สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
.
ต้องรอหลังจากนั้นอีกหลายปี กว่าจะก็มีรัฐธรรมนูญที่บัญญัติหลักความเสมอภาคไว้ให้เห็นอย่างเด่นชัด ฉบับแรกคือฉบับ พ.ศ.2489 ที่ระบุว่า
มาตรา ๑๒ บุคคลย่อมมีฐานะเสมอกันตามกฎหมายฐานันดรศักดิ์โดยกำเนิดก็ดี โดยแต่งตั้งก็ดี หรือโดยประการอื่นใดก็ดี ไม่กระทำให้เกิดเอกสิทธิอย่างใดเลย
มาตรา ๑๓ บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนาหรือลัทธินิยมใดๆและย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตน เมื่อไม่ปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมือง และไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมของประชาชน
มาตรา ๑๔ บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในร่างกาย เคหะสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา การศึกษาอบรม การชุมนุมสาธารณะ การตั้งสมาคม การตั้งคระพรรคการเมือง การอาชีพ ทั้งนี้ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย
มาตรา ๑๕ บุคคลย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา ๑๖ บุคคลมีหน้าที่เคารพต่อกฎหมาย และมีหน้าที่ป้องกันประเทศ ช่วยเหลือราชการโดยทางเสียภาษี และอื่นๆภายในเงื่อนไขและโดยวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
หลังจากนั้นรัฐธรรมนูญทุกฉบับหลังจากปี 2549 ก็มีบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องสิทธิเสรีภาพ จะมีหรือตกหล่นหลักความเสมอภาค ก็ขึ้นอยู่กับว่า ฝ่ายไหนเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญ เพราะหากเป็นฝ่ายทหารที่ใช้กำลังเปลี่ยนแปลงอำนาจ หลักความเสมอภาคจะถูกเขียนไว้สั้น ใจความมีแค่ ประชาชนมีหน้าที่ทำตามกฎหมายเท่านั้น ส่วนรัฐธรรมนูญที่มาจากรัฐบาลที่ชอบธรรมมาตามระบอบ ก็เพียงแค่บัญญัติตามๆฉบับก่อนหน้าไปโดยมักบัญญัติให้ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่ากำเนิดหรือศาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญเสมอกัน
ซึ่งในความเป็นจริงการใช้กฎหมายของไทยนับตั้งแต่ที่ได้มีการนำหลักความเสมอภาคมาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับแรก ฉบับ 2489 หลักดังกล่าวแทบจะไม่ค่อยได้รับการกล่าวถึงเลย หลักความเสมอภาคจึงเป็นเพียงหลักการที่บัญญัติรับรองคุ้มครองไว้โดยไม่ก่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติแต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้พัฒนาการของหลักความเสมอภาคในระบบกฎหมายไทยจึงเป็นไปอย่างจำกัด
จากพัฒนาการของหลักความเสมอภาคที่มีอย่างจำกัดและกินระยะเวลายาวนาน นับตั้งแต่ที่ประเทศไทยได้รับมาจากระบบสากลนั้นจะเห็นได้ว่าพัฒนาการดังกล่าวมีลักษณะล่าช้าและเหมือนถูกละเลย จนกระทั่งมีการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ขึ้นพัฒนาการจึงได้มีการก้าวกระโดดอย่างเห็นได้ชัด โดยได้มีการนำแนวคิดหลักความเสมอภาคในต่างประเทศมาบัญญัติเป็นหลักความเสมอภาคในมาตรา 30 แห่งรัฐธรรมนูญ 2540 จึงทำให้มีความก้าวหน้าทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องทำความเข้าใจในแนวคิดเรื่องหลักความเสมอภาคด้วยเพื่อจะทำให้หลักการดังกล่าวบังคับใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรมซึ่งผลลัพธ์ก็จะเป็นการคุ้มครองประชาชนภายใต้หลักความเสมอภาคนั่นเอง
โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ระบุบทบัญญัติเรื่องสิทธิเสรีภาพไว้ในหมดที่ 3 40 มาตรา
(เนื้อหายาวมาก ผมเลยขอลงลิงค์ไว้ เพื่อให้ผู้ที่สนใจ โหลดมาอ่านกันนะครับ) [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
หลักความเสมอภาคนั้นมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับหลักเสรีภาพเนื่องจากเป็นหลักการที่จะทำให้การใช้เสรีภาพเป็นไปอย่างเสมอกันทุกผู้ทุกคน แต่หากเสรีภาพสามารถใช้ได้เพียงบุคคลบางคนเท่านั้นในขณะที่คนบางกลุ่มบางคนเข้าถึงไม่ได้ในกรณีดังกล่าวก็ไม่ถือว่ามีเสรีภาพแต่ประการใด
และรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับเดียวที่ออกแบบโดยคำนึงถึงหลักความเสมอภาคมากที่สุด ในขณะที่ฉบับก่อนหน้านั้น เพียงเป็นแค่ข้อความสวยหรูสั้นๆที่อยู่บนรัฐธรรมนูญเท่านั้น
ความเสมอภาคจึงเป็นฐานของเสรีภาพและเป็นหลักประกันในการทำให้เสรีภาพเกิดขึ้นได้จริง ดังนั้นหลักความเสมอภาคใต้กฎหมายจึงเป็นหลักการที่ทำให้มีการปฏิบัติต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ อย่างเท่าเทียมกันหรือไม่เลือกปฏิบัติ (non-discrimination) ทั้งนี้การปฏิบัติตามหลักความเสมอภาคนั้นจะต้องปฏิบัติต่อสิ่งที่มีสาระสำคัญเหมือนกันอย่างเท่าเทียมกัน และจะต้องปฏิบัติต่อสิ่งที่มีสาระสำคัญแตกต่างกันให้แตกต่างกันไปตามลักษณะของเรื่องนั้นๆ จึงจะทำให้เกิดความยุติธรรมภายใต้หลักความเสมอภาคขึ้นได้
แต่แล้วรัฐธรรมนูญที่คำนึงถึงหลักความเสมอภาค ในสิทธิ เสรีภาพของประชาชน ก็ถูกฉีกทิ้งโดยกลุ่มคนที่เห็นว่า ความเท่าเทียมกันในสังคม เป็นอุปสรรคต่อการครอบครองอำนาจ แล้วก็เกิดรัฐธรรมนูญ 2550 ขึ้น ซึ่งแม้จะมีการบัญญัติเรื่องสิทธิเสรีภาพไว้หลายมาตรา พอๆกับรัฐธรรมนูญ 2540 แต่ในความเป็นจริงแล้วประชาชนไม่ได้รับความเท่าเทียมกันตามที่บัญญัติไว้เลย เพราะการใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ จะถูกตีความโดยคณะ ตลก.ศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งใช้การตีความของตนเอง แย่งชิงสิทธิเสรีภาพของประชาชนไป
ดังกรณีการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเลือกตั้ง สว.ในขณะนั้น ซึ่งเป็นสิทธิเสรีภาพอันชอบธรรม ที่ตัวแทนประชาชนสามารถกระทำได้ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ กลับโดย ตลก.ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่า เป็นการล้มล้างระบอบการปกครอง และขัดต่อเจตนารมณ์ศาลรัฐธรรมนูญ
นั้นคือการแสดงให้เห็นว่า ความเสมอภาคและเท่าเทียมกันของสิทธิเสรีภาพ มิได้มีอยู่จริง ในรัฐธรรมนูญ 2550 มันก็เป็นแค่ข้อความประดับรัฐธรรมนูญเหมือนอย่างรัฐธรรมนูญในฉบับก่อนหน้านั้น ที่ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำทุกฉบับ
และคงไม่แปลกอะไรหากบทบัญญัติในส่วนของสิทธิ เสรีภาพของประชาชนจะกลุ่มคนบางกลุ่มตั้งหน่วยงานมากีดกันประชาชนมิให้ได้ใช้ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญอีกครั้ง เพราะในรัฐธรรมนูญที่ประชาชนมิได้มีส่วนร่วมในการจัดทำ เพราะมันเป็นเช่นนี้มาตลอดเวลาในสังคมการเมืองของประเทศเรา
*ป.ล. ต่อเนื่องกันด้วยการชี้ประเด็นเข้าสู่การคาดการณ์หน้าตาของรัฐธรรมนูญที่จะออกมา และตั้งข้อสังเกตถึง จุดประสงค์ ของผู้ที่ต้องการให้รัฐธรรมนูญ เป็นเพียงเครื่องมือของตนเอง มิใช่กฎหมายสูงสุดของคนทั้งประเทศ ซึ่งไม่รู้ ล็อคอิน จะอยู่ได้จนเขียนจบทุกบทความตามที่ตั้งใจหรือเปล่านะครับ คงต้องติดตามกัน
ขอบคุณครับ
นายพระรอง
ทิ้งท้าย
บทความนี้คือการนำเสนอทัศนะความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ที่มีต่อการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะวิเคราะห์ เจาะลึกดูว่า สิ่งที่คณะผู้ได้อำนาจมาโดยวิธีนอกระบอบต้องการ คืออะไร..? และเนื่องจากข้อมูล เหตุผลในการนำเสนอ นั้นมาจากหลักฐานที่มีอยู่จริง และหลักฐานที่ผู้เขียนจะยกนำมาแสดงนั้น ล้วนแต่มีเนื้อหาที่ค่อนข้างยาว ประกอบกับผู้เขียนเองก็มีสไตล์การเขียนที่เน้นความครบถ้วนของทุกองค์ประกอบ ทำให้บทความชุดนี้ ต้องถูกแบ่งเนื้อหาออกเป็นตอน เพื่อง่ายแก่การนำเสนอและแสงความเห็นของผู้อ่าน เพื่อเราจะได้ถกสาระกันเป็นส่วนๆ วิเคราะห์ไปด้วยกันว่า ผู้อ่านได้มองจุดประสงค์ของการกระทำคนบางกลุ่ม ตรงกันหรือแตกต่างจากที่ผู้เขียนคิดหรือไม่
และผู้เขียนได้แบ่งตามเนื้อหาที่เกี่ยวเนื่องกับการนำมาวิเคราะห์เหตุผลและจุดประสงค์ที่คนบางกลุ่ม อยากให้เกิดรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดในระบอบประชาธิปไตย เอามาใช้เป็นบรรทัดฐานของการอยู่ร่วมกันในสังคมของประชาชน
โดยแบ่งออกเป็นตอนๆตามเนื้อหาดังนี้
ตอนที่ 1 องค์กรอิสระ ศาลพิเศษ หรือศาลเตี้ยที่ไร้ความยุติธรรม http://ppantip.com/topic/34635478
ตอนที่ 2 กติกาของตัวแทน การแข่งขันที่ต้องการผู้ชนะที่พร้อมจะเป็นพวกเดียวกัน http://ppantip.com/topic/34639543
ตอนที่ 3 สิทธิ เสรีภาพ ที่มีความเท่าเทียมเฉพาะตัวหนังสือ
ตอนที่ 4 ชนชั้นปกครอง อำนาจที่สืบต่อเฉพาะคนบางกลุ่ม
ตอนที่ 5 รูปร่างที่แท้จริง เมื่อผลักดันให้ร่างรัฐธรรมนูญนี้ ผ่านการยอมรับ
และผู้เขียนขอลงทีละตอน วันละครั้ง เนื่องจากยังเขียนไม่เสร็จสมบูรณ์ ในทุกตอน บางตอนยังมีแค่หัวข้อและประเด็นที่คิดจะเขียนเท่านั้น จึงต้องทยอยเขียนไปพลางโพสต์ไปพลาง มาแลกเปลี่ยนทัศนะกับท่านผู้อ่านทีละส่วน และคาดว่าคงใช้เวลาไม่นานเกินไปนักก็น่าจะเขียนจบอย่างที่ตั้งใจไว้ (หากไม่เกิดอุบัติเหตุ ถูกอุ้มไปเสียก่อน) ท่านผู้อ่านผู้ที่สนใจคงได้รับรู้เรื่องราวต่างๆที่เอ่ยมา ในมุมมองของผู้เขียน
ต้องรอหลังจากนั้นอีกหลายปี กว่าจะก็มีรัฐธรรมนูญที่บัญญัติหลักความเสมอภาคไว้ให้เห็นอย่างเด่นชัด ฉบับแรกคือฉบับ พ.ศ.2489 ที่ระบุว่า
มาตรา ๑๒ บุคคลย่อมมีฐานะเสมอกันตามกฎหมายฐานันดรศักดิ์โดยกำเนิดก็ดี โดยแต่งตั้งก็ดี หรือโดยประการอื่นใดก็ดี ไม่กระทำให้เกิดเอกสิทธิอย่างใดเลย
มาตรา ๑๓ บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนาหรือลัทธินิยมใดๆและย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตน เมื่อไม่ปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมือง และไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมของประชาชน
มาตรา ๑๔ บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในร่างกาย เคหะสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา การศึกษาอบรม การชุมนุมสาธารณะ การตั้งสมาคม การตั้งคระพรรคการเมือง การอาชีพ ทั้งนี้ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย
มาตรา ๑๕ บุคคลย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา ๑๖ บุคคลมีหน้าที่เคารพต่อกฎหมาย และมีหน้าที่ป้องกันประเทศ ช่วยเหลือราชการโดยทางเสียภาษี และอื่นๆภายในเงื่อนไขและโดยวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
หลังจากนั้นรัฐธรรมนูญทุกฉบับหลังจากปี 2549 ก็มีบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องสิทธิเสรีภาพ จะมีหรือตกหล่นหลักความเสมอภาค ก็ขึ้นอยู่กับว่า ฝ่ายไหนเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญ เพราะหากเป็นฝ่ายทหารที่ใช้กำลังเปลี่ยนแปลงอำนาจ หลักความเสมอภาคจะถูกเขียนไว้สั้น ใจความมีแค่ ประชาชนมีหน้าที่ทำตามกฎหมายเท่านั้น ส่วนรัฐธรรมนูญที่มาจากรัฐบาลที่ชอบธรรมมาตามระบอบ ก็เพียงแค่บัญญัติตามๆฉบับก่อนหน้าไปโดยมักบัญญัติให้ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่ากำเนิดหรือศาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญเสมอกัน
ซึ่งในความเป็นจริงการใช้กฎหมายของไทยนับตั้งแต่ที่ได้มีการนำหลักความเสมอภาคมาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับแรก ฉบับ 2489 หลักดังกล่าวแทบจะไม่ค่อยได้รับการกล่าวถึงเลย หลักความเสมอภาคจึงเป็นเพียงหลักการที่บัญญัติรับรองคุ้มครองไว้โดยไม่ก่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติแต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้พัฒนาการของหลักความเสมอภาคในระบบกฎหมายไทยจึงเป็นไปอย่างจำกัด
จากพัฒนาการของหลักความเสมอภาคที่มีอย่างจำกัดและกินระยะเวลายาวนาน นับตั้งแต่ที่ประเทศไทยได้รับมาจากระบบสากลนั้นจะเห็นได้ว่าพัฒนาการดังกล่าวมีลักษณะล่าช้าและเหมือนถูกละเลย จนกระทั่งมีการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ขึ้นพัฒนาการจึงได้มีการก้าวกระโดดอย่างเห็นได้ชัด โดยได้มีการนำแนวคิดหลักความเสมอภาคในต่างประเทศมาบัญญัติเป็นหลักความเสมอภาคในมาตรา 30 แห่งรัฐธรรมนูญ 2540 จึงทำให้มีความก้าวหน้าทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องทำความเข้าใจในแนวคิดเรื่องหลักความเสมอภาคด้วยเพื่อจะทำให้หลักการดังกล่าวบังคับใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรมซึ่งผลลัพธ์ก็จะเป็นการคุ้มครองประชาชนภายใต้หลักความเสมอภาคนั่นเอง
โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ระบุบทบัญญัติเรื่องสิทธิเสรีภาพไว้ในหมดที่ 3 40 มาตรา
(เนื้อหายาวมาก ผมเลยขอลงลิงค์ไว้ เพื่อให้ผู้ที่สนใจ โหลดมาอ่านกันนะครับ) [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
หลักความเสมอภาคนั้นมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับหลักเสรีภาพเนื่องจากเป็นหลักการที่จะทำให้การใช้เสรีภาพเป็นไปอย่างเสมอกันทุกผู้ทุกคน แต่หากเสรีภาพสามารถใช้ได้เพียงบุคคลบางคนเท่านั้นในขณะที่คนบางกลุ่มบางคนเข้าถึงไม่ได้ในกรณีดังกล่าวก็ไม่ถือว่ามีเสรีภาพแต่ประการใด
และรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับเดียวที่ออกแบบโดยคำนึงถึงหลักความเสมอภาคมากที่สุด ในขณะที่ฉบับก่อนหน้านั้น เพียงเป็นแค่ข้อความสวยหรูสั้นๆที่อยู่บนรัฐธรรมนูญเท่านั้น
ความเสมอภาคจึงเป็นฐานของเสรีภาพและเป็นหลักประกันในการทำให้เสรีภาพเกิดขึ้นได้จริง ดังนั้นหลักความเสมอภาคใต้กฎหมายจึงเป็นหลักการที่ทำให้มีการปฏิบัติต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ อย่างเท่าเทียมกันหรือไม่เลือกปฏิบัติ (non-discrimination) ทั้งนี้การปฏิบัติตามหลักความเสมอภาคนั้นจะต้องปฏิบัติต่อสิ่งที่มีสาระสำคัญเหมือนกันอย่างเท่าเทียมกัน และจะต้องปฏิบัติต่อสิ่งที่มีสาระสำคัญแตกต่างกันให้แตกต่างกันไปตามลักษณะของเรื่องนั้นๆ จึงจะทำให้เกิดความยุติธรรมภายใต้หลักความเสมอภาคขึ้นได้
แต่แล้วรัฐธรรมนูญที่คำนึงถึงหลักความเสมอภาค ในสิทธิ เสรีภาพของประชาชน ก็ถูกฉีกทิ้งโดยกลุ่มคนที่เห็นว่า ความเท่าเทียมกันในสังคม เป็นอุปสรรคต่อการครอบครองอำนาจ แล้วก็เกิดรัฐธรรมนูญ 2550 ขึ้น ซึ่งแม้จะมีการบัญญัติเรื่องสิทธิเสรีภาพไว้หลายมาตรา พอๆกับรัฐธรรมนูญ 2540 แต่ในความเป็นจริงแล้วประชาชนไม่ได้รับความเท่าเทียมกันตามที่บัญญัติไว้เลย เพราะการใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ จะถูกตีความโดยคณะ ตลก.ศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งใช้การตีความของตนเอง แย่งชิงสิทธิเสรีภาพของประชาชนไป
ดังกรณีการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเลือกตั้ง สว.ในขณะนั้น ซึ่งเป็นสิทธิเสรีภาพอันชอบธรรม ที่ตัวแทนประชาชนสามารถกระทำได้ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ กลับโดย ตลก.ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่า เป็นการล้มล้างระบอบการปกครอง และขัดต่อเจตนารมณ์ศาลรัฐธรรมนูญ
นั้นคือการแสดงให้เห็นว่า ความเสมอภาคและเท่าเทียมกันของสิทธิเสรีภาพ มิได้มีอยู่จริง ในรัฐธรรมนูญ 2550 มันก็เป็นแค่ข้อความประดับรัฐธรรมนูญเหมือนอย่างรัฐธรรมนูญในฉบับก่อนหน้านั้น ที่ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำทุกฉบับ
และคงไม่แปลกอะไรหากบทบัญญัติในส่วนของสิทธิ เสรีภาพของประชาชนจะกลุ่มคนบางกลุ่มตั้งหน่วยงานมากีดกันประชาชนมิให้ได้ใช้ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญอีกครั้ง เพราะในรัฐธรรมนูญที่ประชาชนมิได้มีส่วนร่วมในการจัดทำ เพราะมันเป็นเช่นนี้มาตลอดเวลาในสังคมการเมืองของประเทศเรา
*ป.ล. ต่อเนื่องกันด้วยการชี้ประเด็นเข้าสู่การคาดการณ์หน้าตาของรัฐธรรมนูญที่จะออกมา และตั้งข้อสังเกตถึง จุดประสงค์ ของผู้ที่ต้องการให้รัฐธรรมนูญ เป็นเพียงเครื่องมือของตนเอง มิใช่กฎหมายสูงสุดของคนทั้งประเทศ ซึ่งไม่รู้ ล็อคอิน จะอยู่ได้จนเขียนจบทุกบทความตามที่ตั้งใจหรือเปล่านะครับ คงต้องติดตามกัน
ขอบคุณครับ
นายพระรอง
ทิ้งท้าย
บทความนี้คือการนำเสนอทัศนะความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ที่มีต่อการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะวิเคราะห์ เจาะลึกดูว่า สิ่งที่คณะผู้ได้อำนาจมาโดยวิธีนอกระบอบต้องการ คืออะไร..? และเนื่องจากข้อมูล เหตุผลในการนำเสนอ นั้นมาจากหลักฐานที่มีอยู่จริง และหลักฐานที่ผู้เขียนจะยกนำมาแสดงนั้น ล้วนแต่มีเนื้อหาที่ค่อนข้างยาว ประกอบกับผู้เขียนเองก็มีสไตล์การเขียนที่เน้นความครบถ้วนของทุกองค์ประกอบ ทำให้บทความชุดนี้ ต้องถูกแบ่งเนื้อหาออกเป็นตอน เพื่อง่ายแก่การนำเสนอและแสงความเห็นของผู้อ่าน เพื่อเราจะได้ถกสาระกันเป็นส่วนๆ วิเคราะห์ไปด้วยกันว่า ผู้อ่านได้มองจุดประสงค์ของการกระทำคนบางกลุ่ม ตรงกันหรือแตกต่างจากที่ผู้เขียนคิดหรือไม่
และผู้เขียนได้แบ่งตามเนื้อหาที่เกี่ยวเนื่องกับการนำมาวิเคราะห์เหตุผลและจุดประสงค์ที่คนบางกลุ่ม อยากให้เกิดรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดในระบอบประชาธิปไตย เอามาใช้เป็นบรรทัดฐานของการอยู่ร่วมกันในสังคมของประชาชน
โดยแบ่งออกเป็นตอนๆตามเนื้อหาดังนี้
ตอนที่ 1 องค์กรอิสระ ศาลพิเศษ หรือศาลเตี้ยที่ไร้ความยุติธรรม http://ppantip.com/topic/34635478
ตอนที่ 2 กติกาของตัวแทน การแข่งขันที่ต้องการผู้ชนะที่พร้อมจะเป็นพวกเดียวกัน http://ppantip.com/topic/34639543
ตอนที่ 3 สิทธิ เสรีภาพ ที่มีความเท่าเทียมเฉพาะตัวหนังสือ
ตอนที่ 4 ชนชั้นปกครอง อำนาจที่สืบต่อเฉพาะคนบางกลุ่ม
ตอนที่ 5 รูปร่างที่แท้จริง เมื่อผลักดันให้ร่างรัฐธรรมนูญนี้ ผ่านการยอมรับ
และผู้เขียนขอลงทีละตอน วันละครั้ง เนื่องจากยังเขียนไม่เสร็จสมบูรณ์ ในทุกตอน บางตอนยังมีแค่หัวข้อและประเด็นที่คิดจะเขียนเท่านั้น จึงต้องทยอยเขียนไปพลางโพสต์ไปพลาง มาแลกเปลี่ยนทัศนะกับท่านผู้อ่านทีละส่วน และคาดว่าคงใช้เวลาไม่นานเกินไปนักก็น่าจะเขียนจบอย่างที่ตั้งใจไว้ (หากไม่เกิดอุบัติเหตุ ถูกอุ้มไปเสียก่อน) ท่านผู้อ่านผู้ที่สนใจคงได้รับรู้เรื่องราวต่างๆที่เอ่ยมา ในมุมมองของผู้เขียน
แสดงความคิดเห็น
(บทความ..นายพระรอง) เจาะลึกรัฐธรรมนูญ ตอน3 สิ่งที่คนบางกลุ่มโหยหาและอยากนำมาบังคับใช้กับสังคม
สิทธิมนุษยชน (Human Right) หมายถึง สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง ทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้ โดยได้รับการ คุ้มครองตามกฏหมายของแต่ละประเทศในระบอบประชาธิปไตย
ซึ่งส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Dignity) หมายถึง คุณสมบัติ จิตใจ สิทธิเฉพาะตัวที่พึงสงวนของมนุษย์ทุกคน และรักษาไว้มิให้บุคคลอื่นมาล่วงละเมิดได้ การถูกละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จึงเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการคุ้มครองและได้รับความยุติธรรมจากรัฐ
สาเหตุที่มนุษย์ต้องได้รับความคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เกิดจาก
1. มนุษย์ทุกคนเกิดมาแล้วย่อมมีสิทธิในตัวเอง
2. มนุษย์เป็นสัตว์สังคม
3. มนุษย์มีเกียรติภูมิที่เกิดมาเป็นมนุษย์
4. มนุษย์ทุกคนเกิดมามีฐานะไม่เท่าเทียมกัน
หลักการสำคัญที่สุดของสิทธิมนุษยชน คือ มนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้รับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้ และกำหนดให้รัฐบาล ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐดำเนินการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประชาชนทุกคน แต่ในความเป็นจริงแล้วข้อความที่ปรากฏบนรัฐธรรมนูญ 2550 ไม่เคยถูกนำมาปฏิบัติโดยเจ้าหน้าที่รัฐเลย
และไม่ใช่เฉพาะรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดเท่านั้น ที่ความเท่าเทียมกันของสิทธิมนุษยชน เป้นพียงข้อความประดับให้สวยหรูอยู่บนรัฐธรรมนูญก่อนหน้านั้นเกือบทุกฉบับ
หากอยากรู้ว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น บทความนี้อาจมีคำตอบให้สำหรับท่านที่เข้ามาอ่าน
สิ่งที่สำคัญที่สุดในการบัญญัติเรื่องสิทธิ เสรีภาพ ของประชาชนไว้บนรัฐธรรมนูญ คือ หลักความเสมอภาค ซึ่งหลักความเสมอภาคถือว่าเป็นหลักพื้นฐานของศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ซึ่งมนุษย์ย่อมได้รับการรับรองและคุ้มครองจากกฎหมายอย่างเท่าเทียมกันในฐานะที่เป็นมนุษย์โดยมิต้องคำนึงถึงคุณสมบัติอื่นๆ อาทิเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ถิ่นกำเนิด เป็นต้น และขณะเดียวกันก็ถือได้ว่าหลักความเสมอภาคนี้เป็นหลักที่ควบคุมมิให้รัฐใช้อำนาจของตนตามอำเภอใจโดยการใช้อำนาจของรัฐแก่กลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่งรัฐต้องสามารถอธิบายได้ว่าเพราะเหตุใดรัฐจึงกระทำการอันก่อให้เกิดผลกระทบหรือเป็นการให้ประโยชน์แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งนั้นโดยเฉพาะ หากการให้เหตุผลไม่อาจรับฟังได้แสดงว่าการใช้อำนาจของรัฐนั้นเป็นไปตามอำเภอใจ ดังนั้นหลักความเสมอภาคจึงเป็นหลักสำคัญในการรับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและสามารถนำมาตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐไม่ว่าจะเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการได้
ที่มาและแนวความคิดของหลักความเสมอภาค
การศึกษาถึงหลักความเสมอภาคนั้นในเบื้องต้นนั้นย่อมต้องศึกษาถึงแนวคิดและพัฒนาการเป็นอันพื้นฐานของหลักความเสมอภาค ดังนี้
1 รากฐานแนวคิดของหลักความเสมอภาค
แนวคิดทางกฎหมายของหลักความเสมอภาคในปัจจุบันได้รับการรับรองอย่างชัดแจ้งโดยถือว่าบุคคลย่อมมีความเสมอภาคที่จะได้รับการรับรองและคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน (Fairness) ซึ่งหมายถึง “หลักความเสมอภาคเบื้องหน้ากฎหมาย” (Equality before the law) ที่เป็นการยอมรับสิทธิเสรีภาพอันเป็นสาระสำคัญของความเป็นมนุษย์ที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่กำเนิดและไม่อาจพรากไปได้ จึงเป็นการแสดงให้เห็นถึงการยอมรับตามทฤษฎีกฎหมายธรรมชาติ (Natural law) ซึ่งผู้ที่มีความคิดเช่นนี้ได้แสดงความคิดเห็นต่อต้านลัทธิสมบูรณาญาสิทธิราชย์โดยต้องการกีดกันพระมหากษัตริย์ไม่ให้ใช้พระราชอำนาจผิดทำนองคลองธรรมโดยอ้างถึงหลักกฎหมายที่ว่า “บุคคลทุ
กคนเกิดมาย่อมเสมอภาคกันและมีสิทธิบางประการ เช่น สิทธิในชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน ติดตัวมาสิทธินี้ไม่สามารถจำหน่ายจ่ายโอนได้”
และหลักกฎหมายธรรมชาตินี้ยังเป็นแนวความคิดที่สอดคล้องกับสิทธิปัจเจกชนนิยม (Individualism) ในสมัยนั้นด้วยโดยได้ให้ความสำคัญกับปัจเจกชนและสิทธิทั้งหลายของปัจเจกชนซึ่งจุดกำเนิดของระบบปัจเจกชนนิยมในทางกฎหมายมหาชนคือ คำประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมืองฝรั่งเศส ลงวันที่ 26 สิงหาคม 1789 โดยการปฏิวัติปี 1789 นี้ได้ยกเลิกระบอบกษัตริย์ที่ปกครองด้วยระบบศักดินาซึ่งบุคคลขึ้นอยู่กับฐานันดรและชนชั้นที่ตนสังกัด แต่ผู้ปฏิวัติได้ยกความสำคัญของปัจเจกชนขึ้นแทน โดยคำประกาศนี้ให้ความสำคัญกับคนแต่ละคนรวมทั้งสิทธิเสรีภาพของบุคคลนั้นว่าเป็นหัวใจของสังคม ตามทฤษฎีนี้ถือว่าหัวใจของสังคมอยู่ที่การยอมรับคุณค่าของทุกคนแต่ละคนรวมกันเป็นสังคม รัฐหรือสังคมไม่สามารถก้าวก่ายสิทธิของเขาได้ เว้นเพื่อประโยชน์ส่วนร่วม2 อันจะเห็นได้จากคำประกาศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและพลเมืองปี ค.ศ.1789 ซึ่งมีข้อความว่า “มนุษย์เกิดมาและมีชีวิตอยู่โดยอิสระและโดยเสมอกันภายใต้กฎหมายความแตกต่างในสังคมจะมีได้ก็เพื่อประโยชน์อันร่วมกัน” ต่อมาความคิดที่ว่ามนุษย์เกิดมาย่อมเสมอภาคกันตามปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนปีค.ศ.1789 นี้ได้รับการยืนยันและขยายความโดยอารัมภบทของรัฐธรรมนูญปี 1946 และปัจจุบันหลักการดังกล่าวได้ปรากฎอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณะรัฐฝรั่งเศสฉบับลงวันที่ 3 มิถุนายน 1958 โดยได้แสดงความยึดมั่นในหลักสิทธิมนุษยชนและหลักอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติโดยรัฐธรรมนูญปี 1958 ได้ยืนยันปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและพลเมืองปี 1789 และอารัมภบทของรัฐธรรมนูญปี 1946 ไว้ด้วย
ดังนั้นจึงถือได้ว่าความคิดที่เป็นรากฐานของหลักความเสมอภาคภายใต้รัฐธรรมนูญและหลักความเสมอภาคภายใต้กฎหมายจึงเป็นเรื่องเดียวกัน คือเรื่องหลักความเสมอภาคซึ่งเป็นรากฐานของระบอบประชาธิปไตยดังจะเห็นได้จากอุดมคติในการปกครองของสาธารณะรัฐฝรั่งเศสอันได้แก่ เสรีภาพ เสมอภาค และภารดรภาพ3 ประกอบกับมาตรา 1 แห่งรัฐธรรมนูญนี้ที่ได้รับรองถึงความเสมอภาคตามกฎหมายของประชาชนโดยไม่แบ่งแยกแหล่งกำเนิด เชื้อชาติ หรือศาสนา สาธารณรัฐเคารพต่อความเชื่อของทุกนิกาย4 อันเป็นหลักสำคัญในการปกครองประเทศ และต่อมาประเทศต่างๆ ก็ได้นำแนวคิดดังกล่าวไประบุในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเพื่อรับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพตามหลักความเสมอภาคอย่างเป็นรูปธรรมนั่นเอง
2 วิวัฒนาการแนวคิดของหลักความเสมอภาค
แนวความคิดเรื่องความเสมอภาคในสมัยดั้งเดิมนั้นเกิดจากคำสอนของศาสนาคริสต์ที่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจและระบบทาสที่มีอยู่ในยุคโรมัน และต่อมาในสมัยกลางระบบศักดินาได้ยกเลิกแนวคิดเรื่องความเสมอภาค โดยสร้างลำดับชั้นของสังคมขึ้นซึ่งแปรผันตามที่ดินและเจ้าของที่ดินเจ้าศักดินา แต่อย่างไรก็ตามความไม่เสมอภาคดังกล่าวในสมัยกลางค่อยๆเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเกิดชนชั้นกลางที่เข้มแข็งขึ้นจนนำไปสู่การเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงความไม่เสมอภาคทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
ซึ่งต่อมาได้มีเอกสารที่แสดงออกถึงหลักความเสมอภาคที่ดีที่สุดคือปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและพลเมืองฝรั่งเศส ลงวันที่ 26 สิงหาคม ปี ค.ศ.1789 โดยบัญญัติรับรองไว้ถึง 3 มาตราได้แก่
มาตรา 1 “มนุษย์กำเนิดและดำรงชีวิตอย่างมีอิสระและเสมอภาคกันตากฎหมาย การแบ่งแยกทางสังคมจะกระทำได้ก็แต่เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของส่วนรวม”
มาตรา 6 “กฎหมายคือการแสดงออกของเจตนารมณ์ร่วมกัน กฎหมายจะต้องเหมือนกันสำหรับทุกคนไม่ว่าจะเป็นการคุ้มครองหรือลงโทษก็ตาม พลเมืองทุกคนเท่าเทียมกันเบื้องหน้ากฎหมายและได้รับการยอมรับอย่างเท่าเทียมกันในเรื่องศักดิ์ศรี สถานะและงานภาครัฐตามความสามารถโดยปราศจากความแตกต่าง เว้นแต่เฉพาะพลังและพรสวรรค์ของแต่ละคน”
มาตรา 13 “เพื่อทำนุบำรุงกองทัพและเพื่อรายจ่ายในการดำเนินงานของรัฐ จำเป็นที่จะต้องเก็บภาษี ซึ่งจะต้องมีการกระจายภาระภาษีอย่างเท่าเทียมกันสำหรับพลเมืองทุกคนโดยคำนึงถึงความสามารถของแต่ละคน”
ในภายหลังแนวคิดของหลักความเสมอภาคดังกล่าวก็ได้ถูกนำไปบัญญัติในรัฐธรรมนูญของเกือบทุกประเทศเพื่อเป็นการรับรองหลักการดังกล่าวไว้อย่างชัดแจ้ง อาทิ
รัฐธรรมนูญฝรั่งเศส ฉบับปัจจุบัน แก้ไขเพิ่มเติมลงวันที่ 4 ตุลาคม 1958 บัญญัติถึงหลักความเสมอภาคไว้ในมาตราแรกว่า ”ฝรั่งเศสเป็นสาธารณรัฐที่แบ่งแยกมิได้ เป็นของประชาชน เป็นประชาธิปไตยและเป็นของสังคม สาธารณรัฐรับรองถึงความเสมอภาคตามกฎหมายของประชาชนโดยไม่แบ่งแยกแหล่งกำเนิดเชื้อชาติหรือศาสนา สาธารณรัฐเคารพต่อความเชื่อของทุกนิกาย”
และอีกหลายสิบประเทศก็ได้มีบทบัญญัติเรื่องสิทธิ เสรีภาพที่อ้างอิงจากหลักความเสมอภาคไว้ในรัฐธรรมนูญของประเทศตนเอง
นอกจากนี้ยังมีเอกสารระหว่างประเทศหลายฉบับที่ได้บัญญัติรับรองหลักความเสมอภาคไว้เช่นกัน เช่น ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) ,กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Convention of Civil and Political Rights) , ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิในการพัฒนา (Declaration on the Rights to Development) โดยได้ระบุหลักเกณฑ์การไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลทุกคน
จากแนวคิดหลักความเสมอภาคในระบบสากลข้างต้นได้มีอิทธิพลต่อประเทศไทยในการกำหนดบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความเสมอภาคเช่นกัน โดยก่อนการปฏิวัติการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยในปี พ.ศ.2475 นั้นประเทศไทยไม่มีการนำหลักความเสมอภาคมาใช้ในรัฐธรรมนูญแต่ประการใด ซึ่งเห็นได้จากการมีส่วนร่วมทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่ทำโดยบุคคลบางกลุ่มเท่านั้น แม้ตอนต้นคณะราษฎรทำการปฏิวัติจึงได้ร่างประกาศ 6 ประการซึ่งมีหลักความเสมอภาคอันเป็นหลักการสำคัญประการหนึ่ง
แต่เอาเข้าจริงประเทศไทย มิได้เป็นเช่นนั้นในตอนเริ่มต้น ทั้งที่ได้รับแนวคิดและเอาต่างประเทศที่ใช้การปกครองประชาธิปไตย อย่างฝรั่งเศส เป็นต้นแบบ แต่พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ.2475 ก็มิได้กล่าวถึงหลักความเสมอภาคไว้ด้วยเลย ซึ่งนักวิชาการประชาธิปไตยชื่อดังรุ่นหลังหลายคน(บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ,คำอธิบายกฎหมายมหาชนเล่ม 1 สมคิด เลิศไพฑูรย์ ,หลักความเสมอภาค,วารสารนิติศาสตร์ บรรเจิด สิงคะเนติ.สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เรื่องหลักความเสมอภาค) พยายามจะให้ความเห็นว่า อาจจะเป็นเพราะต้องการความรวดเร็วและมุ่งให้เป็นธรรมนูญฉบับชั่วคราว ทั้งอีกคณะราษฎรเห็นว่าได้ยอมรับหลักความเสมอภาคไว้ในประกาศ 6 ประการซึ่งถือเป็นปฏิญญาแห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญของสยามที่มีผลบังคับได้ดังเช่นรัฐธรรมนูญอยู่แล้วจึงไม่มีความจำเป็นต้องบัญญัติให้มีการซ้ำซ้อนแต่ประการใด
แต่สิ่งที่ปรากฏขึ้นจริง คือ ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2475 (ฉบับจริง มิใช่ฉบับชั่วคราว) มีแค่เรื่องเดียวที่บัญญัติเกี่ยวกับหลักความเสมอภาค คือบัญญัติให้ชายและหญิงมีความเสมอภาคในการออกเสียงเลือกตั้งโดยบัญญัติไว้ในมาตรา 14 ว่า “ราษฎรไม่ว่าเพศใด...ย่อมมีสิทธิออกเสียงลงมติเลือกผู้แทนหมู่บ้านได้.......”
แค่นั้นเพียงพอหรือความเท่าเทียม..?
แค่นั้นเพียงพอต่อการมีสิทธิ เสรีภาพของประชาชน กระนั้นหรือ..?
นักวิชาการรุ่นหลังที่พยายามแก้ตัวให้กับคณะราษฎร ตอบความรู้สึกตัวเองได้ไหม ว่ามันเพียงพอ..?
*อ่านต่อความเห็นถัดไปครับ