ก.ล.ต. โชว์ฟอร์มปี 2567 ฟันโทษอาญา-แพ่ง “ปั่นหุ้น-อินไซด์” 159 ราย ส่งค่าปรับเป็นรายได้ให้กระทรวงคลังเกือบ 700 ล้าน ไม่ยิมยอมปฏิบัติตามมาตรการลงโทษทางแพ่งส่งฟ้องทั้งหมด 20 คดี 6 คดี ถึงที่สิ้นสุดแล้ว ตุลาการมีการพิพากษาลงโทษผู้กระทำผิดตาม ก.ล.ต. ร้องขอ เป็นโทษตามกฎหมายสูงสุด ด้านสถิติหลอกลงทุนพบผ่าน Tiktok พุ่ง ปิดกั้นไปแล้ว 1,502 บัญชี
นายเอนก อยู่ยืน รองเลขาธิการ และโฆษก สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ในปี 2567 สำนักงาน ก.ล.ต. ได้มีการบังคับใช้กฎหมาย โดยการกล่าวโทษดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำผิดต่อพนักงานสอบสวนในคดีสำคัญ ๆ เช่น 1.เรื่องของความไม่เป็นธรรม (การสร้างราคา,การใช้ข้อมูลภายใน, การแพร่ข่าว, Front run) และ 2.เรื่องการทุจริต โดยรวมทั้งหมด 13 คดี จำนวน 87 ราย
แย่งออกเป็น 1.การสร้างราคา 3 คดี จำนวน 50 ราย 2.การแพร่ข่าว 2 คดี จำนวน 7 ราย 3. Front run 1 คดี จำนวน 2 ราย และ 4.การทุจริต 7 คดี จำนวน 28 ราย ซึ่งถ้าเทียบกับปี 2566 มี 8 คดี จำนวน 88 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 9 ธ.ค. 2567)
ขณะที่การบังคับใช้มาตรการลงโทษทางแพ่ง ทางคณะกรรมการพิจารณามาตรการลงโทษทางแพ่ง (ค.ม.พ.) ได้พิจารณาทั้งหมด 10 คดี จำนวน 72 ราย แย่งออกเป็น 1.การสร้างราคา 6 คดี จำนวน 62 ราย และ 2.การใช้ข้อมูลภายใน/การเปิดเผยข้อมูลภายใน 4 คดี จำนวน 10 ราย ซึ่งถ้าเทียบกับปี 2566 มี 7 คดี จำนวน 22 ราย ดังนั้นจะเห็นกระบวนการในการเร่งสปีดอัพในเรื่องกระบวนการบังคับใช้กฎหมายมากขึ้น
“ในปีนี้การบังคับใช้มาตรการลงโทษทางแพ่ง ตั้งแต่ 1 ม.ค.- 9 ธ.ค. 2567 มีผู้ตกลงบันทึกการยินยอมชำระค่าปรับ รวมถึงการชดใช้เงินเท่าผลประโยชน์ที่ได้รับ 10 คดี จำนวน 53 ราย คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 696 ล้านบาท (ยังไม่รวมค่าชดใช้เงินค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบของ ก.ล.ต.) แยกเป็นเงินค่าปรับทางแพ่ง 492 ล้านบาท และเงินค่าชดใช้คืนผลประโยชน์ที่ได้รับอีก 204 ล้านบาท ซึ่งเงินค่าปรับทางแพ่งและเงินค่าชดใช้คืนผลประโยชน์ที่ได้รับจากการกระทำผิด จะส่งเป็นรายได้แผ่นดินที่นำส่งกระทรวงการคลัง”
ส่วนกรณีไม่ยิมยอมปฏิบัติตามมาตรการลงโทษทางแพ่ง (ไม่ยอมจ่ายค่าปรับ) ทางสำนักงาน ก.ล.ต. มีการฟ้องทั้งหมด 20 คดี (ตั้งแต่ที่เริ่มมีการใช้มาตรการลงโทษทางแพ่ง) โดยมีจำนวน 6 คดี ถึงที่สิ้นสุดเรียบร้อยแล้ว โดยทางตุลาการมีการพิพากษาลงโทษผู้กระทำผิดตามที่ ก.ล.ต. ร้องขอ และเป็นการกำหนดโทษตามกฎหมายสูงสุดตามที่กฎหมายกำหนด และมีจำนวน 1 คดี ที่สิ้นสุดตั้งแต่ศาลชั้นต้น และอีกจำนวน 5 คดี สิ้นสุดในศาลชั้นอุทธรณ์
“จะเห็นว่าถ้าเราทำอย่างนี้ได้ดีในชั้นตุลาการ ผลก็คือผู้กระทำผิดในอนาคต พอเห็นว่าถ้าสู้ขึ้นมาแล้วไปสู่ในชั้นศาล นอกจากจะมีค่าใช้จ่ายในการต้องสู้คดีกันแล้ว และถ้าแพ้คดีจะถูกศาลสั่งบังคับใช้กฎหมายที่โทษสูงสุด มีผลทำให้เกิดการยอมจ่ายค่าปรับได้เร็วขึ้น“
ทั้งนี้ยังมีอีก 14 คดี ที่ยังไม่ถึงที่สิ้นสุด ก็มีทั้งอยู่ในระดับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ โดยในชั้นศาลอุทธรณ์มีจำนวน 4 คดี นั่นแปลว่าศาลชั้นต้นได้มีการพิพากษาแล้วโดยพิจารณาให้ลงโทษตามที่ ก.ล.ต. ร้องขอเช่นเดียวกัน
ส่วนสถิติสายด่วนหลอกลงทุน นายเอนก กล่าวว่า ปีนี้ (ข้อมูล ณ วันที่ 9 ธ.ค. 2567) ได้รับเบาะแส 5,057 ครั้ง บัญชีที่ประสานขอปิดกั้น 2,968 บัญชี ปิดกั้นแล้ว 2,940 บัญชี หรือเกือบ 100% ซึ่งเป็นการป้องกันไม่ทำให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้น โดยบัญชีที่ปิดกั้นเนื้อหาหรือช่องทางการหลอกลงทุนประกอบด้วย
1. Tiktok จำนวน 1,502 บัญชี 2. Facebook จำนวน 1,318 และ 3. Line จำนวน 148 บัญชี
สำหรับแผนงานภายในของสำนักงาน ก.ล.ต.ในปี 2568 ขณะนี้มีการปรับกระบวนการภายใน โดยเฉพาะการรองรับกรณีที่ ก.ล.ต. จะเป็นพนักงานสอบสวนในอนาคตในการดำเนินคดีอาญาต่าง ๆ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องเพิ่มความสามารถของบุคลากร ขณะที่การดำเนินการแก้ไขกฎหมายเพื่อรองรับตรงนี้ ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนของกฤษฎีกา
โดยปกติเวลาดำเนินคดีอาญา ก.ล.ต. จะต้องไปกล่าวโทษกับพนักงานสอบสวน ซึ่งพนักงานสอบสวนจะต้องทำกระบวนการในการสืบสวนสอบสวนอีกรอบหนึ่งในฐานะการเป็นพนักงานสอบสวน เพราะฉะนั้นกระบวนการพวกนี้ใช้เวลานาน ทำให้การลงโทษหรือการบังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำผิดล่าช้า จึงอาจเกิดความไม่มั่นใจได้
ตรงนี้ถ้าต่อไป ก.ล.ต. สามารถเป็นพนักงานสอบสวนได้ อย่างน้อยก็จะลดขั้นตอนและทำให้กระบวนการเร็วขึ้นได้ ก็เชื่อว่าประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายจะเร็วขึ้น เคสที่เกิดขึ้นต่าง ๆ สามารถนำขึ้นสู่กระบวนการในชั้นตุลาการได้เร็วขึ้นแน่นอน และทุกเคสจะเข้าสู่กระบวนการตุลาการเหมือนกรณีแพ่ง ถ้า ก.ล.ต.ดำเนินการกล่าวโทษและไม่ยินยอมมาตรการลงโทษทางแพ่ง ก.ล.ต. ก็จะฟ้องร้องดำเนินคดี ซึ่งจะเกิดข้อพิพาทให้ศาลได้พิจารณา...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
https://www.prachachat.net/finance/news-1713802
ก.ล.ต. โชว์ฟอร์มปี’67 ฟันโทษ “ปั่นหุ้น-อินไซด์” 159 ราย พบหลอกลงทุนผ่าน Tiktok พุ่ง
นายเอนก อยู่ยืน รองเลขาธิการ และโฆษก สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ในปี 2567 สำนักงาน ก.ล.ต. ได้มีการบังคับใช้กฎหมาย โดยการกล่าวโทษดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำผิดต่อพนักงานสอบสวนในคดีสำคัญ ๆ เช่น 1.เรื่องของความไม่เป็นธรรม (การสร้างราคา,การใช้ข้อมูลภายใน, การแพร่ข่าว, Front run) และ 2.เรื่องการทุจริต โดยรวมทั้งหมด 13 คดี จำนวน 87 ราย
แย่งออกเป็น 1.การสร้างราคา 3 คดี จำนวน 50 ราย 2.การแพร่ข่าว 2 คดี จำนวน 7 ราย 3. Front run 1 คดี จำนวน 2 ราย และ 4.การทุจริต 7 คดี จำนวน 28 ราย ซึ่งถ้าเทียบกับปี 2566 มี 8 คดี จำนวน 88 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 9 ธ.ค. 2567)
ขณะที่การบังคับใช้มาตรการลงโทษทางแพ่ง ทางคณะกรรมการพิจารณามาตรการลงโทษทางแพ่ง (ค.ม.พ.) ได้พิจารณาทั้งหมด 10 คดี จำนวน 72 ราย แย่งออกเป็น 1.การสร้างราคา 6 คดี จำนวน 62 ราย และ 2.การใช้ข้อมูลภายใน/การเปิดเผยข้อมูลภายใน 4 คดี จำนวน 10 ราย ซึ่งถ้าเทียบกับปี 2566 มี 7 คดี จำนวน 22 ราย ดังนั้นจะเห็นกระบวนการในการเร่งสปีดอัพในเรื่องกระบวนการบังคับใช้กฎหมายมากขึ้น
“ในปีนี้การบังคับใช้มาตรการลงโทษทางแพ่ง ตั้งแต่ 1 ม.ค.- 9 ธ.ค. 2567 มีผู้ตกลงบันทึกการยินยอมชำระค่าปรับ รวมถึงการชดใช้เงินเท่าผลประโยชน์ที่ได้รับ 10 คดี จำนวน 53 ราย คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 696 ล้านบาท (ยังไม่รวมค่าชดใช้เงินค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบของ ก.ล.ต.) แยกเป็นเงินค่าปรับทางแพ่ง 492 ล้านบาท และเงินค่าชดใช้คืนผลประโยชน์ที่ได้รับอีก 204 ล้านบาท ซึ่งเงินค่าปรับทางแพ่งและเงินค่าชดใช้คืนผลประโยชน์ที่ได้รับจากการกระทำผิด จะส่งเป็นรายได้แผ่นดินที่นำส่งกระทรวงการคลัง”
ส่วนกรณีไม่ยิมยอมปฏิบัติตามมาตรการลงโทษทางแพ่ง (ไม่ยอมจ่ายค่าปรับ) ทางสำนักงาน ก.ล.ต. มีการฟ้องทั้งหมด 20 คดี (ตั้งแต่ที่เริ่มมีการใช้มาตรการลงโทษทางแพ่ง) โดยมีจำนวน 6 คดี ถึงที่สิ้นสุดเรียบร้อยแล้ว โดยทางตุลาการมีการพิพากษาลงโทษผู้กระทำผิดตามที่ ก.ล.ต. ร้องขอ และเป็นการกำหนดโทษตามกฎหมายสูงสุดตามที่กฎหมายกำหนด และมีจำนวน 1 คดี ที่สิ้นสุดตั้งแต่ศาลชั้นต้น และอีกจำนวน 5 คดี สิ้นสุดในศาลชั้นอุทธรณ์
“จะเห็นว่าถ้าเราทำอย่างนี้ได้ดีในชั้นตุลาการ ผลก็คือผู้กระทำผิดในอนาคต พอเห็นว่าถ้าสู้ขึ้นมาแล้วไปสู่ในชั้นศาล นอกจากจะมีค่าใช้จ่ายในการต้องสู้คดีกันแล้ว และถ้าแพ้คดีจะถูกศาลสั่งบังคับใช้กฎหมายที่โทษสูงสุด มีผลทำให้เกิดการยอมจ่ายค่าปรับได้เร็วขึ้น“
ทั้งนี้ยังมีอีก 14 คดี ที่ยังไม่ถึงที่สิ้นสุด ก็มีทั้งอยู่ในระดับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ โดยในชั้นศาลอุทธรณ์มีจำนวน 4 คดี นั่นแปลว่าศาลชั้นต้นได้มีการพิพากษาแล้วโดยพิจารณาให้ลงโทษตามที่ ก.ล.ต. ร้องขอเช่นเดียวกัน
ส่วนสถิติสายด่วนหลอกลงทุน นายเอนก กล่าวว่า ปีนี้ (ข้อมูล ณ วันที่ 9 ธ.ค. 2567) ได้รับเบาะแส 5,057 ครั้ง บัญชีที่ประสานขอปิดกั้น 2,968 บัญชี ปิดกั้นแล้ว 2,940 บัญชี หรือเกือบ 100% ซึ่งเป็นการป้องกันไม่ทำให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้น โดยบัญชีที่ปิดกั้นเนื้อหาหรือช่องทางการหลอกลงทุนประกอบด้วย
1. Tiktok จำนวน 1,502 บัญชี 2. Facebook จำนวน 1,318 และ 3. Line จำนวน 148 บัญชี
สำหรับแผนงานภายในของสำนักงาน ก.ล.ต.ในปี 2568 ขณะนี้มีการปรับกระบวนการภายใน โดยเฉพาะการรองรับกรณีที่ ก.ล.ต. จะเป็นพนักงานสอบสวนในอนาคตในการดำเนินคดีอาญาต่าง ๆ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องเพิ่มความสามารถของบุคลากร ขณะที่การดำเนินการแก้ไขกฎหมายเพื่อรองรับตรงนี้ ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนของกฤษฎีกา
โดยปกติเวลาดำเนินคดีอาญา ก.ล.ต. จะต้องไปกล่าวโทษกับพนักงานสอบสวน ซึ่งพนักงานสอบสวนจะต้องทำกระบวนการในการสืบสวนสอบสวนอีกรอบหนึ่งในฐานะการเป็นพนักงานสอบสวน เพราะฉะนั้นกระบวนการพวกนี้ใช้เวลานาน ทำให้การลงโทษหรือการบังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำผิดล่าช้า จึงอาจเกิดความไม่มั่นใจได้
ตรงนี้ถ้าต่อไป ก.ล.ต. สามารถเป็นพนักงานสอบสวนได้ อย่างน้อยก็จะลดขั้นตอนและทำให้กระบวนการเร็วขึ้นได้ ก็เชื่อว่าประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายจะเร็วขึ้น เคสที่เกิดขึ้นต่าง ๆ สามารถนำขึ้นสู่กระบวนการในชั้นตุลาการได้เร็วขึ้นแน่นอน และทุกเคสจะเข้าสู่กระบวนการตุลาการเหมือนกรณีแพ่ง ถ้า ก.ล.ต.ดำเนินการกล่าวโทษและไม่ยินยอมมาตรการลงโทษทางแพ่ง ก.ล.ต. ก็จะฟ้องร้องดำเนินคดี ซึ่งจะเกิดข้อพิพาทให้ศาลได้พิจารณา...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/finance/news-1713802