วิธีกำจัด “ขยะมนุษย์”

จากลิงค์ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1430447824

และ  https://www.youtube.com/watch?v=T8N82nYkLrI#t=48

จากข้อความนี้เป็นเหตุผลที่ทำให้ผมตั้งกระทู้ขึ้นมาครับ

"เราต้องช่วยกันลดความขัดแย้งทั้งปวง ทำอย่างไรให้ลดขยะเคลื่อนที่ ต้องให้ขยะมนุษย์หมดไปจากประเทศให้ได้ วันนี้ผมบริหารราชการต้องฟังทุกคน ฟังทั้งคนด่า คนชม ฟังมากก็หงุดหงิดมาก...”

ผมยินดีและเต็มใจที่ได้รับโอกาศให้มีส่วนช่วยในการลดความขัดแย้งทั้งปวง ทั้งๆ ที่ได้มอบสิทธิอำนาจในการกระทำให้กับผู้แทนฯ ของผม ที่ถูกกระทำถอดถอนจากหน้าที่ไปแล้ว ไม่มีโอกาศแม้แต่เพียงจะหาข้อยุติว่า “ขยะมนุษย์” คือมนุษย์ที่มีการกระทำหรือมีบุคคลิคอย่างไร อีกทั้งการบริหารประเทศ มีความจำเป็นที่จะต้องมีสิทธิอำนาจอันชอบธรรมเพื่อสามารถใช้ระบบกลไกของ รบ. เพื่อการร่วมขับเคลื่อนเพื่อขจัด ขยะมนุษย์ อันระบบกลไกต่างๆ นั้น ผมหมายถึง สิทธิอำนาจของบุคลากรทั้งหลาย ที่เป็น “ตัว รัฐบาล“ เป็น “จนท.รัฐ” หรือ “องค์กรอิสระ” เป็นหลัก เพราะถ้าระบบกลไกเหล่านี้ ที่ต่างเป็นผู้ถูกว่าจ้าง หรือจ้างวาน คือได้รับมอบสิทธิอำนาจหน้าที่โดยได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนและเบี้ยหวัตจาก เงินภาษีของ ประชาชน ทั้งสิ้น อันนี้คือความเป็นจริงอย่างแน่ชัดถูกใหมครับ

การเข้าแทรกแทรงโดย “สิทธิอำนาจ” และ “ดุลย์พินิจ” ในฐานะ “จนท.รัฐ” ในการรักษาความมั่นคงของประเทศ เป็นสิ่งที่กระทำ “โดยชอบด้วย รธน.๕๐ และกฎหมายเฉพาะส่วน” เป็นพื้นฐาน ส่วนกรณี ปฎิบัติ สมควรกับสถานะการณ์ความเป็นจริงหรือไม่นั้นไม่มีผู้ใดสามารถอาจเอื้อมพิจารณาได้นอกจากๆ กระบวนการยุติธรรม โดยผู้พิพากษา เท่านั้น ฉนั้นการกล่าวหา หรือวิจารณ์ใดๆ ในกรณีนี้ ผู้กระทำสุ่มเสี่ยงต่อการกระทำผิดกฏหมายเสียเอง และอาจต้องถูกเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมด้วยเช่นกัน จากจุดนี้ก็มีความชอบธรรมอย่างสมบูรณ์ของ “จนท.รัฐ” ที่สามารถห้ามปรามหรือใช้สิทธิอำนาจหน้าที่ทีมีเข้าควบคุมและส่งดำเนินคดีนั้นๆ ครับ

ส่วนในกรณี “กลุ่มยึดอำนาจ” โดย จนท.รัฐ เป็นเสมือนเช่นเดียวกันกับใน บริษัทเอกชน ที่โดนยึดครองระบบงานและทรัพย์สิน ฯลฯ จาก “พนักงาน” กลุ่มหนึ่งนั่นเอง อันการ “ยึดอำนาจรัฐ” เป็นการกระทำความผิดตาม บทบัญญัติของ รธน. หรือ สัญญาประชาคม (สัญญาว่าจ้าง ของ บริษัทเอกชน) รวมทั้งประมวลกฎหมายอาญา อันลักษณะความผิดในเบื้องต้น จะอยู่ที่การกระทำลุล่วงหรือไม่ อย่างได โดยไม่เกี่ยวกับ “ความเสียหาย” ที่บังเกิดขึ้น ที่อาจถูกเรียกร้องจากผู้เสียหายโดยผ่าน กระบวนการศาลแพ่งต่อไปหลังจากที่ได้มีคำพิจารณาจาก ศาลอาญาเป็นที่แน่ชัดไปแล้ว โดยการกระทำ “ยึดอำนาจ” มิเพียงจะต้องวินิจฉัยตามข้อมูลพยานหลักฐานถึง ระดับขั้นตอน นับแต่ ผู้จ้างวาน ผู้นำและผู้ร่วมสมคบคิด วางแผน และสุดท้ายคือผู้ปฎิบัติการ ทั้งหลาย เพราะเป็นกรณีการกระทำโดย “จนท.รัฐ” ที่อาศัย “สิทธิอำนาจหน้าที่” เพื่อการกระทำนั้นๆ จำเป็นต้องแยกแยะ ระหว่าง การปฎิบัติหรือกระทำตามอำนาจหน้าที่ในฐานะผู้รับคำสั่ง หรือการใช้อำนาจหน้าที่โดยเป็นส่วนผู้ร่วมการกระทำยึดอำนาจ นั่นเอง ครับ

การปฎิบัติหรือกระทำตามอำนาจหน้าที่ในฐานะผู้รับคำสั่ง เป็นเหตุผลสำคัญที่นำมาพิจารณาในกระบวนการยุติธรรม ถึงลักษณะ “การกระทำโดยหน้าที่” อันไม่ถือเป็นความผิดโดยมีเจตจำนงค์ หลักการพิจารณา ส่วนใหญ่จะมุ่งไปที่ “สามัญสำนึกและรู้ทราบในอำนาจหน้าที่” ของการและลักษณะกระทำเป็นสำคัญ เพราะจากการกระทำถึงแม้ว่าจะสามารถกระทำได้ก็ตาม แต่ถ้าเป็นการจ้างวานหรือคำสั่ง ที่รับมานั้นเป็นลักษณะที่ระบุว่าเป็นการกระต้องห้ามทั้งหลาย อย่างเช่น การใช้อาวุธยุโธปกรณ์ และมาตราการสงคราม เข้าสลายการชุมนุมของ ปชช.ในประเทศ โดยมิมีเหตุผลจำเป็นหรือสมควรแก่เหตุ เป็นต้น ในลักษณะเช่นนี้ การกระทำนั้นๆ จะยึดไม่ได้ว่า เป็นการกระทำในหน้าที่ตามสถานะภาพของผู้ใต้บังคับบัญชา เพราะไม่ใช่คำสังหรือการจ้างวานในสิทธิอำนาจหน้าที่ของผู้ออกคำสั่งหรือในสถานะภาพของผู้บังคับบัญชา ฉนั้นคำวินิจฉัยก็จะตีความได้ว่า ผู้กระทำจำเป็นต้องมีข้อมูลพยานหลักฐานมาชี้แจงถึง ๑.) เป็นลักษณะรู้เท่าไม่ถึงการ หรือ ๒.) เป็นลักษณะถูกข่มขู่ที่เลียงมิได้ เพื่อให้เป็นข้อพิสูจน์ได้ว่า เป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ และที่ได้รับลหุโทษหรือไม่ลงอาญา ในฐานะผู้เป็นส่วนร่วมในการกระทำนั้นๆ ครับ

ส่วนการใช้อำนาจหน้าที่ โดยหรือเป็นส่วนผู้ร่วมการกระทำนั้นๆ (ยึดอำนาจรัฐ) ก็มีเหตุผลสำคัญในตัวเอง ที่นำมาพิจารณาในกระบวนการยุติธรรม ถึงลักษณะ “การกระทำความผิดนั้นๆ อาศัยสิทธิอำนาจหน้าที่” เป็นเครื่องมือในการปฎิบัติหรือกระทำ อันจะแยกแยะระหว่าง “ลักษณะเป็นเจตน์จำนงค์จงใจ” กับ “ลักษณะละเลยสมยอม” เพื่อเป็นพื้นฐานการพิจารณาพิพากษา ถึงระดับความผิดและลงอาญา ในลักษณะเจตน์จำนงค์ คือ “การใช้อำนาจหน้าที่ในการใช้ดุลย์พินิจเพื่อปฎิบัติหรือละเว้น” หรืออย่างเช่น ในกรณี “เลือกปฎิบัติ” หรือ “เลือกตีความหมาย” ที่ไม่เป็นไปตามกรอบวิธีหรือกระบวนการ ที่ระบุไว้ ใน รธน. และกฎหมายเฉพาะส่วนนั้นๆ ส่วน “ลักษณะละเลยสมยอม” หมายถึง จนท.รัฐ ที่มีสิทธิอำนาจหน้าที่นั้นๆ ตาม รธน. และ กฎหมายเฉพาะส่วนนั้นๆ ที่ยินยอมให้มีการกระทำมิชอบบังเกิดขึ้น อันอยู่ในขอบข่ายความรับผิดชอบ การบังคับใช้หรือควบคุม ของ จนท.รัฐ นั้นๆ อันการละเว้นหรือสมยอม เป็นลักษณะความผิด “การกระทำหรือละเว้น” ในสิทธิอำนาจหน้าที่ เป็นพื้นฐาน และการสมยอมอันนี้ ถ้าไม่สามารถมีข้อมูลพยานหลักฐาน คือ ๑.) เป็นลักษณะรู้เท่าไม่ถึงการ หรือ ๒.) เป็นลักษณะถูกข่มขู่ที่เลียงมิได้ ก็จะสุ่มเสียงต่อการมีความผิดในสถานะภาพ “ผู้ร่วมกระทำหรือผู้สมรู้ร่วมคิด” ตามประมวลกฎหมายอาญา อีกด้วยครับ

อันนี้คือแนวพิจารณาของ กระบวนการยุติธรรมมาตราฐานสากล ที่ยึดใช้ประจำวันเป็นระบบกลไกที่นำไปสู่ ความปรองดองสงบสุขโดยเสมอภาค ของสังคมนั้นๆ ในส่วนที่ผมทำได้ในขณะนี้ ก็คือการสื่อสารข้อมูลอันนี้ ส่วนวิธีที่จะกำจัด “ขยะมนุษย์” ทั้งๆที่ยังไม่ทราบความหมายอันแท้จริงก็ตาม ในฐานะ “รัฐบาลในชุดปัจจุบัน” ไม่ว่าจะมีความเป็นมาอย่างไรก็ตาม ก็คือ การตรวจสอบ จนท.รัฐ ทั้งหลาย โดยผ่านการวินิจฉัยชี้ชัดถึง ความชอบธรรมและการดำรงค์ ซึ่งอำนาจหน้าที่โดยตามลักษณะกระบวนการยุติธรรมมาตราฐานสากล โดยทันที เพราะเป็นสันติวิธีเดียวเท่านั้น ที่จะบังเกิดผลเสียหายกับประเทศของเราทุกคน น้อยที่สุดและก้าวสู่ปลายทางของ ความสมานฉันท์และสงบสุข ได้เร็วที่สุด ครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่