กระทู้นี้ ขอให้เป็นข้อมูลทางวิชาการโดยแท้
1 ขอเริ่มจากการปูพื้นฐานเกี่ยวกับการกำหนดเขตอำนาจศาลเสียก่อน
1.1 ประเทศไทย ใช้ระบบศาลคู่ ซึ่งแปลว่า ในการกำหนดเขตอำนาจศาล จะต้องมีอยู่ศาลหนึ่งที่ถูกกำหนดอำนาจในเชิงนิเสธเอาไว้ อธิบายง่ายๆคือ จะต้องมีอยู่ศาลหนึ่งที่มีอำนาจทั่วไป ซึ่งเขตอำนาจจะถูกกำหนดว่า มีอำนาจพิพากษาคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลอื่น ทั้งนี้ เพื่อมิให้เกิดกรณีที่มีข้อพิพาทเกิดขึ้นแต่ดันไม่มีศาลใดที่ไม่มีเขตอำนาจ ซึ่งจะขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจ หลักการกำหนดเขตอำนาจศาลเปนการทั่วไปดังกล่าว มีศัพท์ในทางวิชาการว่า "Gerneralklausel" และเพื่อไม่ให้เกิดการอ้างเขตอำนาจซ้ำซ้อนกัน ศาลอื่นจะถูกกำหนดเขตอำนาจในเชิงปฏิฐานหรือกำหนดเขตอำนาจที่ลักษณะเฉพาะเจาะจง มีศัพท์ในทางวิชาการว่า "Enumerationsprinzip"
1.2 ประเทศไทยเริ่มใช้ระบบศาลคู่มาตั้งแต่ประกาศใช้ รธน.2540 ซึ่งแปลว่า ก่อนหน้านั้น คือ รธน.2534 เรามีแค่ศาลเดียว คือศาลยุธิธรรม ซึ่งมาตรา 186 ก็บัญญัติว่า การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาลซึ่งต้องดำเนินการตามกฎหมายและในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ จะเห็นได้ว่า ไม่มีความจำเป็นต้องกำหนดตามหลัก Gerneralklausel เพราะมีอยู่ศาลเดียว
1.3 รธน.2540 มีศาลเพิ่มขึ้นมา คือ ศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นระบบศาลคู่ และการกำหนดเขตอำนาจของแต่ละศาลก็เริ่มนำหลัก "Gerneralklausel" และ "Enumerationsprinzip" มาใช้ คือ
ศาลยุติธรรม ซึ่งมีเขตอำนาจทั่วไป อยู่ในมาตรา 271 ที่ว่า
ศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญนี้หรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น
ศาลปกครอง ซึ่งมีเจตอำนาจเฉพาะคดีปกครอง อยู่ในมาตรา 276 ที่ว่า
ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลด้วยกัน ซึ่งเป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หรือเนื่องจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น ต้องรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
ศาลรัฐธรรมนูญ มีการกำหนดเขตอำนาจเอาไว้ในมาตราต่าง เช่น ยุบพรรคตามมาตรา 63 วินิจฉัยสมาชิกภาพตามมาตรา 96 ฯลฯ
ซึ่ง รธน.2550 ก็บัญญัติเขตอำนาจศาลภายใต้หลักการเดียวกับ รธน.2540
(
ปล ศาลทหาร อยู่ในระบบศาลเดี่ยว ขอไม่เอามาใส่ให้เยิ่นเย้อ)
1.4 รธน.2560 ก็ยังคงหลักการเดิม คือกำหนดให้ศาลยุติธรรมมีเขตอำนาจเป็นการทั่วไป ศาลอื่นมีเขตอำนาจที่เฉพาะเจาะจง
มาตรา 194 ศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น
มาตรา 197 ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครองอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมายหรือเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางปกครอง ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา 210 ศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
(1) พิจารณาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายหรือร่างกฎหมาย
(2) พิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือองค์กรอิสระ
(3) หน้าที่และอำนาจอื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
(
วรรคสองเป็นเรื่องกระบวนพิจารณานอกเหนือจากเขตอำนาจ)
2. การกล่าวถึงเขตอำนาจในการวินิจฉัยคดียุบพรรค
2.1 รธน.2540 บัญญัติอย่างชัดเจนไว้ในมาตรา 63 ว่า
บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้
ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้รู้เห็นการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว
ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้พรรคการเมืองใดเลิกกระทำการตามวรรคสอง ศาลรัฐธรรมนูญอาจสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าวได้
2.2 รธน.2550 บัญญัติอย่างชัดเจนไว้ในมาตรา 68 ว่า
บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้
ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว
ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้พรรคการเมืองใดเลิกกระทำการตามวรรคสองศาลรัฐธรรมนูญอาจสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าวได้
ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองตามวรรคสาม ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารของพรรคการเมืองที่ถูกยุบในขณะที่กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งดังกล่าว
2.3 แต่รธน.2560 ไม่ได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจน เหมือน รธน.2540 และ 2550 โดยบัญญัติไว้ในมาตรา 49 แต่เพียงว่า
บุคคลจะใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมิได้
ผู้ใดทราบว่ามีการกระทำตามวรรคหนึ่ง ย่อมมีสิทธิร้องต่ออัยการสูงสุดเพื่อร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าวได้
ในกรณีที่อัยการสูงสุดมีคำสั่งไม่รับดำเนินการตามที่ร้องขอ หรือไม่ดำเนินการภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ ผู้ร้องขอจะยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญก็ได้
การดำเนินการตามมาตรานี้ไม่กระทบต่อการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการตามวรรคหนึ่ง
โดยไม่มีการบัญญัติเรื่องการสั่งยุบพรรคเอาไว้อย่างชัดเจน คงมีกล่าวถึงการยุบพรรคไว้ในมาตรา 101 (10) ว่า สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง เมื่อขาดจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมือง แต่ในกรณีที่ขาดจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมือง
เพราะมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นเป็นสมาชิก และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นไม่อาจเข้าเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองอื่นได้ภายในหกสิบวัน
นับแต่วันที่มีคำสั่งยุบพรรคการเมือง ในกรณีเช่นนี้ ให้ถือว่าสิ้นสุดสมาชิกภาพนับแต่วันถัดจากวันที่ครบกำหนดหกสิบวันนั้น
3. เอกสารทางการที่กล่าวถึงเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ตาม รธน.2560
3.1 คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(2560) ได้จัดทำ “ความมุ่งหมายและคำอธิบายประกอบของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความมุ่งหมายและคำอธิบาย
ประกอบรายมาตรา โดยหวังว่าจะได้เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ

3.2 เอกสาร "ความมุ่งหมายและคำอธิบายประกอบของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐" เผยแพร่โดยเว็บไซต์ของรัฐสภา ตามลิงก์นี้
https://cdc.parliament.go.th/draftconstitution2/ewt_dl_link.php?nid=1042&filename=index
3.3 คำอธิบายมาตรา 210 ซึ่งเป็นเรื่องเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญ 2560 อยู่ที่หน้า 360-362


ขอตั้งกระทู้ไว้เป็นหมุดหมาย เกี่ยวกับเขตอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ
1 ขอเริ่มจากการปูพื้นฐานเกี่ยวกับการกำหนดเขตอำนาจศาลเสียก่อน
1.1 ประเทศไทย ใช้ระบบศาลคู่ ซึ่งแปลว่า ในการกำหนดเขตอำนาจศาล จะต้องมีอยู่ศาลหนึ่งที่ถูกกำหนดอำนาจในเชิงนิเสธเอาไว้ อธิบายง่ายๆคือ จะต้องมีอยู่ศาลหนึ่งที่มีอำนาจทั่วไป ซึ่งเขตอำนาจจะถูกกำหนดว่า มีอำนาจพิพากษาคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลอื่น ทั้งนี้ เพื่อมิให้เกิดกรณีที่มีข้อพิพาทเกิดขึ้นแต่ดันไม่มีศาลใดที่ไม่มีเขตอำนาจ ซึ่งจะขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจ หลักการกำหนดเขตอำนาจศาลเปนการทั่วไปดังกล่าว มีศัพท์ในทางวิชาการว่า "Gerneralklausel" และเพื่อไม่ให้เกิดการอ้างเขตอำนาจซ้ำซ้อนกัน ศาลอื่นจะถูกกำหนดเขตอำนาจในเชิงปฏิฐานหรือกำหนดเขตอำนาจที่ลักษณะเฉพาะเจาะจง มีศัพท์ในทางวิชาการว่า "Enumerationsprinzip"
1.2 ประเทศไทยเริ่มใช้ระบบศาลคู่มาตั้งแต่ประกาศใช้ รธน.2540 ซึ่งแปลว่า ก่อนหน้านั้น คือ รธน.2534 เรามีแค่ศาลเดียว คือศาลยุธิธรรม ซึ่งมาตรา 186 ก็บัญญัติว่า การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาลซึ่งต้องดำเนินการตามกฎหมายและในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ จะเห็นได้ว่า ไม่มีความจำเป็นต้องกำหนดตามหลัก Gerneralklausel เพราะมีอยู่ศาลเดียว
1.3 รธน.2540 มีศาลเพิ่มขึ้นมา คือ ศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นระบบศาลคู่ และการกำหนดเขตอำนาจของแต่ละศาลก็เริ่มนำหลัก "Gerneralklausel" และ "Enumerationsprinzip" มาใช้ คือ
ศาลยุติธรรม ซึ่งมีเขตอำนาจทั่วไป อยู่ในมาตรา 271 ที่ว่า ศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญนี้หรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น
ศาลปกครอง ซึ่งมีเจตอำนาจเฉพาะคดีปกครอง อยู่ในมาตรา 276 ที่ว่า ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลด้วยกัน ซึ่งเป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หรือเนื่องจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น ต้องรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
ศาลรัฐธรรมนูญ มีการกำหนดเขตอำนาจเอาไว้ในมาตราต่าง เช่น ยุบพรรคตามมาตรา 63 วินิจฉัยสมาชิกภาพตามมาตรา 96 ฯลฯ
ซึ่ง รธน.2550 ก็บัญญัติเขตอำนาจศาลภายใต้หลักการเดียวกับ รธน.2540
(ปล ศาลทหาร อยู่ในระบบศาลเดี่ยว ขอไม่เอามาใส่ให้เยิ่นเย้อ)
1.4 รธน.2560 ก็ยังคงหลักการเดิม คือกำหนดให้ศาลยุติธรรมมีเขตอำนาจเป็นการทั่วไป ศาลอื่นมีเขตอำนาจที่เฉพาะเจาะจง
มาตรา 194 ศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น
มาตรา 197 ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครองอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมายหรือเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางปกครอง ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา 210 ศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
(1) พิจารณาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายหรือร่างกฎหมาย
(2) พิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือองค์กรอิสระ
(3) หน้าที่และอำนาจอื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
(วรรคสองเป็นเรื่องกระบวนพิจารณานอกเหนือจากเขตอำนาจ)
2. การกล่าวถึงเขตอำนาจในการวินิจฉัยคดียุบพรรค
2.1 รธน.2540 บัญญัติอย่างชัดเจนไว้ในมาตรา 63 ว่า
บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้
ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้รู้เห็นการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว
ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้พรรคการเมืองใดเลิกกระทำการตามวรรคสอง ศาลรัฐธรรมนูญอาจสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าวได้
2.2 รธน.2550 บัญญัติอย่างชัดเจนไว้ในมาตรา 68 ว่า
บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้
ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว
ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้พรรคการเมืองใดเลิกกระทำการตามวรรคสองศาลรัฐธรรมนูญอาจสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าวได้
ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองตามวรรคสาม ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารของพรรคการเมืองที่ถูกยุบในขณะที่กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งดังกล่าว
2.3 แต่รธน.2560 ไม่ได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจน เหมือน รธน.2540 และ 2550 โดยบัญญัติไว้ในมาตรา 49 แต่เพียงว่า
บุคคลจะใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมิได้
ผู้ใดทราบว่ามีการกระทำตามวรรคหนึ่ง ย่อมมีสิทธิร้องต่ออัยการสูงสุดเพื่อร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าวได้
ในกรณีที่อัยการสูงสุดมีคำสั่งไม่รับดำเนินการตามที่ร้องขอ หรือไม่ดำเนินการภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ ผู้ร้องขอจะยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญก็ได้
การดำเนินการตามมาตรานี้ไม่กระทบต่อการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการตามวรรคหนึ่ง
โดยไม่มีการบัญญัติเรื่องการสั่งยุบพรรคเอาไว้อย่างชัดเจน คงมีกล่าวถึงการยุบพรรคไว้ในมาตรา 101 (10) ว่า สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง เมื่อขาดจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมือง แต่ในกรณีที่ขาดจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองเพราะมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นเป็นสมาชิก และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นไม่อาจเข้าเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองอื่นได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีคำสั่งยุบพรรคการเมือง ในกรณีเช่นนี้ ให้ถือว่าสิ้นสุดสมาชิกภาพนับแต่วันถัดจากวันที่ครบกำหนดหกสิบวันนั้น
3. เอกสารทางการที่กล่าวถึงเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ตาม รธน.2560
3.1 คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(2560) ได้จัดทำ “ความมุ่งหมายและคำอธิบายประกอบของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความมุ่งหมายและคำอธิบาย
ประกอบรายมาตรา โดยหวังว่าจะได้เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ
3.2 เอกสาร "ความมุ่งหมายและคำอธิบายประกอบของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐" เผยแพร่โดยเว็บไซต์ของรัฐสภา ตามลิงก์นี้
https://cdc.parliament.go.th/draftconstitution2/ewt_dl_link.php?nid=1042&filename=index
3.3 คำอธิบายมาตรา 210 ซึ่งเป็นเรื่องเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญ 2560 อยู่ที่หน้า 360-362