ข้อสังเกตุ ถึงการใช้ดุลย์พินิจของศาลปกครอง กรณี “จำหน่ายคดีออกจากสารบบ”

เนื้อหาที่มาของข้อสังเกตุ   http://www.posttoday.com/politic/379941

ในบทนิยามของ รธน.ฉบับชั่วคราว ได้ชี้ถึงความชัดเจนว่า “.คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงจำเป็นต้องเข้ายึดและควบคุมการปกครองประเทศเมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ และประกาศให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ สิ้นสุดลง ....” และ “.จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าให้ใช้บทบัญญัติต่อไปนี้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) จนกว่าจะได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่จะจัดทำขึ้น...

คณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นผู้ประกาศให้ รธน.๕๐ สิ้นสุดลง เป็นการกระทำอิสระ ที่มิได้เป็นการตอบสนองพระบรมราชโองการ หรือการมอบหมายสิทธิอำนาจโดย รธน.๕๐ อันหมายถึง ความชอบธรรมของ รธน.๕๐ ยังดำรงค์อยู่อย่างสมบูรณ์ด้วยความชอบธรรม ในพระราชโองการโปรดเกล้าเป็นกรณีที่ไม่มี รธน. หรือมีการสิ้นสุดการบังคับใช้ตามลักษณะคัลลองปรกติ โดยทรงโปรดเกล้าให้ใช้ รธน.ฉบับชั่วคราว ในเมื่อมิมีเหตุผลอันควรพิสูจน์ได้ว่า รธน.๕๐ ได้สิ้นสุดลงโดยคัลลองปรกติ ก็มิสามารถนำเอามาเป็นเหตุผลหรือข้อวินิจฉัยให้จำหน่ายคดีได้

และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง รธน.๕๐ ยกเว้นหมวด พระมหากษัตริย์ ที่ถูกยกเลิกไปโดยคณะรักษาความสงบ และก็มิได้รับรองความความชอบธรรมของหมวด ศาล ส่วนที่ ๔ ศาลปกครอง อันการปฎิบัติหน้าที่ตุลาการก็ยังยึดกรอบหลักของการปฎิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัติของ รธน.๕๐ อันแสดงถึงการดำรงค์อยู่ของ รธน.๕๐ เพราะถ้าตาม รธน.ฉบับชั่วคราว ไม่เพียงแต่จะมิสามารถใช้สิทธิในการพิจารณาอรรถคดีได้แล้วเท่านั้นการปฎิบัติหน้าที่โดยชอบธรรมตาม รธน.๕๐ นับแต่วันประกาศยกเลิกจะต้องเป็นอันสิ้นสุดลงด้วยเช่นกัน

ในเมื่อผู้พิพากษายึดสิทธิอันชอบธรรมจาก รธน.๕๐ มาพิจารณาคำร้องกรณีนั้นๆ รวมทั้ง รธน.ฉบับชั่วคราวก็มิได้มีข้อบัญญัติระบุกรอบของความชอบธรรมเอาไว้ ฉนั้นการพิจารณาหรือปฎิบัติหน้าที่ๆ ใช้ดุลย์พินิจหรือเหตุผลอ้างอิง ก็สมควรอยู่ในกรอบของบทบัญญัติของ รธน. ๕๐ ถูกใหมครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่