ความสำคัญของ ประชามติ ในระบอบ “ประชาธิปไตย”

เพราะเหตุที่ว่า “รัฐธรรมนูญ” ในระบอบประชาธิปไตย นับว่าเป็น “สิทธิอำนาจสูงสุดของประเทศ” อันจากโครงร่างเป็นลักษณะ “สัญญาประคม” ระหว่างประชากรในประเทศนั้นๆ จากการลงประชามติในแง่กฎหมายคือลักษณะยินยอมตามสัญญา และเป็นเหตุผลให้ รธน. นั้นๆ มีความชอบธรรมในการบังคับใช้ ในฐานะกฎหมายหลัก ส่วนการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ใขเฉพาะส่วนหรือมาตรา โดยเป็นเจตนารมณ์เพื่อปฎิรูป รธน.ให้มีสภาพสมดุลย์กับสถานะการบริหารและการบังคับใช้ในปัจจุบันและอนาคต อันสามารถกระทำได้โดย “สภาผู้แทนราษฎร” ส่วนการยกเลิกบังคับใช้ทั้งฉบับ มีความจำเป็นต้องให้ผู้ยินยอมตามสัญญา หรือ โดยประชามติบอกเลิกได้เท่านั้น สาเหตุของความจำเป็นในการบริหารประเทศจำเป็นต้องมี่ รธน.รองรับ ทำให้ใช้การลงประชามติในครั้งเดียวให้ครอบคุมทั้ง กรณียกเลิก รธน.ฉบับเดิม และยินยอมให้ใช้ รธน.ฉบับใหม่ นั่นเอง ครับ

อย่างกรณีปัจจุบัน อันมาจากกลุ่มบุคคลและข้าราชการ ที่ให้เหตุผลเพื่อปกปักรักษาความมั่นคงของประเทศมาเป็นเหตุผลในการยึดอำนาจบริหาร โดยประกาศยกเลิกการบังคับใช้ รธน.๕๐ และให้เปลี่ยนมาใช้ รธน.ฉบับชั่วคราว ในขณะนี้ ในแง่กฎหมายไม่ว่าในไทยหรือของประเทศสากลจะมองว่า จากอำนาจหน้าที่ปฎิบัติการณ์เพื่อรักษาความมั่นคงของประเทศ อาจเป็นสิทธิอำนาจเฉพาะของประเทศนั้นๆ โดยมี บทบัญญัติระบุไว้ใน รธน. หรือกฎหมายความมั่นคงเฉพาะสถานะการรองรับอยู่ อย่างเช่น “กฎอัยการศึก” จากพื้นฐานก็จะยึดมั่นว่าเป็นการกระทำหรือปฎิบัติหน้าที่ๆ ชอบด้วยรธน.๕๐ และกฎหมายประกอบ ในกรณี การปฎิบัติหรือล๊ะเว้นการปฎิบัตินั้นๆ ครับ

ส่วนการปฎิบัติการ ในกรณี “ยกเลิกบังคับใช้ รธน.๕๐” เป็นการร่วมกระทำไม่ชอบด้วยสิทธิอำนาจที่เสร็จสิ้นแล้ว ในการล้มล้าง รธน.๕๐ ตาม บทบัญญัติใน ม.๑๑๓ เพราะไม่มีความชอบธรรมใดๆ ทั้ง ตาม รธน. และ กฎหมายเฉพาะรองรับ แต่เป็นการใช้ “อำนาจนอกระบบ” ที่มีของเขาเหล่านี้ เข้ายึดครอง สิทธิ์อำนาจอธิปไตยไปเป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตาม ความหมายทางกฎหมาย ก็จะหมายถึงว่า รธน.๕๐ ยังมีความชอบธรรมตามปรกติ เพียงแต่อยู่ในช่วงขณะของการใช้ “อำนาจนอกระบบ” จากบุคคลและกลุ่มคนที่ยึดอำนาจมิสามารถนำมาบังคับใช้ในปัจจุบันได้ จนกว่าอำนาจนี้จะหมดสิ้นลงไป อันเป็นเสมือนลักษณะของประเทศที่ถูกยึดครองโดย “อำนาจ” และถูกบังคับในฐานะ “ผู้พ่ายแพ้” หรือ “ลักษณะสูญสิ้นความเป็นอิสระภาพ” ของประเทศ โดยให้ประชากรในประเทศมีความเป็นอยู่ภายใต้กฎกติกาที่ผู้ยึดอำนาจกำหนดไว้อย่างไม่มีข้อแม้ อันกฎกติกานี้ใช้เรียกว่า “รธน.ชั่วคราว” นั่นเอง ฉนั้นการกระทำใดๆ ที่บังเกิดขึ้นจากการบังคับใช้ จาก กฏกติกา ของกลุ่มผู้ยึดอำนาจ จะเป็นการกระทำมิชอบ “ต่างกรรมต่างวะระ” ตาม รธน.๕๐ ทั้งสิ้น ด้วยเหตุผลเช่นนี้ จึงมีความจำเป็น ที่จะต้องให้มีการ “นิรโทษกรรม” ให้กับกลุ่มผู้กระทำและร่วมกระทำ (ร่าง รธน.๕๘ ม.๒๙๗) ครับ

ในการร่าง รธน.ฉบับใหม่ (รธน.๕๘) โดยอ้างเหตุผลเพื่อการปฎิรูป หรือ ฯลฯ เป็น รธน. ที่มีสถานะภาพ เช่นเดียวกันกับ รธน.ชั่วคราว ในปัจจุบัน เพราะการกำหนดหรือบังคับใช้ เป็นการกระทำโดย “สิทธิอำนาจยึดครองอำนาจ” ของกลุ่มผู้ยึดครองอำนาจ ที่ยังอยู่ในสถานะภาพการยึดครองอิสระภาพของประเทศ และจะหมดสิทธิอำนาจความชอบธรรมในการบังคับใช้ เมื่อหมดสิ้นการยึดครอง ฉนั้นไม่ว่า เนื้อหาหรือบทบัญญัติใน รธน.๕๘ จะระบุเอาไว้อย่างไร ก็ตามขาดความชอบธรรมในฐานะ “รัฐธรรมนูญ” ของประเทศเสมอเหมือน รธน.๕๐ ตราบใดที่ไม่ได้รับความยินยอมโดยการลง “ประชามติ” เสมือนเช่น รธน.๕๐ และจะหมดสภาพการบังคับใช้โดยปริยาย เมื่อการเข้ายึดอิสระเสรีภาพยุติลง ครับ

การลง “ประชามติ” มีความสำคัญสูงสุด ในการยินยอมให้ รธน.นั้นๆ เป็นอำนาจสูงสุดของประเทศที่มีความชอบธรรมสมบูรณ์ในการบังคับใช้ หรือยกเลิกการบังคับใช้ในระบอบประชาธิปไตย อันหมายถึงว่า ถ้ามีการลงประชามติ รับรอง รธน.๕๘ ก็จะมีผลในขณะเดียวกันในการยกเลิก รธน.๕๐ นั่นเองครับ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะสิทธิอำนาจที่บัญญัติเอาไว้ใน รธน.นั้นๆ เป็นสิทธิอำนาจของประชากรในประเทศทั้งปวง ที่ทำเป็น “สัญญาประชาคม” หรือ “รัฐธรรมนูญ” เพื่อให้บังคับใช้เสมอภาค ฉนั้นการใช้ดุลย์พินิจในการ ยินยอมลงประชามติ ของประชาชน คือการรับรองและยอมรับเนื้อหา ที่ระบุเป็นบทบัญญัติของ รธน.นั้นๆ รวมทั้งยอมรับให้ “นิรโทษกรรม” ต่อการกระทำผิดทั้งหลายตาม รธน.๕๐ นั่นเอง ครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่