.
เนื้อหาของหลักความเสมอภาคที่ถูกสอนสั่งกันในระบบการศึกษาของไทย คือสิ่งที่ถูกกลั่นกรองและตกผลึกมาจาก ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (อังกฤษ: Universal Declaration of Human Rights หรือ UDHR) ซึ่งคือการประกาศเจตนารมณ์ในการร่วมมือระหว่างประเทศที่มีความสำคัญในการวางกรอบเบื้องต้นเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และเป็นเอกสารหลักด้านสิทธิมนุษยชนฉบับแรก ซึ่งที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ให้การรับรองตามข้อมติที่ 217 A (III) เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) โดยประเทศไทยออกเสียงสนับสนุน
ซึ่งกะทู้นี้ขอยกบางส่วนมาให้ได้อ่านประกอบเป็นความรู้
คำปรารภ ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (อังกฤษ: Universal Declaration of Human Rights หรือ UDHR)
โดยที่การยอมรับนับถือเกียรติ์ศักดิ์ประจำตัวและสิทธิเท่าเทียมกัน และโอนมิได้ของบรรดาสมาชิกทั้งหลายแห่งครอบครัวมนุษย์เป็นหลักมูลเหตุ แห่งอิสรภาพ และความยุติธรรม และสันติภาพในโลก
โดยไม่นำพาและเหยียดหยามต่อมนุษยชนยังผลให้มีการกระทำอย่างป่าเถื่อน ซึ่งเป็นการละเมิดมโนธรรมของมนุษยชาติอย่างร้ายแรง และได้มีการประกาศว่า ปฏิญญาสูงสุดของสามัญชนได้แก่ความต้องการให้มนุษย์มีชีวิตอยู่ในโลกด้วยอิสรภาพ ในการพูดและความเชื่อถือและอิสรภาพพ้นจากความหวาดกลัวและความต้องการ
โดยที่เป็นความจำเป็นอย่างที่สิทธิมนุษยชนควรได้รับความคุ้มครองโดยหลักบังคับของกฎหมาย ถ้าไม่ประสงค์จะให้คนตกอยู่ในบังคับให้หันเข้าหาขบถขัดขืนต่อทรราชและการกดขี่เป็นวิถีทางสุดท้าย
โดยที่เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะส่งเสริมวิวัฒนาการแห่งสัมพันธ์ไมตรีระหว่างนานาชาติ
โดยที่ประชาชนแห่งสหประชาชาติได้ยืนยันไว้ในกฎบัตรถึงความเชื่อมั่นในสิทธิมนุษยชน อันเป็นหลักมูลในเกียรติศักดิ์และคุณค่าของมนุษย์และสิทธิในความเท่าเทียมกันของบรรดาชายและหญิง และได้ตกลงใจที่จะส่งเสริมความก้าวหน้าทางสังคมและมาตรฐานแห่งชีวิตที่ดีขึ้นด้วยในอิสรภาพ อันกว้างขวางยิ่งขึ้น
โดยที่รัฐสมาชิกต่างปฏิญาณจะให้บรรลุถึงซึ่งการส่งเสริมการเคารพและปฏิบัติตามทั่วสากล ต่อสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพหลักมูล โดยร่วมมือกับสหประชาชาติ
โดยที่ความเข้าใจร่วมกันในสิทธิและอิสรภาพเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เพื่อให้ปฏิญญานี้สำเร็จผลเต็มบริบูรณ์
ฉะนั้น บัดนี้ สมัชชาจึงประกาศว่า
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้ เป็นมาตรฐานร่วมกันแห่งความสำเร็จสำหรับบรรดาประชาการและประชาติทั้งหลาย เพื่อจุดหมายปลายทางที่ว่า เอกชนทุกคนและองค์การสังคมทุกองค์การ โดยการรำลึกถึงปฏิญญานี้เป็นเนื่องนิจ จะบากบั่นพยายามด้วยการสอนและศึกษา ในอันที่ส่งเสริมการเคารพสิทธิและอิสรภาพเหล่านี้ และด้วยมาตรการอันก้าวหน้าทั้งในและระหว่างประเทศ ในอันที่จะส่งเสริมการเคารพสิทธิและอิสรภาพเหล่านี้ และด้วยมาตรการอันก้าวหน้าทั้งในและระหว่างประเทศ ในอันที่จะให้มีการยอมรับนับถือ และการปฏิบัติตามโดยสากลและอย่างเป็นผลจริงจัง ทั้งในบรรดาประชาชนของรัฐสมาชิกด้วยกันเอง และในบรรดาประชาชนของดินแดนที่อยู่ใต้อำนาจของรัฐนั้น ๆ
เนื้อหาปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ฉบับภาษาอังกฤษ ที่เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ http://www.mfa.go.th/humanrights/images/stories/book.pdf
ฉบับแปลไทย https://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=1&cad=rja&uact=8&ved=0ahUKEwiT_s_mqtPJAhVGC44KHfPuCh4QFggaMAA&url=http%3A%2F%2Fpioneer.netserv.chula.ac.th%2F~tpana%2FDeclratnHR.doc&usg=AFQjCNHTPrWGxpu7qCpMkLP2CTRHh8epLQ&bvm=bv.109395566,d.c2E ใจจริงอยากลงในกะทู้ แต่เนื้อหายาวเกิน ท่านใดสนใจอ่านก็ลองโหลดไปอ่านกันดูนะครับ
หลักความเสมอภาคถือว่าเป็นหลักพื้นฐานของศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ซึ่งมนุษย์ย่อมได้รับการรับรองและคุ้มครองจากกฎหมายอย่างเท่าเทียมกันในฐานะ ที่เป็นมนุษย์โดยมิต้องคำนึงถึงคุณสมบัติอื่นๆ อาทิเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ถิ่นกำเนิด เป็นต้น และขณะเดียวกันก็ถือได้ว่าหลักความเสมอภาคนี้เป็นหลักที่ควบคุมมิให้รัฐใช้ อำนาจของตนตามอำเภอใจโดยการใช้อำนาจของรัฐแก่กลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่งรัฐต้อง สามารถอธิบายได้ว่าเพราะเหตุใดรัฐจึงกระทำการอันก่อให้เกิดผลกระทบหรือเป็น การให้ประโยชน์แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งนั้นโดยเฉพาะ หากการให้เหตุผลไม่อาจรับฟังได้แสดงว่าการใช้อำนาจของรัฐนั้นเป็นไปตาม อำเภอใจ ดังนั้นหลักความเสมอภาคจึงเป็นหลักสำคัญในการรับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ของประชาชนและสามารถนำมาตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐไม่ว่าจะเป็นฝ่าย นิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการได้ แนวคิดทางกฎหมายของหลักความเสมอภาคในปัจจุบันได้รับการรับรองอย่าง ชัดแจ้งโดยถือว่าบุคคลย่อมมีความเสมอภาคที่จะได้รับการรับรองและคุ้มครองตาม กฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน (Fairness) ซึ่งหมายถึง “หลักความเสมอภาคเบื้องหน้ากฎหมาย” (Equality before the law) ที่เป็นการยอมรับสิทธิเสรีภาพอันเป็นสาระสำคัญของความเป็นมนุษย์ที่ติดตัว มนุษย์มาตั้งแต่กำเนิดและไม่อาจพรากไปได้ จึงเป็นการแสดงให้เห็นถึงการยอมรับตามทฤษฎีกฎหมายธรรมชาติ (Natural law)
หลักความเสมอภาค หรือหากจะมองในอีกแง่มุมหนึ่งแล้วก็คือสิทธิของราษฎรที่จะได้รับการปฏิบัติจากรัฐอย่างเท่าเทียมกัน มีบัญญัติรับรองไว้โดยชัดแจ้งในรัฐธรรมนูญของรัฐเสรีประชาธิปไตยแทบทุกรัฐ ตามหลักรัฐธรรมนูญนี้หลักองค์กรต่างๆ ของรัฐซึ่งรวมทั้งฝ่ายปกครองด้วย ต้องปฏิบัติต่อบุคคลที่เหมือนกันในสาระสำคัญอย่างเดียวกันและปฏิบัติต่อบุคคลที่แตกต่างกันในสาระสำคัญแตกต่างกันอกไปตามลักษณะเฉพาะของแต่ละคน การปฏิบัติต่อบุคคลที่เหมือนกันในสาระสำคัญแตกต่างกันก็ดี การปฏิบัติต่อบุคคลที่แตกต่างกันในสาระสำคัญอย่างเดียวกันก็ดี ย่อมขัดต่อหลักความเสมอภาค
หลักความเสมอภาคนั้นมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับหลักเสรีภาพเนื่อง จากเป็นหลักการที่จะทำให้การใช้เสรีภาพเป็นไปอย่างเสมอกันทุกผู้ทุกคน แต่หากเสรีภาพสามารถใช้ได้เพียงบุคคลบางคนเท่านั้นในขณะที่คนบางกลุ่มบางคน เข้าถึงไม่ได้ในกรณีดังกล่าวก็ไม่ถือว่ามีเสรีภาพแต่ประการใด ความเสมอภาคจึงเป็นฐานของเสรีภาพและเป็นหลักประกันในการทำให้เสรีภาพเกิด ขึ้นได้จริง ดังนั้นหลักความเสมอภาคใต้กฎหมายจึงเป็นหลักการที่ทำให้มีการปฏิบัติต่อ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ อย่างเท่าเทียมกันหรือไม่เลือกปฏิบัติ (non-discrimination) ทั้งนี้การปฏิบัติตามหลักความเสมอภาคนั้นจะต้องปฏิบัติต่อสิ่งที่มีสาระ สำคัญเหมือนกันอย่างเท่าเทียมกัน และจะต้องปฏิบัติต่อสิ่งที่มีสาระสำคัญแตกต่างกันให้แตกต่างกันไปตามลักษณะ ของเรื่องนั้นๆ จึงจะทำให้เกิดความยุติธรรมภายใต้หลักความเสมอภาคขึ้นได้
เนื้อหาที่กล่าวมา ถือว่าเป็นการกลั่นกรองและตกผลึก เรื่องความเสมอภาค มาจากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งก็ถือได้ว่า นักวิชาการทางกฏหมายของไทย
อธิบายความหมายทางกฏหมายได้ครบถ้วนสมบูรณ์ เหมาะสมที่ฝ่ายปกครองจำนำมาปฏิบัติ และเหมาะสมที่สถาบันการศึกษาจะนำไปเผยแพร่ใช้เป็นเนื้อหาสอนให้กับนักเรียนนักศึกษาวิชาการทางกฎหมายและการปกครอง
แต่ด้วยความที่เป็นอะไรแบบไทยๆ ที่มีวัฒนธรรมเป็นของตนเองจะทำอะไรเหมือนกับสากลนั้น ย่อมขัดกับอุปนิสัยคนไทย เพราะในเนื้อหาในบทเรียนเรื่องความเสมอภาคของไทย กลับมีการแบ่งแยกประเภทของความเสมอภาคอีกด้วย โดยแบ่งเป็น
ประเภทของหลักความเสมอภาค
หลักความเสมอภาคเมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติแห่งกฎหมายสามารถแยกประเภทของหลักความเสมอภาคได้ 2 ประเภทดังนี้
1 หลักความเสมอภาคทั่วไป
หลักความเสมอภาคทั่วไปเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลทุกคนที่อาจกล่าว อ้างกับการกระทำใดๆของรัฐได้ หากเรื่องนั้นมิได้มีการกำหนดไว้ในหลักความเสมอภาคเฉพาะเรื่อง แต่หากเรื่องใดมีหลักความเสมอภาคเฉพาะเรื่องกำหนดไว้แล้วก็ให้พิจารณาไปตาม หลักความเสมอภาคเฉพาะเรื่องนั้นๆ
2 หลักความเสมอภาคเฉพาะเรื่อง (**นี้คือบ่อเกิดปัญหาที่แท้จริงของเรื่องความเสมอภาคในความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนบทความ**)
หลักความเสมอภาคเฉพาะเรื่องคือ หลักความเสมอภาคที่ใช้เฉพาะภายในขอบเขตเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะ เช่น หลักความเสมอภาคเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับชายและหญิง เป็นต้น
ความสัมพันธ์ระหว่างหลักความเสมอภาคทั่วไปกับหลักความเสมอภาคเฉพาะ เรื่องนั้น ถือได้ว่าหลักความเสมอภาคทั่วไปเป็นพื้นฐานของหลักความเสมอภาคเฉพาะเรื่อง แต่หลักความเสมอภาคทั่วไปนั้นสามารถนำไปใช้ได้กับทุกๆเรื่องโดยไม่จำกัดขอบ เขตเรื่องใดเรื่องหนึ่งและบุคคลทุกๆคนย่อมอ้างหลักความเสมอภาคทั่วไปได้ ส่วนหลักความเสมอภาคเฉพาะเรื่องอาจถูกจำกัดโดยใช้เฉพาะเรื่องหรือเฉพาะกลุ่ม บุคคลที่รัฐธรรมนูญมุ่งคุ้มครองเท่านั้น โดยหลักความเสมอภาคเฉพาะเรื่องนั้นยังถือเป็นหลักกฎหมายพิเศษซึ่งย่อมมาก่อน หลักความเสมอภาคทั่วไป ถ้ากฎเกณฑ์ใดได้รับการพิจารณาหลักความเสมอภาคเฉพาะเรื่องแล้วก็ไม่จำต้องนำ มาพิจารณาตามหลักความเสมอภาคทั่วไปอีก
เท่านั้นยังไม่พอ หลักความเสมอภาคในประเทศไทย ยังสามารถแบ่งได้ตามประเภทของการบังคับใช้ได้อีกด้วย
และด้วยเหตุนี้เอง จึงไม่น่าแปลกใจที่เรามี รัฐธรรมนูญทุกฉบับที่กล่าวถึง ความเสมอภาค เท่าเทียมกันทางกฎหมาย แต่ในความเป็นจริงแล้ว ความเสมอภาคของคนไทยนั้น เป็นเพียงคำที่ถูกปรุงแต่งโดยกลุ่มคนที่มุ่งหวังจะให้ตนมีสิทธิพิเศษทางกฎหมายเหนือคนอื่นเท่านั้น
ไม่ต้องถามด้วยคำประชดประชันที่ว่า
ประเทศเราลงนามสนับสนุนปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนทำไม..? เมื่อลงนามแล้วไม่คิดจะปฏิบัติให้เกิดขึ้นจริง
หรือคงไม่ต้องกล่าวถึงเหตุการณ์หลายๆอย่าง
ที่แสดงให้เห็นถึงการเอารัดเอาเปรียบผู้อื่นอย่างโจ่งแจ้งทางกฎหมาย ที่หยิบมากล่าวได้เป็นร้อยเรื่อง ไม่ใช่ผู้เขียนจะกลัวว่าหากกล่าวถึงเรื่องดังกล่าวแล้วเนื้อหาของบทความจะยาวมากกว่านี้จนไม่มีคนอ่าน แต่เพราะผู้เขียนรู้ดีว่า หากกล่าวถึงก็คงเป็นเหตุให้บทความนี้ปลิวไปเสียเปล่าๆ จึงขอไม่กล่าวถึง
บทความนี้ จึงไม่แปลกที่ผมจะสรุปว่า
คนไทยไม่เคยเสมอภาคกันเลย ด้วยความเป็นอะไรแบบไทยๆ เพราะขนาดตำราเรียน ยังสอนให้ผู้เรียนมีทางเลือกที่จะใช้วิธีพิเศษ อย่างความเสมอภาคเฉพาะเรื่อง มาสร้างความได้เปรียบผู้อื่นทางกฎหมายและทางปฏิบัติอยู่ตลอดเวลา
ป.ล.ตอนแรกผู้เขียนตั้งใจจะหยุดเขียนไปสักระยะ รอให้เหตุการณ์บ้านเมืองรวมทั้ง อคติในใจคน มีทิศทางดีขึ้นกว่าปัจจุบันนี้ก่อน แต่เมื่อพิจารณาด้วยตัวเองอย่างท่องแท้แล้ว หากผู้เขียนกระทำเช่นตั้งใจ ก็เหมือนว่าผู้เขียนทำเพื่อตัวเองเท่านั้น แต่หากยังเลือกที่จะอยู่เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้อ่าน ไม่ถมเติมอคติให้มากยิ่งขึ้น ก็เหมือนว่าตัวผู้เขียนเองได้ทำอะไรให้กับสังคมบ้าง ไม่ได้คิดถึงแค่ตัวเอง จึงเลือกที่จะกลับมาเขียนอีกครั้ง ทั้งๆที่เพิ่งประกาศวางปากกาไป และไม่สนใจว่าจะมีคนสนใจมากน้อยแค่ไหน สนใจแค่ว่าบทความของผู้เขียนเอง จะให้สาระประโยชน์กับผู้อ่านที่มีจำนวนน้อยนิดได้มากน้อยเพียงใด
ขอบคุณครับ
(บทความ) ความเสมอภาค ทีมีความหมายแค่ตัวอักษร
เนื้อหาของหลักความเสมอภาคที่ถูกสอนสั่งกันในระบบการศึกษาของไทย คือสิ่งที่ถูกกลั่นกรองและตกผลึกมาจาก ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (อังกฤษ: Universal Declaration of Human Rights หรือ UDHR) ซึ่งคือการประกาศเจตนารมณ์ในการร่วมมือระหว่างประเทศที่มีความสำคัญในการวางกรอบเบื้องต้นเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และเป็นเอกสารหลักด้านสิทธิมนุษยชนฉบับแรก ซึ่งที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ให้การรับรองตามข้อมติที่ 217 A (III) เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) โดยประเทศไทยออกเสียงสนับสนุน
ซึ่งกะทู้นี้ขอยกบางส่วนมาให้ได้อ่านประกอบเป็นความรู้
คำปรารภ ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (อังกฤษ: Universal Declaration of Human Rights หรือ UDHR)
โดยที่การยอมรับนับถือเกียรติ์ศักดิ์ประจำตัวและสิทธิเท่าเทียมกัน และโอนมิได้ของบรรดาสมาชิกทั้งหลายแห่งครอบครัวมนุษย์เป็นหลักมูลเหตุ แห่งอิสรภาพ และความยุติธรรม และสันติภาพในโลก
โดยไม่นำพาและเหยียดหยามต่อมนุษยชนยังผลให้มีการกระทำอย่างป่าเถื่อน ซึ่งเป็นการละเมิดมโนธรรมของมนุษยชาติอย่างร้ายแรง และได้มีการประกาศว่า ปฏิญญาสูงสุดของสามัญชนได้แก่ความต้องการให้มนุษย์มีชีวิตอยู่ในโลกด้วยอิสรภาพ ในการพูดและความเชื่อถือและอิสรภาพพ้นจากความหวาดกลัวและความต้องการ
โดยที่เป็นความจำเป็นอย่างที่สิทธิมนุษยชนควรได้รับความคุ้มครองโดยหลักบังคับของกฎหมาย ถ้าไม่ประสงค์จะให้คนตกอยู่ในบังคับให้หันเข้าหาขบถขัดขืนต่อทรราชและการกดขี่เป็นวิถีทางสุดท้าย
โดยที่เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะส่งเสริมวิวัฒนาการแห่งสัมพันธ์ไมตรีระหว่างนานาชาติ
โดยที่ประชาชนแห่งสหประชาชาติได้ยืนยันไว้ในกฎบัตรถึงความเชื่อมั่นในสิทธิมนุษยชน อันเป็นหลักมูลในเกียรติศักดิ์และคุณค่าของมนุษย์และสิทธิในความเท่าเทียมกันของบรรดาชายและหญิง และได้ตกลงใจที่จะส่งเสริมความก้าวหน้าทางสังคมและมาตรฐานแห่งชีวิตที่ดีขึ้นด้วยในอิสรภาพ อันกว้างขวางยิ่งขึ้น
โดยที่รัฐสมาชิกต่างปฏิญาณจะให้บรรลุถึงซึ่งการส่งเสริมการเคารพและปฏิบัติตามทั่วสากล ต่อสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพหลักมูล โดยร่วมมือกับสหประชาชาติ
โดยที่ความเข้าใจร่วมกันในสิทธิและอิสรภาพเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เพื่อให้ปฏิญญานี้สำเร็จผลเต็มบริบูรณ์
ฉะนั้น บัดนี้ สมัชชาจึงประกาศว่า
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้ เป็นมาตรฐานร่วมกันแห่งความสำเร็จสำหรับบรรดาประชาการและประชาติทั้งหลาย เพื่อจุดหมายปลายทางที่ว่า เอกชนทุกคนและองค์การสังคมทุกองค์การ โดยการรำลึกถึงปฏิญญานี้เป็นเนื่องนิจ จะบากบั่นพยายามด้วยการสอนและศึกษา ในอันที่ส่งเสริมการเคารพสิทธิและอิสรภาพเหล่านี้ และด้วยมาตรการอันก้าวหน้าทั้งในและระหว่างประเทศ ในอันที่จะส่งเสริมการเคารพสิทธิและอิสรภาพเหล่านี้ และด้วยมาตรการอันก้าวหน้าทั้งในและระหว่างประเทศ ในอันที่จะให้มีการยอมรับนับถือ และการปฏิบัติตามโดยสากลและอย่างเป็นผลจริงจัง ทั้งในบรรดาประชาชนของรัฐสมาชิกด้วยกันเอง และในบรรดาประชาชนของดินแดนที่อยู่ใต้อำนาจของรัฐนั้น ๆ
เนื้อหาปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ใจจริงอยากลงในกะทู้ แต่เนื้อหายาวเกิน ท่านใดสนใจอ่านก็ลองโหลดไปอ่านกันดูนะครับ
หลักความเสมอภาคถือว่าเป็นหลักพื้นฐานของศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ซึ่งมนุษย์ย่อมได้รับการรับรองและคุ้มครองจากกฎหมายอย่างเท่าเทียมกันในฐานะ ที่เป็นมนุษย์โดยมิต้องคำนึงถึงคุณสมบัติอื่นๆ อาทิเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ถิ่นกำเนิด เป็นต้น และขณะเดียวกันก็ถือได้ว่าหลักความเสมอภาคนี้เป็นหลักที่ควบคุมมิให้รัฐใช้ อำนาจของตนตามอำเภอใจโดยการใช้อำนาจของรัฐแก่กลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่งรัฐต้อง สามารถอธิบายได้ว่าเพราะเหตุใดรัฐจึงกระทำการอันก่อให้เกิดผลกระทบหรือเป็น การให้ประโยชน์แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งนั้นโดยเฉพาะ หากการให้เหตุผลไม่อาจรับฟังได้แสดงว่าการใช้อำนาจของรัฐนั้นเป็นไปตาม อำเภอใจ ดังนั้นหลักความเสมอภาคจึงเป็นหลักสำคัญในการรับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ของประชาชนและสามารถนำมาตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐไม่ว่าจะเป็นฝ่าย นิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการได้ แนวคิดทางกฎหมายของหลักความเสมอภาคในปัจจุบันได้รับการรับรองอย่าง ชัดแจ้งโดยถือว่าบุคคลย่อมมีความเสมอภาคที่จะได้รับการรับรองและคุ้มครองตาม กฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน (Fairness) ซึ่งหมายถึง “หลักความเสมอภาคเบื้องหน้ากฎหมาย” (Equality before the law) ที่เป็นการยอมรับสิทธิเสรีภาพอันเป็นสาระสำคัญของความเป็นมนุษย์ที่ติดตัว มนุษย์มาตั้งแต่กำเนิดและไม่อาจพรากไปได้ จึงเป็นการแสดงให้เห็นถึงการยอมรับตามทฤษฎีกฎหมายธรรมชาติ (Natural law)
หลักความเสมอภาค หรือหากจะมองในอีกแง่มุมหนึ่งแล้วก็คือสิทธิของราษฎรที่จะได้รับการปฏิบัติจากรัฐอย่างเท่าเทียมกัน มีบัญญัติรับรองไว้โดยชัดแจ้งในรัฐธรรมนูญของรัฐเสรีประชาธิปไตยแทบทุกรัฐ ตามหลักรัฐธรรมนูญนี้หลักองค์กรต่างๆ ของรัฐซึ่งรวมทั้งฝ่ายปกครองด้วย ต้องปฏิบัติต่อบุคคลที่เหมือนกันในสาระสำคัญอย่างเดียวกันและปฏิบัติต่อบุคคลที่แตกต่างกันในสาระสำคัญแตกต่างกันอกไปตามลักษณะเฉพาะของแต่ละคน การปฏิบัติต่อบุคคลที่เหมือนกันในสาระสำคัญแตกต่างกันก็ดี การปฏิบัติต่อบุคคลที่แตกต่างกันในสาระสำคัญอย่างเดียวกันก็ดี ย่อมขัดต่อหลักความเสมอภาค
หลักความเสมอภาคนั้นมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับหลักเสรีภาพเนื่อง จากเป็นหลักการที่จะทำให้การใช้เสรีภาพเป็นไปอย่างเสมอกันทุกผู้ทุกคน แต่หากเสรีภาพสามารถใช้ได้เพียงบุคคลบางคนเท่านั้นในขณะที่คนบางกลุ่มบางคน เข้าถึงไม่ได้ในกรณีดังกล่าวก็ไม่ถือว่ามีเสรีภาพแต่ประการใด ความเสมอภาคจึงเป็นฐานของเสรีภาพและเป็นหลักประกันในการทำให้เสรีภาพเกิด ขึ้นได้จริง ดังนั้นหลักความเสมอภาคใต้กฎหมายจึงเป็นหลักการที่ทำให้มีการปฏิบัติต่อ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ อย่างเท่าเทียมกันหรือไม่เลือกปฏิบัติ (non-discrimination) ทั้งนี้การปฏิบัติตามหลักความเสมอภาคนั้นจะต้องปฏิบัติต่อสิ่งที่มีสาระ สำคัญเหมือนกันอย่างเท่าเทียมกัน และจะต้องปฏิบัติต่อสิ่งที่มีสาระสำคัญแตกต่างกันให้แตกต่างกันไปตามลักษณะ ของเรื่องนั้นๆ จึงจะทำให้เกิดความยุติธรรมภายใต้หลักความเสมอภาคขึ้นได้
เนื้อหาที่กล่าวมา ถือว่าเป็นการกลั่นกรองและตกผลึก เรื่องความเสมอภาค มาจากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งก็ถือได้ว่า นักวิชาการทางกฏหมายของไทย อธิบายความหมายทางกฏหมายได้ครบถ้วนสมบูรณ์ เหมาะสมที่ฝ่ายปกครองจำนำมาปฏิบัติ และเหมาะสมที่สถาบันการศึกษาจะนำไปเผยแพร่ใช้เป็นเนื้อหาสอนให้กับนักเรียนนักศึกษาวิชาการทางกฎหมายและการปกครอง
แต่ด้วยความที่เป็นอะไรแบบไทยๆ ที่มีวัฒนธรรมเป็นของตนเองจะทำอะไรเหมือนกับสากลนั้น ย่อมขัดกับอุปนิสัยคนไทย เพราะในเนื้อหาในบทเรียนเรื่องความเสมอภาคของไทย กลับมีการแบ่งแยกประเภทของความเสมอภาคอีกด้วย โดยแบ่งเป็น
ประเภทของหลักความเสมอภาค
หลักความเสมอภาคเมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติแห่งกฎหมายสามารถแยกประเภทของหลักความเสมอภาคได้ 2 ประเภทดังนี้
1 หลักความเสมอภาคทั่วไป
หลักความเสมอภาคทั่วไปเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลทุกคนที่อาจกล่าว อ้างกับการกระทำใดๆของรัฐได้ หากเรื่องนั้นมิได้มีการกำหนดไว้ในหลักความเสมอภาคเฉพาะเรื่อง แต่หากเรื่องใดมีหลักความเสมอภาคเฉพาะเรื่องกำหนดไว้แล้วก็ให้พิจารณาไปตาม หลักความเสมอภาคเฉพาะเรื่องนั้นๆ
2 หลักความเสมอภาคเฉพาะเรื่อง (**นี้คือบ่อเกิดปัญหาที่แท้จริงของเรื่องความเสมอภาคในความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนบทความ**)
หลักความเสมอภาคเฉพาะเรื่องคือ หลักความเสมอภาคที่ใช้เฉพาะภายในขอบเขตเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะ เช่น หลักความเสมอภาคเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับชายและหญิง เป็นต้น
ความสัมพันธ์ระหว่างหลักความเสมอภาคทั่วไปกับหลักความเสมอภาคเฉพาะ เรื่องนั้น ถือได้ว่าหลักความเสมอภาคทั่วไปเป็นพื้นฐานของหลักความเสมอภาคเฉพาะเรื่อง แต่หลักความเสมอภาคทั่วไปนั้นสามารถนำไปใช้ได้กับทุกๆเรื่องโดยไม่จำกัดขอบ เขตเรื่องใดเรื่องหนึ่งและบุคคลทุกๆคนย่อมอ้างหลักความเสมอภาคทั่วไปได้ ส่วนหลักความเสมอภาคเฉพาะเรื่องอาจถูกจำกัดโดยใช้เฉพาะเรื่องหรือเฉพาะกลุ่ม บุคคลที่รัฐธรรมนูญมุ่งคุ้มครองเท่านั้น โดยหลักความเสมอภาคเฉพาะเรื่องนั้นยังถือเป็นหลักกฎหมายพิเศษซึ่งย่อมมาก่อน หลักความเสมอภาคทั่วไป ถ้ากฎเกณฑ์ใดได้รับการพิจารณาหลักความเสมอภาคเฉพาะเรื่องแล้วก็ไม่จำต้องนำ มาพิจารณาตามหลักความเสมอภาคทั่วไปอีก
เท่านั้นยังไม่พอ หลักความเสมอภาคในประเทศไทย ยังสามารถแบ่งได้ตามประเภทของการบังคับใช้ได้อีกด้วย
และด้วยเหตุนี้เอง จึงไม่น่าแปลกใจที่เรามี รัฐธรรมนูญทุกฉบับที่กล่าวถึง ความเสมอภาค เท่าเทียมกันทางกฎหมาย แต่ในความเป็นจริงแล้ว ความเสมอภาคของคนไทยนั้น เป็นเพียงคำที่ถูกปรุงแต่งโดยกลุ่มคนที่มุ่งหวังจะให้ตนมีสิทธิพิเศษทางกฎหมายเหนือคนอื่นเท่านั้น
ไม่ต้องถามด้วยคำประชดประชันที่ว่า
ประเทศเราลงนามสนับสนุนปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนทำไม..? เมื่อลงนามแล้วไม่คิดจะปฏิบัติให้เกิดขึ้นจริง
หรือคงไม่ต้องกล่าวถึงเหตุการณ์หลายๆอย่างที่แสดงให้เห็นถึงการเอารัดเอาเปรียบผู้อื่นอย่างโจ่งแจ้งทางกฎหมาย ที่หยิบมากล่าวได้เป็นร้อยเรื่อง ไม่ใช่ผู้เขียนจะกลัวว่าหากกล่าวถึงเรื่องดังกล่าวแล้วเนื้อหาของบทความจะยาวมากกว่านี้จนไม่มีคนอ่าน แต่เพราะผู้เขียนรู้ดีว่า หากกล่าวถึงก็คงเป็นเหตุให้บทความนี้ปลิวไปเสียเปล่าๆ จึงขอไม่กล่าวถึง
บทความนี้ จึงไม่แปลกที่ผมจะสรุปว่า คนไทยไม่เคยเสมอภาคกันเลย ด้วยความเป็นอะไรแบบไทยๆ เพราะขนาดตำราเรียน ยังสอนให้ผู้เรียนมีทางเลือกที่จะใช้วิธีพิเศษ อย่างความเสมอภาคเฉพาะเรื่อง มาสร้างความได้เปรียบผู้อื่นทางกฎหมายและทางปฏิบัติอยู่ตลอดเวลา
ป.ล.ตอนแรกผู้เขียนตั้งใจจะหยุดเขียนไปสักระยะ รอให้เหตุการณ์บ้านเมืองรวมทั้ง อคติในใจคน มีทิศทางดีขึ้นกว่าปัจจุบันนี้ก่อน แต่เมื่อพิจารณาด้วยตัวเองอย่างท่องแท้แล้ว หากผู้เขียนกระทำเช่นตั้งใจ ก็เหมือนว่าผู้เขียนทำเพื่อตัวเองเท่านั้น แต่หากยังเลือกที่จะอยู่เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้อ่าน ไม่ถมเติมอคติให้มากยิ่งขึ้น ก็เหมือนว่าตัวผู้เขียนเองได้ทำอะไรให้กับสังคมบ้าง ไม่ได้คิดถึงแค่ตัวเอง จึงเลือกที่จะกลับมาเขียนอีกครั้ง ทั้งๆที่เพิ่งประกาศวางปากกาไป และไม่สนใจว่าจะมีคนสนใจมากน้อยแค่ไหน สนใจแค่ว่าบทความของผู้เขียนเอง จะให้สาระประโยชน์กับผู้อ่านที่มีจำนวนน้อยนิดได้มากน้อยเพียงใด
ขอบคุณครับ