนล่วงหน้า เพื่อให้เกษตรกรปรับตัว มองคิดทำตอนนี้อาจช้าเกินไป
เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคประชาชน กล่าวถึงสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 ในเขต กทม. ที่กลับมาทวีความรุนแรงอีกครั้ง โดยค่าคุณภาพอากาศวันนี้เกินกว่า 100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรทุกพื้นที่ ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพและระบบทางเดินหายใจของประชาชน
โดย นายณัฐพงษ์กล่าวว่า ตนขอแสดงความห่วงใยถึงพี่น้องประชาชนชาว กทม. ที่อาจต้องเผชิญกับสถานการณ์ฝุ่นปกคลุมไปจนถึงวันที่ 7 ธ.ค.นี้ เพราะจากข้อมูลของกรมป่าไม้ระหว่างวันที่ 1-3 ธ.ค. พบจุดความร้อน (Hotspot) ทั่วประเทศจำนวน 306 จุด โดย 93% หรือ 284 จุดอยู่ในพื้นที่การเกษตรบริเวณภาคกลาง ภาคเหนือตอนล่าง และภาคอีสาน เมื่อผนวกกับทิศทางลมในช่วงนี้ที่พัดจากทิศเหนือลงใต้และจากตะวันออกมายังตะวันตก ทำให้ฝุ่นละอองจากพื้นที่เกษตรพัดลงมาสะสมที่กรุงเทพฯ ขณะที่อัตราการระบายอากาศของกรุงเทพฯ ก็อยู่ในเกณฑ์ย่ำแย่ไปจนถึงวันเสาร์นี้ ซ้ำเติมสถานการณ์ฝุ่นให้หนักหน่วงยิ่งขึ้นไปอีก
นายณัฐพงษ์กล่าวต่อไปว่า สิ่งที่พรรคประชาชนเน้นย้ำเสมอมาคือการแก้ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 รัฐบาลต้องวางแผนและดำเนินการล่วงหน้าในช่วง 8 เดือนที่ไม่มีปัญหา เพราะหากมาเร่งออกมาตรการในช่วง 4 เดือนที่ปัญหาวิกฤตแล้วจะไม่ทันการณ์ โดย ส.ส.พรรคประชาชนได้เสนอมาตรการต่างๆ ผ่านการอภิปรายในสภาฯ หลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการอภิปรายงบประมาณหรือการอภิปรายนโยบายรัฐบาล แต่มาตรการของรัฐบาลกลับยังไม่มีความชัดเจนและไม่ทันเวลา
โดยเฉพาะในภาคเกษตร ฤดูกาลเปิดหีบอ้อยจะเริ่มต้นในวันที่ 6 ธ.ค.นี้แล้ว แต่จนถึงปัจจุบันมาตรการสนับสนุนการตัดอ้อยสดโดยไม่เผาก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะให้ราคาตันละเท่าไร มีเพียงรายละเอียดในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรครั้งที่ผ่านมาว่ารัฐบาลจะให้ 69 บาทต่อตัน ส่วนอีก 51 บาทจะให้ผ่านการรับซื้อใบอ้อยสด โดย 2 ส่วนให้เกษตรกร และอีก 1 ส่วนให้โรงไฟฟ้าชีวมวล แต่ก็ยังไม่มีมติคณะรัฐมนตรีออกมาอย่างเป็นทางการ มาตรการที่ไม่ชัดเจนและล่าช้าเช่นนี้ทำให้เกษตรกรไม่อาจปรับตัวและวางแผนด้านต้นทุนกำไรล่วงหน้าได้ทัน ขณะเดียวกันมาตรการปรับเงินโรงงานที่รับอ้อยไฟไหม้ในปริมาณมากก็ยังไม่มีออกมา
ขณะที่มาตรการด้านข้าว พรรคประชาชนเคยเสนอให้รัฐบาลเพิ่มเงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อมในการสนับสนุนเงิน 1,000 บาทต่อไร่ เพื่อจูงใจให้เกษตรกรลดการเผา แต่จากการแถลงข่าวมติคณะรัฐมนตรีวันนี้ก็ยังไม่เห็นความชัดเจนในการบรรจุเงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อมไว้ในมาตรการนี้
ส่วนมาตรการห้ามรับซื้อหรือนำเข้าสินค้าเกษตรที่มีที่มาจากการเผา รัฐบาลก็สามารถทำได้เลยโดยไม่ต้องรอร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาดมีผลบังคับใช้ โดยทำได้ผ่านทั้งการใช้ พ.ร.บ.มาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ.2551 ออกมาตรฐานบังคับกับสินค้าเกษตรที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ PM2.5 รวมถึงการใช้อำนาจตามกฎหมายการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ.2522 ที่สามารถกำหนดเงื่อนไขการนำเข้าและห้ามนำเข้าสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งได้
“มาตรการต่างๆ เหล่านี้ รัฐบาลต้องวางแผนและแสดงความชัดเจนตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อให้ทุกภาคส่วนโดยเฉพาะเกษตรกรปรับตัวและคำนวณต้นทุนได้ทัน การแก้ปัญหาฝุ่นไม่ควรรอจนเกิดวิกฤต แต่ต้องเริ่มตั้งแต่ตอนที่ยังไม่เกิดปัญหา” นายณัฐพงษ์กล่าว
WeWatch จี้เปลี่ยนวัน ‘เลือกตั้งอบจ.’ ยัน กกต.สั่งยืดเวลาได้ – แนะต่อไป ‘เปิดเลือกนอกเขต’
https://www.matichon.co.th/politics/news_4934512
We Watch จี้เปลี่ยนวัน ‘เลือกตั้งอบจ.’ ชี้ไม่มีกฎห้าม ห่วงคนติดทำงานวันเสาร์ ไม่ได้ใช้สิทธิ – กกต.มีอำนาจ สั่งขยายเวลาได้
สืบเนื่อง คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เห็นชอบร่างแผนการจัดการเลือกตั้ง สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.) และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) โดยจะประกาศวันรับสมัครรับเลือกตั้ง ระหว่างวันที่ 23-27 ธ.ค. 2567 และกำหนดวันเลือกตั้งในวันที่ 1 ก.พ. 2568 นั้น
เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม เครือข่ายเยาวชนสังเกตการณ์การเลือกตั้งเพื่อประชาธิปไตย (We Watch) ซึ่งมีพันธกิจในการณรงค์ขยายสิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง ความยุติธรรม การมีส่วนร่วม และความโปร่งใส มีข้อกังวลต่อการกำหนดวันเลือกตั้งดังกล่าว เนื่องจากตรงกับ ‘วันเสาร์’ ซึ่งอาจส่งผลต่อการใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชน รวมถึง การกำหนดวันเลือกตั้งดังกล่าวซ้ำเติมความถดถอยของการเลือกตั้งซ่อมนายก อบจ. ที่เราได้เห็นตลอดทั้งปี ในปี 2567 จึงเสนอให้ กกต. ทบทวนการกำหนดวันเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดใหม่ เพื่อให้เอื้อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสิทธิในการเลือกตั้ง โดยมีเหตุผลดังนี้
การกำหนดวันเลือกตั้งวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 ตรงกับวันเสาร์ เป็นอุปสรรคในการเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เนื่องจากมีประชาชนที่ยังคงต้องทำงานต่างถิ่น อาจจะไม่สามารถเดินทางกลับไปยังภูมิลำเนาเพื่อใช้สิทธิในวันเสาร์ได้ ตามธรรมเนียมแล้ว การกำหนดวันเลือกตั้งจะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ ด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นหยุดราชการ และยังเป็นวันหยุดของห้างร้าน และบริษัท ประกอบกับการใช้สิทธิเลือกตั้งยังไม่ได้รับการรับรองให้เป็นการใช้สิทธิลาเป็นการทั่วไป ซึ่งทำให้เกิดความยากลำบากแก่ประชาชนทั่วไปที่ต้องการใช้สิทธิเลือกตั้ง การเลือกตั้งในวันอาทิตย์ถือเป็นวันที่เหมาะสมสำหรับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ
จากการเก็บข้อมูลจำนวนผู้มาใช้สิทธิการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดจำนวน 20 ครั้งระหว่างเดือนมีนาคม-พฤศจิกายน 2567 พบว่ามีประชาชนสามารถไปใช้สิทธิได้เพียงร้อยละ 51.45 ซึ่งต่ำกว่าการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2566 ถึงร้อยละ 23 ซึ่งนับเป็นสัดส่วนที่น่ากังวล ทั้งที่การปกครองส่วนท้องถิ่นถือเป็นรากฐานสำคัญของประชาธิปไตยไทย กลับเผชิญกับอุปสรรคในการใช้สิทธิอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนนับตั้งแต่มีการเลือกตั้งท้องถิ่นตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2540 เป็นต้นมา
ส่วนที่ กกต. อ้างว่าหากเลือกตั้งตรงวันอาทิตย์ ที่ 2 ก.พ. 2568 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของเงื่อนเวลา 45 วัน นับแต่วันที่ครบวาระดำรงตำแหน่ง อาจจะเกินกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด ข้อเท็จจริงคือ ไม่มีบทกฎหมายใดห้ามจัดเลือกตั้งตรงวันสุดท้ายของเงื่อนเวลาดังกล่าว แม้จะมีบางหน่วยเลือกตั้งที่อาจต้องนับคะแนนเลือกตั้งใหม่ ซึ่งโดยทางปฏิบัติจะดำเนินการในวันถัดจากวันเลือกตั้ง คือวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 แต่กระบวนการนับคะแนนเลือกตั้งใหม่ดังกล่าว ก็เป็นแต่เพียงการตรวจสอบผลการเลือกตั้งที่ได้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2568 ซึ่งอยู่ในกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว นอกจากนั้น ตามความในมาตรา 11 วรรคท้าย ของ พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562 ยังให้อำนาจแก่คณะกรรมการการเลือกตั้งในการที่จะมีคำสั่งให้ขยายเวลาในการจัดเลือกตั้งได้ ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง อาจมีคำสั่ง เช่นให้ขยายเวลาเลือกตั้งออกไปอีก 3 วันก็แก้ปัญหาข้อกังวลดังกล่าว ซึ่งดีกว่าการแก้ปัญหาด้วยวิธีเลื่อนวันเลือกตั้งมากำหนดเป็นวันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568
โดยบทเรียนของการเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งนี้ ให้ถือเป็นตัวอย่างมาตรฐานการเลือกตั้งในอนาคต โดยให้มีการเปิดให้มีการใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า นอกเขต และนอกราชอาณาจักร ตามมาตรฐานสิทธิการเลือกตั้งทั่วไป (universal suffrage) และสอดคล้องกับมาตรฐานการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป
ด้วยเหตุผลที่กล่าวมา We Watch จึงขอให้ กกต. ทบทวนวันเลือกตั้งใหม่ และหวังว่าในการเลือกตั้งนายกอบจ. 47 จังหวัด และ สมาชิกอบจ. ทั้ง 76 จังหวัดทั่วประเทศที่จะถึงนี้ ประชาชนจะสามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้สะดวกมากขึ้น โดยปราศจากข้อกังวลและอุปสรรค อย่างน้อยที่สุดข้อจำกัดดังกล่าวควรได้รับการคลี่คลายจากจากผู้มีหน้าที่ในการจัดการเลือกตั้งเอง
ด้วยความเคารพ
We Watch
3 ธันวาคม 2567
สื่อจี้ทร. ตอบปมปักปันเขตแดน ผลประโยชน์ทับซ้อน ไทย-กัมพูชา อึกอัก โยนถามวงระดับชาติ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4934040
วงเสวนา ทร.เดือด! สื่อจี้ถามจุดยืนปักปันเขตแดน-จัดการผลประโยชน์ทับซ้อน ‘ไทย-กัมพูชา’ ผู้เชี่ยวชาญอึกอัก บอกตอบไม่ได้ โยนไปถามวงระดับชาติ ย้ำลงนาม MOU 44 มีปัจจัยเปลี่ยนไปตามเวลา โอดเป็นเรื่องซับซ้อน บอกต้องรอรัฐบาล ยัน ทร.ยึดตามเส้นเขตแดน ด้านผู้สื่อข่าวสวน พวกท่านคือผู้เชี่ยวชาญ ทำไมตอบคำถามไม่ได้
เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม ที่กรมยุทธศึกษาทหารเรือ จ.นครปฐม กองทัพเรือ จัดงานเสวนาวิชาการ “หลักกฎหมายว่าด้วยอาณาเขตทางทะเล” เพื่อชี้ให้เห็นถึงบทบาทของกองทัพเรือ ความท้าทายที่กองทัพเรือต้องเผชิญ โดยมีวิทยากรประกอบด้วย นาวาเอก เกียรติยุทธ เทียนสุวรรณ รองผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน กรมยุทธการทหารเรือ, นาวาเอกหญิง มธุศร เลิศพานิช รองผู้อำนวยการกองกฤษฎีกา สำนักงานพระธรรมนูญทหารเรือ, นาวาเอก รชต โอศิริ ผู้อำนวยการโรงเรียนอุทกศาสตร์ กรมอุทกศาสตร์ และนาวาเอก สมาน ได้รายรัมย์ อาจารย์ฝ่ายศึกษาโรงเรียนนายเรือ