“ดุสิตโพล” ดัชนีการเมืองพย.คะแนนลด-ชอบแจกหมื่นเฟส 2
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_809641/
“สวนดุสิตโพล” ดัชนีการเมืองเดือน พย.สอบตก คะแนนลดลงจากเดือนก่อน ผลงานรัฐบาลที่ชื่นชอบแจกหมื่น เฟส 2 “แพทองธาร” เด่นสุด 50.66%
“
สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนพฤศจิกายน 2567” จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,078 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 25-29 พฤศจิกายน 2567 พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนภาพรวมดัชนีการเมืองไทยประจำเดือนพฤศจิกายน 2567 เฉลี่ย 4.92 คะแนน ลดลงจากเดือนตุลาคม 2567 ที่ได้ 5.01 คะแนน
ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนสูงสุด คือ การมีส่วนร่วมของประชาชน เฉลี่ย 5.39 คะแนน ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนต่ำสุด คือ การแก้ปัญหายาเสพติดและผู้มีอิทธิพล เฉลี่ย 4.39 คะแนน, นักการเมืองฝ่ายรัฐบาลที่มีบทบาทโดดเด่นประจำเดือน คือ นส.
แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ร้อยละ 50.66, รองลงมาคือ นาย
อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ร้อยละ 28.96, นักการเมืองฝ่ายค้านที่มีบทบาทโดดเด่นประจำเดือน คือ นาย
ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน ร้อยละ 43.80 รองลงมา คือ นส.
ศิริกัญญา ตันสกุล สส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาชน ร้อยละ 31.72
ผลงานฝ่ายรัฐบาลที่ชื่นชอบประจำเดือน คือ แจกเงิน 10,000 บาท เฟส 2 ร้อยละ 37.50,รองลงมา ช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME ร้อยละ 33.30, และแอ่วเหนือคนละครึ่ง กระตุ้นท่องเที่ยว ร้อยละ 29.20, ส่วนผลงานฝ่ายค้านที่ชื่นชอบ คือ ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ร้อยละ 48.51, รองลงมา คัดค้านโยบาย/โครงการที่ไม่ชัดเจน ร้อยละ 29.60 และ ตรวจสอบ MOU 44 ,ที่ดินเขากระโดง ร้อยละ 21.89
‘ณัฐวุฒิ’ ลั่นหากกระบวนการแก้รธน.ไม่สะดุด จะเห็น ส.ส.ร.ทันปี 68 ชี้หมุดหมาย ได้ รธน.ใหม่ปี 70.
https://www.matichon.co.th/politics/news_4929770
‘ณัฐวุฒิ’ ลั่น หากไม่มีกลไก-อุบัติเหตุทางการเมืองใด ทำกระบวนการแก้รัฐธรรมนูญสะดุด จะเห็น ส.ส.ร.ทันในปี 68 ชี้ หมุดหมาย ได้ รธน. ใหม่ในปี 70 สวยงามที่สุด ย้อน ‘วันนอร์’ นัดประชุมวิปสามฝ่าย ถกกรอบเวลาประชุมร่วมรัฐสภาก่อน
เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม นาย
ณัฐวุฒิ บัวประทุม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน (ปชน.) ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่…) พ.ศ. … ให้สัมภาษณ์ถึงการประชุม กมธ. ในวันที่ 4 ธันวาคมนี้ว่า จะเป็นการประชุมเพื่อพิจารณารายงานครั้งสุดท้ายว่าแต่ละครั้งที่มีการประชุมมีการประชุมกันอย่างไร สุดท้ายที่ประชุมมีมติอย่างไร รวมถึงมีข้อสังเกตร่วมกันของ กมธ.อย่างไรบ้าง แต่ยังมีประเด็นที่เป็นข้อถกเถียงกันอยู่เล็กน้อยคือ มี กมธ.บางคนอยากให้รายงานฉบับนี้ระบุด้วยว่า กมธ.ที่มีความเห็นแตกต่างนั้น มีความเห็นอย่างไรบ้าง โดยในส่วนนี้เป็นส่วนที่ยังไม่ได้ข้อสรุป ต้องอาศัยที่ประชุมในวันที่ 4 ธันวาคมว่าจะสามารถใส่ความเห็นนี้ไปได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม แม้จะใส่ความคิดเห็นดังกล่าวไปในรายงานครั้งสุดท้ายได้หรือไม่นั้น แต่จะมีการบันทึกไว้ในการประชุม กมธ.แต่ละครั้งอยู่แล้ว โดย ส.ส.ทั้งหมดมีความเห็นตรงกันว่าไม่เห็นด้วยกับร่างที่ลงมติในครั้งนี้ ซึ่งจะนำไปการลงมติในที่ประชุมรัฐสภาต่อไป
เมื่อถามว่า ทั้ง ส.ส.และ ส.ว.ต่างยังยืนยันจุดยืนของตัวเอง มองว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะสำเร็จในรัฐบาลนี้หรือไม่ นายณัฐวุฒิกล่าวว่า ตอนแรกเราไม่มั่นใจว่าจะสามารถเดินหน้าต่อให้แล้วเสร็จได้หรือไม่ แต่เราก็พยายามกระตุ้นตลอดว่าสามารถทำได้ โดยที่ไม่ต้องรอกฏหมายประชามติ เพราะขณะนี้กฎหมายประชามติอาจจะยากที่จะผ่านในระยะเวลาอันสั้น หรือจะผ่านโดยร่างของ ส.ส.หรือ ส.ว. เนื้อหาสุดท้ายจะออกมาเป็นอย่างไร เราก็ยังไม่ทราบ หรือแม้กระทั่งสุดท้ายหาก ส.ส.เห็นตรงกัน ระยะเวลาที่กฎหมายจะผ่านก็อีกนาน แต่เรายังเชื่อมั่นว่าสามารถทำประชามติ 2 ครั้งเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญได้
นาย
ณัฐวุฒิกล่าวต่อว่า ขณะเดียวกันประชาชนก็ต้องช่วยกันเรียกร้องไปยังรัฐบาลถึงความมุ่งมั่น ความตั้งใจ และเจตนารมณ์ที่เคยประกาศไว้ว่าอยากแก้ไขรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จในสภาชุดนี้ ซึ่งในส่วนนี้เราก็สนับสนุน แต่เราก็จะหาแนวทางให้มากที่สุดเพื่อนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับให้ได้ รวมถึงได้ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญบางประเด็นหรือรายมาตราในเรื่องที่มีจำเป็น ที่เห็นว่าควรมีการแก้ไขเข้าไปพร้อมกัน
เมื่อถามว่า มองอย่างไรกรณีนาย
วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ระบุว่าจะนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญจำนวน 14 ฉบับเข้าสภา เพื่อพิจารณาในเดือนธันวาคมนี้ นายณัฐวุฒิกล่าวว่า ก่อนปิดสมัยประชุมสภา วิปรัฐบาลกับวิปฝ่ายค้านได้เคยหารือกันว่า จะสามารถเปิดประชุมร่วมรัฐสภาหลังเปิดสมัยประชุมสภา ได้ ในสัปดาห์ที่ 2 ซึ่งขณะนั้นมีร่างรัฐธรรมนูญที่จะเข้าสู่การพิจารณาเพียงแค่ 3-4 ฉบับ แต่ขณะนี้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราที่ส่งมานั้นมีจำนวนมากขึ้น และยังไม่ทราบว่าจะมีพรรคอื่นส่งเข้ามาเพิ่มอีกหรือไม่
นาย
ณัฐวุฒิกล่าวด้วยว่า ฉะนั้น ต้องขอขอบคุณนายวันมูหะมัดนอร์ ที่มีความมุ่งมั่น ความตั้งใจ ที่อยากให้มีการประชุมในเดือนธันวาคม แต่ต้องขอเรียกร้องไปยังนายวันมูหะมัดนอร์ ในฐานะที่ตนก็เป็นวิปฝ่ายค้านว่าขณะนี้ยังไม่ได้มีการประสานงาน หรือนัดหมายวิปสามฝ่าย เพื่อหารือว่าจะประชุมร่วมรัฐสภาในวันไหน จะใช้กรอบเวลาเท่าไหร่ จะมีกระบวนการพิจารณาหรือลงมติอย่างไร รวมถึงเราต้องมาดูว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 14 ฉบับนั้นเป็นอย่างไรบ้าง แต่หากไม่มีการเริ่มต้นเลย ก็จะเดินหน้าไม่ได้
“
นี่คือความพยายามเบื้องต้นในการเดินหน้ารัฐธรรมนูญเพื่อปลดล็อกกติกาบางอย่าง หรือเงื่อนไขบางอย่างที่ยังเป็นปัญหาอุปสรรคต่อการเปลี่ยนผ่านประเทศไทย แต่อย่าลืมว่าหัวใจหลักที่สำคัญที่สุด ปัญหาของรัฐธรรมนูญ 2560 คือที่มาและกระบวนการร่าง ซึ่งเราก็อยากเห็นความจริงใจและความตั้งใจที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด แม้จะไม่เกิดขึ้นในเร็ววัน แต่ก็คงต้องพยายามให้ได้มากที่สุด เพื่อให้เกิดกระบวนการทำประชามติ หรือเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับให้ได้ และในอดีตเคยมีรัฐธรรมนูญปี 40, 50 และ 60 เราก็ปักหมุดไว้ว่าหากมีรัฐธรรมนูญใหม่ที่เกิดจาก ส.ส.ร. ในปี 70 ก็จะสวยงามที่สุด และยังคาดหวังว่าจะผ่านในปี 70 อยู่ แต่จะทันหรือไม่ทันสภาชุดนี้ ผมไม่ทราบ แต่ขอเอาเป็นหมุดหมายว่าให้ทันในปี 70 ไว้ก่อน” นาย
ณัฐวุฒิกล่าว
เมื่อถามว่า หากทำประชามติแค่ 2 ครั้งประเมินว่าจะเห็น ส.ส.ร. ได้ทันปี 2568 หรือไม่ นาย
ณัฐวุฒิกล่าวว่า ความเป็นไปได้ในปี 2568 มีอยู่สูง ซึ่งก็หวังว่าจะไม่มีกลไกอื่นที่จะทำให้เกิดอุบัติเหตุทางการเมือง จนทำให้กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้น เดินหน้าไม่ได้ ซึ่งหากปล่อยให้กลไกหรือสภา เดินหน้าโดยปกติก็น่าจะเกิดขึ้นได้ รวมถึงต้องทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะนำไปสู่การแก้ไขเชิงโครงสร้างทางการเมือง เพื่อแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชน.
กมธ.สว. พิจารณากรณีคนไทยถูกลักพาตัวไปยังเกาหลีเหนือ ตั้งแต่ปี 2521
https://prachatai.com/journal/2024/12/111545
กมธ.พัฒนาการเมืองฯ วุฒิสภา พิจารณากรณีคนไทยถูกลักพาตัวไปยังเกาหลีเหนือ ตั้งแต่ปี 2521 จากนั้นในปี 2548 พบเบาะแสยังมีชีวิตอยู่ แต่ผ่านมา 19 ปี ไม่คืบหน้า เตรียมเชิญหน่วยงานเข้าชี้แจงและให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับการกระทำให้บุคคลสูญหาย นอกราชอาณาจักร
1 ธ.ค. 2567
สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา รายงานว่า รอบสัปดาห์ที่ผ่านมา นาง
อังคณา นีละไพจิตร ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาการเมือง การมีส่วนร่วมของประชาชน สิทธิมนุษยชน สิทธิ เสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา เป็นประธานการประชุม กมธ. โดยมีวาระพิจารณา เรื่อง การลักพาตัวชาวไทยโดยรัฐบาลเกาหลีเหนือ กรณี นางสาว
อโนชา ปันจ้อย ประชาชน อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ โดยนาย
เอบีฮาระ โทโมฮารุ ประธานกลุ่มช่วยเหลือผู้ที่ถูกลักพาตัวโดยเกาหลีเหนือ (เชียงใหม่) เป็นผู้เสนอ ทั้งนี้ เนื่องจากช่วงต้นปี 2521 นางสาว
อโนชา ปันจ้อย เดินทางไปทำงานที่มาเก๊า พร้อมเพื่อนคนไทยและวันที่ 21 พ.ค. 2521 นางสาว
อโนชา ถูกลักพาตัวจากมาเก๊าไปเกาหลีเหนือ โดยในเดือน ต.ค. 2548 ครอบครัวของนางสาว
อโนชา พบว่า นางสาว
อโนชา ยังมีชีวิตอยู่จากการเปิดเผยข้อมูลของนาย
Charles Robert Jenkins อดีตทหารอเมริกันหนีทัพที่เข้าไปเกาหลีเหนือจากนั้นได้มีความพยายามช่วยเหลือโดยประสานกับรัฐบาลชุดต่าง ๆ ที่ผ่านมาและมีการหยุดชะงักในช่วงมีการรัฐประหาร อย่างไรก็ตาม จนถึงปัจจุบัน รัฐบาลเกาหลีเหนือยังคงปฏิเสธคำยืนยัน ของ นาย
Charles Robert Jenkins และการมีอยู่ของนางสาว
อโนชา ปันจ้อย ในเกาหลีเหนือ ขณะที่การเจรจาเพื่อขอส่งตัวนางสาว
อโนชา กลับประเทศไทยระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลเกาหลีเหนือมากกว่า 19 ปี ยังไม่มีความคืบหน้า
นาง
อังคณา กล่าวด้วยว่า ที่ประชุม กมธ. เห็นว่า ปัจจุบันประเทศไทยประกาศใช้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 อีกทั้ง ได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance-ICPPED) จึงเห็นสมควรมีการประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางการดำเนินการและการให้ความช่วยเหลือที่เกี่ยวกับการกระทำให้บุคคลสูญหาย (อุ้มหาย) นอกราชอาณาจักร กรณีนางสาวอโนชา ปันจ้อย โดยมีตัวแทนสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย กระทรวงยุติธรรม กรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ นาย
น้ำแท้ มีบุญสล้าง อัยการพิเศษฝ่ายประจำสำนักงานอัยการสูงสุด (เลขานุการรองอัยการสูงสุด) และนาย
เอบีฮาระ โทโมฮารุ ประธานกลุ่มช่วยเหลือผู้ที่ถูกลักพาตัวโดยเกาหลีเหนือ (เชียงใหม่) เข้าร่วมประชุม
ประธาน กมธ. การพัฒนาการเมืองฯ กล่าวด้วยว่า กรณีดังกล่าวเป็นการสูญหายนอกราชอาณาจักร ซึ่งเป็นประเด็นที่มีความอ่อนไหว อีกทั้งยังมีเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม คณะกรรมาธิการยังหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ซึ่งเป็นคณะกรรมการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายฯ จะมีบทบาทและสามารถดำเนินการตามอำนาจหน้าที่เพื่อให้กฎหมายมีผลในทางปฏิบัติ รวมทั้ง กระทรวงการต่างประเทศ น่าจะมีบทบาทไม่ให้กรณีเช่นนี้เกิดขึ้นอีก
JJNY : ดัชนีการเมืองพย.คะแนนลด│‘ณัฐวุฒิ’ลั่นหากแก้รธน.ไม่สะดุด│พิจารณากรณีคนไทยถูกลักไปเกาหลีเหนือ│ฟาร์มไก่สงขลาอ่วม
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_809641/
“สวนดุสิตโพล” ดัชนีการเมืองเดือน พย.สอบตก คะแนนลดลงจากเดือนก่อน ผลงานรัฐบาลที่ชื่นชอบแจกหมื่น เฟส 2 “แพทองธาร” เด่นสุด 50.66%
“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนพฤศจิกายน 2567” จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,078 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 25-29 พฤศจิกายน 2567 พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนภาพรวมดัชนีการเมืองไทยประจำเดือนพฤศจิกายน 2567 เฉลี่ย 4.92 คะแนน ลดลงจากเดือนตุลาคม 2567 ที่ได้ 5.01 คะแนน
ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนสูงสุด คือ การมีส่วนร่วมของประชาชน เฉลี่ย 5.39 คะแนน ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนต่ำสุด คือ การแก้ปัญหายาเสพติดและผู้มีอิทธิพล เฉลี่ย 4.39 คะแนน, นักการเมืองฝ่ายรัฐบาลที่มีบทบาทโดดเด่นประจำเดือน คือ นส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ร้อยละ 50.66, รองลงมาคือ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ร้อยละ 28.96, นักการเมืองฝ่ายค้านที่มีบทบาทโดดเด่นประจำเดือน คือ นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน ร้อยละ 43.80 รองลงมา คือ นส.ศิริกัญญา ตันสกุล สส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาชน ร้อยละ 31.72
ผลงานฝ่ายรัฐบาลที่ชื่นชอบประจำเดือน คือ แจกเงิน 10,000 บาท เฟส 2 ร้อยละ 37.50,รองลงมา ช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME ร้อยละ 33.30, และแอ่วเหนือคนละครึ่ง กระตุ้นท่องเที่ยว ร้อยละ 29.20, ส่วนผลงานฝ่ายค้านที่ชื่นชอบ คือ ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ร้อยละ 48.51, รองลงมา คัดค้านโยบาย/โครงการที่ไม่ชัดเจน ร้อยละ 29.60 และ ตรวจสอบ MOU 44 ,ที่ดินเขากระโดง ร้อยละ 21.89
‘ณัฐวุฒิ’ ลั่นหากกระบวนการแก้รธน.ไม่สะดุด จะเห็น ส.ส.ร.ทันปี 68 ชี้หมุดหมาย ได้ รธน.ใหม่ปี 70.
https://www.matichon.co.th/politics/news_4929770
‘ณัฐวุฒิ’ ลั่น หากไม่มีกลไก-อุบัติเหตุทางการเมืองใด ทำกระบวนการแก้รัฐธรรมนูญสะดุด จะเห็น ส.ส.ร.ทันในปี 68 ชี้ หมุดหมาย ได้ รธน. ใหม่ในปี 70 สวยงามที่สุด ย้อน ‘วันนอร์’ นัดประชุมวิปสามฝ่าย ถกกรอบเวลาประชุมร่วมรัฐสภาก่อน
เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม นายณัฐวุฒิ บัวประทุม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน (ปชน.) ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่…) พ.ศ. … ให้สัมภาษณ์ถึงการประชุม กมธ. ในวันที่ 4 ธันวาคมนี้ว่า จะเป็นการประชุมเพื่อพิจารณารายงานครั้งสุดท้ายว่าแต่ละครั้งที่มีการประชุมมีการประชุมกันอย่างไร สุดท้ายที่ประชุมมีมติอย่างไร รวมถึงมีข้อสังเกตร่วมกันของ กมธ.อย่างไรบ้าง แต่ยังมีประเด็นที่เป็นข้อถกเถียงกันอยู่เล็กน้อยคือ มี กมธ.บางคนอยากให้รายงานฉบับนี้ระบุด้วยว่า กมธ.ที่มีความเห็นแตกต่างนั้น มีความเห็นอย่างไรบ้าง โดยในส่วนนี้เป็นส่วนที่ยังไม่ได้ข้อสรุป ต้องอาศัยที่ประชุมในวันที่ 4 ธันวาคมว่าจะสามารถใส่ความเห็นนี้ไปได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม แม้จะใส่ความคิดเห็นดังกล่าวไปในรายงานครั้งสุดท้ายได้หรือไม่นั้น แต่จะมีการบันทึกไว้ในการประชุม กมธ.แต่ละครั้งอยู่แล้ว โดย ส.ส.ทั้งหมดมีความเห็นตรงกันว่าไม่เห็นด้วยกับร่างที่ลงมติในครั้งนี้ ซึ่งจะนำไปการลงมติในที่ประชุมรัฐสภาต่อไป
เมื่อถามว่า ทั้ง ส.ส.และ ส.ว.ต่างยังยืนยันจุดยืนของตัวเอง มองว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะสำเร็จในรัฐบาลนี้หรือไม่ นายณัฐวุฒิกล่าวว่า ตอนแรกเราไม่มั่นใจว่าจะสามารถเดินหน้าต่อให้แล้วเสร็จได้หรือไม่ แต่เราก็พยายามกระตุ้นตลอดว่าสามารถทำได้ โดยที่ไม่ต้องรอกฏหมายประชามติ เพราะขณะนี้กฎหมายประชามติอาจจะยากที่จะผ่านในระยะเวลาอันสั้น หรือจะผ่านโดยร่างของ ส.ส.หรือ ส.ว. เนื้อหาสุดท้ายจะออกมาเป็นอย่างไร เราก็ยังไม่ทราบ หรือแม้กระทั่งสุดท้ายหาก ส.ส.เห็นตรงกัน ระยะเวลาที่กฎหมายจะผ่านก็อีกนาน แต่เรายังเชื่อมั่นว่าสามารถทำประชามติ 2 ครั้งเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญได้
นายณัฐวุฒิกล่าวต่อว่า ขณะเดียวกันประชาชนก็ต้องช่วยกันเรียกร้องไปยังรัฐบาลถึงความมุ่งมั่น ความตั้งใจ และเจตนารมณ์ที่เคยประกาศไว้ว่าอยากแก้ไขรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จในสภาชุดนี้ ซึ่งในส่วนนี้เราก็สนับสนุน แต่เราก็จะหาแนวทางให้มากที่สุดเพื่อนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับให้ได้ รวมถึงได้ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญบางประเด็นหรือรายมาตราในเรื่องที่มีจำเป็น ที่เห็นว่าควรมีการแก้ไขเข้าไปพร้อมกัน
เมื่อถามว่า มองอย่างไรกรณีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ระบุว่าจะนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญจำนวน 14 ฉบับเข้าสภา เพื่อพิจารณาในเดือนธันวาคมนี้ นายณัฐวุฒิกล่าวว่า ก่อนปิดสมัยประชุมสภา วิปรัฐบาลกับวิปฝ่ายค้านได้เคยหารือกันว่า จะสามารถเปิดประชุมร่วมรัฐสภาหลังเปิดสมัยประชุมสภา ได้ ในสัปดาห์ที่ 2 ซึ่งขณะนั้นมีร่างรัฐธรรมนูญที่จะเข้าสู่การพิจารณาเพียงแค่ 3-4 ฉบับ แต่ขณะนี้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราที่ส่งมานั้นมีจำนวนมากขึ้น และยังไม่ทราบว่าจะมีพรรคอื่นส่งเข้ามาเพิ่มอีกหรือไม่
นายณัฐวุฒิกล่าวด้วยว่า ฉะนั้น ต้องขอขอบคุณนายวันมูหะมัดนอร์ ที่มีความมุ่งมั่น ความตั้งใจ ที่อยากให้มีการประชุมในเดือนธันวาคม แต่ต้องขอเรียกร้องไปยังนายวันมูหะมัดนอร์ ในฐานะที่ตนก็เป็นวิปฝ่ายค้านว่าขณะนี้ยังไม่ได้มีการประสานงาน หรือนัดหมายวิปสามฝ่าย เพื่อหารือว่าจะประชุมร่วมรัฐสภาในวันไหน จะใช้กรอบเวลาเท่าไหร่ จะมีกระบวนการพิจารณาหรือลงมติอย่างไร รวมถึงเราต้องมาดูว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 14 ฉบับนั้นเป็นอย่างไรบ้าง แต่หากไม่มีการเริ่มต้นเลย ก็จะเดินหน้าไม่ได้
“นี่คือความพยายามเบื้องต้นในการเดินหน้ารัฐธรรมนูญเพื่อปลดล็อกกติกาบางอย่าง หรือเงื่อนไขบางอย่างที่ยังเป็นปัญหาอุปสรรคต่อการเปลี่ยนผ่านประเทศไทย แต่อย่าลืมว่าหัวใจหลักที่สำคัญที่สุด ปัญหาของรัฐธรรมนูญ 2560 คือที่มาและกระบวนการร่าง ซึ่งเราก็อยากเห็นความจริงใจและความตั้งใจที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด แม้จะไม่เกิดขึ้นในเร็ววัน แต่ก็คงต้องพยายามให้ได้มากที่สุด เพื่อให้เกิดกระบวนการทำประชามติ หรือเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับให้ได้ และในอดีตเคยมีรัฐธรรมนูญปี 40, 50 และ 60 เราก็ปักหมุดไว้ว่าหากมีรัฐธรรมนูญใหม่ที่เกิดจาก ส.ส.ร. ในปี 70 ก็จะสวยงามที่สุด และยังคาดหวังว่าจะผ่านในปี 70 อยู่ แต่จะทันหรือไม่ทันสภาชุดนี้ ผมไม่ทราบ แต่ขอเอาเป็นหมุดหมายว่าให้ทันในปี 70 ไว้ก่อน” นายณัฐวุฒิกล่าว
เมื่อถามว่า หากทำประชามติแค่ 2 ครั้งประเมินว่าจะเห็น ส.ส.ร. ได้ทันปี 2568 หรือไม่ นายณัฐวุฒิกล่าวว่า ความเป็นไปได้ในปี 2568 มีอยู่สูง ซึ่งก็หวังว่าจะไม่มีกลไกอื่นที่จะทำให้เกิดอุบัติเหตุทางการเมือง จนทำให้กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้น เดินหน้าไม่ได้ ซึ่งหากปล่อยให้กลไกหรือสภา เดินหน้าโดยปกติก็น่าจะเกิดขึ้นได้ รวมถึงต้องทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะนำไปสู่การแก้ไขเชิงโครงสร้างทางการเมือง เพื่อแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชน.
กมธ.สว. พิจารณากรณีคนไทยถูกลักพาตัวไปยังเกาหลีเหนือ ตั้งแต่ปี 2521
https://prachatai.com/journal/2024/12/111545
กมธ.พัฒนาการเมืองฯ วุฒิสภา พิจารณากรณีคนไทยถูกลักพาตัวไปยังเกาหลีเหนือ ตั้งแต่ปี 2521 จากนั้นในปี 2548 พบเบาะแสยังมีชีวิตอยู่ แต่ผ่านมา 19 ปี ไม่คืบหน้า เตรียมเชิญหน่วยงานเข้าชี้แจงและให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับการกระทำให้บุคคลสูญหาย นอกราชอาณาจักร
1 ธ.ค. 2567 สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา รายงานว่า รอบสัปดาห์ที่ผ่านมา นางอังคณา นีละไพจิตร ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาการเมือง การมีส่วนร่วมของประชาชน สิทธิมนุษยชน สิทธิ เสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา เป็นประธานการประชุม กมธ. โดยมีวาระพิจารณา เรื่อง การลักพาตัวชาวไทยโดยรัฐบาลเกาหลีเหนือ กรณี นางสาวอโนชา ปันจ้อย ประชาชน อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ โดยนายเอบีฮาระ โทโมฮารุ ประธานกลุ่มช่วยเหลือผู้ที่ถูกลักพาตัวโดยเกาหลีเหนือ (เชียงใหม่) เป็นผู้เสนอ ทั้งนี้ เนื่องจากช่วงต้นปี 2521 นางสาวอโนชา ปันจ้อย เดินทางไปทำงานที่มาเก๊า พร้อมเพื่อนคนไทยและวันที่ 21 พ.ค. 2521 นางสาวอโนชา ถูกลักพาตัวจากมาเก๊าไปเกาหลีเหนือ โดยในเดือน ต.ค. 2548 ครอบครัวของนางสาวอโนชา พบว่า นางสาวอโนชา ยังมีชีวิตอยู่จากการเปิดเผยข้อมูลของนาย Charles Robert Jenkins อดีตทหารอเมริกันหนีทัพที่เข้าไปเกาหลีเหนือจากนั้นได้มีความพยายามช่วยเหลือโดยประสานกับรัฐบาลชุดต่าง ๆ ที่ผ่านมาและมีการหยุดชะงักในช่วงมีการรัฐประหาร อย่างไรก็ตาม จนถึงปัจจุบัน รัฐบาลเกาหลีเหนือยังคงปฏิเสธคำยืนยัน ของ นาย Charles Robert Jenkins และการมีอยู่ของนางสาวอโนชา ปันจ้อย ในเกาหลีเหนือ ขณะที่การเจรจาเพื่อขอส่งตัวนางสาวอโนชา กลับประเทศไทยระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลเกาหลีเหนือมากกว่า 19 ปี ยังไม่มีความคืบหน้า
นางอังคณา กล่าวด้วยว่า ที่ประชุม กมธ. เห็นว่า ปัจจุบันประเทศไทยประกาศใช้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 อีกทั้ง ได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance-ICPPED) จึงเห็นสมควรมีการประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางการดำเนินการและการให้ความช่วยเหลือที่เกี่ยวกับการกระทำให้บุคคลสูญหาย (อุ้มหาย) นอกราชอาณาจักร กรณีนางสาวอโนชา ปันจ้อย โดยมีตัวแทนสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย กระทรวงยุติธรรม กรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ นายน้ำแท้ มีบุญสล้าง อัยการพิเศษฝ่ายประจำสำนักงานอัยการสูงสุด (เลขานุการรองอัยการสูงสุด) และนายเอบีฮาระ โทโมฮารุ ประธานกลุ่มช่วยเหลือผู้ที่ถูกลักพาตัวโดยเกาหลีเหนือ (เชียงใหม่) เข้าร่วมประชุม
ประธาน กมธ. การพัฒนาการเมืองฯ กล่าวด้วยว่า กรณีดังกล่าวเป็นการสูญหายนอกราชอาณาจักร ซึ่งเป็นประเด็นที่มีความอ่อนไหว อีกทั้งยังมีเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม คณะกรรมาธิการยังหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ซึ่งเป็นคณะกรรมการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายฯ จะมีบทบาทและสามารถดำเนินการตามอำนาจหน้าที่เพื่อให้กฎหมายมีผลในทางปฏิบัติ รวมทั้ง กระทรวงการต่างประเทศ น่าจะมีบทบาทไม่ให้กรณีเช่นนี้เกิดขึ้นอีก