เพราะใน รธน.หลายฉบับของไทย ที่ผ่านมา ที่ระบุถึง “การปกครองในระบอบประชาธิปไตย” อันเป็นเหตุให้เกิดการปลูกฝังความเข้าใจว่า สิทธิอำนาจที่ระบุเอาไว้ใน รธน. ก็คือ “อำนาจควบคุมปกครองของรัฐ” อันรวมถึง จนท.รัฐ ทั้งหลาย ซึ่งมีสถานะอยู่เหนือประชาชน โดยสามารถกำหนดหรือชี้แนวทางในการดำรงชีวิตในฐานะผู้นำหรือผู้ควบคุมปกครองประชาชนในสังคมในด้านต่างๆ อันก็มีเหตุผลสมควรกับผู้ที่หลงใหลซึ่งอำนาจในลักษณะนี้ทั้งหลาย ต่างพยายามที่จะยื้อแย่งและกระทำทุกวิถีทางหรือรูปแบบของ รธน. โดยมักจะมีนักวิชาการเป็นตัวช่วยสำคัญ เพื่อดำรงและสืบทอดอำนาจปกครองให้อยู่เฉพาะแค่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ตลอดมาจนถึงทุกวันนี้ ครับ
การใช้นักวิชาการ ที่ถูกปลูกฝังในสังคมถึงการมีวุฒิภาวะในการร่าง รธน. และการบังคับใช้หรือตีความบทบัญญัติรวมทั้งกฎหมายประกอบต่างๆ มาเป็นยุทธศาสตร์ที่นำมาซึ่งการสร้างและปฏิรูป “อำนาจอธิปไตย” ให้มีรูปลักษณะของ “อำนาจควบคุมปกครองของรัฐ” เรื่อยๆ มา ในขณะเดียวกันความเจริญเติบโตของสังคมและการเข้าถึงด้านวิชาการในต้นแบบของประชาชนรวมทั้งความสัมพันธ์ต่อโลกสากลที่เป็นส่วนสำคัญถึงการมีบุคคลากรในระดับของนักวิชาการในส่วนของประชาชนเพิ่มขึ้น อันทำให้เกิดเป็นขั้วกระแสในด้านวิชาการขึ้นมา คือนักวิชาการระดับบุคคลชั้นนำที่ยังยึดว่า อำนาจอธิปไตย เป็น “อำนาจควบคุมปกครอง” กับนักวิชาการระดับประชาชนทั่วไป ที่ยึดถือจากวิชาการต้นแบบที่ อำนาจอธิปไตย เป็น “อำนาจการบริหาร” ซึ้งอำนาจทั้งสองแบบมีความแตกต่างกันอย่างเปรียบแทนกันไม่ได้ทั้งในภาคทฤษฎีและปฎิบัติ ครับ
ฉนั้นในช่วงขณะที่ อำนาจอธิปไตย ตาม รธน. เป็นรูปแบบของ “อำนาจควบคุมปกครอง” การปฎิบัติหน้าที่ของ จนท.รัฐ จะมีแนวทางสู่ความสงบเรียบร้อยของสังคมภายใต้การควบคุมเท่านั้น แต่จะไม่สามารถที่จะบริหารปฎิรูปแก้ใขปัญหาของสังคมที่บังเกิดขึ้นได้ เพราะในทุกกรณีของปัญหาสังคมไม่สามารถใช้มาตราการควบคุมบังคับให้บังเกิดหรือหยุดยั้งได้นั่นเอง ส่วนในช่วงขณะที่ อำนาจอธิปไตย ตาม รธน. เป็นรูปแบบของ “อำนาจบริหาร” ตามต้นฉบับ การปฎิบัติหน้าที่ของ จนท.รัฐ จะมีแนวทางในกรอบของ ผู้ให้บริการกับสังคม ในการบริหารการใช้สิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลที่มีความหลากหลาย สามารถมีความสมดุลย์ในสังคมเดียวกันได้ อันก็เป็นมาตราการบริหารปัญหาสังคมทั้งในช่วงระยะกระทันหันระยะปานกลางหรือในระยะยาว อันเป็นผลให้บังเกิดมีความเจริญเติบโตของสังคมในรูปแบบต่างๆ ที่มีความหลากหลายในตัวเอง แต่เพราะเป็นอำนาจบริหาร จึงขาดพิกัดความสามารถที่จะควบคุมปกครองสังคมให้มีแนวทางเดียวตามความต้องการของผู้นำ ครับ
ประเทศไทยจึงยังมีเพืยง รธน. อย่าง รธน.๕๐ ที่ “อำนาจอธิปไตย” ยังไม่เป็นทั้ง อำนาจควบคุมปกครอง และอำนาจบริหาร อย่างชัดเจน หรืออันที่เรียกว่า “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ” นั่นเอง ความขัดแย้งของความต้องการ ทั้งสองกระแสขั้วเพื่อให้ได้มาซึ่ง รธน. หรือ อำนาจอธิปไตย ที่ตนเองและพวกพ้องต้องการ สามารถใช้พิกัดความสามารถเป็นเครื่องมือของการก้าวสู่ความต้องการ ส่วนฝ่ายตรงข้ามที่ยึดหลัก ความชอบธรรมของอำนาจอธิปไตย ที่จะต้องผ่านการยอมรับโดยการลงประชามติตามหลักการของประชาธิปไตยต้นฉบับเท่านั้น ก็จะยึดโยงอยู่กับความชอบธรรม ของ รธน. อันไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะต้องมีปฎิกริยาต่อต้านใดๆ เป็นเครื่องมือที่จะทำให้สามารถก้าวสู่ความต้องการในที่สุด ครับ
จุดสำคัญคือ ความรับผิดชอบในฐานะนักวิชาการด้านประชาธิปไตย อันสมควรที่จะสื่อสัมพันธ์ในสังคมถึงความหมาย “ต้นแบบ และแบบไทยๆ” ของ “อำนาจอธิปไตย” เพื่อให้มติชนสามารถใช้วิจารณญานในการตัดสินกับการยินยอมให้สิทธิอำนาจของตนเองไปใช้ในรูปแบบใดได้ การปกปิดหรือสื่อสัมพันธ์เฉพาะในด้านเดียวเป็นการบิดเบือนในคุณวุฒิของตัวเอง และยังเพิ่มความแตกแยกด้วยความเข้าใจคลาดเคลื่อนในสังคม อีกด้วย ครับ
ความเข้าใจผิดพลาดที่นักวิชาการ เป็นสาเหตุหนึ่งของความผิดปรกติใน รธน.ไทย…
การใช้นักวิชาการ ที่ถูกปลูกฝังในสังคมถึงการมีวุฒิภาวะในการร่าง รธน. และการบังคับใช้หรือตีความบทบัญญัติรวมทั้งกฎหมายประกอบต่างๆ มาเป็นยุทธศาสตร์ที่นำมาซึ่งการสร้างและปฏิรูป “อำนาจอธิปไตย” ให้มีรูปลักษณะของ “อำนาจควบคุมปกครองของรัฐ” เรื่อยๆ มา ในขณะเดียวกันความเจริญเติบโตของสังคมและการเข้าถึงด้านวิชาการในต้นแบบของประชาชนรวมทั้งความสัมพันธ์ต่อโลกสากลที่เป็นส่วนสำคัญถึงการมีบุคคลากรในระดับของนักวิชาการในส่วนของประชาชนเพิ่มขึ้น อันทำให้เกิดเป็นขั้วกระแสในด้านวิชาการขึ้นมา คือนักวิชาการระดับบุคคลชั้นนำที่ยังยึดว่า อำนาจอธิปไตย เป็น “อำนาจควบคุมปกครอง” กับนักวิชาการระดับประชาชนทั่วไป ที่ยึดถือจากวิชาการต้นแบบที่ อำนาจอธิปไตย เป็น “อำนาจการบริหาร” ซึ้งอำนาจทั้งสองแบบมีความแตกต่างกันอย่างเปรียบแทนกันไม่ได้ทั้งในภาคทฤษฎีและปฎิบัติ ครับ
ฉนั้นในช่วงขณะที่ อำนาจอธิปไตย ตาม รธน. เป็นรูปแบบของ “อำนาจควบคุมปกครอง” การปฎิบัติหน้าที่ของ จนท.รัฐ จะมีแนวทางสู่ความสงบเรียบร้อยของสังคมภายใต้การควบคุมเท่านั้น แต่จะไม่สามารถที่จะบริหารปฎิรูปแก้ใขปัญหาของสังคมที่บังเกิดขึ้นได้ เพราะในทุกกรณีของปัญหาสังคมไม่สามารถใช้มาตราการควบคุมบังคับให้บังเกิดหรือหยุดยั้งได้นั่นเอง ส่วนในช่วงขณะที่ อำนาจอธิปไตย ตาม รธน. เป็นรูปแบบของ “อำนาจบริหาร” ตามต้นฉบับ การปฎิบัติหน้าที่ของ จนท.รัฐ จะมีแนวทางในกรอบของ ผู้ให้บริการกับสังคม ในการบริหารการใช้สิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลที่มีความหลากหลาย สามารถมีความสมดุลย์ในสังคมเดียวกันได้ อันก็เป็นมาตราการบริหารปัญหาสังคมทั้งในช่วงระยะกระทันหันระยะปานกลางหรือในระยะยาว อันเป็นผลให้บังเกิดมีความเจริญเติบโตของสังคมในรูปแบบต่างๆ ที่มีความหลากหลายในตัวเอง แต่เพราะเป็นอำนาจบริหาร จึงขาดพิกัดความสามารถที่จะควบคุมปกครองสังคมให้มีแนวทางเดียวตามความต้องการของผู้นำ ครับ
ประเทศไทยจึงยังมีเพืยง รธน. อย่าง รธน.๕๐ ที่ “อำนาจอธิปไตย” ยังไม่เป็นทั้ง อำนาจควบคุมปกครอง และอำนาจบริหาร อย่างชัดเจน หรืออันที่เรียกว่า “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ” นั่นเอง ความขัดแย้งของความต้องการ ทั้งสองกระแสขั้วเพื่อให้ได้มาซึ่ง รธน. หรือ อำนาจอธิปไตย ที่ตนเองและพวกพ้องต้องการ สามารถใช้พิกัดความสามารถเป็นเครื่องมือของการก้าวสู่ความต้องการ ส่วนฝ่ายตรงข้ามที่ยึดหลัก ความชอบธรรมของอำนาจอธิปไตย ที่จะต้องผ่านการยอมรับโดยการลงประชามติตามหลักการของประชาธิปไตยต้นฉบับเท่านั้น ก็จะยึดโยงอยู่กับความชอบธรรม ของ รธน. อันไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะต้องมีปฎิกริยาต่อต้านใดๆ เป็นเครื่องมือที่จะทำให้สามารถก้าวสู่ความต้องการในที่สุด ครับ
จุดสำคัญคือ ความรับผิดชอบในฐานะนักวิชาการด้านประชาธิปไตย อันสมควรที่จะสื่อสัมพันธ์ในสังคมถึงความหมาย “ต้นแบบ และแบบไทยๆ” ของ “อำนาจอธิปไตย” เพื่อให้มติชนสามารถใช้วิจารณญานในการตัดสินกับการยินยอมให้สิทธิอำนาจของตนเองไปใช้ในรูปแบบใดได้ การปกปิดหรือสื่อสัมพันธ์เฉพาะในด้านเดียวเป็นการบิดเบือนในคุณวุฒิของตัวเอง และยังเพิ่มความแตกแยกด้วยความเข้าใจคลาดเคลื่อนในสังคม อีกด้วย ครับ