.....ได้มีโอกาสอ่านหนังสือเรียนในภาควิชารัฐศาสตร์เล่มหนึ่ง และผมได้หยิบยกเนื้อหาในตำราเล่มนี้บางส่วน เอามาลงให้อ่านกัน ผมสรุปโดยวิจารณญาณของตัวเองว่า “
เผาตำราทิ้งเถอะครับ” เพราะสิ่งที่เอาไปสอนนักศึกษาภาควิชารัฐสาสตร์ กับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นนั้น มันไม่ได้เป็นกับที่เขียนไว้ในตำราเลย เพราะกฏหมายและรัฐธรรมนูญที่ร่างกันอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่ามองจากมุมไหน ก็ไม่เห็นเหมือนที่ตำราบอกว่า ระบอบประชาธิปไตยนั้นอยู่บนรากฐานหลักการสำคัญข้อใดเลย
ในหนังสือเนื้อหาตอนหนึ่งบอกว่า การปกครองในระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับกันโดยสากลทั่วไปว่า ระบอบประชาธิปไตยนั้นอยู่บนรากฐานหลักการสำคัญ ดังนี้
หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ภายใต้หลักการนี้เป็นการยอมรับว่าประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจสูงสุดในการปกครองรัฐ ประชาชนจะแสดงออกซึ่งการเป็นเจ้าของอำนาจโดยใช้อำนาจเลือกตัวแทนของตนไปทำหน้าที่ใช้อำนาจปกครองโดยผ่านกระบวนการเลือกตั้ง
การกำหนดตัวผู้ปกครองจึงเป็นอำนาจอธิปไตยของประชาชนไม่ใช่อำนาจอธิปไตยของผู้ปกครอง ดังนั้นการใช้อำนาจขององค์กรของรัฐฝ่ายปกครองจึงถูกกำหนดไว้โดยกฎหมายอย่างชัดแจ้งและส่งผลให้กฎหมายเป็นเครื่องกำหนดการใช้อำนาจของผู้ปกครอง
แต่ความเป็นจริงปรากฏว่า
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของระบอบประชาธิปไตย ที่กำลังร่างกำลังเขียนอยู่นี้ กลับพยายามยื้อแย่งการกำหนดตัวผู้ปกครองที่เป็นอำนาจอธิปไตยของประชาชน โดยการยัดเยียดตัวแทนด้วยวิธี “ลากตั้ง” ให้กลุ่มข้าราชการศักดินา เข้ารับหน้าที่ ส.ว.โดยตำแหน่งทางราชการของตัวเอง ส่วนการเลือกตัวแทนในสภานิติบัญญัติ ก็ใช้วิธี “คัดกรอง” บังคับเลือกโดยใครก็ไม่รู้ มาทำหน้าที่จำกัดสิทธิการอาสาเป็นตัวแทนของประชาชนของผู้สมัครรับเลือกตั้ง แถมยังเปิดทางให้คนนอกที่ไม่ได้เป็นตัวแทนของประชาชน มีโอกาสก้าวขึ้นเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง(นายกรัฐมนตรี)
ตกลงประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยจริงหรือเปล่า หรือเป็นเพียงข้อความสวยหรูที่อยู่ในตำราเท่านั้น
หลักเสรีภาพ หลักการนี้มีความสำคัญในรัฐเสรีประชาธิปไตยเป็นอย่างยิ่งจนมีคำกล่าวไว้ว่า “
ประเทศใดไม่มีหลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนประเทศนั้นไม่มีรัฐธรรมนูญ” ภายใต้หลักการนี้รัฐเสรีประชาธิปไตยต่างยอมรับหลักความอิสระของปัจเจกบุคคลในการพัฒนาบุคลิกภาพของตนได้ตามที่ใจปรารถนา ดังนั้นประชาชนทุกคนย่อมสามารถกระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ตนต้องการได้ตราบเท่าที่การกระทำนั้นไม่ละเมิดต่อเสรีภาพของบุคคลอื่นหรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะที่รัฐมุ่งประสงค์คุ้มครอง
แล้วหลักเสรีภาพตอนนี้อยู่ที่ใด
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้แค่จะยกมือขึ้นฟ้าแล้วชู 3 นิ้ว ซึ่งมันเป็นการกระทำที่ไม่ได้ไปกระทบสิทธิของผู้ใดยังผิดกฎหมาย หรือที่เขียนไว้ในตำรา เป็นเพียงเรื่องโกหกเท่านั้นหรือ
หลักความเสมอภาค เป็นหลักการพื้นฐานของรัฐเสรีประชาธิปไตยที่ยอมรับว่ามนุษย์ทุกคนเมื่อเกิดมาย่อมมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกันในฐานะที่เป็นมนุษย์ การยอมรับในสิทธิเสรีภาพของมนุษย์ที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิดและไม่อาจพรากไปจากความเป็นมนุษย์ได้นั้น เช่น สิทธิในชีวิต ร่างกาย
เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการนับถือศาสนา สิทธิเสรีภาพประเภทนี้ไม่สามารถจำหน่ายจ่ายโอนจากความเป็นมนุษย์ได้ ในรัฐเสรีประชาธิปไตยจึงถือว่าบุคคลมีความเสมอภาคที่จะได้รับการรับรองและคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน
เสมอภาคตรงไหน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้เมื่อประชาชนไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ หรือแสดงความเห็นในเชิงวิพากษ์วิจราณ์ออกมาแล้วกลับกลายเป็นว่ากระทำผิดกฎหมา ผิดศีลธรรมอันดี
หลักเสียงข้างมาก ภายในรัฐเสรีประชาธิปไตยความคิดเห็นเพื่อตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งอาจมีความเห็นที่หลากหลายถือเป็นเรื่องปกติ อีกทั้งแนวคิดเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนนั้นถือว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนทุกคนไม่สามารถแยกออกมาเป็นของคนบางส่วนได้
ดังนั้นเพื่อให้การใช้อำนาจปกครองในระบอบประชาธิปไตยสะท้อนต่อผลประโยชน์ของประชาชนมากที่สุด การตัดสินใจของรัฐจึงต้องถือเอาเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์เพื่อสะท้อนถึงความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่
เสียงช้างมากอันใด เมื่อ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้กฎหมายสูงสุดของประเทศอย่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเขียนโดยตัวแทนของกลุ่มคนไม่กี่คน ยังมีทีท่าว่าจะบังคับใช้โดยไม่ฟังความเห็นของประชาชนทั้งประเทศ
หลักการปกครองโดยกฎหมาย หรือหลักนิติรัฐ ซึ่งเป็นหลักการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของราษฎรเป็นสำคัญ ภายใต้หลักการนี้หน่วยงานของรัฐฝ่ายปกครองจะใช้อำนาจของตนจำกัดสิทธิเสรีภาพของราษฎรได้ต่อเมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจจำกัดสิทธิเสรีภาพของราษฎรไว้อย่างชัดแจ้งเท่านั้น หากไม่มีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจใดไว้เจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายปกครองย่อมไม่มีอำนาจที่จะกระทำการได้ หลักการปกครองโดยกฎหมายจึงเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของราษฎรให้ได้รับความคุ้มครอง เพราะหากรัฐประสงค์จะจำกัดสิทธิเสรีภาพใดของราษฎร รัฐจะกระทำได้ต่อเมื่อมีกฎหมายออกมาจำกัดสิทธิเสรีภาพเช่นว่านั้นเท่านั้น
ความหมายของคำว่า “นิติรัฐ” คือ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ความหมายของคำว่า “นิติรัฐ” คือ รัฐที่นับถือกฎหมายหรือยกย่องกฎหมายเป็นใหญ่ เป็นรัฐที่ยอมตนอยู่ใต้บังคับแห่งกฎหมายซึ่งรัฐนั้นเองเป็นผู้ตราขึ้น และรัฐยอมรับรองและให้ความคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพขั้นมูลฐานของราษฎรไว้ในกฎหมายสูงสุดของรัฐ นั่นคือ “รัฐธรรมนูญ” เพื่อให้ราษฎรได้ใช้สิทธิและเสรีภาพเช่นว่านั้นพัฒนาบุคลิกภาพของตนได้ตามที่ราษฎรแต่ละคนเห็นสมควร
อย่างไรก็ดี การที่รัฐยอมรับรองและให้ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของราษฎรไว้ในรัฐธรรมนูญไม่ได้หมายความว่า รัฐจะยอมให้ราษฎรใช้สิทธิเสรีภาพของตนกระทำการต่างๆ ได้ โดยปราศจากการแทรกแซงใด จากองค์กรเจ้าหน้าที่ของรัฐ รัฐมีผลประโยชน์ของส่วนรวมหรือผลประโยชน์สาธารณะ (Public Interest) ที่จะต้องธำรงรักษาไว้ ซึ่งในบางกรณีรัฐจำต้องบังคับให้ราษฎรกระทำการหรือละเว้นไม่กระทำการบางอย่าง ดังนั้น องค์กรเจ้าหน้าที่ของรัฐจึงสามารถล่วงล้ำเข้าไปใน “แดน” แห่งสิทธิเสรีภาพของราษฎรได้บ้าง แต่รัฐจะต้องให้คำมั่นต่อราษฎรว่าองค์กรเจ้าหน้าที่ของรัฐจะกล้ำกรายสิทธิเสรีภาพของราษฎรได้ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายบัญญัติไว้อย่างชัดแจ้งและเป็นการทั่วไปว่า องค์กรเจ้าหน้าที่รัฐจะกล้ำกรายสิทธิเสรีภาพของราษฎรได้ในกรณีใดและภายในขอบเขตอย่างไร
ด้วยเหตุนี้ ในนิติรัฐไม่เฉพาะแต่ความสัมพันธ์ระหว่างราษฎรกับราษฎรเท่านั้นที่จะต้องเป็นความสัมพันธ์ซึ่งกฎหมายกำหนด ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรเจ้าหน้าที่ของรัฐกับราษฎรก็จะต้องเป็นความสัมพันธ์ตามกฎหมายด้วย ผู้ปกครองที่แท้จริงในนิติรัฐคือ กฎหมายที่รัฐตราขึ้นและประกาศใช้โดยชอบด้วยกฎหมาย องค์กรเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ว่าจะอยู่ในลำดับใด ไม่อาจกล้ำกรายสิทธิเสรีภาพของราษฎรได้ เพื่อให้การปกครองโดยกฎหมายดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ราษฎรผู้ซึ่งเห็นว่าตนถูกองค์กรเจ้าหน้าที่ของรัฐล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จะต้องมีสิทธิโต้แย้งคัดค้านการกระทำขององค์กรเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ตนเห็นว่าขัดต่อกฎหมาย และจะต้องมีการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำขององค์กรเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น หากผลการตรวจสอบพบว่าการกระทำขององค์กรเจ้าหน้าที่ของรัฐขัดต่อกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ในบ้านเมือง รัฐต้องเพิกถอนการกระทำนั้นเสีย และทำให้ราษฎรผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำนั้นกลับคืนสู่ฐานะเดิม โดยการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้
อย่างไรก็ดี หลักการสำคัญของนิติรัฐดังกล่าวจะปรากฏเป็นจริงไม่ได้ หากอำนาจหน้าที่ในการตรากฎหมาย (อำนาจนิติบัญญัติ) อำนาจหน้าที่ในการพิจารณาตรวจสอบความถูกต้องตามกฎหมายของการกระทำขององค์กรเจ้าหน้าที่ของรัฐ (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจตุลาการ) รวมศูนย์อยู่ในบุคคลหรือคณะบุคคลเดียวกัน แม้บุคคลหรือคณะบุคคลนั้นจะได้รับการเลือกตั้งมาจากราษฎรตามวิถีทางประชาธิปไตยก็ตาม ประวัติศาสตร์แห่งการเมืองการปกครองของมนุษยชาติให้บทเรียนแก่เราว่า “บุคคลทุกคนเมื่อมีอำนาจ มีแนวโน้มที่จะมัวเมาในอำนาจและใช้อำนาจเกินเลยอยู่เสมอๆ” การใช้อำนาจอย่างพอเหมาะพอควร (Moderate) จะเป็นไปได้ก็แต่โดยการจัดองค์กรของรัฐในลักษณะที่ให้ “อำนาจหนึ่งหยุดยั้งอำนาจหนึ่ง” การแบ่งแยกอำนาจ (Seperation of Powers) ในความหมายของการจัดให้อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการมีองค์กรผู้ใช้ต่างองค์กรกัน และเป็นอิสระจากกัน จึงเป็นกลไกที่สำคัญยิ่งในการสถาปนานิติรัฐ
จากที่กล่าวมาข้างต้นพอสรุปได้ว่า สาระสำคัญของนิติรัฐอยู่ที่การประกันสิทธิเสรีภาพของราษฎรจากการใช้อำนาจตามอำเภอใจ ดังนี้
1.ในรัฐนั้นกฎหมายจะต้องอยู่เหนือสิ่งใดทั้งหมด การกระทำต่างๆ ในทางปกครองต้องเป็นไปตามกฎหมาย เนื่องจากหลักประกันสิทธิและเสรีภาพของราษฎรอยู่ที่กฎหมาย ในความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรของรัฐกับราษฎรนั้น การสั่งการให้ราษฎรกระทำการหรือละเว้นกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด จะกระทำได้ต่อเมื่อมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้อำนาจไว้อย่างชัดแจ้ง และจะต้องใช้อำนาจนั้นภายในกรอบที่กฎหมายกำหนดไว้
2.ขอบเขตแห่งอำนาจหน้าที่ของรัฐที่กำหนดไว้ตามกฎหมายจะต้องกำหนดไว้แน่นอน บรรดากฎหมายที่ให้อำนาจแก่องค์กรของรัฐในอันที่จะล่วงล้ำสิทธิและเสรีภาพของราษฎรนั้นจะต้องมีข้อความที่ระบุให้อำนาจนั้นไว้อย่างชัดเจนว่าให้องค์กรของรัฐองค์กรใดมีอำนาจล่วงล้ำสิทธิและเสรีภาพของราษฎรได้ในกรณีใด ภายในขอบเขตอย่างใด และไม่เกินขอบเขตแห่งความจำเป็นเพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์สาธารณะ
3.การควบคุมมิให้การกระทำขององค์กรของรัฐขัดต่อกฎหมาย ตุลาการผู้ทำหน้าที่ควบคุมจะต้องมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดีจากองค์กรฝ่ายบริหารและองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ กล่าวคือ ในการปฏิบัติหน้าที่ควบคุมตรวจสอบการกระทำทางปกครองนั้น องค์กรตุลาการไม่จำต้องฟังคำสั่งคำบัญชาจากองค์กรอื่นใด ทั้งนี้ เพื่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนได้รับความคุ้มครองอย่างแท้จริง
นิติรัฐอันใด เมื่อ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้กฏหมายกลายเป็นเครื่องมือแย่งชิงอำนาจประชาชน และมีไว้เพื่อ"นิรโทษกรรม"การกระทำของกลุ่มคณะตนเอง ที่ได้กระทำมาในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
แล้วเราจะสอนลูกหลานเราไปทำไม ในเมื่อสิ่งที่สอนไม่สามารถปฏิบัติได้จริง
ผมจึงยืนยันคำเดิมว่า “
เผาตำราทิ้งเถอะครับ”
เผาตำราทิ้งเถอะครับ
ในหนังสือเนื้อหาตอนหนึ่งบอกว่า การปกครองในระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับกันโดยสากลทั่วไปว่า ระบอบประชาธิปไตยนั้นอยู่บนรากฐานหลักการสำคัญ ดังนี้
หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ภายใต้หลักการนี้เป็นการยอมรับว่าประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจสูงสุดในการปกครองรัฐ ประชาชนจะแสดงออกซึ่งการเป็นเจ้าของอำนาจโดยใช้อำนาจเลือกตัวแทนของตนไปทำหน้าที่ใช้อำนาจปกครองโดยผ่านกระบวนการเลือกตั้ง การกำหนดตัวผู้ปกครองจึงเป็นอำนาจอธิปไตยของประชาชนไม่ใช่อำนาจอธิปไตยของผู้ปกครอง ดังนั้นการใช้อำนาจขององค์กรของรัฐฝ่ายปกครองจึงถูกกำหนดไว้โดยกฎหมายอย่างชัดแจ้งและส่งผลให้กฎหมายเป็นเครื่องกำหนดการใช้อำนาจของผู้ปกครอง
แต่ความเป็นจริงปรากฏว่า [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
หลักเสรีภาพ หลักการนี้มีความสำคัญในรัฐเสรีประชาธิปไตยเป็นอย่างยิ่งจนมีคำกล่าวไว้ว่า “ประเทศใดไม่มีหลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนประเทศนั้นไม่มีรัฐธรรมนูญ” ภายใต้หลักการนี้รัฐเสรีประชาธิปไตยต่างยอมรับหลักความอิสระของปัจเจกบุคคลในการพัฒนาบุคลิกภาพของตนได้ตามที่ใจปรารถนา ดังนั้นประชาชนทุกคนย่อมสามารถกระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ตนต้องการได้ตราบเท่าที่การกระทำนั้นไม่ละเมิดต่อเสรีภาพของบุคคลอื่นหรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะที่รัฐมุ่งประสงค์คุ้มครอง
แล้วหลักเสรีภาพตอนนี้อยู่ที่ใด [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
หลักความเสมอภาค เป็นหลักการพื้นฐานของรัฐเสรีประชาธิปไตยที่ยอมรับว่ามนุษย์ทุกคนเมื่อเกิดมาย่อมมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกันในฐานะที่เป็นมนุษย์ การยอมรับในสิทธิเสรีภาพของมนุษย์ที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิดและไม่อาจพรากไปจากความเป็นมนุษย์ได้นั้น เช่น สิทธิในชีวิต ร่างกาย เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการนับถือศาสนา สิทธิเสรีภาพประเภทนี้ไม่สามารถจำหน่ายจ่ายโอนจากความเป็นมนุษย์ได้ ในรัฐเสรีประชาธิปไตยจึงถือว่าบุคคลมีความเสมอภาคที่จะได้รับการรับรองและคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน
เสมอภาคตรงไหน [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
หลักเสียงข้างมาก ภายในรัฐเสรีประชาธิปไตยความคิดเห็นเพื่อตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งอาจมีความเห็นที่หลากหลายถือเป็นเรื่องปกติ อีกทั้งแนวคิดเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนนั้นถือว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนทุกคนไม่สามารถแยกออกมาเป็นของคนบางส่วนได้ ดังนั้นเพื่อให้การใช้อำนาจปกครองในระบอบประชาธิปไตยสะท้อนต่อผลประโยชน์ของประชาชนมากที่สุด การตัดสินใจของรัฐจึงต้องถือเอาเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์เพื่อสะท้อนถึงความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่
เสียงช้างมากอันใด เมื่อ[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
หลักการปกครองโดยกฎหมาย หรือหลักนิติรัฐ ซึ่งเป็นหลักการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของราษฎรเป็นสำคัญ ภายใต้หลักการนี้หน่วยงานของรัฐฝ่ายปกครองจะใช้อำนาจของตนจำกัดสิทธิเสรีภาพของราษฎรได้ต่อเมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจจำกัดสิทธิเสรีภาพของราษฎรไว้อย่างชัดแจ้งเท่านั้น หากไม่มีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจใดไว้เจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายปกครองย่อมไม่มีอำนาจที่จะกระทำการได้ หลักการปกครองโดยกฎหมายจึงเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของราษฎรให้ได้รับความคุ้มครอง เพราะหากรัฐประสงค์จะจำกัดสิทธิเสรีภาพใดของราษฎร รัฐจะกระทำได้ต่อเมื่อมีกฎหมายออกมาจำกัดสิทธิเสรีภาพเช่นว่านั้นเท่านั้น
ความหมายของคำว่า “นิติรัฐ” คือ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
จากที่กล่าวมาข้างต้นพอสรุปได้ว่า สาระสำคัญของนิติรัฐอยู่ที่การประกันสิทธิเสรีภาพของราษฎรจากการใช้อำนาจตามอำเภอใจ ดังนี้
1.ในรัฐนั้นกฎหมายจะต้องอยู่เหนือสิ่งใดทั้งหมด การกระทำต่างๆ ในทางปกครองต้องเป็นไปตามกฎหมาย เนื่องจากหลักประกันสิทธิและเสรีภาพของราษฎรอยู่ที่กฎหมาย ในความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรของรัฐกับราษฎรนั้น การสั่งการให้ราษฎรกระทำการหรือละเว้นกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด จะกระทำได้ต่อเมื่อมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้อำนาจไว้อย่างชัดแจ้ง และจะต้องใช้อำนาจนั้นภายในกรอบที่กฎหมายกำหนดไว้
2.ขอบเขตแห่งอำนาจหน้าที่ของรัฐที่กำหนดไว้ตามกฎหมายจะต้องกำหนดไว้แน่นอน บรรดากฎหมายที่ให้อำนาจแก่องค์กรของรัฐในอันที่จะล่วงล้ำสิทธิและเสรีภาพของราษฎรนั้นจะต้องมีข้อความที่ระบุให้อำนาจนั้นไว้อย่างชัดเจนว่าให้องค์กรของรัฐองค์กรใดมีอำนาจล่วงล้ำสิทธิและเสรีภาพของราษฎรได้ในกรณีใด ภายในขอบเขตอย่างใด และไม่เกินขอบเขตแห่งความจำเป็นเพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์สาธารณะ
3.การควบคุมมิให้การกระทำขององค์กรของรัฐขัดต่อกฎหมาย ตุลาการผู้ทำหน้าที่ควบคุมจะต้องมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดีจากองค์กรฝ่ายบริหารและองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ กล่าวคือ ในการปฏิบัติหน้าที่ควบคุมตรวจสอบการกระทำทางปกครองนั้น องค์กรตุลาการไม่จำต้องฟังคำสั่งคำบัญชาจากองค์กรอื่นใด ทั้งนี้ เพื่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนได้รับความคุ้มครองอย่างแท้จริง
นิติรัฐอันใด เมื่อ[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แล้วเราจะสอนลูกหลานเราไปทำไม ในเมื่อสิ่งที่สอนไม่สามารถปฏิบัติได้จริง
ผมจึงยืนยันคำเดิมว่า “เผาตำราทิ้งเถอะครับ”