รัฐธรรมนูญ 2550 มีอายุ 5 ปีแล้ว
จากรัฐธรรมนูญที่ต้องขอร้องให้ประชา ชนลงประชามติให้ผ่านๆ ไปก่อน เพื่อให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้น แล้วให้รัฐบาลที่มาจากเลือกตั้งไปดำเนินการแก้ไข หรือ
ร่างใหม่
เวลาผ่านไป 5 ปี หลายอย่างกลายเป็นอดีตที่จำกันไม่ได้
เมื่อจะลงมือแก้ไขปรับปรุงเข้าจริง
รัฐธรรมนูญ 2550 กลายสภาพเป็นรัฐธรรมนูญที่แตะต้องไม่ได้ไปแล้ว
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2550 ก่อนหน้าการลงประชามติรับรองรัฐธรรมนูญ 2550
จะพบสภาพอันทุลักทุเลของรัฐธรรมนูญฉบับนี้
เนื่องจากต้องเผชิญกับการต่อต้านจากนักวิชาการและประชาชนอย่างรุนแรง
รวมถึง 6 อาจารย์นิติศาสตร์ธรรม ศาสตร์ ที่ออกแถลงการณ์ เมื่อวันที่ 22
ก.ค.2550 ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ
6 อาจารย์ประกอบด้วย วรเจตน์ ภาคีรัตน์, ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช, จันทจิรา
เอี่ยมมยุรา, ฐาปนันท์ นิพิฎฐกุล, ปิยบุตร แสงกนกกุล และ ธีระ สุธีวรางกูร
เนื้อหาคำประกาศไม่รับน่าสนใจ ขอนำบางส่วนมาถ่ายทอดดังต่อไปนี้
"...เรามิเห็นพ้องด้วยว่าควรออกเสียงประชามติรับร่างรัฐธรรม นูญฉบับนี้ เพื่อให้มี
รัฐธรรมนูญใช้บังคับไปพลางก่อน
แล้วค่อยดำเนินการแก้ไขภายหลังการเลือกตั้ง
เราเห็นว่าหากร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้แล้ว กลไกตาม
รัฐธรรมนูญทั้งหลายย่อมดำเนินไปทันที
องค์กรที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ย่อมถูกสถาปนาขึ้นและมีอำนาจหน้าที่ตาม
บท บัญญัติของรัฐธรรมนูญ และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย
อนุวัติการตามรัฐธรรมนูญจะถูกตราขึ้นเพื่อใช้บังคับต่อไปตามลำดับ
เมื่อเป็นเช่นนี้ นอกจากการแก้ไขปรับปรุงรัฐธรรมนูญในภายหลังจะทำได้ยาก
หรืออาจทำไม่ได้แล้ว
ความเสียหายทั้งปวงอันจะเกิดขึ้นจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับนี้
ก็สายเกินไปต่อการเยียวยา.."
นั่นแค่ตอนต้นของแถลงการณ์ ที่เริ่มต้นจากวาทกรรมที่แพร่สะพัดขณะนั้น
เวลา 5 ปีพิสูจน์ว่า อาจารย์ทั้ง 6 ได้พยากรณ์ "ผล" ที่จะเกิดจากการขอให้
รับรองรัฐธรรมนูญ 2550 ไปพลางก่อนไว้ล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ
และบางส่วนของเหตุผลที่ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ
ที่มาของร่างรัฐธรรมนูญไม่ถูกต้อง เนื่อง จากมิได้ยกร่างขึ้นในสถานการณ์
ปกติของประเทศ
แต่ร่างขึ้นตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)
พุทธศักราช 2549 อันเกิดขึ้นโดยอำนาจของคณะรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549
กระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญไม่สะท้อนความเป็นประชาธิปไตยและความ
หลากหลายของผู้ร่างรัฐธรรมนูญ
แม้จะมีกระบวนการคัดเลือกผ่าน
"สมัชชาแห่งชาติ" แต่ผลคือ บุคคลที่เข้าไปร่างรัฐธรรมนูญ ยังผูกขาด
เฉพาะกับบุคคลจากวงการศาลและนักวิชาการมหาวิทยาลัยเท่านั้น
รวมถึง "ตัวแทน" ของคณะรัฐประหาร
อีกประเด็นคือการบัญญัติรับรอง บรรดาประกาศ คำสั่ง และการปฏิบัติของ
บุคคลตามประกาศหรือคำสั่งของคณะหรือหัวหน้าคณะรัฐประหาร ไว้ใน
มาตรา 309
แม้จะเป็นการกระทำหลังจากรัฐธรรมนูญฉบับมีผลใช้บังคับก็ตาม
หมายความว่า ร่างรัฐธรรมนูญได้รับรองความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของการกระทำต่างๆ ในอนาคตไว้ล่วงหน้า
โดยไม่สนใจเนื้อหาของการกระทำนั้นๆ ว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
นอกจากนี้ ยังมีประเด็นความไม่เป็นธรรมในการลงประชามติ ที่ไม่เปิดให้
แต่ละฝ่ายมีโอกาสรณรงค์ในเป้าหมายของตนอย่างเต็มที่
คณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งมีหน้าที่จัดการ ควบคุม และประกาศผลการ
ออกเสียงประชามติ
ยังเข้าไปดำรงตำแหน่ง สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญและกรรมาธิการยกร่าง
รัฐธรรมนูญอยู่ด้วย
ทำให้ความเป็นกลางของผู้ทำหน้าที่จัดการลงประชามติเสียไป
และนั่นคือ อีกมุม ของที่มารัฐธรรมนูญ 2550 ที่อาจจะลืมๆ กันไป
ฟื้นความจำ อ่านฉบับเต็มๆ ได้ที่ http:// www.onopen.com/2007/editor-spaces/ 2006
http://www.matichon.co.th/daily/view_news.php?newsid=01col01261255§ionid=0116&selday=2012-12-26
ความจำสั้นกันจัง ... มติชน เลยต้องมาฟื้นความจำกันหน่อย ...จำกันได้หรือยัง ..
ยังจำได้ไหม ?? เหลียวมอง 2550 ก่อนลง"ประชามติ" รธน.50 กับ"6 อาจารย์" ....มติชนออนไลน์
รัฐธรรมนูญ 2550 มีอายุ 5 ปีแล้ว
จากรัฐธรรมนูญที่ต้องขอร้องให้ประชา ชนลงประชามติให้ผ่านๆ ไปก่อน เพื่อให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้น แล้วให้รัฐบาลที่มาจากเลือกตั้งไปดำเนินการแก้ไข หรือ
ร่างใหม่
เวลาผ่านไป 5 ปี หลายอย่างกลายเป็นอดีตที่จำกันไม่ได้
เมื่อจะลงมือแก้ไขปรับปรุงเข้าจริง
รัฐธรรมนูญ 2550 กลายสภาพเป็นรัฐธรรมนูญที่แตะต้องไม่ได้ไปแล้ว
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2550 ก่อนหน้าการลงประชามติรับรองรัฐธรรมนูญ 2550
จะพบสภาพอันทุลักทุเลของรัฐธรรมนูญฉบับนี้
เนื่องจากต้องเผชิญกับการต่อต้านจากนักวิชาการและประชาชนอย่างรุนแรง
รวมถึง 6 อาจารย์นิติศาสตร์ธรรม ศาสตร์ ที่ออกแถลงการณ์ เมื่อวันที่ 22
ก.ค.2550 ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ
6 อาจารย์ประกอบด้วย วรเจตน์ ภาคีรัตน์, ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช, จันทจิรา
เอี่ยมมยุรา, ฐาปนันท์ นิพิฎฐกุล, ปิยบุตร แสงกนกกุล และ ธีระ สุธีวรางกูร
เนื้อหาคำประกาศไม่รับน่าสนใจ ขอนำบางส่วนมาถ่ายทอดดังต่อไปนี้
"...เรามิเห็นพ้องด้วยว่าควรออกเสียงประชามติรับร่างรัฐธรรม นูญฉบับนี้ เพื่อให้มี
รัฐธรรมนูญใช้บังคับไปพลางก่อน
แล้วค่อยดำเนินการแก้ไขภายหลังการเลือกตั้ง
เราเห็นว่าหากร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้แล้ว กลไกตาม
รัฐธรรมนูญทั้งหลายย่อมดำเนินไปทันที
องค์กรที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ย่อมถูกสถาปนาขึ้นและมีอำนาจหน้าที่ตาม
บท บัญญัติของรัฐธรรมนูญ และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย
อนุวัติการตามรัฐธรรมนูญจะถูกตราขึ้นเพื่อใช้บังคับต่อไปตามลำดับ
เมื่อเป็นเช่นนี้ นอกจากการแก้ไขปรับปรุงรัฐธรรมนูญในภายหลังจะทำได้ยาก
หรืออาจทำไม่ได้แล้ว
ความเสียหายทั้งปวงอันจะเกิดขึ้นจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับนี้
ก็สายเกินไปต่อการเยียวยา.."
นั่นแค่ตอนต้นของแถลงการณ์ ที่เริ่มต้นจากวาทกรรมที่แพร่สะพัดขณะนั้น
เวลา 5 ปีพิสูจน์ว่า อาจารย์ทั้ง 6 ได้พยากรณ์ "ผล" ที่จะเกิดจากการขอให้
รับรองรัฐธรรมนูญ 2550 ไปพลางก่อนไว้ล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ
และบางส่วนของเหตุผลที่ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ
ที่มาของร่างรัฐธรรมนูญไม่ถูกต้อง เนื่อง จากมิได้ยกร่างขึ้นในสถานการณ์
ปกติของประเทศ
แต่ร่างขึ้นตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)
พุทธศักราช 2549 อันเกิดขึ้นโดยอำนาจของคณะรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549
กระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญไม่สะท้อนความเป็นประชาธิปไตยและความ
หลากหลายของผู้ร่างรัฐธรรมนูญ
แม้จะมีกระบวนการคัดเลือกผ่าน
"สมัชชาแห่งชาติ" แต่ผลคือ บุคคลที่เข้าไปร่างรัฐธรรมนูญ ยังผูกขาด
เฉพาะกับบุคคลจากวงการศาลและนักวิชาการมหาวิทยาลัยเท่านั้น
รวมถึง "ตัวแทน" ของคณะรัฐประหาร
อีกประเด็นคือการบัญญัติรับรอง บรรดาประกาศ คำสั่ง และการปฏิบัติของ
บุคคลตามประกาศหรือคำสั่งของคณะหรือหัวหน้าคณะรัฐประหาร ไว้ใน
มาตรา 309
แม้จะเป็นการกระทำหลังจากรัฐธรรมนูญฉบับมีผลใช้บังคับก็ตาม
หมายความว่า ร่างรัฐธรรมนูญได้รับรองความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของการกระทำต่างๆ ในอนาคตไว้ล่วงหน้า
โดยไม่สนใจเนื้อหาของการกระทำนั้นๆ ว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
นอกจากนี้ ยังมีประเด็นความไม่เป็นธรรมในการลงประชามติ ที่ไม่เปิดให้
แต่ละฝ่ายมีโอกาสรณรงค์ในเป้าหมายของตนอย่างเต็มที่
คณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งมีหน้าที่จัดการ ควบคุม และประกาศผลการ
ออกเสียงประชามติ
ยังเข้าไปดำรงตำแหน่ง สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญและกรรมาธิการยกร่าง
รัฐธรรมนูญอยู่ด้วย
ทำให้ความเป็นกลางของผู้ทำหน้าที่จัดการลงประชามติเสียไป
และนั่นคือ อีกมุม ของที่มารัฐธรรมนูญ 2550 ที่อาจจะลืมๆ กันไป
ฟื้นความจำ อ่านฉบับเต็มๆ ได้ที่ http:// www.onopen.com/2007/editor-spaces/ 2006
http://www.matichon.co.th/daily/view_news.php?newsid=01col01261255§ionid=0116&selday=2012-12-26
ความจำสั้นกันจัง ... มติชน เลยต้องมาฟื้นความจำกันหน่อย ...จำกันได้หรือยัง ..